Plain English ไม่ผิด แต่ไม่แพง
Plain English ไม่ผิด แต่ไม่แพง

หัวเรื่องนี้เป็นคำกล่าวของ ผศ.ดร. นาถนิรันดร์ จันทร์งาม ที่พูดในชั้นเรียน English for Lawyers (รุ่น 9) (อ่านรายละเอียดหลักสูตรนี้ได้จากด้านล่าง) ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์นาถนิรันดร์ ใช้ภาษาวัยรุ่นมาก ยกนิ้วให้เลย

คนที่ไม่เคยเรียนอาจจะเข้าใจว่าหลักสูตรนี้สอนภาษาอังกฤษเหมือนที่โรงเรียนสอนภาษาทั่วไป บอกเลยว่า ไม่ใช่ แท้จริงแล้ว หลักสูตรนี้สอนกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ศัพท์กฎหมายเป็นภาษาอังกฤษระหว่างเรียน พวกพี่ๆ มีพื้นกฎหมายเข้าใจเนื้อหาได้ไม่ยาก ก็มีเรานี่ที่ใบ้กินเวลาอาจารย์ถามข้อกฎหมาย (ก็เราไม่มีพื้นกฎหมาย)

อ.นาถนิรันดร์ สอนวิชา International Law ประกอบไปด้วยเรื่อง Most-favored-national Treatment, Nation Treatment และ Arbitration ระหว่างสอนก็จะแทรกคำศัพท์เป็นระยะ เช่น to initiate arbitration, to bring arbitration, to arbitrate, set aside, merit of the case, competent to hear the case, recourse to domestic courts etc.
แล้วอาจารย์ก็พูดว่าภาษาทางการมักจะใช้เยิ่นเย้อกว่าที่เราพูด เช่น I’m in agreement with มีความหมายเหมือนกัน I agree with แล้วก็ต้องถามต่อว่า ทำไมถึงต้องใช้คำให้ยืดยาว

คำตอบคือ “Plain English ไม่ผิด แต่ไม่แพง”

ขอยกตัวอย่างส่วนหนึ่งจากหัวข้อ Legal Writing สอนโดย รศ.ดร. พินัย ณ นคร

On the intellectual side, I thank my supervisor, Professor M.P.Furmston, who has given me much time commenting on my arguments presented in this thesis. Although his views are different from mine, those comments have very much helped me develop my thoughts on many points.

กับ

On the intellectual side, I owe substantial debts of gratitude to my supervisor, Professor M.P. Furmston, who has been enormously generous with his time in commenting on my arguments presented in this thesis. Notwithstanding a variety of difference in opinions, those valuable comments have tremendously contributed to my meticulous development of thoughts on a plethora of legal issues.

อันที่สอง ดูดีกว่าอันที่หนึ่งเยอะ ว่ามั้ย

กระแสความนิยมในการเขียนเอกสารกฎหมายแต่ละสำนักก็ไม่เหมือนกัน เดี๋ยวนี้ของต่างประเทศหลายสำนักจะให้เขียนแบบ plain English เพื่อให้ลูกความเข้าใจได้ด้วย แต่หลายสำนักยังคงเขียนเอกสารต่างๆ โดยใช้ภาษากฎหมายเพื่อให้สมกับการเรียกค่าวิชาชีพชั่วโมงละ 5,000 บาท

และทนายหลายคนยังนิยมใช้ภาษาละตินในเอกสาร เช่น de novo = anew, ex delicto = intort, en masse = in entirety (เราแปลเอกสารกฎหมายมาเป็นสิบปีไม่เคยเจอเลย หรือเจอแล้ว แต่พอเปิดพจนานุกรม ไม่ปรากฏให้ใช้คำละตินเหล่านี้จึงไม่เคยได้ฝึกใช้)
ขนาด therein, thereunder, thereof และคำทำนองนี้บางทีอ่านต้นฉบับก็งง ว่า refer ถึงคำนามตัวไหนในประโยคที่ยาว5 บรรทัด

อีกตัวอย่างหนึ่ง

In the dearth of the Company’s sincerity with respect to my claims, I am compelled by the attending circumstances to have recourse to legal proceedings against XXX Inc., as the Company’s subsidiary, before a competent court of the Kingdom of Thailand as my last shelter. In this connection, a few facts, inter alia, should perhaps be brought to the Company’s attention (in order that the Company’s erroneous beliefs should promptly be rectified in avoidance of a much greater degree of loss emanating from such fallacy).

ชาตินี้เราคงเขียนไม่ได้อย่างนี้ อาจารย์พินัย บอกว่าต้องเริ่มที่การอ่านเพื่อเรียนรู้ให้ได้มากแล้วค่อยๆฝึกเขียน

อย่างไรก็ตาม อาจารย์นาถนิรันดร์ บอกว่า Bryan Garner ซึ่งเป็น editor ของ Black’s Law Dictionary สอนตรงข้ามคือให้ตัดคำฟุ่มเฟือยออก โดยแนะแนวการเขียนไว้ในหนังสือ Legal Writing in Plain English และ The Elements of Legal Style
สาเหตุที่อาจารย์แนะนำหนังสือสองเล่มนี้ก็เพราะนักเรียน(พวกเราในห้องเรียน) ยังเป็นมือใหม่หัดเขียน หากเรียนการเขียนที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน จะทำให้มีกำลังใจฝึกต่อไป แล้วค่อยยกระดับการใช้ภาษาจนสุดท้ายสามารถใช้ภาษากฎหมายได้
************

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)เปิดอบรมภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย (English for Lawyers) รุ่นที่ 9 เริ่มเรียนวันที่1 มิถุนายน สิ้นสุดวันที่ 4 สิงหาคม 2559 เวลา 17.30 - 20.30 น. สอนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีการสอบเข้า แต่ตอนสมัคร จนท รับสมัครบอกว่าภาษาอังกฤษต้องดี ไม่งั้นจะเรียนไม่รู้เรื่อง แน่นอนว่าเราไม่พลาดเพราะบินมาไทยพอดี จนถึงวันนี้ก็เรียนมาแล้ว 2 สัปดาห์ ขอบอกว่าคุ้มค่าเรียน 25,000 บาท มาก

คนที่มาเรียนส่วนใหญ่เป็นข้าราชการนิติกรของหน่วยงานรัฐ ก็มีเราคนเดียวนี่แหละที่เป็นนักแปล เรื่องฟังภาษาอังกฤษหรืออ่านเนื้อหาในเอกสาร เราไม่มีปัญหา แต่เราไม่รู้เรื่องข้อกฎหมาย ให้เราวิเคราะห์คดีแล้วอธิบายตามหลักกฎหมายเราไม่สามารถ ส่วนพี่ๆ ที่มาเรียนในชั้นข้อกฎหมายเขารู้กันอยู่แล้ว แต่หลายคนฟังอาจารย์ไม่ทัน มีครั้งหนึ่ง อาจารย์ถามเป็นภาษาอังกฤษว่าคนที่มาเรียนมีใครเป็นข้าราชการบ้าง ปรากฏว่า ไม่มีใครยกมือ (คงฟังไม่ทัน) เราหันไปสะกิดพี่ข้างๆ บอกว่า พี่เป็นนิติกรของกรม ทำไมพี่ไม่ยกมือ

สองวันแรกที่เรียน อาจารย์เฟลิกซ์สอนคำศัพท์ทั่วไป เชื่อมั้ยว่าแค่สองวันนี้เราได้ศัพท์ใหม่เป็นพันคำ (literally) เราพิมพ์โน๊ตจากชั้นเรียนแล้วใช้ Word นับ ยังไม่อยากจะเชื่อ  หลังจากนั้นก็เรียน Legal Writing และ Doctrines ต่างๆ กับ อาจารย์พินัย เราก็มีประสบการณ์แปลเอกสารกฎหมายมาเกิน 10 ปี พอได้มาเรียนวิชาการเขียนเป็นภาษากฎหมาย ก็ทำให้พื้นฐานแน่นขึ้น หลายอย่างเราก็เพิ่งมารู้ในชั้นเรียน แล้วก็มีเรียนวิชา Tort กับอาจารย์ยอดฉัตร อาจารย์ยกคดีตัวอย่างมาสอน ทำให้นักเรียนสนใจ

เนื้อหาที่สอน ไม่ได้เน้นกฎหมายไทยแต่สอนหลักทุกอย่างของกฎหมายหลายประเทศ ตัวอย่างคดีที่พบบ่อยคือคดีของอังกฤษ

คนที่จะมุ่งแปลสายกฎหมาย แนะนำให้เรียน ค่าเรียนไม่ได้แพงเลยเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้ และได้ใบประกาศนียบัตรด้วย
************

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 03 มิถุนายน 2563



Create Date : 18 กรกฎาคม 2559
Last Update : 3 มิถุนายน 2563 11:32:50 น.
Counter : 3837 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog