ทำงานกับการเกษตร โดย นายยักษ์เีขียว
Group Blog
 
 
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 3


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)


อะนิโลฟอส
(anilofos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organic phosphate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,000 มก./กก. (หนูตัวผู้) สำหรับหนูตัวเมีย 400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 30% อีซี , 1.5% และ % จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบอ่อน 2-5 ใบ หรือภายหลังจากปักดำแล้ว 4-12 วัน
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามใช้กับเมล็ดข้าวโดยตรง
- ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางรากและใบ
- ภายหลังจากใช้แล้ว วัชพืชจะหยุดเจริญเติบโต เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ และตายในที่สุด
- เข้ากับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นที่กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ ยกเว้นสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

อะซูแลม
(asulam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยการดูดซึมผ่านทางใบและรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,200 มก./กก. (หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้ใช้กำจัดวัชพืชพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย กล้วย ยางพาราและพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นภายหลังวัชพืชงอกแล้ว ถ้ากำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ควรใช้ในระยะที่อ้อยมีความสูงอย่างน้อย 12-36 นิ้ว
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วเมื่อมีอุณหภูมิสูง
- มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและปลาต่ำ
- อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชพวก phenoxy ได้

อะทราซีน
(atrazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทดูดซึมและกำจัดแบบเจาะจงวัชพืช ใช้ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและกำจัดในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,869 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 7,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าขจรจบ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา หญ้าหางหมา ผักเบี้ยใหญ่ น้ำนมราชสีห์ หญ้ายาง หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย สัปปะรด ข้าวฟ่าง หน่อไม้ฝรั่ง ต้นฝรั่ง มะคาเดเมีย
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราใช้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง 240-460 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นทับหน้าดินที่ปลูกพืช อย่างไรก็ดี ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังอาจจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและเยื่อบุ หากกลืนกินเข้าไป อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจขัด กล้ามเนื้อกระตุกและอาจเกิดอาการชักได้
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ 10 นาที ถ้ากินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น หรือ syrup of IPECAC ถ้าคนไข้ไม่อาเจียน ให้ล้างท้องคนไข้ทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้าคนไข้ยังไม่ถ่าย ให้ถ่านยาถ่ายประเภทเกลือ ห้ามใช้ยาถ่ายประเภทน้ำมัน ในช่วงนี้อย่าให้คนไข้ดื่มนม ครีมและอาหารที่มีไขมัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เจาะจงพืช ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกแล้วและยาวไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง
- เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเจาะจงพืช ให้ใช้ก่อนเพาะปลูกหรือระหว่างปลูก
- พืชที่อ่อนแอต่ออะทราซีน ได้แก่ พืชผักทั้งหมด เมล็ดธัญพืช แอสพารากัส ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและมันฝรั่ง
- ฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินได้นานมากกว่า 1 ปี
- ความชื้นจะช่วยให้อะทราซีนออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

อ่านต่อตอน 4 ครับ

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย


Create Date : 28 มกราคม 2554
Last Update : 28 มกราคม 2554 11:29:28 น. 0 comments
Counter : 4032 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yakkeaw
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




แ่บ่ง ข้าวปลาอิ่มแล้ว ยังมี ลืมได้
ปัน สิ่งทรัพย์ยามดี บ่แท้
ความ รู้เพื่อนดีที่ แบ่งต่อ ทำกิน
คิด บ่ลืมคุณแม้ ท่านสิ้น ชีวี

ขอบคุณสำหรับทุก ๆ ความรู้และทุก ๆ น้ำใจจากเพื่อนร่วมโลก (ยักษ์เขียว)
blog search directory blog directory
Friends' blogs
[Add yakkeaw's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.