บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
12 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
Lanchester Strategy

Lanchester Strategy

เรียบเรียงโดย วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj)

Lanchester Strategy คือ กลยุทธ์ในสงครามที่นำมาประยุกต์ในบริบททางธุรกิจอย่างได้ผล เพื่อที่จะเข้าไปสู่ตลาดใหม่ๆ

Lanchester Strategy มาจาก กฎกลยุทธ์ในสงคราม ซึ่ง วิศวกรชาวอังกฤษ Frederick W. Lanchester เป็นผู้เผยแพร่ใน "Landmark Publication" หัวเรื่อง "Aviation in Warfare: The Dawn of the Fourth Arm" ในปี 1916 จนกลายมาเป็น Lanchester Laws

Lanchester Laws ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฝ่ายพันธมิตร ทำให้ชนะสงคราม

Edward Deming ได้เป็นผู้นำเอา Lanchester Laws เข้าไปใช้ในการดำเนินงานวิจัย

Lanchester Strategy หมายถึง กลยุทธ์ของ Lanchester โดย ประยุกต์จาก Lanchester Laws ซึ่งเริ่มเผยแพร่ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในทศวรรษที่ 1950 และ Nobuo Taoka ได้ทำให้กลยุทธ์นี้รับความนิยมในทศวรรษที่ 1960 

Lanchester Strategy ถูกนำมาใช้มากขึ้นในการจับภาพส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่ง บริษัท แคนนอน เป็นบริษัทแรกๆ ที่ใช้กลยุทธ์นี้ในการแข่งขันกับ XEROX ในช่้วงปีทศวรรษที่ 1970 ถึง ทศวรรษที่ 1980

Frederick W. Lanchester  เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1868  ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาจาก "Royal College of Science" เขาได้สร้างรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมันแกสโซลีนเป็นคันแรกของอังกฤษ เมื่อตอนอายุ 28 ปี และ เมื่อเขาอายุ 31 ปี เขาก่อตั้ง บริษัทที่ปรึกษา "Lanchester Car Company" และ ในช่วงเวลานั้น เขาได้ ประดิษฐ์ นวัตกรรมที่มีความสำคัญใน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ตั้งแต่ ดิสก์เบรก พวงมาลัยเพาเวอร์ การขับเคลื่อน 4 ล้อ และ หัวชีดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

⁞ความสามารถของเขายังมีผลงานด้านวิศวกรรมการบิน เขาได้ตีพิมพ์แนวความคิดที่โดดเด่นของเขาลงใน "The Theory of Rotation and Lift" และ "Aerial Flight" ใน ปี 1907 และต่อมา ความคิดที่นำเสนอในเอกสารเหล่านี้ กลายมาเป็นทฤษฎี Airfoil โดยนักฟิสิกส์ เยอรมัน Ludwig Prandtl และ ถูกนำมาใช้มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่รู้จักในชื่อ "Lanchester-Prandtl Three Dimensional Airfoil Theory"

"New Lanchester Strategy" เป็นกลยุทธ์ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุด ที่สามารถใช้ได้ ทั้งธุรกิจเริ่มต้น และ ธุรกิจที่ดำเนินมาแล้ว ขึ้นกับผู้ประกอบการว่าจะเลือกใช้ไม่กี่กฎ ก็จะสามารถวิเคราะห์ตลาดที่มีอยู่ได้

แนวคิดของกลยุทธ์นี้ คือ การมองที่ส่วนแบ่งทางการตลาด ว่า องค์กรหนึ่งๆ ควรจะมีสัดส่วนเท่าไรจึงจะเหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แล้ว เราควรจะแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งมาสักเท่าไหร่ถึงจะดี ทั้งนี้ "Lanchester Strategy" ได้กำหนดตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

บริษัทเดียวมีส่วนแบ่งทางการตลาด 74% เป็น ผู้ครอบครองตลาด หรือ ไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันกันอีก ซึ่งโอกาสที่จะถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดตรงๆ เป็นไปได้ยาก

ถ้าส่วนแบ่งการตลาด ของ บริษัทอันดับที่ 1 และ อันดับที่ 2  สูงกว่า 74% และ บริษัทอันดับที่ 1 มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า บริษัทอันดับที่ 2 ภายใน 1.7 เท่า นั่นหมายความว่า ตลาดขึ้นกับ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ โอกาสที่บริษัทใหม่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดก็ยังเป็นไปได้ยาก

ถ้า บริษัทอันดับที่ 1 มีส่วนแบ่งการตลาด 41% และ มีส่วนแบ่งการตลาดอย่างน้อย 1.7 เท่าของบริษัทอันดับที่ 2 ก็ถือว่าเป็น ผู้นำการตลาด ได้แล้ว สำหรับ บริษัทใหม่ ตลาดนี้ก็เป็นตลาดที่เข้าไปแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดได้ยาก ซึ่ง บริษัทใหม่ควรจะเลือกกลุ่มเป้าหมายใหม่ (Re-Segmentation) ในทางกลับกัน บริษัทอันดับที่ 1 ที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ก็ต้องใช้กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนจาก เน้าปริมาณ มาเน้น เรื่องคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ถ้า บริษัทอันดับที่ 1  มีส่วนแบ่งการตลาด อย่างน้อย 26% แต่ไม่ถึง 41% แสดงว่า ตลาดยังอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน ยังมีโอกาสเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาดได้ง่าย บริษัทฯใหม่สามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งทางการตลาดได้ หรือ หากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากบริษัทฯใดที่โดนใจผู้บริโภค ก็อาจจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน 

ถ้า บริษัทอันดับที่ 1 มีส่วนแบ่งการตลาด น้อยกว่า 26% นั่นหมายถึง บริษัทอันดับที่ 1 ไม่มีอิทธิพลต่อตลาด บริษัทใหม่ๆ ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดที่มีอยู่จะสามารถหาช่องทางในการเจาะตลาดได้แน่นอน

กฎของการเข้าไปสู่ตลาดที่มี บริษัทอันดับที่ 1 ที่คลองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ในมือ คุณต้องเพิ่มงบประมาณในการผลักยอดขายและการตลาด มากถึง 3 เท่าของบริษัทอันดับที่ 1 เพื่อที่จะแทรกตัวหรือแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดมาสู่คุณ

ถ้าตลาดมีบริษัทที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 1 บริษัทฯ คุณอาจจะใช้จ่ายงบประมาณน้อยลง แต่อย่างน้อย ก็ต้องผลักการขายโดยรวมและการตลาด มากถึง 1.7 เท่าของบริษัทอันดับที่ 1 เพื่อใชในการวางแผนการแทรกส่วนแบ่งทางการตลาด

แนวทางเหล่านี้ เป็นแนวทางเดียวกับการวางกลยุทธ์ในสงคราม การยึดพื้นที่ การวางกำลังคน เมื่อเทียบกับ ส่วนแบ่งทางการตลาด และ จำนวนงบประมาณที่ต้องกำหนดในการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งทั้งสองประเภทมีความคล้ายคลึงกัน ในการกำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดด้วย


เรียบเรียงโดย วิบูลย์ จุง // Wiboon Joong (wbj)





Create Date : 12 กันยายน 2556
Last Update : 12 กันยายน 2556 0:21:59 น. 1 comments
Counter : 5033 Pageviews.

 
เรียน คุณวิบูลย์ จุง
1. ขอบคุณที่ส่งไปให้อ่าน เป็นบทความที่ดีมาก
2. ผมเองอยากทำ ้ว็บ แบบนี้อยู่เหมือนกัน แต่ทำไม่เป็น ช่วยแนะนำให้หน่อย
3. ไม่ได้คุยกันนานมาก ว่างเมื่อไหร่ นัดด้วย จะเลี้ยงกาแฟสักมื้อ

ไพบูลย์ สำราญภูติ
12 กันยายน 2556


โดย: Paiboon Sumranputi IP: 110.168.244.56 วันที่: 12 กันยายน 2556 เวลา:18:29:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.