มารู้จัก อดีตประธาน TIWA

มารู้จักอดีตประธาน TIWA

Email จากออสเตรเลียอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2558 | เดลินิวส์

//dailynews.co.th/article/335502

ฉบับนี้เรามารู้จักอดีตประธาน TIWAซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือคนไทยในรัฐวิคตอเรีย หม่อม สมพิศวัตกินส์ นักแปลและล่ามไทย ผู้ร่วมก่อตั้งทิวา (สมาคมสารนิเทศและสวัสดิภาพไทย - ThaiInformation and Welfare Association – TIWA)

เธอเล่าว่า“ถ้าให้เล่าเรื่องตัวเอง รู้สึกว่าค่อนข้างจะราบเรียบ มีอุปสรรคบ้างแต่เป็นชีวิตที่เรียบง่าย เป็นไปตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ไม่หวือหวา ไม่ระหกระเหินสิ่งที่พอจะเล่าสู่กันฟังได้ก็คงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทิวาองค์กรที่หม่อมช่วยก่อตั้งขึ้นมาและเป็นเหมือน “ลูกสาว” คนหนึ่งของหม่อม ที่หม่อมห่วงใยแม้ตัวจะอยู่ไกลในตอนนี้ก็ยังพยายามทำงานแบบทางไกลให้ทิวาอยู่โดยตลอด” ................ “

แม้จะเกิดในกรุงเทพฯก็จริง แต่สมัยนั้น หมู่บ้านของเราในเขตสวนหลวงบรรยากาศเป็นชนบทจริง ๆซึ่งตอนนี้คงไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว มีชาวบ้านทำนากันจนกระทั่งทำไม่ได้ผลจึงเลิกทำและหลังจากนั้นไม่นานถนนศรีนครินทร์ก็ตัดผ่านมาสมัยเป็นเด็กก็ขี่ควาย เล่นกลางนา พายเรือ ว่ายน้ำในคลอง เก็บดอกบัวเหมือนเด็กบ้านนอกทั่วไป หม่อมก็เลยค่อนข้างจะติดดิน ชีวิตไม่ปรุงแต่งมาก

หม่อมจบศิลปศาสตร์บัณฑิตเอกอังกฤษ โทวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นลูกแม่โดมสมัยดึกดำบรรพ์ เรียนที่ท่าพระจันทร์คงจะรักสถาบันมากจึงกลับไปเรียนต่อประกาศนียบัตรบัญฑิตทางการแปลอีกหลังจากทำงานที่หนังสือพิมพ์Bangkok Post และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชนชื่อStudent Times ได้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็ได้ทำงานกับศูนย์การศึกษาออสเตรเลียและสถานทูตออสเตรเลีย ก่อนที่จะได้ทุน John Crawford Scholarship Scheme ของรัฐบาลออสเตรเลียมาเรียนต่อ MBA ที่ QueenslandUniversity of Technology (QUT)

และพอเรียนจบก่อนกลับไปทำงานที่เมืองไทยก็ลองสอบแปลและล่ามของ NAATI (National Accreditation Authority forTranslators and Interpreters) ดู โดยไม่ได้คิดว่าจะได้ใช้งานอะไรและก็ผ่านทั้งสองอย่างในระดับวิชาชีพหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าระดับสาม

หลังจากจบโทก็ได้กลับไปทำงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลียตามเจตนารมณ์ของทุนที่ได้โดยเป็นผู้อำนวยการโครงการร่วมระหว่างSwinburne University of Technology กับกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีซัพพลายก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง”

ก่อนที่เธอจะย้ายมาอยู่ออสเตรเลียเป็นการถาวรเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้วเธอเคยมีประสบการณ์การมาใช้ชีวิตในออสเตรเลียอีกสองรูปแบบซึ่งมีส่วนหล่อหลอมความคิดและผลักดันให้อยากทำอะไรเพื่อชุมชนไทยในเวลาต่อมา

เธออธิบายว่า“ครั้งแรกที่มาออสเตรเลียมาร่วมอบรมและดูงานระยะยาวในฐานะเจ้าหน้าที่ของสถานทูตออสเตรเลียได้รับการต้อนรับอย่างดี มีเกียรติ ไม่ว่าจะไปไหนจะมีเจ้าหน้าที่มาคอยต้อนรับได้พบบุคคลสำคัญ นักการเมือง ฯลฯ

ครั้งที่สองมาในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลออสเตรเลียก็ยังได้รับการต้อนรับอย่างดี ไม่มีปัญหาอะไร เพราะอย่างที่รู้กันว่าการศึกษาเป็นการส่งออกสำคัญอย่างหนึ่งของออสเตรเลียมาหลายทศวรรษแล้วนักเรียนต่างชาติคือตัวทำเงินให้กับประเทศและในสมัยนั้นก็ไม่ได้มีนักเรียนต่างชาติที่เรียนจบแล้วตัดสินใจไม่กลับบ้านเกิดกันมากนัก

พอมาครั้งที่สามนี่ซิถึงได้สัมผัสอีกด้านหนึ่งของชีวิตต่างแดนแม้จะไม่ได้เลวร้ายเหมือนกับคนไทยที่หม่อมได้มีโอกาสไปช่วยตอนเป็นล่ามแต่ก็แย่พอที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดอยากช่วยผู้หญิงไทยรุ่นหลังในเวลาต่อมาได้มาครั้งนี้ในฐานะ “เมียฝรั่ง” ทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปในระดับที่แตกต่างกัน”...................เธอกล่าวเสริมว่า

“ตอนแรกมาอยู่แคนเบอร์ร่าเพราะสามีรับราชการที่กระทรวงต่างประเทศไม่ค่อยได้เจอคนไทยหรือคนย้ายถิ่นอื่น ๆคำถามหลักของภรรยาเพื่อนร่วมงานสามีเวลามีงานเลี้ยงก็จะเป็น“ชีวิตคุณคงเปลี่ยนไปมากเลยนะ” หรือ “ไปเจอกันได้ยังไง”และบางครั้งก็จะคุยกันเรื่อง “ผู้หญิงไทยถูกตำรวจบุกจับที่ซ่อง” หรือ“ผู้หญิงออสซี่คงไม่มีใครเอาจอห์น เขาเลยไปหิ้วผู้หญิงบาร์มาจากเมืองไทย” ทั้งๆที่รู้ว่าหม่อมก็เป็นผู้หญิงไทยธรรมดาคนหนึ่งตอนนั้นรู้สึกแย่เอามากๆ นึกในใจว่าถ้าเราเคยมีอดีตบางอย่างมาอย่างนั้นจริงๆคงจะรู้สึกแย่กว่านั้นสักแค่ไหน 

ในแง่การทำงาน องค์กรที่เมื่อก่อนเคยจ่ายไม่อั้นจ้างหม่อมเป็นที่ปรึกษาในเมืองไทย รับหม่อมเข้าทำงานอย่างไม่อิดออดแอบดีใจที่เขาให้เป็นรองผู้จัดการฝ่าย แต่เนื้องานจริง ๆ คือเลขาหน้าห้องดี ๆนี่เองสามีซึ่งมีอารมณ์ขันอำมหิตของหม่อมยังเคยแกล้งโทรไปหาหม่อมแล้วสั่งกาแฟหรือขอให้จองตั๋วเครื่องบินเล่นอยู่บ่อยๆ

ประสบการณ์การทำงานบริษัทนั้นสั้นๆ แต่ทำให้ได้คิดว่า คนที่ย้ายมาอยู่ออสเตรเลียใหม่ ๆ น้อยคนนักจะได้ทำงานในสาขาที่มีความรู้มีประสบการณ์มาเพราะโอกาสที่จะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ไม่ค่อยจะมีให้หรือไม่มีเลย

โชคดีที่หลังจากย้ายมาไม่นานสามีก็ได้ไปประจำที่มาเลเซียเลยต้องติดตามสามีไปอยู่กัวลาลัมเปอร์สามปีพอกลับมาก็ย้ายมาอยู่เมลเบิร์นและไม่ได้ทำงานประจำอีกเลยเพราะตั้งใจจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกอย่างเดียวกำลังเป็นแม่บ้านมีความสุขกับการเลี้ยงลูกอยู่ดีๆก็มีคนโทรมาขอให้ไปเป็นล่ามเพราะตอนนั้นไม่มีล่ามระดับสามในรัฐวิกตอเรียและเขาไปได้ชื่อหม่อมมาจากNAATI ที่สอบทิ้งไว้ตอนมาเรียนต่อก็เลยลองไปทำดู และรู้สึกว่าถึงเงินค่าตอบแทนจะน้อยนิดแต่ก็สามารถเลือกเวลาทำงานได้ และรู้สึกดีมาก ๆ ที่ได้ช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน

พอทำงานล่ามได้สักพักและได้เจอปัญหาซ้ำๆ ของคนไทยที่ได้ไปเป็นล่ามให้ก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมชุมชนไทยในรัฐวิกตอเรียจึงไม่มีองค์กรที่ช่วยเหลือคนไทยด้วยกันเหมือนชุมชนอื่น(ตอนนั้นทราบว่าของไทยมีสวัสดิภาพสมาคมที่รัฐนิวเซาธ์เวลส์แห่งเดียว) จึงเริ่มคุยกับคนไทยที่รู้จัก ในที่สุดท่านกงสุลกิตติมศักดิ์ Dr Simon Wallace ก็ได้กรุณาแนะนำให้รู้จักกับคุณดุษฏีคูลสัน คุณรัชนี นาคสุข และดร.โสภา โคล ซึ่งต่างก็มาจากหลากหลายอาชีพแต่มีความคิดตรงกันเรื่องการตั้งองค์กรที่เป็นของคนไทยเพื่อช่วยเหลือคนไทยด้วยกันในรัฐวิกตอเรียซึ่งเราเชื่อว่าหลายคนคิดจะเริ่มทำโครงการแบบเดียวกันนี้มานานแล้วแต่อาจจะเพราะยังไม่มีความพร้อม

ในปี 2009 เราก็ได้เปิดตัวทิวาอย่างเป็นทางการฉลองวันพ่อเอาฤกษ์เอาชัยเพราะการทำงานของพวกเราสรุปง่าย ๆ ก็คือการ “เดินตามพ่อ”หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั่นเอง”

เธอกล่าวทิ้งท้ายว่า“ที่ตอนแรกบอกว่ามีความบันดาลใจส่วนตัวหลายอย่างที่ทำให้ได้มาร่วมก่อตั้งทิวานั้นเรื่องหนึ่งที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก็คือเรื่องคุณแม่ของหม่อมเองนี่ก็เกือบจะถึงวันแม่แล้ว วันแม่ทุก ๆ ปีหม่อมจะคิดถึงคุณแม่มากเมื่อตอนอยู่เมืองไทย ทุกวันแม่ พวกเราลูก ๆ หลาน ๆจะไปหาคุณแม่พร้อมหน้าพร้อมตากันพอย้ายมาอยู่ต่างประเทศปีไหนทำได้ก็จะพยายามกลับเมืองไทยในช่วงเดือนสิงหาคมจะได้ไปอยู่กับคุณแม่ไปกอดคุณแม่ในวันแม่ แต่หลังจากท่านเสียชีวิตไปเมื่อปลายปี 2006 สิ่งที่หม่อมทำได้ก็คือระลึกถึงท่านและดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของท่าน

คุณแม่พร่ำสอนลูก ๆ มาเสมอว่าคนเราจะไม่สามารถมีความสุขได้อย่างแท้จริงหากคนรอบข้างยังทุกข์อยู่แล้วเรานิ่งเฉยไม่ทำอะไรคุณแม่ไม่ได้มีโอกาสมาตั้งสมาคมหรือหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือคนอื่นอย่างหม่อมแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ทำตามคำสอนนี้ให้ลูก ๆเห็นเป็นตัวอย่างอยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่สมัยหม่อมเด็ก ๆมาแล้วบ้านเราจะเป็นเหมือนบ้านพักฉุกเฉิน คลินิกจิตวิทยาแนะแนว ตู้เอทีเอ็มฉุกเฉินโรงครัวสาธารณะ ฯลฯ สำหรับคนในละแวกบ้านตลอดเวลา คุณแม่ของหม่อมเป็นผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ไม่มีใครรู้จัก แต่สำหรับหม่อมแล้ว ท่านผู้หญิงเก่งเป็นวีรสตรีในดวงใจ เป็นต้นแบบให้หม่อมในการดำเนินชีวิตทุก ๆ ด้านจริง ๆ โดยเฉพาะเรื่องปรัชญาการดำเนินชีวิตการเลี้ยงดูลูก ๆ และการใช้ชีวิตคู่ คุณแม่มีกุศโลบายในการครองเรือนที่ดีก็ถือโอกาสเลยนะคะ ใกล้วันแม่แล้ว รักคุณแม่ให้มากๆนะคะ ทำอะไรได้รีบทำให้ท่านเถิดก่อนจะไม่มีคุณแม่เหลือไว้ให้เรารัก”

ไตรภพ ซิดนีย์“

**********


Celebrity คนนี้เราเคยกินข้าวกลางวันด้วยกันมาแล้วนะจ๊ะ (ไม่ยอมน้อยหน้าแน่นอน)  ตอนบินไปอิตาลี พี่หม่อมก็เลี้ยงดริงก์  คนเก่งๆ มีเยอะ แต่คนเก่งแล้วมีจิตใจสาธารณะหาไม่ได้ง่ายๆ ยินดีกับหญิงไทยในเมลเบิร์นที่มี TIWA คอยช่วยเหลือ  ใครต้องการคำปรึกษา ติดต่อได้ที่ Thaiwelfare.Victoria@gmail.com  หรือ โทร +613 9639 9964

หมายเหตุถึงเดลินิวส์– เจ้าของบล็อกเอาบทความมาลงทั้งหมดโดยไม่ตัดตอนเพราะเห็นว่าบล็อกการแปลของเจ้าของบล็อกมีผู้ติดตามกว่า200 คน แล้ว การแบ่งปันข้อมูลถึงความสำเร็จของพี่หม่อมซึ่งเป็นนักแปล NAATI รุ่นเก่าผ่านบล็อกนี้น่าจะเข้าถึงกลุ่มได้แปลได้มากกว่า แล้วเจ้าของบล็อกเครดิตที่มาให้แล้วนะ แต่ถ้าเดลินิวส์อยากให้ลบ กรุณาอีเมลมาบอกยินดีลบจ้า




Create Date : 20 กรกฎาคม 2558
Last Update : 20 กรกฎาคม 2558 16:47:19 น.
Counter : 2121 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog