ขอบคุณที่คิดถึงกัน
Group Blog
 
All blogs
 
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร


วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร

วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานมีเพียงวิธีเดียวคือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด

สำหรับคนปกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปีถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่า 80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%

เราเรียก Impaired fasing glucose [IFG] คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงใน
การเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดัน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว

การตรวจเลือด เราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้

1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง
[fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ
ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า
126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง


2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส
[ oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน
แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไมถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงตั้ง 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง
( impaired glucose tolerance test)
หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ

3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG]

โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา

4. การใช้ระดับโปรตีนไกโคซัยเลต ได้แก่
glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] ไม่นิยมในการวินิจฉัยโรคเบาหวานแต่นิยมใช้เพื่อประเมินผลการรักษาเนื่องจากมีความไวและความแม่นยำต่ำ

5. การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย
ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น
steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์[Gestational Diabetes:GDM]
การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งไม่นิยมเนื่องจากราคาแพงและยังไม่เป็นที่ยอมรับ



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 2 กันยายน 2555 13:16:45 น. 4 comments
Counter : 463 Pageviews.

 
ดีครับ ได้ความรู้ดี


โดย: แวะมา (หมูกล้าม ) วันที่: 2 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:04:00 น.  

 
เข้ามาอ่านครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:25:10 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาอ่านกันนะคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: buma_ka วันที่: 6 พฤศจิกายน 2550 เวลา:13:16:01 น.  

 
ขอบคุณค่า


โดย: dew IP: 203.155.165.25 วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:3:24:47 น.  

buma_ka
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]





Meddical Technology Rangsit University
Ex-MBA RMUTT


ใครที่ต้องการข้อมูลอะไรใน blog นี้ ส่งmail หรือ หลังไมค์จะเร็วกว่านะคะ
Friends' blogs
[Add buma_ka's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.