Group Blog
 
All Blogs
 
ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้ iPad

ipad


ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้ iPad (นิตยสาร E-Commerce)
ผู้เขียน : falcon_mach_v

         
รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้จาก Strategy Analytics
บริษัทวิจัยชื่อดังชี้ให้เห็นว่า ในช่วงไตรมาสสองที่ผ่านมา
ยอดการจัดส่งแท็บเล็ตทั่วโลกคิดเป็น 15 ล้านหน่วย แท็บเล็ต Android
สามารถทำส่วนแบ่งตลาดได้ 4.6 ล้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.1 ของยอดทั้งหมด ในขณะที่ iPad สามารถทำได้ 9.3 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 61.3 ส่วนที่เหลือก็คือ แท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการตัวอื่นลดหลั่นกันไป

 
ถ้ามองอย่างผิวเผิน ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แท็บเล็ต Android
สามารถทำส่วนแบ่งตลาดได้อย่างน่าประทับใจภายในระยะอันสั้น
แต่ถ้ามองลึกลงไปแล้ว ตัวเลขที่กล่าวมาเป็นยอดที่ผู้ผลิตจัดส่ง (Shipment)
ไปให้กับร้านค้าปลีก ไม่ใช่ยอดขายที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้งานจริง
ตรงกันข้ามในการแถลงผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดของ Apple ที่ผ่านมา
ทางบริษัทย้ำว่าสามารถขาย iPad ไปได้ถึง 9.25 ล้านหน่วย
ซึ่งตรงกับยอดจัดส่งที่กล่าวไปพอดี ฉะนั้นถ้ารายงานจาก Strategy Analytics
ไม่มีความผิดพลาด นั่นหมายความว่า Apple ผลิต iPad แทบไม่ทันขายเลยทีเดียว


         
เสียงตอบรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จาก Apple
นั้นสร้างความประหลาดใจให้กับบรรดาผู้สังเกตการณ์ทั่วโลก
ลองนึกภาพดูว่ากี่ครั้งแล้วที่เราเห็นผู้คนเข้าคิวยาวเหยียดหน้าร้าน Apple
Store ในวันแรกที่สินค้าวางจำหน่าย
หรือกี่ครั้งแล้วที่เราเห็นมูลค่าหุ้นของ Apple
พุ่งขึ้นในทุกครั้งที่ทางบริษัทแถลงเปิดตัวสินค้าชิ้นใหม่
เสียงตอบรับที่ยอดเยี่ยมนี้ได้รับการตอกย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าจากผลการสำรวจ
ที่มีมาให้เห็นเป็นระยะ

          เมื่อเร็ว ๆ นี้ผลสำรวจจาก Bernstein Research พบว่า กว่า
ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่าง 200
คนในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเลือกที่จะเป็นเจ้าของ iPad
แทนที่จะเป็นแท็บเล็ตจากแบรนด์อื่น โดยผู้ทำการสำรวจให้ความเห็นว่า
ผู้บริโภคไม่มีความสนใจฟอร์มแฟ็คเตอร์อื่นที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน
(Benchmark) ที่ Apple ได้สร้างไว้ให้กับ iPad


แล้วมาตรฐานดังกล่าวคืออะไร ?

มี
หลายคนเคยให้ความเห็นว่า การตลาดที่สุดยอด ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่หรูหรา
รวมทั้งบุคลิกและความสามารถในการนำเสนอที่น่าหลงใหลของ Steve Jobs
นั้นร่วมกันผลักดันให้สินค้าของ Apple โดยรวมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
แต่ถ้าเรายก iPad มาเป็นตัวอย่างแล้วจะพบว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สินค้าของค่ายนี้สามารถทำได้เหนือกว่านอกจากปัจจัยที่กล่าวไป

         
เมื่อเร็ว ๆ นี้ iSuppli บริษัทวิจัยการตลาดด้านห่วงโซ่มูลค่า (Value
Chain) ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบการออกแบบ iPad
ทั้งรุ่นหนึ่งและสองโดยเทียบกับคู่แข่งได้ผลสรุปมาสั้น ๆ ว่า
ในแง่ของการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วไม่มีค่ายใดสามารถสู้ Apple
ได้เลยสักค่ายเดียว กล่าวคือ iSuppli
ได้ให้เครดิตส่วนใหญ่ไปที่การออกแบบภายใน ซึ่งทาง Apple
ทำและควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จตั้งแต่การคัดสรรฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นไปจนถึงระบบ
ปฏิบัติการที่ทำให้ระบบโดยรวมมีความเสถียรและปลอดภัยสูง


         

นอกจากนั้นการเลือกที่จะปรับแต่งโปรเซสเซอร์และระบบปฏิบัติการเองก็มีส่วนทำ
ให้ความต้องการทรัพยากรจากหน่วยความจำน้อยกว่าจากค่ายอื่น
ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนลงไปได้ถึง 14 เหรียญสหรัฐต่อหน่วย
และนี่เองที่เป็นส่วนสำคัญทำให้ทางบริษัทสามารถคงราคาขายมาตรฐานไว้ที่ 499
เหรียญได้

 
ในทางตรงกันข้าม ผู้ผลิตรายอื่นนั้นถึงแม้จะสามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์ได้ดีกว่า
มีตัวเลือกรวมทั้งลูกเล่นการเชื่อมต่อภายนอกได้มากกว่าก็จริง
แต่ในแง่ของซอฟต์แวร์แล้วยังคงต้องพึ่งพาค่ายอื่นอย่าง Google และ
Microsoft อยู่ดี
ซึ่งเท่าที่ผ่านมาทั้งคู่ต่างประสบปัญหาการทำให้ระบบปฏิบัติการของตนทำงาน
เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่มีความหลากหลายได้อย่างไร้รอยต่อ
และถึงแม้ทั้งคู่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยการระบุสเป็กของฮาร์ดแวร์ให้กับ
ผู้ผลิตนำไปใช้ แต่ก็กลับกลายมาเป็นดาบที่ทิ่มแทงตัวเอง
เพราะเท่ากับว่าสินค้าที่แต่ละผู้ผลิตทำออกมาแทบจะไม่มีความแตกต่าง
ความไร้ซึ่งจุดเด่นแบบนี้เป็นผลให้สมาร์ทโฟน Windows Phone 7
ไม่สามารถทำส่วนแบ่งตลาดได้มากอย่างที่หวังไว้



ประสบการณ์ใช้งาน ปัจจัยหลักที่หลายฝ่ายมองข้าม

         
บางท่านอาจแย้งว่า แท็บเล็ตอื่นอย่าง Playbook จาก RIM และ TouchPad จาก
HP น่าจะเข้าข่ายเดียวกับ Apple ได้
เพราะทั้งคู่ต่างทำทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (QNX สำหรับ Playbook และ
WebOS สำหรับ TouchPad) เองเช่นกัน
แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่นับว่าเป็นมาตรฐานหลักของอุปกรณ์พกพาไปแล้วก็คือ
ประสบการณ์ใช้งานที่ต้องทำให้ง่าย
ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายค่ายกำลังประสบอยู่

          เมื่อเร็ว ๆ
นี้เว็บไซต์ Boy Genius Report (BGR) ได้ลงจดหมายเปิดจากพนักงานนิรนามของ
RIM ที่มีต่อซีอีโอร่วมทั้งสองคือ Jim Balsillie และ Mike Lazaridis
โดยมีใจความหลักส่วนหนึ่งคือ เรียกร้องให้ RIM
เปลี่ยนวิธีการคิดออกแบบผลิตภันฑ์ BlackBerry เสียใหม่

         
ส่วนหนึ่งของคำร้องขอคือ
ให้ทางบริษัทเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ใช้งานให้กับผู้บริโภคทั่วไปมาก
ขึ้น แทนที่จะเอาใจแต่คู่ค้าเหมือนปัจจุบัน โดยได้ยกตัวอย่างคู่แข่ง เช่น
Apple
ว่าเป็นเพราะทางบริษัทเน้นไปที่การพัฒนาประสบการณ์ใช้งานอันยอดเยี่ยมและการ
ทำให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ว่าสินค้าตัวนี้จะช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ได้
อย่างไร



ซึ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เราเห็นคนต่อคิวยาวข้ามวันข้ามคืน
เพื่อให้ขึ้นชื่อว่าเป็นคนแรกที่ได้เป็นเจ้าของสินค้าตัวใหม่ นอกจากนั้น
จดหมายยังกล่าวโจมตี RIM อย่างรุนแรงว่าทำการตลาดอย่างขึ้เกียจ
เพราะว่าเน้นชูคุณสมบัติทางเทคนิคที่กำกวมอย่างรองรับ Adobe Flash
Multitasking หรือชิปประมวลผลดูอัลคอร์ พร้อมกับยกตัวอย่าง Linux
ที่ถึงแม้จะมีคุณสมบัติมากมายเทียบมาตรฐานคู่แข่ง
แต่ก็ประสบปัญหาเดียวกันคือ
เข้าใจและใช้งานยากสำหรับบุคคลทั่วไปจึงทำให้ไม่สามารถสร้างที่ทางของตนใน
ตลาดได้มากนัก


         
จดหมายเปิดนี้นับเป็นตัวอย่างเสียงสะท้อนจากคนในที่แสดงให้เห็นว่า
ประสบการณ์ใช้งานที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นในตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต อย่างไรก็ดี RIM ก็ไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ซะทีเดียว
เพราะการที่ตัดสินใจนำระบบปฏิบัติการ QNX มาใช้กับแท็บเล็ตแทนที่จะเป็น
BlackBerry OS
แบบเดียวกับสมาร์ทโฟนนั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทางบริษัทตระหนักถึงการ
เปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้บริโภคดี
ทว่าทางบริษัทกลับก้าวพลาดด้วยการไม่ใส่แอพพลิเคชั่นอีเมลมาให้ผู้ใช้จำต้อง
เปิดบราวเซอร์เพื่อเช็กอีเมลแทน ซึ่งถึงแม้ว่าจะใช้แทนกันได้ในระดับหนึ่ง
แต่ก็เป็นการตัดความสะดวกสบายอย่างการแจ้งเตือนอีเมลเข้าที่แอพพลิเคชั่น
สามารถมอบให้ ซึ่งนับว่าเป็นข้อตำหนิอย่างไม่น่าให้อภัยที่เกิดขึ้นกับ RIM

สำหรับ
ระบบปฏิบัติการอื่นนั้นก็ถูกวิเคราะห์ไปในทางเดียวกันคือ
ไม่สามารถมอบประสบการณ์ใช้งานได้ถึงขั้น
โดยเฉพาะการตอบสนองต่อหน้าจอระบบสัมผัส

ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อดีของระบบปฏิบัติการ Android คือ มีความยืดหยุ่นสูง
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภท
แต่ผลคำวิจารณ์หลายแห่งและการทดลองใช้งานโดยผู้เขียนเองนั้นต่างบอกเป็น
เสียงเดียวกันว่า การตอบสนองบนหน้าจอยังปรากฏอาการแล็ก
และแอพพลิเคชั่นยังมีการแฮงค์บ้าง

         
ในแง่ของผู้ที่มีประสบการณ์ใช้งานคอมพิวเตอร์มานานก็ยังพอรับได้
แต่กับบุคคลทั่วไปนั้นข้อสังเกตนี้ไม่นับเป็นเรื่องที่ดีเลย
ดังที่เคยได้ยินว่าความประทับใจแรกเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับ WebOS นั้น
เริ่มแรกถูกมองว่าน่าจะมาเป็นคู่แข่งกับ iOS จาก Apple ได้อย่างไม่ยาก
เพราะมีพื้นฐานโครงสร้างที่ดีจาก Palm อดีตเจ้าพ่อ PDA รายแรกๆ
ที่เจาะตลาดได้ ทว่าพอ TouchPad
วางขายก็กลับได้รับคำวิจารณ์ไปในลักษณะเดียวกันว่าความไวในการตอบสนองยังไม่
ดีพอ

          แต่ทั้งนี้ ถ้ามองอย่างยุติธรรมก็พอเข้าใจได้ว่า
ทั้ง Android และ WebOS บนแท็บเล็ตยังเป็นระบบปฏิบัติการน้องใหม่มาก
ไม่เหมือนกับ iOS ที่ Apple เก็บค่าประสบการณ์มาอย่างโชกโชนเพราะถูกใช้ใน
iPhone มาก่อน และโครงสร้างของระบบเองก็ไม่ใช่ของใหม่หมดจด
เนื่องจากได้รับการปูพื้นมาจาก OS X บน iMac
ที่ขึ้นชื่อด้านความเสถียรมาตั้งแต่ต้น
เพราะฉะนั้นก็ยังไม่สายเกินไปที่คู่แข่งจะสามารถพัฒนาประสบการณ์ใช้งานโดย
เฉพาะด้านความไวในการตอบสนองให้เทียบเคียงได้




แอพพลิเคชั่น และ Ecosystem ปัจจัยประกอบที่จำเป็น

เป็นความจริงที่ว่าถ้าไม่มีแอพพลิเคชั่น แท็บเล็ตก็คงไม่แตกต่างอะไรจากกรอบรูปดิจิตอลหรือเครื่องเล่น MP3 ขนาดยักษ์
ฉะนั้นแล้วถ้าแท็บเล็ตใดสามารถรองรับแอพพลิเคชั่นได้หลากหลายกว่า
ก็จะส่งผลดีต่อผู้ซื้อ เพราะเหมือนกับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
และสำหรับนักพัฒนาเองนั้นการที่แพลตฟอร์มใดสามารถมอบเครื่องมือช่วยเหลือที่
ยืดหยุ่นกว่าก็ยิ่งได้ใจไปเต็ม ๆ

         
ขอย้อนกลับไปที่จดหมายเปิดของพนักงาน RIM อีกสักครั้ง
เพราะนอกจากเนื้อหาที่กล่าวไปแล้วในเนื้อความยังตั้งข้อสังเกตบางประการ
เกี่ยวกับชุดเครื่องมือในการพัฒนา (SDK) ของ BlackBerry ว่าล้าหลัง
โดยเปรียบเหมือนกับ Ford Explorer ยุค 90 ในขณะที่ของ Apple เหมือนกับ BMW
M3 ที่มอบความพอใจในการขับขี่ได้มากกว่า

พูด
ง่าย ๆ คือ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นของ BlackBerry
ในปัจจุบันสามารถทำได้ลำบากมาก ส่งผลให้ผู้พัฒนาบางรายเริ่มตีจากไป
อย่างเช่น Seesmic แอพพลิเคชั่นประเภท Third-Party Client ของ Twitter
ได้ประกาศแล้วว่าจะเลิกทำเวอร์ชั่น BlackBerry ถ้า RIM
ไม่รีบทำอะไรสักอย่าง Seesmic อาจไม่ใช่รายแรกและรายเดียว
ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าทางบริษัทจะไม่ทำอะไรซ้ำรอยเดิมกับแพลตฟอร์ม QNX
ที่ถึงแม้ในปัจจุบันจะยังมีแอพพลิเคชั่นน้อยอยู่ แต่เชื่อว่าถ้า RIM
เอาจริงกับแพลตฟอร์มนี้อนาคตก็คงสดใสไม่แพ้แพลตฟอร์มอื่น


         
จะว่าไปแล้ว ปริมาณมากน้อยของแอพพลิเคชั่นนั้นสามารถมองได้สองแง่
ในมุมมองของผู้บริโภค ปริมาณที่มากกว่าย่อมหมายถึงตัวเลือกที่เยอะกว่า
แต่สำหรับผู้พัฒนาก็อาจเป็นฝันร้ายเพราะหมายถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น
ซึ่งตรงกันข้ามกับแพลตฟอร์มที่มีแอพพลิเคชั่นน้อยกว่าที่ถึงแม้ผู้บริโภค
จะมีตัวเลือกน้อยลง แต่นั่นก็หมายถึงโอกาสที่แอพพลิเคชั่นแต่ละตัวจะมีความโดดเด่นมากขึ้นเช่นกัน

         

การแปรผันตรงกันข้ามเช่นนี้นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่เจ้าของแพลตฟอร์
มต้องคำนึงถึง อย่างไรเสีย เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า iPad
สามารถคงทั้งปริมาณและคุณภาพของแอ็พพลิเคชั่นใน App Store
ของตนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ไม่ว่าจะเป็นปริมาณที่แตะหลักแสน
หรือแอพพลิเคชั่นประเภท Exclusive ที่มีแต่เฉพาะแพลตฟอร์มนี้เท่านั้น
รวมทั้งคงมีแอ็พพลิเคชั่นน้อยมากที่มีบนแพลตฟอร์มอื่นแต่ไม่มีบน iPad
หรือถึงมีก็ไม่นับว่าเป็น Killer แต่อย่างใด

         
นอกจากแอพพลิเคชั่นแล้วองค์ประกอบเล็ก ๆ
อื่นภายในภาวะแวดล้อมก็มีส่วนช่วยให้แพลตฟอร์มนี้ได้รับความนิยม
ไม่ว่าจะเป็นการหลอมรวมรับบริการบนเว็บฯ อื่นๆ ที่หลากหลาย
การซิงค์ไฟล์ไปยังบนเดสก์ทอปทั้งแม็คและพีซีที่สามารถทำได้ง่ายดาย
การจับจ่ายบนร้านค้าออนไลน์เพียงคลิกเดียว
รวมทั้งอุปกรณ์เสริมแต่งทั้งหลายอย่างเคส ที่ชาร์จ ด็อกกิ้ง ขาตั้ง ลำโพง
และสารพันอแดปเตอร์ต่าง ๆ
ที่หาซื้อได้ง่ายและมีให้เลือกหลากหลายล้วนเป็นการตอบคำถามอย่างดีว่าทำไม
ใครๆ ถึงอยากได้แต่ iPad


แล้วแท็บเล็ตอื่นจะไม่มีโอกาสแจ้งเกิดเลยหรือ ?

คำ
ตอบคือ มี แต่ด้วยข้อแม้ว่าจะต้องมอบประสบการณ์ใช้งานและมี Ecosystem
รองรับดีไม่แพ้ iPad
ทั้งสองอย่างนี้นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ผลิตหลายรายไม่สามารถหาคำตอบได้เพราะ
ติดว่าส่วนใหญ่มีประสบการณ์จากการขายฮาร์ดแวร์อย่างเดียว ใน
แง่นี้ Amazon จึงนับเป็นคู่แข่งที่น่าจับตามองมากที่สุด
เพราะทางบริษัทมีความพร้อมมากและผ่านร้อนหนาวมาอย่างโชกโชนจากการเป็นร้าน
ค้าออนไลน์


         
ปัจจุบันทางบริษัทมีทั้งบริการขายอีบุ๊ก เพลง ภาพยนตร์ แอพพลิเคชั่น
เช่าเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ และ Kindle
เองก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากในหมู่อีรีดเดอร์ด้วยกัน
รวมทั้งชื่อเสียงที่สั่งสมมายาวนาน ถ้า Amazon
สามารถนำปัจจัยเหล่านี้มาหลอมรวมเป็นประสบการณ์ใช้งานที่สุดยอดได้
รับรองว่า Apple คงเจอคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกว่าแน่นอน



Create Date : 13 ตุลาคม 2554
Last Update : 13 ตุลาคม 2554 2:49:24 น. 6 comments
Counter : 851 Pageviews.

 


โดย: jaideedee1 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:3:43:14 น.  

 


โดย: jaideeda1 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:3:46:14 น.  

 


โดย: rugdongdung1 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:3:47:57 น.  

 
......อยากได้เหมือนกัน


โดย: konngambanpon วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:3:50:10 น.  

 
ใครก็อยากได้เหมือนกัน......


โดย: wanrugmai1 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:3:53:10 น.  

 
ด้วยความที่พกพาสะดวกด้วยแหละค่ะ


by //www.facebook.com/nappage


โดย: ืnappage IP: 58.8.227.30 วันที่: 15 ตุลาคม 2554 เวลา:9:59:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Aoniiz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Aoniiz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.