บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น - ปัญหาทางพฤติกรรมที่พบบ่อย

บทที่ 12 ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย


" ไม่กินข้าว "


ปัญหาที่พบได้บ่อยๆในเด็กสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กเล็ก คือเด็กไม่ค่อยยอมกินข้าว เวลาอาหารมักไม่ยอมนั่งอยู่ที่โต๊ะ ลุกเดินหรือวิ่งเล่น ถ้าจับให้นั่งที่โต๊ะก็จะยุกยิก เล่นโน่นเล่นนี่ ไม่กินข้าวเอง พ่อแม่มักจะพยายามให้กินเอง เมื่อไม่สำเร็จจึงมักจะป้อนให้ บางทีให้พี่เลี้ยงเดินตามคอยป้อนให้ กว่าจะกินเสร็จใช้เวลานานมาก ในที่สุดเด็กจะติดนิสัยไม่กินให้เสร็จสิ้นเป็นเวลา ไม่ช่วยตัวเอง และจะเรียนรู้ว่าเรื่องกินเป็นเรื่องที่เขาจะมีอำนาจเหนือพ่อแม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง

วิธีการแก้ไข
  • . ควรตกลงกันในเวลาอาหารให้ชัดเจนสม่ำเสมอทุกวัน(อยู่ในตารางเวลา ของกิจกรรมโดยรวม)


  • . ควรบอกกับเด็กสั้นๆว่า ต่อไปนี้เวลาอาหารจะเริ่มเมื่อใด ใช้เวลานานเท่าใด จะเลิกเมื่อใด ให้ชัดเจน (อย่าลืมว่าเด็กสมาธิสั้นไม่ค่อยมีความตระหนักต่อเวลา กะเวลาไม่เป็น


  • . คอยกำกับเรื่องเวลาให้เด็กรู้ ใน ระยะแรกๆ


  • . จัดอาหารให้ตรงเวลา


  • . จัดให้พอดีกับความต้องการของเด็กจริง ถ้าไม่แน่ใจให้น้อยไว้ก่อน เมื่อเด็กไม่พอค่อยขอเติม


  • . ปิดโทรทัศน์ ปิดเกม เก็บของเล่น หยุดกิจกรรมทุกอย่าง ให้เด็กมีกิจกรรมเดียว คือรับประทานอาหาร


  • . กำกับให้รับประทานอย่างรวบรัด ไม่ปล่อยให้เล่น หรือลุกจากที่นั่งไปเล่นที่อื่น พ่อแม่อาจต้องนั่งอยู่ด้วย


  • . เก็บอาหารเมื่อหมดเวลา เด็กนับประทานได้เท่าใด ให้พอใจเพียงนั้น ไม่ดุว่าที่อาจรับประทานได้น้อย


  • . ชมเมื่อเด็กรับประทานด้วยตัวเอง พยายามไม่ช่วยเหลือ (แม้ว่าเด็กจะยังไม่เรียบร้อย เลอะเทอะบ้าง)


  • . งดขนม ของกินจุกจิกที่ไม่มีประโยชน์ ระหว่างมื้อถ้าเด็กหิว ให้มีของว่างที่ปริมาณไม่มาก


  • . อย่าแสดงความวิตกกังวล ถ้าเด็กรับประทานได้น้อย เพราะตามธรรมชาติเมื่อเด็กได้อาหารน้อย ร่างกายได้รับไม่พอจะต้องการเพิ่มโดยแสดงออกเป็นอาการหิว และจะรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการจริงๆเอง ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะกังวลว่าเด็กจะขาดอาหาร เลยพยายามจี้ให้เด็กกินมากเกินไป หรือจัดอาหารให้มากเกินไป เด็กจะรู้สึกเป็นงานยาก ทำไม่ได้ ในที่สุดเด็กจะเบื่อและไม่ค่อยตั้งใจกิน เวลาอาหารเลยเป็นเวลาที่เด็ก(และพ่อแม่)เครียดและอยากหลีกเลี่ยง


จัดอาหารให้เป็นเวลา ให้เด็กรับผิดชอบการกินเอง




" โอ้เอ้ ไม่ทำ ช้าทุกอย่าง "


เด็กสมาธิสั้นมักติดเล่น ทำตามสิ่งที่ตนเองสนุก ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องเวลา ไม่สนใจว่าจะต้องทำอะไรบ้าง หรือใครจะคอย ใครจะรีบ เวลาทำอะไรจึงมักช้า เวลาทำกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรใดๆ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว หรือทำงาน ก็จะติดเล่น ใจลอย เวลาพ่อแม่ เรียกให้รีบๆทำก็จะละเลยไม่สนใจ

วิธีการแก้ไข
  • กำหนดตารางเวลากิจกรรมให้ชัดเจน


  • . กำกับให้ทำอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล พูดให้น้อย บ่นน้อย แต่เอาจริงมากๆ อย่าปล่อยให้เด็กโอ้เอ้


  • . เมื่อเด็กทำเอง คอยกำกับห่างๆ เมื่อเด็กเริ่มหลุดการควบคุมตัวเอง ให้กลับเข้าไปกำกับใหม่


  • . ชมเมื่อเด็กทำได้ หรือร่วมมือ


อย่าให้เด็กโอ้เอ้ได้ผล




" ลายมือไม่สวย "


เด็กสมาธิสั้นมักลายมือไม่ดี ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

  1. . เด็กสมาธิสั้นมักมีปัญหาในการควบคุมกล้ามเนื้อ การจดจำตัวอักษรเครื่องหมาย และ การใช้มือให้ประสานกับสายตา บางคนมีปัญหาในการเรียนเฉพาะด้านร่วมด้วย ทำให้มีความสับสนในตัวหนังสือ การเขียนการอ่านมักจะมีปัญหาได้ง่าย เวลาเขียนหนังสือจึงมักทำได้ช้า และไม่สวยงาม แม้จะฝึกมากๆก็ยังสวยได้ยาก เด็กที่เป็นแบบนี้มักจะบ่นว่าเมื่อยมือเวลาเขียน และลายมือไม่ดีอย่างสม่ำเสมอ บางคนครูจะสังเกตว่าเวลาให้เขียนตามกระดานจะทำได้ช้ามาก เพราะเด็กไม่สามารถจดจำสิ่งที่ครูเขียนได้มากเหมือนเด็กอื่นๆ


  2. . เด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยชอบเขียน อยากเล่นมากกว่า เวลาเขียนจึงไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ทำให้เสร็จๆไป โดยไม่อยากให้สวยงาม เด็กที่เป็นแบบนี้มักจะเขียนสวยงามได้บางเวลา ขึ้นอยู่กับอารมณ์ บางวันก็เขียนสวย บางวันเหมือนไก่เขี่ย


วิธีการแก้ไข
พ่อแม่ควรยอมรับปัญหาเรื่องนี้ด้วยความสงบ ไม่ควรคาดหวังว่าลูกจะต้องมีลายมือสวยงาม แต่ก็ควรฝึกให้เด็กพัฒนาลายมือขึ้น ให้อย่างน้อยอ่านออก แม้จะไม่สวยนัก อย่าไปโกรธหรือตำหนิเด็กมากหรือบ่นเรื่องนี้บ่อยๆ ควรสังเกตว่าคำใดหรือตัวอักษรใดที่เด็กมีปัญหามากเป็นพิเศษกว่าตัวอื่น แล้วนำมาฝึกเป็นเขียนระยะสม่ำเสมอ ชมเด็กถ้าเขียนได้ดี หรือเขียนได้เรียบร้อยแม้ว่าจะไม่สวย

ข้อสังเกตจากพ่อแม่หลายคน
เวลาเด็กเขียนไม่สวยแล้วพ่อแม่ทนไม่ได้ จะลบสิ่งที่เด็กเขียน หรือฉีกสิ่งที่เด็กเขียนทิ้ง แล้วให้เด็กเขียนใหม่ การกระทำแบบนี้จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง ขาดแรงจูงใจที่จะเขียน เบื่อการเขียน ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรลบหรือทำลายสิ่งที่เด็กเขียนแล้วให้เด็กเขียนใหม่ แต่ควรให้แก้เฉพาะส่วนที่เด็กเขียนไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ออกจริงๆ เช่น
“พ่ออ่านไม่ออกตรงนี้ ลูกช่วยเขียนใหม่ให้ชัดเจนขึ้นอีกหน่อย”

“แม่อยากให้ลูกลองฝึกเขียนคำนี้ ให้อ่านได้ง่าย สักสองสามบรรทัด นะจ๊ะ”

“แม่ว่าลูกก็เขียนได้ดีขึ้นแล้วละ แต่มีบางคำที่ยังอ่านยาก ลูกลองฝึกตรงนี้ อีกสักบรรทัดหนึ่งนะ”


การฝึกให้เขียน เป็นเรื่องยากและน่าเบื่อสำหรับเด็กสมาธิสั้นมาก ดังนั้นเวลาพ่อแม่จะฝึกให้เขาทำเพิ่มเติม ควรให้ขนาดน้อยๆ แต่ทำบ่อยๆ เป็นครั้งคราวไปเรื่อยๆ เด็กสมาธิสั้นจะยอมรับได้ดีกว่า

ในกรณีที่เด็กลายมือไม่ดีมากๆ แม้พยายามแก้ไขแล้วยังไม่ได้ผลมากนัก อาจฝึกให้เด็กใช้เครื่องพิมพ์ หรือคอมพิวเตอร์ จะช่วยลดปัญหาเรื่องลายมือได้มาก แต่ควรปรึกษาหารือ หรือทำความตกลงกับทางโรงเรียน ในการทำการบ้าน ทำรายงาน ส่งด้วยการพิมพ์แทน ถ้าทำได้อาจช่วยให้เด็กสมาธิสั้นบางคนมีแรงจูงใจต่อการเรียนดีขึ้น

อย่าคาดหวังลายมือมากเกินไป เอาแค่อ่านออก แต่ให้งานเสร็จ




" ไม่ทำการบ้าน ไม่ส่งงาน "


เด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยชอบทำการบ้าน เพราะไม่สนุก เด็กเบื่อง่าย บางคนจดการบ้านไม่ทัน หรือหลบเลี่ยงไม่จดการบ้านมา เมื่อกลับบ้านอาจจะบอกทางบ้านว่า ไม่มีการบ้าน หรือทำเสร็จจากโรงเรียนแล้ว ถ้าพ่อแม่ตามไม่ทัน หรือไม่มีเวลาติดตามเรื่องการบ้านนี้ เด็กจะใช้วิธีหลบเลี่ยงจนเป็นนิสัย เด็กบางคนทำการบ้านเสร็จแล้ว แต่ไปถึงโรงเรียนแล้วไปเล่นจนลืมส่ง หรือไม่กล้าส่งเพราะเลยเวลาที่ครูกำหนดส่ง การป้องกันปัญหานี้ ทำได้ดังนี้

  1. . ขอความร่วมมือคุณครู ช่วยตรวจการจดการบ้านเด็กทุกวัน (บางทีครูมีระบบการตรวจสอบตรงนี้ เช่นให้เพื่อนช่วยตรวจกันเอง ครูช่วยสุ่มตรวจบางวัน หรือ ถ้าคุณครูมีเวลากรุณาตรวจให้ทุกวันจะดีมาก) และถ้าเด็กไม่ส่งงานให้คุณครูช่วยรีบแจ้งทางบ้านทันที


  2. . พ่อแม่ตรวจสมุดจดการบ้านทุกวันและกำกับให้ให้เด็กทำ ตามเวลาที่ตกลงกันไว้ (ตามตารางเวลา) ถ้ายังไม่เสร็จงาน จะไม่ให้เด็กไปเล่น


  3. . ถ้าไม่มีการบ้าน หรือไม่แน่ใจ ให้พ่อแม่มีระบบการตรวจเช็คเรื่องนี้ ทันที เช่น โทรศัพท์ถึงครู หรือเพื่อนลูก(ควรมีเพื่อนที่ดีๆ 2-3 คน ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีนี้ มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า)


  4. . ถ้าลืมจดการบ้านมา หรือมีการหลบเลี่ยงพูดไม่จริง ให้พ่อแม่กำหนดการบ้านเอง โดยอาศัยหนังสือเรียนบทสุดท้าย ให้ทำจำนวนใกล้เคียงกับที่คุณครูน่าจะสั่งให้ และยังคงต้องไปทำย้อนหลังของที่คุณครูให้มาด้วย อาจมีการลงโทษเรื่องนี้ด้วยการลดเวลาเล่นของวันนั้นลงด้วยก็ได้


  5. . พ่อแม่ควรตรวจผลงานของเด็กทุกวัน ควรให้เด็กเอาผลงานมาให้พ่อแม่ดูเมื่อทำเสร็จ


ควรให้เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า การบ้านเป็นงานรับผิดชอบ ที่ต้องทำ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การพยายามหลบเลี่ยงจะยิ่งต้องทำมากขึ้น


กำกับให้เด็กทำการบ้าน ไม่เปิดโอกาสให้หลบเลี่ยง




" ดื้อ "


ดื้อ คือพฤติกรรมหลีกเลี่ยง หลบเลี่ยง ไม่ทำตามคำสั่งของพ่อแม่ หรือทำผิดไปจากข้อตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า

อาการดื้อของเด็กสมาธิสั้นเป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อย เด็กจะดื้อจากหลายสาเหตุ คือ
  • เด็กสมาธิสั้นไม่ตั้งใจฟังคำสั่ง ไม่ใส่ใจ เมื่อสั่งแล้วลืม หรือทำไม่ครบ


  • . เด็กสมาธิสั้นไม่ค่อยอยากทำตามคำสั่ง เนื่องจากติดเล่น หรือกำลังทำอะไรเพลินๆสนุกๆ


  • . เด็กสมาธิสั้นหงุดหงิด หรือโกรธไม่พอใจพ่อแม่ในเรื่องอื่นๆ เมื่อพ่อแม่สั่งให้ทำอะไร ก็ไม่อยากทำ


  • . เด็กสมาธิสั้น ใช้การดื้อ ไม่ร่วมมือ ไม่ทำตาม เป็นการตอบโต้ แก้แค้น ทำให้พ่อแม่โกรธได้ผลที่สุด


เด็กดื้ออาจแสดงออกว่าดื้อตรงๆ ตอบโต้คำสั่งพ่อแม่ทันที หรือดื้อเงียบ คือรับปากว่าจะทำ แต่ขอผัดผ่อนไปก่อน แล้วในที่สุดก็ไม่ทำ(ด้วยเจตนา หรือลืมจริงๆ)

การป้องกัน พ่อแม่ควรใช้คำสั่งที่ได้ผล เวลาสั่งควรแน่ใจว่าเด็กสนใจในคำสั่งนั้น ควรให้เด็กหยุดเล่นหรือหยุดกิจกรรมใดๆที่กำลังทำอยู่เสียก่อน สั่งสั้นๆ ชัดเจน อย่าให้หลายคำสั่งพร้อมๆกัน ให้เด็กทวนคำสั่ง แล้วเริ่มปฏิบัติทันที อย่าให้เด็กหลบเลี่ยง พร้อมกับชมเมื่อเด็กทำ

ในกรณีที่คำสั่งนั้นไม่ได้มีผลให้ทำทันที (เช่น กิจกรรมในตารางเวลา) พ่อแม่ต้องคอยกำกับให้ทำสม่ำเสมอในระยะแรกๆก่อน

ข้อสังเกต ไม่ควรสั่งหรือตกลงกันในกิจกรรมที่พ่อแม่ไม่มีเวลาคอยกำกับให้ทำในระยะแรกๆ

เมื่อพ่อแม่สั่ง ให้กำกับให้เด็กทำอย่างจริงจัง




" เถียง "


การเถียงเก่งเป็นลักษณะประจำตัวของเด็กสมาธิสั้นประการหนึ่ง การเถียงเปรียบเหมือนการอยู่ไม่นิ่ง(ทางวาจา)ของเด็ก ยิ่งพ่อแม่ต่อล้อต่อเถียงด้วย เด็กจะสนุก ตื่นเต้นเร้าใจ แต่ในระยะยาว เด็กจะติดนิสัยการเถียงด้วย ซึ่งพ่อแม่อาจทนไม่ได้ ในที่สุดอาจลงเอยด้วยการถูกดุด่า

บางครั้งเด็กเถียงเพื่อทดสอบดูว่าพ่อแม่เอาจริงในคำสั่งแค่ไหน เถียงเผื่อจะชนะ เผื่อมีโอกาสได้อย่างที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น ไม่พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องโต้เถียงกับเด็กเสมอไป แต่กำกับให้ทำอย่างที่สั่งอย่างจริงจัง เท่านั้นก็มักจะได้ผลแล้ว

การพยายามตอบโต้เอาชนะในการเถียงกับเด็ก ยิ่งอาจทำให้เด็กพยายามหาเหตุผลมาเข้าข้างตนเอง กลายเป็นคนไม่ค่อยมีเหตุผล หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง หรือเถียงข้างๆคูๆ กลายเป็นเด็กไม่น่ารัก

พ่อแม่อาจใช้ประโยคตัดการเถียง เช่น

“เรื่องนี้เราไม่ต้องคุยกันอีกในขณะนี้ ทำตามที่ตกลงกันไว้ก่อน ได้ผลอย่างไรตอนหลังค่อยปรึกษาหารือกันอีกที”

“เรื่องนี้เอาไว้คุยกันวันหลัง วันนี้ทำอย่างนี้ก่อน”

“ แม่ไม่คุยด้วยเรื่องนี้ เอาไว้สัปดาห์หน้า ค่อยคุยกันใหม่”


ไม่แหย่ให้เด็กเถียง ตอบโต้กันให้น้อย กำกับให้ทำมากๆ




" แกล้งน้อง "


เด็กสมาธิสั้นมักมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย ขาดการยับยั้งชั่งใจตัวเอง เวลาโกรธมักควบคุมได้น้อย การกระทบกระทั่งกับน้องจึงเกิดได้บ่อย บางครั้งเด็กไม่ได้มีเจตนาจะแกล้งน้องจริงๆ แต่เวลาเล่นกับน้องมักจะควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ดี จึงมักจะเล่นกับน้องแรงไปหน่อย หรือบางทีมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง น้องอาจเผลอทำพี่เจ็บ เขาจะโกรธรุนแรงเละตอบโต้ด้วยความโกรธ ทำให้น้องเจ็บมาก จนดูเหมือนเป็นการรังแกน้องจริงๆ พ่อแม่ต้องแยกแยะการรังแกน้อง และ การทำโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะวิธีการจัดการจะแตกต่างกันมาก

ถ้าไม่ได้ตั้งใจ พ่อแม่ควรเข้าใจเขา การดุด่าไม่ได้ประโยชน์ ยิ่งจะทำให้เด็กเคียดแค้น และอาจพลอยพาลไปโกรธน้อง(ที่เป็นเหมือนต้นเหตุ) ควรชวนคุยเพื่อหาสาเหตุ และหาทางป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก ถ้าเด็กคิดไม่ออก พ่อแม่อาจให้คำแนะนำ เช่น วิธีเล่นกับน้องเบาๆ ถ้าน้องทำไม่ถูกควรจะตักเตือนอย่างไร ควรแจ้งพ่อแม่หรือไม่

ถ้าเด็กตั้งใจแกล้งน้อง ควรทบทวนหาสาเหตุว่า เกิดจากอะไร เช่น เด็กควบคุมความโกรธไม่ได้ เด็กอาจมีความคิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารบางอย่าง หรือ เด็กอิจฉาน้อง และแก้ไขตามสาเหตุ

ชวนให้เด็กเล่นดีๆกับน้อง




" เด็กอิจฉาน้อง "


เด็กสมาธิสั้นมักอิจฉาน้องได้ง่าย เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
  • ตัวเองทำผิดบ่อยๆ ถูกดุถูกว่าถูกตำหนิ ถูกทำโทษจนเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง จะไม่ค่อยพอใจใคร หงุดหงิดกับน้องได้ง่าย


  • น้องเป็นเด็กดี เรียบร้อย ใครๆอยากเล่นด้วยคุยด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเองแล้วสู้น้องไม่ได้


  • พ่อแม่ชมน้อง พอใจน้อง พูดดีๆกับน้องมากว่า บางทีเปรียบเทียบตัวเด็กกับน้อง ทำให้อาย รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า


  • พ่อแม่บังคับให้ตามใจน้อง ยอมน้อง ทำให้โกรธ เคียดแค้นน้อง


  • น้องเด็กสมาธิสั้นบางคนก็เป็นโรคสมาธิสั้นเหมือนพี่ จะก่อกวนพี่ แหย่พี่ให้หงุดหงิด หรือชวนกันก่อปัญหาร่วมกับพี่ แต่เวลาพ่อแม่ลงโทษ มักลงโทษพี่คนเดียว พี่อาจโดนพ่วงข้อหาไม่ดูแลน้อง หรือห้ามน้องไม่ได้อีก ทำให้พี่โกรธน้อง


  • ตัวเด็กเองถูกกล่าวหาว่าแกล้งน้อง ไม่มีน้ำใจกับน้อง พ่อแม่บางคนชอบบังคับให้พี่ให้ของๆเขากับน้อง ด้วยความไม่เต็มใจ ยิ่งทำให้พี่ไม่อยากให้น้อง โกรธน้องที่เป็น(ส่วนหนึ่งของ)สาเหตุ


  • เด็กเกิดความรู้สึกพ่อแม่ไม่รัก ไม่เป็นที่ยอมรับ หงุดหงิด พาลมาโกรธกับน้อง


วิธีการแก้ไข
  • การแก้ไขควรทำตามสาเหตุ


  • งดการดุด่า ลงโทษที่ไม่จำเป็น ไม่ได้ผล และที่มีผลข้างเคียง


  • เพิ่มการพูดคุยสื่อสารกันดีๆ มีการเล่นกันบ้าง ปรับความสัมพันธ์ให้ดี


  • ฝึกความมีน้ำใจจากตัวเอง ไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควรใช้วิธีจูงใจจะดีกว่า


อย่าลืมว่าการฝึกให้มีน้ำใจ ไม้ได้จากการบังคับ แต่มาจากการอยากให้ด้วยตัวเอง ถ้าเด็กยังไม่อยากให้ ไม่ควรบังคับ เพราะจะไม่ได้ผลถาวร ควรแนะนำเด็กว่า “ถ้าหนูเบื่อแล้วค่อยแบ่งให้น้องก็ได้” “น้องคงรักหนูมากถ้าหนูให้เขาเล่นบ้าง” “แม่จะดีใจ ถ้าเห็นหนูให้น้องยืมเล่นบ้าง” และอย่าลืมแสดงความชื่นชม เมื่อเด็กแบ่งให้น้องจริงๆ

จูงใจให้เด็กทำดีกับน้อง แล้วชม




" แกล้งเพื่อน "


เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักจะซน ควบคุมตัวเองลำบาก ทำให้อาจไปละเมิดเด็กอื่นได้ แต่เด็กมักไม่ค่อยยอมรับว่าตนเองเป็นผู้เริ่มต้นละเมิดคนอื่นก่อน เช่น ล้อเลียน แหย่ แกล้ง ทำให้คนอื่นไม่พอใจ จนมีการตอบโต้กันไปมา แต่เมื่อให้เด็กสรุปเอง เขาจะบอกว่าโดนแกล้งก่อน ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เขาอาจจะเป็นผู้เริ่มต้นก่อนก็ได้ บางทีการตอบโต้นั้นเกิดเป็นวงจนหาจุดเริ่มต้นจริงๆไม่ได้

เมื่อเด็กมาฟ้องแม่ว่าตนเองถูกรังแก พ่อแม่ต้องทำใจให้เป็นกลาง อย่าเพิ่งเชื่อเด็กทันที ควรสอบถามให้ชัดเจนก่อนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆเป็นอย่างไร เช่น
“ลองเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดซิ”

“ตอนนั้นลูกทำอะไรอยู่”

“ก่อนหน้านั้นลูกทำอะไร”

“มีอะไรที่ทำให้เขาไม่พอใจลูกอยู่ก่อน เช่น เมื่อวานนี้ ลูกทำอะไรให้เขาไม่พอใจบ้างไหม”

“อะไรทำให้เขามาทำเช่นนี้กับลูก”

“ลูกคงโกรธที่เขาทำเช่นนั้น”

“แล้วลูกตอบโต้ไปอย่างไร”

“ลูกคิดว่าเขาจะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร”

“ลูกคิดว่าเรื่องมันจะจบลงแค่นี้หรือเปล่า”

“เพื่อนเขาอาจเจ็บแค้น มาหาเรื่องในวันหลังได้หรือไม่”

“ลูกคิดว่านะจะหาทางออกอย่างไรดี ที่จะได้ผลดีในระยะยาว”


สิ่งที่พ่อแม่น่าจะสอนเด็กคือ วิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่นุ่มนวล มีทางออกสำหรับแก้ปัญหาหลายๆแบบให้เด็กเลือกใช้ โดยไม่ไปตำหนิเด็กตรงๆก่อน

ฟังเรื่องราวให้จบ และหาทางป้องกันครั้งต่อไปให้ถูกต้อง




" เจาะหู เจาะลิ้น สักผิวหนัง "


การทำอะไรที่ตื่นเต้นท้าทาย เร้าใจ เป็นสิ่งที่เด็กสมาธิสั้นชอบมาก บางคนจะไปเจาะหู เจาะลิ้น เจาะที่อื่นๆ หรือสักผิวหนัง ก่อนทำมักไม่ค่อยได้คิดว่า เมื่อสักไปแล้ว อาจจะเกิดผลเสียอะไรตามมา หรือการสักเอง ถ้าทำไม่สะอาด ใช้เข็มสักร่วมกันกับคนอื่น ก็อาจติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ โรคตับอักเสบ

การป้องกันที่ดี คือ
  • . การฝึกให้เด็กมีความพอใจตนเอง ภูมิใจตนเอง มีจุดเด่นของตน ให้ความรู้เรื่อง การทำอย่างไรให้ตนเองพอใจ เป็นจุดเด่น เด็กที่พอใจตนเองแล้วจะไม่ค่อยต้องการทำให้ตัวเองเด่นหรือพอใจด้านอื่นๆ


  • . หาโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เรื่องการเจาะต่างๆของวัยรุ่น ข้อดีข้อเสีย อันตรายและความเสี่ยงต่างๆ เช่น รอยสักอาจทำให้เป็นที่เพ่งเล็งของครูที่เห็น การลบรอยสักออกในภายหลังทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก พ่อแม่ควรรับฟังความต้องการของเด็กก่อน อย่าเพิ่งห้าม หรือดุด่า ค่อยๆคุยกัน ให้เด็กได้รับทราบข้อมูล ข้อดีข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น หลังจากนั้นเด็กมักตัดสินใจได้ถูกต้อง ข้อเสียที่เด็กมักรับฟัง คือ ข้อเสียเรื่องค่าใช้จ่าย การติดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ และโรคตับอักเสบ จากการใช้เข็มสักที่ไม่สะอาดร่วมกับผู้อื่นที่มีเชื้อโรคเหล่านั้น ข้อเสียอื่นๆ ควรพยายามให้เด็กได้คิดด้วยตัวเอง ได้แก่ การมีรอยสัก หรือแผลเป็น อาจทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับการสมัครเข้าทำงานในบางอาชีพได้


  • . หากิจกรรมที่สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ ที่เหมาะสมทดแทน เช่นการเล่นกีฬา เกมส์ กิจกรรมกลุ่ม


  • . การฝึกให้เด็กมีความต้องการอะไร ให้บอกพ่อแม่ เพื่อปรึกษาหารือกันก่อน แทนที่จะแอบๆทำ แต่การจะให้เด็กใว้ใจ พ่อแม่ต้องใจเย็น อย่ารีบห้ามหรือโวยวายเวลาเด็กแสดงความต้องการที่เราไม่เห็นด้วย ให้ฟังเขาก่อน กระตุ้นให้เขาคิดกว้างขวางทั้งข้อดีข้อเสียด้วยตัวเอง ชมที่เขาสรุปและตัดสินใจได้ดี


หาทางให้เด็กมีข้อดีของตนเอง




" เล่นไฟ "


ไฟเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวร้าว เด็กสมาธิสั้นที่มีความโกรธความก้าวร้าว จะเก็บกดไว้ และแสดงออกเป็นการชอบเล่นกับไฟ เพื่อระบายความโกรธความก้าวร้าว แต่บางครั้งการเล่นกับไฟ มักกลายเป็นอันตราย เนื่องจากเด็กมักหลบๆซ่อนๆเล่น จึงมักเล่นเวลาพ่อแม่ไม่อยู่ บางคนจุดไฟเล่นบนที่นอน จนกลายเป็นเพลิงไหม้บ้านได้เหมือนกัน

การป้องกันเด็กเล่นไฟ ควรมีกิจกรรมที่ได้ระบายความโกรธ ความก้าวร้าว ความต้องการแก้แค้น เช่น ศิลปะ(ทุกรูปแบบ การแกะสลักและเครื่องปั้นดินเผา) กีฬาที่มีการปะทะกันแรงๆ(แต่มีกติกาชัดเจน) เช่นฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ เทควันโด ยูโด ยิงปืน ยิงธนู ชกมวย การเล่นกีฬาเหล่านี้ต้องมีผู้ฝึกหรือครูที่ดี การแสดงความก้าวร้าวที่มีการควบคุม เป็นการฝึกการควบคุมตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย

ถ้าเด็กอยากเล่นกับไฟมากๆ อาจฝึกให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับไฟโดยตรง เช่นก่อกองไฟ หุงหาอาหาร เผาหญ้า เผาต้นไม้ โดยมีการสอน และดูแลอย่างใกล้ชิดในระยะแรก ควรหัดให้เขาคิดว่า ไฟที่เขาจุดทุกครั้งมีความเสี่ยงอะไรบ้าง เช่นมันอาจลุกลามไปติดเชื้อไฟที่ไหนบ่งไหม หรือลูกไฟอาจปลิวไปติดไฟที่อื่นได้หรือไม่ ต้องสังเกตทิศทางลมอย่างไร หรือมีการเตรียมการดับไฟ เช่นน้ำ ถังดับเพลิง การฝึกให้คิดล่วงหน้าเช่นนี้ เป็นการฝึกการวางแผน การป้องกันการเสี่ยง การคิดก่อนทำด้วย

หากิจกรรมที่ระบายความก้าวร้าว ให้เพียงพอ




" รังแกสัตว์ "


บางครั้งความโกรธความก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น จะระบายออกมาเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรังแกสัตว์ ที่ไม่มีทางสู้ได้ ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้เด็กสมาธิสั้น ที่ก้าวร้าว อยู่ใกล้ชิดสัตว์เลี้ยง จนกว่าเขาจะเรียนรู้ความเมตตาปราณี และมีพฤติกรรมอ่อนโยนต่อสัตว์ได้ก่อน

วิธีการป้องกัน คือ ฝึกให้เด็กมีสัตว์เลี้ยงของตัวเอง เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ฝึกให้เป็นคนมีความเมตตาต่อสัตว์ จนสัตว์เลี้ยงคุ้นเคย ต่อไปสัตว์จะเล่นด้วย ความรู้สึกอ่อนโยนต่อสัตว์จึงจะเกิดขึ้น หน้าที่ได้แก่ การให้เลี้ยงเอง รับผิดชอบเองทุกอย่าง ตั้งแต่การให้อาหาร ทำความสะอาด พาไปฉีดวัคซีน

สุนัข จะเป็นตัวแทนของสัตว์เลี้ยงที่ดี มีความผูกพัน มีอารมณ์ร่วมไปกับคนได้

การให้เด็กเลี้ยงสัตว์ ยังเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความภูมิใจต่อตัวเอง

ความสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นที่รัก ไม่เหงา มีเพื่อน ช่วยเสริมพัฒนาการทางอารมณ์แก่เด็กที่มักไม่มีเพื่อน หรือไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของคนอื่น

เมื่อเด็กมีความโกรธเรื่องใด หาทางให้เด็กระบายออกอย่างถูกต้อง

ส่งเสริมให้เด็กเลี้ยงสัตว์ในบ้าน ป้องกันการระบายความโกรธกับสัตว์เลี้ยง




" หนีเรียน "


เด็กสมาธิสั้นที่เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง มักเบื่อการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน ไปแล้วไม่ค่อยสนุก ถ้าโดนลงโทษมากๆจะยิ่งไม่อยากมาโรงเรียน พ่อแม่จึงควรหาสาเหตุของการหนีเรียน

  • . ขาดแรงจูงใจในการเรียน


  • . มีปัญหาการเรียนเฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์


  • . ตามเพื่อน


  • . หนีเที่ยว หาอะไรสนุกๆ ตื่นเต้นทำ


  • ไม่คิดว่าครูจะจับได้ คิดว่าหลบเลี่ยงได้


  • คิดว่าไม่ต้องเรียนก็ได้ พ่อแม่หาเงินมาเตรียมไว้พร้อมแล้ว


  • ไม่ได้คิดอะไรเลย ขอสนุกไว้ก่อน


สิ่งสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ควรช่วย คือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการเรียน ถ้ามีปัญหาการเรียนต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว การให้ยารักษาโรคสมาธิสั้นตั้งแต่แรก จะช่วยให้เรียนได้รู้เรื่อง มีความสุขกับการเรียน ประสบผลสำเร็จในการเรียน เพราะเรียนเข้าใจขึ้น สนุกกับการเรียน

ลำดับต่อมา พ่อแม่ควรฝึกนิสัยให้มีความรับผิดชอบต่อการเรียน ให้ทำหน้าที่ของตนเอง ทำงานให้สำเร็จ

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ควรส่งเสริมให้เด็กมีเป้าหมายของตนเอง ตามความชอบความถนัด

สร้างแรงจูงใจในการเรียนตั้งแต่เด็ก ถ้ามีปัญหาในการเรียนต้องรีบแก้ไข



Create Date : 11 มกราคม 2551
Last Update : 27 ธันวาคม 2551 21:51:42 น. 0 comments
Counter : 1477 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.