ก้าวแรกสู่มาตรฐานวิชาชีพแปลในประเทศไทย






วันเสาร์ที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จัดงานOpen House ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ (OccupationalStandard of Competency for Publishing and Book Selling Industry inThailand)

ในงานมีการบรรยายภาพรวมความสำคัญของระบบคุณวุฒิวิชาชีพมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ทั้งสมาคมนักแปลชมรมบรรณาธิการไทย และสมาคมอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาเรื่องมาตรฐานอาชีพธุรกิจหนังสือส่งผลต่อคนทำหนังสืออย่างไรมีผู้ร่วมสัมมนา 4 ท่าน เรานั่งจดทันแต่ของคุณจิระนันท์ พิตรปรีชา

คุณจิระนันท์ เล่าว่าเวลาเลือกรับงาน ไม่ได้ดูสำนักพิมพ์ แต่จะดู บ.ก.เป็นหลักเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถูกแก้งานในลักษณะที่เหมือน“เด็กจบปริญญาตรีสอนคนจบปริญญาเอก” ดังนั้น วิชาชีพที่น่าวัดมาตรฐานมากที่สุดคือบ.ก.

บางคนไปเรียนต่างประเทศ 1-2 ปีก็อ้างว่าเก่งภาษาอังกฤษ

ส่วนเรื่องมาตรฐานวิชาชีพสื่อสิ่งพิมพ์ที่กำลังจัดทำกันอยู่นี้ในความเห็นของคุณจิระนันท์คือ ไม่ครอบคลุม นักแปล J-Pop, K-Pop และบล็อกเกอร์ ต้องยอมรับว่าสมัยนี้นักเขียนไม่ได้น้อยลงแต่เปลี่ยนรูปแบบการเขียนมาเป็นการเขียนบล็อก เช่นเขียนบล็อกที่เกิดจากการเดินทางท่องเที่ยว นักเขียน indy ส่วนนี้ยังไม่มีมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ตรงนี้จะพัฒนาวิชาชีพนักแปล (บล็อก) ยังไง

คุณจิระนันท์ เห็นว่า สิ่งที่ไม่ควรเอามาสอบคือกวี เพราะแค่ยึดเป็นอาชีพก็ยังไม่ได้ (ฮา) พวกแปลทะเบียนบ้าน ใบหย่า เอกสารกฎหมาย ควรใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน

คุณจิระนันท์ ใช้คำว่า“คุมกำเนิดนักเขียนเกิดใหม่ นักแปลเกิดใหม่” คือควบคุมคุณภาพก่อนที่บุคคลเหล่านี้จะมาประกอบอาชีพ โดยหน่วยงานไม่แสวงหากำไรควรเป็นผู้จัดworkshop ไม่ใช่ให้เอกชนจัดสอนคิดค่าเรียน 2,000 บาท ซึ่งคุณจิระนันท์ เห็นว่าแพง

อีกอย่างหนึ่งคือ อย่าเรียน workshop แปลบทภาพยนตร์เลยเพราะไม่มีตลาดรองรับ

คุณจิระนันท์แนะนำว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีงานนักแปลพบสำนักพิมพ์เพื่อสร้างช่องทาง (จริงๆ นานมีเคยจัดหลายรอบแล้ว แต่เข้าใจว่านานมีจำกัด genreของหนังสือที่พิมพ์ไว้แค่วรรณกรรมเยาวชนในขณะที่คุณจิระนันท์หมายถึงสำนักพิมพ์ทั้งหลาย)

เรื่องการออกใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพคุณจิระนันท์ เห็นว่า อย่าให้ใบนี้มาทำให้สำนักพิมพ์กำหนดว่านักแปล นักเขียน หรือบ.ก. ต้องมีใบนี้ (ในความเห็นของเราของไทย ถ้าไม่มี incentiveหรือไม่บังคับ กฎอะไรที่ออกมา คนจะไม่ค่อยทำ)

หลังจากเสวนาแล้วมีการแยกกลุ่มเข้าห้องตามวิชาชีพ มีวิชาชีพวาดภาพประกอบด้วยนะอยากเข้าแต่เราติดงานห้องวิชาชีพแปล

ห้องนักแปล มีคุณผ่องศรี(วัชรวิชญ์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

ที่จดมาทันคือ มาตรฐานวิชาชีพแปลนี้มุ่งรับรองความสามารถของนักแปลเพื่อทำงานสิ่งพิมพ์ ฉะนั้นนักแปลงานเอกสารอาจไม่ได้ประโยชน์จากการสอบวัดความสามารถในโครงการนี้

สมาคมฯ จะจัดสอบแปลเพื่อทดลองข้อสอบในวันอังคารที่23 ส.ค. ที่ม.พระจอมเกล้า พระนครเหนือ โดยขอคนสอบ 10 คน ทั้งนี้เป็นการสอบระดับ4 (ระดับเริ่มต้น) ส่วนระดับ 5 จะเปิดสอบปีหน้าแต่สามารถลงชื่อสอบไว้ล่วงหน้าได้ และมีอีก 2 ระดับหรือระดับ 6 และระดับ 7 แต่ไม่มีการสอบระดับ 7 เพราะเกณฑ์กำหนดให้ผู้สมัครระดับ7 ต้องมีผลงานในระดับนานาชาติ

ผู้ที่จะสมัครสอบจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด (ดูรูปด้านล่าง)


หนึ่งในข้อกำหนดคือต้องมีผลงานแปลให้คณะกรรมการตรวจด้วยคือต้องส่งทั้งต้นฉบับและฉบับแปลก่อนตรวจแก้ ตรงนี้มีประเด็นเพราะบางคนเป็นนักแปลเอกสารซึ่งงานเอกสารมักจะมีการเซ็นสัญญารักษาความลับไว้ทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ได้

หากไม่สามารถส่งต้นฉบับและเอกสารแปลเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำงานด้านการแปลมาแล้ว สามารถส่งจดหมายรับรองการทำงานจาก agency แปลก็ได้

ผู้สอนวิชาแปลหากประสงค์จะได้การรับรองมาตรฐานวิชาชีพแปล ก็ต้องสอบ เพราะทักษะการสอนกับทักษะการแปล ไม่เหมือนกัน

เงื่อนไขอีกข้อหนึ่งคือต้องเข้ารับการอบรมด้านการแปลอย่างน้อย30 ชั่วโมงอบรมที่ไหนของหน่วยงานไหนก็ได้

แนวทางการประเมินข้อสอบเน้นความถูกต้องเป็นหลักเพราะความสละสลวยนั้น บ.ก. ช่วยได้ (ไม่รู้ว่าข้อสอบที่ผู้สมัครทำไปส่งไปให้ผู้สมัครสอบวัดมาตรฐานวิชาชีพ บ.ก. ตรวจหรือเปล่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลย)

อ้อ สมาคมฯ จะจัดทำ คู่มือการแปลหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเป็นแนวทาง แต่ไม่ใช่คู่มือสอบ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ //www.thaiprint.org/thaiprint/index.php?option=com_zoo&view=item&item_id=959&Itemid=54




Create Date : 01 สิงหาคม 2559
Last Update : 2 สิงหาคม 2559 0:00:32 น.
Counter : 1817 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
สิงหาคม 2559

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog