วาทกรรมวิเคราะห์
วาทกรรมวิเคราะห์

วาทกรรมวิเคราะห์คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและบริบทที่ภาษานั้นถูกใช้  ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาศาสตร์การแปล  (ที่มา: https://www.ijalel.org/view.aspx?articleid=210)

ปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์เท่าที่เราจำได้จากสมัยเรียน คือ

1. Genre เช่น เรื่องสั้นนิยาย กลอน ชีวประวัติ สารคดี ลักษณะของต้นฉบับจะบอกถึงลักษณะการเขียนด้วย (ลองดูรายชื่อ genre ได้ที่นี่ https://www.webbervilleschools.org/wp-content/iisd/www_webbervilleschools_org/uploads/2011/07/Literary-Genres.pdf)

2. Timeframe คือการหาข้อมูลว่าต้นฉบับเขียนขึ้นเมื่อไหร่ ยิ่งแต่งนานแล้ว เป็นร้อยปี ภาษาที่ใช้ย่อมไม่เหมือนภาษาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

3. Social Context คือบริบททางสังคม อันนี้อาจจะต้องค้นเพิ่มว่าณ เวลาที่มีการเขียนต้นฉบับ มีเหตุการณ์สำคัญๆ อะไรในสังคมบ้างหรือเปล่าบางครั้งผู้เขียนอ้างอิงถึงสิ่งใกล้ตัวที่กำลังเกิดขึ้น แต่พอเวลาผ่านไปคนอ่านรุ่นหลังๆ อาจจะไม่เข้าใจว่าผู้แต่งพูดถึงอะไร  อย่างในกระทู้พันทิปเมื่อนานมาแล้วมีคนมาโพสต์ถามเรื่อง จิ้งจกยกพวกบุกบ้าน จะทำยังไงดี มีคนหนึ่งตอบว่า ขอให้เจ้าของบ้าน “กระชับพื้นที่” เราอ่านแล้วก็ฮากลิ้ง เพราะเขาใช้คำศัพท์ที่กำลังดังในช่วงปี 2553 ซึ่งเป็นช่วง ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กระชับพื้นที่ (คือขอพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ชุมนุม) เมื่อเวลาผ่านไปสัก 20 ปีเด็กรุ่นหลังมาอ่านงานเขียนที่มีคำนี้ ก็อาจจะไม่เข้าใจ

4. Cultural Context บริบทางวัฒนธรรมก็เป็นตัวกำกับลักษณะการเขียนด้วยอย่างที่รู้กันคือ แต่ละวัฒนธรรมจะมีข้อห้ามหรือขนบของตัวเองซึ่งอาจจะสะท้อนให้เห็นในงานเขียนได้

5. Terminology นักแปลต้องพิจารณาว่าต้นฉบับใช้คำศัพท์เฉพาะด้านไหนบ้างหรือเปล่า

6. Style เช่นผู้แต่งชอบใช้ประโยคที่มีความสมดุล (positive ผสม negativeในประโยคเดียวกัน) หรือชอบเล่นคำ หรือชอบปนคำภาษาอื่นมาด้วย หรือใช้ “ ” หรือตัวเอียงบ่อย ๆ (แฝงความหมายอย่างอื่นไว้)

7. Author ผู้แต่งคือใครมีประวัติเป็นอย่างไร มีพื้นฐานครอบครัวแบบไหน เกิดที่ไหน จบการศึกษาอะไรมา หลายๆอย่างนี้มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา

8. Audience ผู้แต่งแต่งให้ใครอ่าน  บางเรื่องผู้แต่งเขียนให้แม่อ่าน  นักแปลก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้สรรพนามระหว่างคนเขียนกับคนอ่านว่าอย่างไร หรือสมมติว่าผู้แต่งเขียนบทความวิจารณ์งานศิลปะให้จิตรกรอ่านนักแปลก็อาจจะทับศัพท์คำบางคำได้ แต่ถ้าในบทความเดียวกันนี้ผู้แต่งเขียนให้คนทั่วไปอ่าน นักแปลอาจจะต้องนึกไว้ก่อนว่า ผู้อ่านทั่วไปไม่น่าจะมีความรู้ด้านศิลปะในเชิงลึกทำให้นักแปลอาจต้องเลือกวิธีแปลแบบที่เหมาะสม (แปลแบบขยายความแปลตรงตัวแต่ใช้เชิงอรรถประกอบ แปลคำศัพท์แล้ววงเล็บคำแปลไว้ข้างหลัง เป็นต้น)

9. Typology ประเภทของต้นฉบับอาจวิเคราะห์โดยอิงทฤษฎีเช่น Reiss’ text typology มี 3 ประเภทคือ (ก) Information ซึ่งเป็นงานเขียนประเภทให้ข้อมูล เช่น ข่าว คำประกาศเจตนารมย์ ความเห็น คำพิพากษา เป็นต้น โดยจะใช้ภาษาที่เป็นทางการ (ข) Expressive ซึ่งเป็นงานเขียนที่เน้นความเป็นศิลปะผู้เขียนจะคำนึงถึงผู้รับสารเป็นหลัก (ค) Operative ซึ่งเป็นงานเขียนเพื่อสร้างพฤติกรรมกระตุ้นให้เกิดการกระทำ หรือถ้าจะใช้ทฤษฏีของ Newmark ก็ได้ มี 8 แบบ ที่ใช้บ่อยๆ คือ communicative translation อ่านเนื้อหาอย่างย่อได้ที่นี่ https://docencia.udea.edu.co/TeoriaTraduccion/comunicativo/peter_eng.htm

10. Intention เจตนาของผู้แต่ง แต่งเพื่อเสียดสีสังคม แต่งเพื่อสอนผู้อ่านแต่งเพื่อประชด
***************

ไหนๆ ก็เขียนเรื่องนี้แล้ว เราเปิดซีดีเอกสารสมัยเรียนดู  เจอตัวอย่างการวิเคราะห์ของเพื่อนที่เรียนการแปลรุ่น 3 ด้วยกัน (ขอโทษนะเพื่อน เราจำชื่อเธอไม่ได้ ของน้องกิฟท์หรือเปล่า) เพื่อนวิเคราะห์วาทกรรมเรื่อง To Kill a Mockingbird เราขอสรุปเป็นข้อๆสั้นๆ นะ

1. เรื่องนี้เป็นการสื่อสารสองปริบทพร้อม ๆ กันคือการสื่อสารระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน และการสื่อสารระหว่างตัวละครในเรื่อง

2. บทสนทนาของตัวละครแต่ละตัวสะท้อนลักษณะเฉพาะ เช่น ideology, socialclass, attitude

3. ผู้แต่งเกิดที่อลาบามาและในเวลานั้นเป็นยุค Great Depression ซึ่งการเหยียดสีผิวเป็นปัญหาที่สำคัญ และรัฐอลาบามาได้ชื่อว่าเป็น รัฐแห่งทาส

4. เรื่องนี้เป็นต้นฉบับประเภทนิยาย มีลักษณะการเล่าแบบ narrative

5. ต้นฉบับมีหน้าที่แสดงความรู้สึก (Expressive Function) สะท้อนความนึกคิดของผู้แต่ง และบางตอนยังแสดงหน้าที่เรียกร้อง (VocativeFunction) เพื่อให้ผู้อ่านมีปฏิกริยาด้วย โดยผู้แต่งต้องการให้ผู้อ่านรู้สึกเห็นใจคนผิวดำ

6. ผู้รับสาร (ผู้อ่าน) คือ ชาวอเมริกันทั่วไปในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 20โดยเฉพาะผู้ที่เหยียดสีผิวในรัฐทางตอนใต้

7. เจตนารมย์ในการสื่อสารของเรื่องนี้คือ ต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาการเหยียดสีผิวซึ่งฝังรากลึกและเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

8. ฉากของเรื่อง คือ ศาลประจำเมืองเมย์คอมบ์ การพิจารณาคดีเกิดขึ้นในตอนบ่ายในห้องพิจารณามีทั้งคนผิวดำและคนผิวขาวร่วมฟัง

9. ต้นฉบับใช้ระดับภาษา (register) ที่ไม่เป็นทางการ สังเกตได้จากการที่ผู้เขียนใช้สรรพนามว่าI และใช้คำย่อ เช่น couldn’t, wasn’t บางคำก็ไม่ใช่ภาษาเขียนเช่น came down with a bang

10. คำศัพท์เฉพาะไม่พบมากนัก แต่ก็มี เช่น specimen, unimpaired, ex cathedra แต่ส่วนใหญ่เนื้อเรื่องจะใช้ภาษาเรียบง่ายเพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจได้

11. โครงสร้างประโยคไม่ซับซ้อน คล้ายภาษาพูดทั่วไป และไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์นักเช่น There ain’t no change. การใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธใน I said I didn’t have nothing. หรือการซ้อนกรรม เช่น She watered them red flowers every day. และการใช้ภาษาที่ผิดๆ ถูกๆ เช่น Then she shet the door in my face. ซึ่งตรงนี้ผู้แต่งต้องการสื่อให้เห็นว่าตัวละครที่พูดประโยคนี้มีการศึกษาในระดับที่ไม่มากพอที่จะสื่อสารทางการเขียนได้

12. วัจนลีลาเป็นแบบงานเขียนประเภทนิยายย มีการใช้ภาพพจน์ต่าง ๆ เช่น Mostas tall as the room. (อุปมา) หรือ Tom was a black-velvet Negro. (อุปลักษณ์) หรือ Mayella Ewel must have been the loneliest person in the world. (อติพจน์)

13. ลักษณะการใช้ภาษา ผู้แต่งใช้ประโยคความรวมเป็นส่วนใหญ่และถ้าเป็นบทสนาทของ ทอม โรบินสัน ผู้แต่งจะเขียนแบบ run-on sentences ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้พูดเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา

***************
พอวิเคราะห์วาทกรรมเสร็จแล้วนักแปลต้องระบุปัญหาที่พบในการแปลเพื่อเลือกกลวิธีที่จะใช้แก้ปัญหาโดยยึดคำตอบที่ได้จากการทำวาทกรรมวิเคราะห์เป็นกรอบ อันนี้เราไม่เขียนนะ มันยาว ถ้าใครอ่านแล้ว สนใจ แนะให้ไปเรียนการแปลเลย 

วาทกรรมวิเคราะห์นี้ไม่ใช่ใช้ได้เฉพาะกับการแปลวรรณกรรมเท่านั้น ไม่ว่าจะแปลอะไรก็ใช้ได้ หลักๆ ที่เราเคยใช้คือ วิเคราะห์งานแปลเอกสารประชาสัมพันธ์นี่แหละว่าเป็นเนื้อหาประเภทไหน เขียนให้ใครอ่าน เจ้าของสารอยู่ประเทศอะไร ใช้ศัพท์ด้านไหนเป็นต้น
***************

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 09 มิถุนายน 2563




Create Date : 07 เมษายน 2557
Last Update : 9 มิถุนายน 2563 17:36:49 น.
Counter : 4909 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
เมษายน 2557

 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog