บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น - ช่วยพัฒนาทางด้านความคิด

บทที่ 4 ทักษะความคิด


การฝึกให้คิดทบทวน


ความคิดของเด็กสมาธิสั้นมักว่องไวมากพอๆกับการเคลื่อนไหวทางกาย ทำให้เขามักไม่ค่อยคิดทบทวน ไม่คิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่เรียนรู้ความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในอดีต วิธีการฝึกให้คิดทบทวนทำได้ดังนี้
  • . การฝึกให้เด็กบอกสิ่งที่กำลังคิด

  • ให้เด็กหลับตานิ่งๆ 1 นาที แล้วให้บอกว่า เมื่อสักครู่นี้ คิดอะไรบ้าง มีกี่เรื่อง เรื่องอะไร

  • . การชวนคุยถึงสิ่งที่เพิ่งผ่านไป

  • พ่อแม่ชวนคุยเรื่องอะไรก็ได้ที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆ เช่นเมื่อ สักครู่นี่รถแล่นผ่านไป เขาเห็นอะไรบ้าง หรือให้เขาลองกวาดสายตามองดูข้างทางประมาณ 5 วินาที แล้วให้ปิดตา ถามว่าเห็นอะไรบ้าง ให้ดูการ์ตูนสั้นๆ จบแล้วถามว่า เรื่องที่อ่านนั้นเกี่ยวกับอะไร ลองเล่าให้ฟังว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร

  • . ฝึกให้คิดทบทวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

  • พ่อแม่ชวนลูกคุยเรื่องความผิดที่เพิ่งเกิดขึ้น ให้ย้อนคิดว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง เน้นให้เด็กมองสาเหตุรอบด้าน แต่ใส่ใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมของตนเอง หาทางออกใหม่ๆที่ได้ผลดีกว่าเดิม และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

เด็กสมาธิสั้นมักโทษคนอื่นก่อน อย่าเพิ่งรีบให้เด็กโทษตัวเอง(เพราะเขาจะรับไม่ได้ อาจมองว่าถูกดุว่าตำหนิอีกแล้ว) การฝึกเรื่องนี้ช่วยให้เด็กสมาธิสั้นเรียนรู้ความผิด และนำมายั้งตัวเอง สอนตัวเองในอนาคต

การคิดทบทวนช่วยให้เรียนรู้การจัดลำดับความคิด และแก้ไขป้องกันปัญหาจากอดีต




การฝึกควบคุมความคิด


ความคิดของเด็กสมาธิสั้นมักจะรวดเร็ว จนขาดความเป็นระบบระเบียบ ขาดการยั้งคิด ขาดความรอบคอบ ความคิดกับการกระทำเกิดขึ้นแทบพร้อมๆกัน ทำให้เห็นเป็นพฤติกรรมขาดการยั้งคิด ขาดการไตร่ตรองทบทวน

พ่อแม่สามารถเริ่มต้นจากการฝึกให้เด็กวางแผนการคิด คือ
  • . คิดให้เป็นระบบ


  • . คิดที่ละอย่าง มีการหยุดคิดได้


  • . มีวิธีคิดที่ดี มีขั้นตอนการคิดที่ถูกต้อง

การฝึกเรื่องนี้ นอกจากใช้วิธีฝึกสติ ฝึกสมาธิแล้ว พ่อแม่จะเป็นตัวอย่างที่ดี ในการสนทนากับเด็กนั้น นอกจากพ่อแม่กระตุ้นให้เด็กพูดแล้ว ควรมีการฟังความคิดของเด็กด้วย การชมความคิดที่ดีของเขา ร่วมกับการที่พ่อแม่เสนอความคิด ทัศนคติ และวิธีคิดของผู้ใหญ่ จะเป็นแบบอย่างที่เด็กเรียนรู้และซึมซับโดยอัตโนมัติ การฝึกวิธีคิดที่ดี ทำได้โดยการชวนให้เด็กพูดหรือแสดงออกถึงความคิดของเขาต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เห็นหรือประสบด้วยตนเอง หรือลองสมมุติเหตุการณ์แล้วให้เด็กคิด หาทางออกหลายๆทาง วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของทางเลือกต่างๆ

เด็กสมาธิสั้นส่วนมากมักคิดไม่ค่อยดี เนื่องจากตนเองถูกดุ ถูกว่า ถูกตำหนิ จนมองตัวเองไม่ดี ขาดความภูมิใจในตนเอง ทำให้อาจมองว่าคนอื่นคิดไม่ดีต่อตนเองด้วย เวลาเพื่อนเล่นด้วยแรงๆอาจมองว่าเพื่อนแกล้ง เวลาเพื่อนหยอกอาจมองว่าเพื่อนล้อเลียน การฝึกให้คิดดี ทำได้โดยการฝึกสงบใจตนเอง มองข้อดีของตนเอง และพยายามมองหาข้อดีของคนอื่น หรือของคนที่เราไม่ชอบ ชื่นชมในความดีของคนอื่น

การทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลให้กับคนที่ไม่เคยรู้จัก หรือให้กับคนที่เราไม่ชอบด้วย ก็เป็นการฝึกให้คิดในทางที่ดีเช่นกัน

การฝึกให้คิดในแง่ดี ทำได้โดยชวนให้เด็กมองทั้งแง่ดีแง่ร้ายของเหตุการณ์เสมอ การมองปัญหาหรือแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ก็เป็นแบบอย่างของการมองโลกของเด็กด้วย ดังนั้นการที่พ่อแม่มีการมองโลกกว้างๆ มองเห็นถึงข้อดีข้อเสีย มีทางเลือกในชีวิตหลายทางต่อปัญหาในชีวิต ก็เป็นตัวอย่างแก่เด็กอย่างดีเช่นกัน

ตัวอย่างของการฝึกให้เด็กคิดดี
“ลูกเล่าให้ฟังว่าเพื่อนเขาล้อ เขาพูดอย่างไร”
(สำรวจปัญหา)

“ลูกคงโกรธ เมื่อคิดว่าเขามาล้อเลียน”
(สะท้อนความรู้สึกลูก เด็กจะรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นพวกเดียวกับเขา)

“ลูกคงไม่อยากให้เขาพูดอย่างนั้นอีก”
(สะท้อนความคิดของลูก)

“แล้วลูกทำอะไร เมื่อเขาพูดเช่นนั้น”
(สำรวจลงลึกถึงพฤติกรรมที่เขาทำ)

“ลูกคิดว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้นไหม ที่จะทำให้เขาเข้าใจ และไม่พูดเช่นนั้นอีก”
(กระตุ้นให้ลูกหาความคิดที่ดี ในการแก้ปัญหา)

“เพื่อนคนนี้เขาชอบล้อคนอื่นๆด้วยหรือเปล่า”
(ถ้าใช่ ลูกก็ไม่ได้อยู่คนเดียว มีเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยหลายคน)

“เพื่อนคนอื่นเขาทำอย่างไร เวลาถูกล้อแบบนี้”
(แสวงหาความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ)

“เป็นไปได้ไหมว่าเพื่อนเขาอยากเล่นกับลูก แต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร”
(ความคิดที่ดี ว่าลูกเป็นที่สนใจของเพื่อน)

“เด็กบางคนเวลาสนใจเด็กอื่น อยากเล่นด้วยหรือพูดด้วย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร อาจใช้วิธีหยอกล้อ ลูกคิดว่าเขาเป็นอย่างนั้นได้หรือเปล่า”
(ความคิดที่ดีว่า การหยอกล้อไม่ใช่การล้อเลียน แต่เป็นวิธีการเริ่มต้นสื่อสาร ของเด็กบางคน)

สองประโยคท้ายนั้น เป็นการชี้แนะถึงความคิดที่ดี ที่น่าคิด เพื่อให้ลูกมองความเป็นไปได้กว้างขึ้น ควรพูดตอนท้ายๆไม่ควรพูดตั้งแต่ต้น เพราะถ้าพูดตอนแรกเด็กอาจคิดว่าพ่อแม่เข้าข้างเพื่อน ซึ่งาจจะคิดว่าเราเข้าข้างเพื่อน ว฿ทำให้เขาไม่ยอมรับความคิดนี้ตั้งแต่ต้น แม้ว่าพ่อแม่พยายามมีจังหวะในการฝึกอย่างดีแล้ว ลูกอาจไม่ยังยอมรับว่าความคิดดีอีกด้านที่พ่อแม่เสนอ ก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นต้องให้เด็กยอมรับทันที แต่การเสนอความคิดที่ดี ที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมๆของเขา จะเป็นเหมือนทางเลือกของความคิดที่เด็กซึมซับ และถ่ายทอดไปจากพ่อแม่เองในเวลาต่อมา

ฝึกให้เด็กคิดเป็น คิดดี มองโลกในแง่ดี เป็นระบบความคิดที่ติดตัวตลอดไป




การคิดให้เป็นระบบ


การคิดที่เป็นระบบต้องการสมาธิมาก จึงจะเชื่อมโยงความคิดให้ติดต่อถึงกัน ให้เป็นระบบ มีความสัมพันธ์กัน เด็กสมาธิสั้นขาดความสามารถในการคิดให้เป็นระบบ ดูเหมือนไม่คิดก่อนทำ เวลาทำอะไรมักไม่คิดให้รอบคอบ วิธีฝึกให้คิดเป็นระบบ ทำได้ดังนี้
  • . ชวนให้คิดล่วงหน้า


  • . ไม่ส่งเสริมดีใจกับความสำเร็จที่เกิดโดยบังเอิญ


  • . ชมเชยผลสำเร็จที่เกิดจากการเตรียมตัว จากการทำด้วยตนเอง จากความพยายามของตน


  • . ไม่ชื่นชมหรือคาดหวังจากความสำเร็จจากสิ่งนอกตัว เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดวง โชคลาง


  • . ฝึกให้เด็กคิดแล้วเขียนสิ่งที่คิด (ต่อไป คือการส่งเสริมให้ทำได้อย่างที่คิด พ่อแม่คอยชื่นชม)


  • . ฝึกให้เด็กเขียนเรียงความ บทความ


  • . ฝึกให้สรุปความ ย่อความ ให้ความเห็นส่วนตัว


  • . ฝึกให้เขียนบันทึกประจำวัน


  • . ฝึกให้เขียนบันทึกค่าใช้จ่าย บัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีการใช้เงินในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์


  • . ฝึกให้คิดวางแผนการใช้เงินในโครงการต่างๆ


  • . ฝึกด้วยการให้เด็กเขียนแผนที่ เช่น แผนที่จากบ้านไปโรงเรียน จากบ้านไปเที่ยว การฝึกเขียนแผนที่เป็นการฝึกเกี่ยวกับความคิดรวบยอด นั่นคือ การวางแผน การกะพื้นที่ การบริหารจัดการเกี่ยวกับเส้นทางและการเดินทาง


  • . การฝึกให้เด็กเขียน “ แผนที่ความคิด”, “เว็บ” , แผนภูมิก้างปลา , ตารางเวลาเรียน หรือทำงาน เพื่อหัดให้เด็กจัดกระบวนความคิดให้เป็นระบบ ง่ายต่อการจดจำ และนำไปใช้ในชีวิต


คิดเป็นระบบ มีแผนการคิดที่ดี เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และแก้ปัญหาของเด็กสมาธิสั้น




การฝึกเขียนแผนที่ความคิด


  • . ให้เด็กเลือกคำที่แสดงความคิดหลัก ซึ่งเป็นหัวใจของเรื่อง


  • . ให้เขียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำหลักนั้น(คำรอง) โดยมีเส้นโยงกับคำหลัก


  • . ให้เขียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำรอง โดยมีเส้นโยงกับคำรองที่เกี่ยวข้อง ต่อไปเรื่อยๆ


  • . ใช้รูปภาพและสีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้




การฝึกสติและสมาธิ : การคิดอยู่กับปัจจุบัน


เด็กสมาธิสั้นสามารถฝึกสติและสมาธิได้ แม้ว่าบางคนฝึกได้ยาก ถ้าฝึกได้ต่อเนื่องกันช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น แต่การฝึกในระยะแรกต้องให้ง่ายกว่าเด็กธรรมดา ให้เด็กค่อยๆคุ้นเคย ไม่เคร่งเครียดเอาจริงเอาจังมากจนเด็กเบื่อ ควรเริ่มต้นจากการฝึกสติ ให้จดจ่ออยู่กับการกระทำ หรือการเคลื่อนไหว ทำได้ง่ายกว่าการฝึกสมาธิ

การฝึกสติ


การฝึกเริ่มต้นจากการให้เด็กรู้จักการสังเกตลมหายใจของตนเอง หลังจากนั้น ให้กำหนดลมหายใจเข้าออก โดยมีสติกำกับอิริยาบถตลอดเวลา
  • . หายใจเข้า ให้รู้สึกว่าลมหายใจผ่านกระทบช่องจมูก


  • . หายใจเข้าช้าๆจนเต็มที่ หยุดพักเล็กน้อย


  • . แล้วหายใจออกช้าๆให้รู้สึกว่าลมหายใจผ่านกระทบช่องจมูกเช่นกัน จนหายใจออกหมด หยุดพักเล็กน้อย

บางคนเวลาหายใจเข้า ให้สังเกตที่พุง หายใจเข้าพุงป่อง หายใจออกพุงยุบ (กำหนดในใจว่ายุบหนอ พองหนอ)

ต่อไปเมื่อทำได้คล่องขึ้น ฝึกให้มีสติกำกับทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเป็นการเดิน การพูด การกินอาหาร เมื่อจิตหลุดไปคิดเรื่องอื่นเมื่อไร ให้พยายามดึงกลับมาสู่การกระทำในปัจจุบันนั้นทันที

การฝึกสติช่วยให้เด็กคิดก่อนทำ ไม่ทำไปตามแรงผลักดันทันทีโดยไม่ยั้งคิด เป็นการฝึกให้ควบคุมตนเองทีละน้อย การฝึกสติในเด็กควรเริ่มฝึกตั้งแต่เล็ก ฝึกครั้งละสั้นๆ เท่าที่เด็กทำได้ก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาให้ยาวขึ้นตามอายุ เมื่อฝึกสติได้ดีแล้วต่อไปค่อยฝึกสมาธิ

เทคนิคที่ช่วยฝึกสติเช่นกัน ได้แก่ การสวดมนตร์ การท่องอาขยาน การร้องเพลง ดนตรี กิจกรรมศิลปะ ซึ่งมีการกระทำที่ต้องอาศัยความจดจ่ออยู่ตลอดเวลา การฝึกจะง่ายขึ้นถ้าเลือกกิจกรรมที่เด็กชอบทำได้สนุกและง่ายก่อน



ฝึกให้พูดความคิดออกมาดังๆ


การให้เด็กพูดความคิด คือการฝึกให้เด็กติดตามความคิดตนเอง การติดตามความคิดช่วยให้การกระทำนั้นชะลอลง พอที่มีเวลาคิดไตร่ตรองให้มากขึ้น ไม่ทำไปด้วยความใจร้อนหรือไม่ได้คิดเหมือนเดิม

ในเด็กเล็กวิธีที่พ่อแม่รู้ว่าเด็กคิดอย่างไร คือการให้เด็กพูดความคิดออกมาดังๆ คล้ายการอ่านออกเสียง เป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยคิดก่อนทำ นึกอยากทำอะไรก็ทำเลย การฝึกเรื่องนี้ช่วยชะลอการกระทำให้ช้าลงและเพิ่มความคิดก่อน การฝึกเริ่มต้นจากการพูดความคิดในสิ่งที่จะทำจริงง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น
“ฉันกำลังจะลืมตา........ฉันกำลังจะลุกขึ้น.....................ฉันกำลังจะเปิดตู้เย็น..........................ฉันกำลังจะหยิบขวดน้ำ...................ฉันกำลังจะเปิดขวดน้ำ.......................ฉันกำลังจะเทน้ำลงในแก้ว..................ฉันกำลังจะดื่มน้ำ ...............”

“ฉันกำลังจะเล่น.......................ฉันจะไปชวนเพื่อน..........................ฉันจะชวนเขาว่าไปเล่นกันไหม.............................”

“ฉันรู้สึกไม่พอใจ........................ฉันไม่พอใจมากขึ้น.............................ฉันโกรธน้อยๆ......................ฉันโกรธมากขึ้น.............”

การพูดความคิดของตนเองนี้ พยายามให้ต่อเนื่อง และเป็นขั้นตอนตามที่เกิดขึ้นจริงๆ ให้ได้ละเอียด การพูดเกิดขึ้นก่อนการกระทำเล็กน้อย การฝึกเช่นนี้ ช่วยให้เด็กสมาธิสั้นคิดก่อนทำ วางแผนก่อน เป็นการฝึกให้ติดตามความคิดตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

บางครั้งการพูดความคิดของตนเองที่เป็นลักษณะปลอบใจตนเอง แนะนำตนเอง ให้กำลังใจตนเอง ช่วยให้สามารถทำอย่างนั้นได้จริงๆ ยกตัวอย่างเช่น
“ฉันสามารถร้องเพลงได้.................ฉันจะพยายามร้องเพลง.......................ทุกคนกำลังให้กำลังใจฉัน.............................ฉันจะลองทำดู...........................ฉันสามารถร้องเพลงได้.......................................”

“ฉันสามารถทำได้...................เรื่องนี้ไม่ยากเกินความสามารถฉัน...........................ฉันต้องทำได้.................................”

“ฉันทำได้ดี...............................ฉันมีความสามารถ.......................................”

ในเด็กโตหรือวัยรุ่น พ่อแม่อาจให้ฝึกพูดความคิดออกเป็นเสียงดังแล้ว ต่อไปให้ลองพูดกับตนเองเบาๆ ต่อไปให้ลดเสียงเบาลงเรื่อยๆ จนในที่สุดให้พูดในใจโดยไม่ต้องออกเสียงดัง(พูดในใจ) เพราะในชีวิตจริงไม่สามารถพูดความคิดตนทุกครั้งทุกสถานการณ์

การพูดความคิด เป็นการฝึกคิดก่อนทำ




การฝึกให้คิดก่อนทำ : การคิดถึงอนาคต


เด็กสมาธิสั้นมักใจร้อน ไม่ค่อยคิดให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจ วิธีฝึกอีกแบบหนึ่งทำได้โดยการ สอนให้เด็กรู้จักการปรึกษาหารือ วางแผนกับผู้อื่น

การส่งเสริมให้โอกาสเด็กคิดและวางแผนร่วมกับพ่อแม่ เป็นการฝึกให้เด็กคิดก่อนทำ ตัวอย่างเช่น
“เสาร์อาทิตย์นี้เราจะมีเวลาว่างร่วมกัน อยากทำอะไรดี”

“ปิดเทอมนี้เราจะทำอะไรดี”

“วันนี้ลูกจะทำอะไรบ้าง”

“สัปดาห์หน้าทางโรงเรียนมีกิจกรรมอะไรบ้าง”

“ของเล่นที่ลูกอยากได้มีอะไรบ้าง ลูกวางแผนอย่างไร”

พ่อแม่อาจกำหนดให้เด็กมีงบประมาณเรื่องของเล่นจำกัด เช่นในช่วงสามเดือนนี้ มีงบให้ 200 บาท เด็กต้องวางแผนเองว่าจะใช้อย่างไร ถ้าซื้อของเล่นชิ้นหนึ่งไปแล้วในราคาแพง ก็ไม่เหลือพอไปซื้ออย่างอื่นได้อีก ต้องรออีก 3 เดือนจึงจะมีเงินก้อนใหม่ แต่ถ้าอดใจไว้ไม่ซื้ออะไรใน 3 เดือนนี้ รออีก 3 เดือนก็สามารถเอาเงินไปรวมกับงวดหน้าได้เงินมากพอที่จะซื้อของเล่นชิ้นใหญ่กว่าได้ เป็นการกระตุ้นให้เด็กรอคอย เก็บเงิน ยั้งใจตัวเองได้

นอกจากนี้ ยังอาจฝึกให้เด็กเขียน หรือบันทึกสิ่งที่คิดและวางแผน ออกมาให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม และเป็นสิ่งเตือนตัวเองในเวลาต่อมา เมื่อเขียนแล้วพยายามฝึกให้เด็กอ่านทบทวนสิ่งที่เขียนเป็นครั้งคราวด้วย



การคิดในเรื่องที่เคยเกิด


พ่อแม่อาจช่วยฝึกเวลาเด็กเผชิญเหตุการณ์ใดๆ ที่ต้องคิดและตัดสินใจ ด้วยการชวนให้เขาคิดว่า
  • . เรื่องนี้คล้ายกับเหตุการณ์ใดในอดีตหรือไม่


  • . จากเหตุการณ์นั้น เขาแก้ไขอย่างไร


  • . แก้ไขแล้วผลเป็นอย่างไร


  • . คราวนี้เขาจะทำอย่างไรที่ดีกว่าเดิม

ฝึกบ่อยๆเขาจะรับระบบความคิดนี้ไว้ในตัวเองโดยอัตโนมัติ ช่วยให้รู้จักคิด ไตร่ตรองก่อนทำ


Create Date : 11 มกราคม 2551
Last Update : 27 ธันวาคม 2551 21:35:38 น. 0 comments
Counter : 1079 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.