ความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน และอื่นๆ
Group Blog
 
All Blogs
 
การขอรื้อฟื้นคดีอาญา "ช่วงสาระเข็มเดียว"

"ช่วงสาระเข็มเดียว"

'มาทำความรู้จักกับ กระบวนการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ กันครับ' !

การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ คือ การขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่หลังจากที่คดีนั้นๆสิ้นสุดแล้ว


หลักเกณฑ์ในการขอรื้อฟื้นคดีอาญามีอย่างไรบ้าง?

ตามมาตรา 5 ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.เป็นคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับโทษอาญาในคดีแล้ว
๒.เข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
๒.๑. พยานบุคคลที่ศาลอ้างเป็นหลักในการพิพากษาคดีนั้นๆ มีคำพิพากษาในคดีถึงที่สุดภายหลังว่า พยานบุคคลเบิกความเท็จ หรือไม่ตรงกับความจริง (ฟ้องพยานคนนั้นว่าให้การเท็จจนคดีถึงที่สุดก่อน)
๒.๒. พยานหลักฐานอื่นนอกจากข้อแรก ที่ศาลอ้างเป็นหลักในการพิพากษาคดีนั้นๆ มีคำพิพากษาถึงที่สุดภายหลังว่า เป็นพยานหลักฐานปลอม หรือเป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับความจริง
๒.๓. มีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญกับคดี ถ้านำมาใช้ในคดีนั้นๆ จะพิสูจน์ให้ผู้รับโทษทางอาญานั้นไม่ผิด


ใครมีสิทธิยื่นคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญา? 

ตามมาตรา ๖ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ผู้ที่ได้รับโทษอาญา จากคำพิพากษาถึงที่สุด
๒.ผู้แทนโดยชอบธรรม / ผู้อนุบาล กรณีผู้รับโทษฯเป็น เด็ก หรือ ถูกศาลสั่งว่าไร้ความสามารถ
๓.ผู้จัดการ / ผู้แทนอื่นของนิติบุคคล กรณีผู้รับโทษฯเป็นนิติบุคคล
๔.พ่อ แม่ พี่น้อง ลูกตามสายเลือด / สามีภรรยาที่จดทะเบียนกันถูกต้องตามกฎหมาย กรณีผู้รับโทษฯตายก่อนที่จะมีการยื่นคำร้อง
๕.อัยการ กรณีที่อัยการไม่ใช่เป็นโจทก์ในคดีเดิม


วิธีการยื่นคำร้อง ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๒๐ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้


ยื่นที่ไหน?

ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้นๆ หรือศาลอื่นที่มีเขตอำนาจแทนศาลนั้น
***(ข้อยกเว้นตาม ม.๘(๒))


ต้องยื่นอะไรบ้าง? :

๑.อ้างเหตุการรื้อฟื้นให้ชัดเจนตามเงื่อนไขที่กำหนด ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
๒.ถ้าต้องการ ขอค่าทดแทน หรือ ขอรับสิทธิที่ผู้นั้นเสียไปจากผลคำพิพากษานั้นๆคืน ให้ระบุด้วย
๓.สิทธิตามข้อ ๒ ไม่รวมสิทธิในทางทรัพย์สิน


ต้องยื่นภายในเมื่อไหร่? :
๑.ยื่นภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่ปรากฏเงื่อนไข หรือ
๒.ยื่นภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือ
๓.ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาทั้ง ๒ ข้างต้นกรณีเป็นพฤติการณ์พิเศษ


กระบวนการทางศาลหลังจากได้รับการยื่นคำร้อง 

ตามมาตรา ๙ – ๑๗ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้อง (ตรวจสอบว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่) และส่งสำเนาคำร้องและวันนัดไต่สวนให้โจทก์ในคดีเดิมรู้
-ส่งให้อัยการกรณีที่อัยการกรณีที่อัยการไม่ใช่โจทก์ในคดีเดิมด้วย
-อัยการและโจทก์ในคดีเดิมจะมาฟังการไต่สวนฯและซักค้านพยานของผู้ร้องด้วยหรือไม่ก็ได้
-ผู้ร้องและโจทก์ในคดีเดิมมีสิทธิแต่งตั้งทนาย**
๒.หลังจากนั้นศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนการไต่สวนและความเห็นของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์
๓.ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าเข้าหลักเกณฑ์การรื้อฟื้นฯ ศาลอุทธรณ์รับคำร้องและสั่งศาลชั้นต้นให้รับพิจารณาคดีใหม่
-ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ จะสั่งยกคำร้อง
-คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นคำสั่งถึงที่สุด***** (อุทธรณ์ไม่ได้)
๔.เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นจะแจ้งวันนัดสืบพยานผู้ร้องให้อัยการและโจทก์ในคดีเดิมรู้
-อัยการและโจทก์คดีเดิมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านได้ก่อนวันสืบพยาน
-เมื่อสืบพยานผู้ร้องเสร็จ อัยการและโจทก์ในคดีเดิมมีสิทธินำพยานของฝ่ายตัวเองเข้าสืบพยานได้
-ศาลอาจเรียกพยานที่นำมาสืบแล้วมาสืบใหม่เพิ่มก็ได้ หรือเรียกพยานอื่นมาสืบเพิ่มก็ได้
๕.ในระหว่างการดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ ผู้รับโทษฯที่กำลังรับโทษอยู่ มีสิทธิทำคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อออกมาต่อสู้คดี*****
๖.กรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมเป็นของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาพิพากษา
-ถ้าเห็นว่าผู้รับโทษฯทำผิดจริง ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกคำร้อง
-ถ้าเห็นว่าผู้รับโทษฯไม่ได้ทำผิดจริง ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าผู้นั้นไม่ได้กระทำผิด


กรณีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมเป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ / ศาลฎีกา ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณา และทำความเห็นและส่งสำนวนไปยังศาลที่เป็นเจ้าของคำพิพากษาเดิม เพื่อพิจารณาว่าจะยกคำร้อง หรือยกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าไม่ได้กระทำผิด


*ทั้งนี้ทั้ง ๒ กรณีดังกล่าว ถ้ามีคำขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนและศาลยกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาว่าผู้นั้นไม่ได้ทำผิด ศาลต้องกำหนดค่าทดแทนหรือมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอรับสิทธิคืนด้วย (ดูเพิ่มเติมได้ในเรื่องการกำหนดค่าทดแทน)
๗.เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว อัยการ / ผู้ร้อง / โจทก์ในคดีเดิม มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้
-ถ้าเป็นคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
-ถ้าเป็นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีสิทธิฎีกาต่อศาลฎีกา


การกำหนดค่าทดแทนของศาล

ตามมาตรา ๑๔ ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.๒๕๒๖ มีดังนี้
๑.ศาลจะกำหนดค่าทดแทนได้ไม่เกินที่ขอไว้ในคำร้อง
๒.กรณีถูกโทษริบทรัพย์สิน ให้คืนทรัพย์สินที่ริบไป
-แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายให้ริบไม่ว่าจะเป็นของใคร ห้ามคืน แต่จะชดใช้เป็นเงินตามราคาขณะที่ศาลพิพากษา
-ถ้าทรัพย์สินที่ถูกริบเป็นเงิน ให้คืนเงินโดยศาลจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา 15% ต่อปีของจำนวนเงิน นับแต่วันริบจนถึงวันที่ศาลเห็นสมควร
๓.กรณีถูกโทษปรับและชำระค่าปรับต่อศาลไปแล้ว ให้รับเงินค่าปรับคืน โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตรา15% ต่อปีของจำนวนเงิน นับแต่วันปรับจนถึงวันที่ศาลเห็นสมควร
๔.กรณีถูกโทษกักขัง/กักขังแทนปรับ/จำคุก ให้รับค่าทดแทนเป็นเงินโดยคำนวณจากวันที่ถูกกักขัง/จำคุก (วันละ ๔๐๐ บาท)
๕.กรณีถูกโทษประหารชีวิตและถูกประหารแล้ว กำหนดเงินทดแทนเป็นเงินไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖.กรณีถูกใช้วิธีการเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษ ให้ศาลกำหนดค่าทดแทนตามสมควร
***คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งในคดีหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว*** (ม.๑๘)




Create Date : 09 กรกฎาคม 2558
Last Update : 9 กรกฎาคม 2558 15:19:11 น. 0 comments
Counter : 931 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

i am good day
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอข่าวสารที่จำเป็น และที่ทุกคนต้องทราบในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อทำธุรส่วนตัว ธุระของครอบครัว และเรื่องอื่น ๆที่น่าจะเป็นประโยชน์ จรรโลงใจ เป็นความจริงที่ควรทราบ
Friends' blogs
[Add i am good day's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.