บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2550
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
สร้างพายุสมอง ลูกที่ 3

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



“คุณวิบูลย์ ผมว่ามันเสียเวลาเปล่าที่จะมาทำอย่างนี้ แถมยังวุ่นวายอีกด้วย” คุณชัช กล่าวขึ้น ในห้องประชุม ในขณะที่พวกเรากำลังหาเหตุผลขอแต่ละหัวข้อกัน ซึ่งผมคิดว่า คุณชัชคงทนไม่ได้กับการทำอย่างนี้เพราะคุณชัชไม่ได้ร่วมออกความคิดเห็นด้วยเลย
“ผมยอมรับครับว่าวุ่นวายจริงๆ แต่ผมคิดว่ามันคุ้มค่านะครับ ผมว่าคุณชัชรอดูผลที่จะออกมาก่อนไม่ดีหรือครับ”
“อย่างนั้นผมขอตัวไปทำธุระ ก่อน แล้วผลออกมาเมื่อไหร่ค่อยให้ใครไปตามผมเข้ามาประชุมต่อนะครับ”
“ถ้าคุณชัชมีงานด่วนที่ต้องทำ ก็เชิญได้ครับ แล้วผมจะเรียกคนไปเชิญมาประชุมต่อนะครับ”
เมื่อผมพูดยังไม่จบดี คุณชัช ก็เดินออกไปยังประตู และเปิดประตูเดินก้าวออกไปในทันที
“พี่จุงค่ะ…เจนขอโทษฯแทน...” เจนยืนขึ้นและกล่าวขอโทษฯแทนคุณชัช
“ไม่เป็นไรจ๊ะเจน พี่ผิดเองที่เอาอะไรที่ยาก และเสียเวลามากไปหน่อย ทำให้คุณชัชเขารับไม่ได้นะ”

ผมมองกลับไปยังกลุ่มคนที่นั่งอยู่ด้านหน้าผม แล้ว ทำให้ผมรู้สึกว่า ผมเอาเรื่องยากๆมาให้พวกเขาจริงๆ ซึ่งหลายคนทำท่าจะเดินออกจากห้องประชุมเหมือนกับคุณชัช ทำให้ผมต้องอธิบายบางอย่างให้พวกเขาได้รับรู้เสียก่อน...

“ผมคิดว่าหลายๆท่านอาจจะคิดว่า สิ่งเหล่านี้มันยุ่งยากซับซ้อน หรือ มันทำให้เสียเวลา ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ว่าเมื่อพวกคุณสามารถทำได้เองแล้ว คุณจะพบว่า สิ่งที่ผมพยายามถ่ายทอดให้นั้น เป็นแนวคิดที่ดี และมันจะเปลี่ยนแปลงตัวของคุณเองให้กลายเป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อองค์กร ผมขอเล่าให้ฟังขั้นเวลาละกันว่า ผมเปลี่ยนแปลงตัวเองไปมากเพียงใด ระหว่างก่อนและหลังการทำเช่นนี้”

ผมทิ้งช่วงสักอึดใจก่อนจะเล่าเรื่องของผมหลังจากการใช้งานสิ่งเหล่านี้

“เมื่อก่อนผมก็เป็นเหมือนพวกคุณนะครับ คิดว่างานของตัวเองนั้นสำคัญที่สุด ถ้าใครจะแก้ไขปัญหาแล้ว ต้องแก้ไขที่ปัญหาของผมก่อน ซึ่งผมก็เป็นหัวหน้างานที่ต้องคอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลานะครับ พูดง่ายๆก็คือ แก้ปัญหารายวันกันเลยทีเดียว ผมคิดว่าหลายๆท่านตอนนี้ก็คิดแบบผมเมื่อก่อน เพราะการเป็นหัวหน้างานนั้น เขาจ้างมาให้เป็นคนแก้ไขปัญหาในงานต่างๆ ไม่มีปัญหา ไม่ต้องควบคุมงาน แล้วเขาจะจ้างหัวหน้างานมาทำไม”
“แล้วตอนนี้หละครับ คุณจุง” คุณวิษณุถามขึ้น เหมือนอยากรู้คำตอบเลยว่ามันแตกต่างเพียงใด
“ตอนนี้ผมทำงานแบบวางแผน แก้ไขปัญหารายวันลดลง แต่จะใช้การป้องกันปัญหาที่จะเกิดให้ได้มากที่สุดก่อน เพราะว่าผมเริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่ผมควรทำเพื่อป้องกันเหตุการณ์ต่างๆนั้น คืออะไร และพยามป้องกัน และ พัฒนาทางด้านต่างๆก่อนมีปัญหา แต่กว่าผมจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ผมก็หลงทางไปนาน ผมไม่อยากให้พวกคุณหลงทางแบบผม ผมก็เลยอยากจะถ่ายทอดในสิ่งที่ผมคิดว่า มันอาจจะทำให้พวกคุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ดีขึ้น”
“เจนไม่เข้าใจค่ะว่า ทำสิ่งเหล่านี้แล้วมันจะเปลี่ยนให้ดีขึ้นได้อย่างไร” เจนถามแบบอยากรู้
“ ถ้าเข้าใจธรรมชาติของคน ก็จะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ โดยปกติแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้น คนเรานั้นก็ต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราก่อน หากยิ่งมีผลกระทบกับเรามากเท่าไหร่ ก็จะพยายามจัดการสิ่งเหล่านั้น ให้มันเบาบางลงมากที่สุด แต่คนเราก็มักจะมองไม่เห็นต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้มีปัญหาเฉพาะหน้า... เวลาทำงานของนักบริหารโดยทั่วๆไปก็เหมือนกัน มักจะตัดสินใจทำงานในส่วนที่เป็นปัญหาก่อน เมื่อมีปัญหา ก็จะแก้ไขปัญหา”
“มันก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่หรือครับ” คุณวิษณุ เป็นรองหัวหน้าช่างซ่อมบำรุง กล่าวขึ้น
“ผมเข้าใจนะครับว่า งานบางงานจะยุ่งกับปัญหาที่เกิดขึ้นเสียส่วนใหญ่ ถ้าปัญหาไม่เกิดขึ้น ก็จะไม่มีงาน แต่ถ้ามองให้ดี การดูแลไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น อาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ส่วนรวม ไม่ติดขัดก็ได้ อย่างเช่น ถ้าคุณขับรถ แล้ว ไม่เอารถไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนหัวเทียน ตามระยะ ผมรับรองได้เลยว่า รถของคุณจะอยู่กับคุณไม่ได้นาน และ จะเกิดอาการเสียนั่นเสียนี่ตลอดเวลา แต่ถ้านำรถไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะ ตรวจสอบ ปรับแต่งเครื่องตามที่กำหนด สังเกตุและซ่อมบำรุงเป็นประจำ ก็จะทำให้รถของคุณสามารถขับเคลื่อนไปได้นาน และ เครื่องจะยังแน่นอยู่เสมอๆ” คนส่วนใหญ่ยอมรับได้จากเหตุผลกลางๆนี้ ยกเว้นคุณวิษณุ
“อย่างนั้น ช่างซ่อมรถก็ไม่ต้องมีซิครับ...” คุณวิษณุกล่าว
“ช่างซ่อมรถก็ยังต้องมีครับ เพราะว่า การบำรุงรักษา หรือ การตรวจสอบบางอย่างที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ ต้องให้ช่างเทคนิคจัดการนะครับ ทำให้งานของช่างเทคนิคมีงานจุกจิกน้อยลง แต่จะกลายเป็นหมอใหญ่ที่ทำหน้าที่รักษาอาการป่วยจริงๆ นะครับ อย่างผมนะ ผมเอารถเข้าอู่ตามระยะ ถึงแม้นว่าเกิดเสียงแปลกๆ เล็กน้อยบ่อยๆ ผมก็จะเข้าไปตรวจเช็ค และเปลี่ยนอุปกรณ์เลย ซึ่งผมก็ยังต้องใช้ช่างอยู่ดี ผมไม่สามารถทำเองได้ครับ”
“ยังไม่เข้าใจค่ะว่า วิธีการที่พี่กำลังทำอยู่นะจะช่วยแก้ไขและเปลี่ยนแปลงตัวเราได้อย่างไร ” เจนดึงประเด็นกลับก่อนที่ผมจะหลุดออกไปมากกว่านี้
“คืออย่างนี้ หากเรารู้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เรามีปัญหาอะไร เราก็จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นตามสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสิ่งใด เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวได้จากการแก้ไขที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ไขที่ปลายเหตุ”
“แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรเป็นต้นเหตุ อะไรเป็นปลายเหตุ” คุณมิตร ฝ่ายคอมพิวเตอร์ กล่าว
“ก็จากการมองที่ผล แล้วค้นหาสาเหตุ หรือถ้าจากการทำที่ผมกำลังทำอยู่นี้ ผมจะให้คุณบอกว่า อะไรที่ทำแล้ว จะส่งผลให้หัวข้ออื่นดีขึ้น นั่นก็เป็นการหาว่า อะไรเป็นต้นเหตุ และ อะไรเป็นผลที่เกิดจากต้นเหตุเหล่านั้น เมื่อคุณทำตามวิธีการของผมบ่อยๆ คุณจะเข้าใจว่า อะไรบ้างที่เป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด และ อะไรที่เป็นภาพลวงตาของปัญหาที่เรากำลังแก้ไข ซึ่งบางเรื่องอาจจะแก้ไขได้บางเรื่องก็แก้ไขไม่ได้”
“คุณวิบูลย์ ช่วยยกตัวอย่างสักหน่อยได้ไม๊ครับ” คุณมิตรกล่าวขึ้น หน้าตาเหมือนต้องการคำยืนยันในคำพูดของผม
“คุณมิตร ทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ คุณมิตรเคยเขียนหรือ เรียนการเขียนโปรแกรมบ้างไม๊ครับ ?”
“ครับ เคยครับ”
“ผมจำตอนช่วงเวลาที่ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ได้เลยว่า ผมพยายามเขียนดักปัญหาต่างๆให้มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่มี บั๊ก เกิดขึ้นในโปรแกรม นั่นเป็นการป้องกันผลที่จะเกิดขึ้น โดยคาดการณ์เหตุก่อนล่วงหน้า คนทำงานโปรแกรมเมอร์มาก่อน จะเข้าใจหลักการนี้ได้เร็วกว่าคนอื่น ผมคิดว่า คุณมิตรก็เช่นกัน...” ผมมองไปที่คุณมิตร ซึ่งเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังพูด แต่คนอื่นๆ กลับไม่เข้าใจ
“ผมขอยกตัวอย่างอีกสักอันนะครับ อย่างในหัวข้อที่เรากำลังคุยกัน อย่างเช่น พนักงานไม่ทุ่มเทให้กับบริษัทฯ ผมคิดว่า เรื่องนี้มันเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ ผลนั้น กลับสะท้อนมายังภาพลักษณ์ของพนักงาน ซึ่งถ้าโดยทั่วไปแล้ว เราจะแก้ไขกันง่ายๆคือ การให้งานกับพนักงานมากขึ้น หรือ พยายามบีบให้พนักงานทำงานมากขึ้น จำกัดเวลาส่งและให้เขาทำงานเลยเวลามากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้น จะแก้แค่เพียงว่า พนักงานไม่ทุ่มเท แต่ความเป็นจริงแล้ว การทุ่มเทให้กับการทำงานนั้น มันเป็นความรู้สึกที่แต่ละคนรู้สึกกันไปเองว่าเขาไม่ทุ่มเท แต่ถ้าวิเคราะห์ถึงปัญหาของพนักงานบ้างว่า อะไรที่ทำให้เขาไม่ทุ่มเท อาจจะจินตนาการได้มาเช่น เขารู้สึกว่าเขาได้เงินเดือนน้อยทำให้เขาทำงานเท่าที่บริษัทฯจ่ายเงินให้เขา หรือ เขาอาจจะทำงานเต็มความสามารถของเขาแล้วแต่ผู้เป็นหัวหน้างานอาจจะหวังให้เขาทำงานได้มากยิ่งขึ้น หรือ การที่เขาเข้างานตรงเวลาและเลิกงานตรงเวลา ทำให้คนอื่นๆมองว่าเขาไม่ทุ่มเท หรือ เขาไม่รู้ว่าเขาจะทำงานอะไร ทำงานอย่างไร รอให้หัวหน้างานมาสั่งเท่านั้น สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้ในแต่ละบุคคลว่า ความทุ่มเทคืออะไร ดังนั้นผมคิดว่าการที่พนักงานไม่ทุ่มเทให้กับการทำงานนั้น อาจจะเกิดจากระบบงานเองก็เป็นไปได้ว่าไม่มีระบบตรวจสอบที่ดีพร้อมว่า พวกเขาทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือยัง ?”
“แล้วอย่างนี้ เราจะแก้ไขปัญหาอย่างนี้ได้อย่างไรค่ะ” เจนถามเหมือนอยากรู้ให้ลึกมากยิ่งขึ้น และ ดูเหมือนว่า ทั้งห้องตอนนี้ก็อยากรู้เช่นกัน
“ถ้าจะแก้ไขเรื่องพนักงานไม่ทุ่มเทนั้น ผมคิดว่า ต้องศึกษาปัญหานี้ที่ต้นเหตุ ซึ่งต้องรวมรวมความคิดเห็นของพวกคุณโดยเฉพาะ แต่ผมบอกก่อนเลยว่า การแก้นิสัย หรือ พฤติกรรมของพนักงานนั้น ถ้าภาษาหรูๆเขาจะเรียกว่า ปรับทัศนคติ ซึ่งมันไม่สามารถทำได้ภายในวันเดียว หรือเดือนเดียว มันต้องใช้เวลานาน และ ความร่วมมืออย่างมาก จากฝ่ายบริหาร รวมทั้งทีมบริหารต้องมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขแนวความคิดของพนักงานร่วมกัน ถึงจะสำเร็จ มันเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่งเลยนะครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันก็ไม่ยากจนเกินไป”
“คุณวิบูลย์ ช่วยอธิบายวิธีการแก้ไขปัญหานี้ หรือ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพหน่อยได้ไม๊ครับ” คุณมิตรถามเหมือนอยากรู้คำตอบโดยละเอียด
“ถ้าในรูปแบบการทำงานของผมนะครับ ผมจะเริ่มจากการตรวจสอบทั้งระบบงาน โดยเริ่มจากระดับล่างสุด อย่างเช่น การผลิต ว่า พนักงานแต่ละคนใช้เวลาเท่าใดในการทำงานแต่ละงาน หรือ ได้งานแต่ละชิ้น ซึ่งทำให้เห็นเป็นรูปธรรม จากนั้น ผมก็เอาตัวเลขดังกล่าวมาตรวจวัดว่า พนักงานน่าจะทำงานได้คนละเท่าใด หรือมีงานใดบ้างของแต่ละคนที่ทำงานชิ้นใดบ้าง ให้พวกเขานับงานของเขามาเอง ซึ่งอาจจะกระทบวิธีการทำงานของพวกเขาอยู่บ้าง เมื่อได้ว่าพนักงานได้งานแต่ละวันมากน้อยเพียงใด ก็ทำการคำนวณย้อนกลับว่า เขาทำงานได้เป็นเวลาของเนื้องานเท่าไหร่ มีประสิทธิภาพเท่าไหร่ในการทำงาน ซึ่งประสิทธิภาพของผม ระหว่างที่ทำเรื่องเหล่านี้ ผมจะพยายามสื่อสารให้พนักงานรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลง และ ข้อดีของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่า เขาจะได้รับผลประโยชน์อย่างไรจากการเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง ผมก็จะสร้างเป้าหมายของแต่ละคนว่า ต้องทำงานได้เท่าใด หรือ ต้องทำงานอย่างไร ถึงจะเข้าเป้า รวมทั้งผมก็ต้องสร้างให้มีการให้รางวัลให้กับพนักงาน และ การลงโทษผู้กระทำผิดด้วย หลายๆอย่างเหล่านี้ จะส่งเสริมให้พนักงานมีวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น ผมคิดว่า อย่างน้อย 1-2 ปี ถึงจะเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งไม่ใช่เวลาอันสั้นเลย”
“ไม่มีวิธีการแก้ไขที่เร็วกว่านี้หรือค่ะพี่จุง” เจนถามตามประสาวัยรุ่น
“มี... บังคับออกกฎให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้เลยไง รวดเร็วที่สุด แต่ไม่สามารถทำให้มันอยู่อย่างยั่งยืนได้ เพราะว่า กฎมีไว้แหก” ผมพูดจบในห้องหัวเราะกันอย่างสนุกสนานเหมือนกับว่า สิ่งที่ผมกำลังพูดอยู่นั้น เป็นเรื่องที่เขาก็เห็นในโรงงานแห่งนี้ บรรยากาศของห้องประชุมดูเป็นกันเองมากขึ้น
“ถ้าจะเปลี่ยนให้คนงาน กินข้าว ห้ามกินข้าวเหนียว แค่สั่งให้โรงครัวห้ามหุงข้าวเหนียว ให้หุงแต่ข้าวเจ้า มันง่ายนิดเดียวครับ แต่คนงานนะ เขาก็จะออกไปซื้อข้าวเหนียวมากิน และ ผมก็คิดว่า พวกเขาก็จะด่าคนสั่งกฎนั้นว่าไม่มีเหตุผล หรือไม่ก็ด่าเจ้าของ หรือ ไม่ก็อาจจะเกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตก็ได้ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาชิน ต้องกินข้าวเหนียว เพราะว่ามันหนักท้อง กินข้าวเจ้าไม่อยู่ท้อง กับ พฤติกรรมอย่างอื่นๆหรือ รูปแบบการทำงานเดิมๆนั้น พวกเขาจะเคยชินกับมัน ซึ่งหากต้องการให้เขาเปลี่ยนแปลง ต้องให้พวกเขาสมัครใจในการเปลี่ยนแปลง และต้องเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่การบังคับไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดปัญหาอย่างอื่นตามมาได้” ผมมองไปรอบห้องแล้วพบว่าทุกคนต่างผ่อนคลายได้มากขึ้นกับการที่คุณชัชเดินออกจากห้องประชุมไป
“ผมสรุปไว้เลยว่า วิธีการที่ผมใช้ คือการแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิด ป้องกัน และ พัฒนาพื้นฐาน เพื่อจะได้ก้าวไปอย่างไม่สั่นคลอน และผมจะเน้นเรื่องพื้นฐาน มากกว่าการแก้ไขปัญหาไปวันๆ ถ้าพวกคุณได้ทำตามวิธีที่ผมกำลังพยายามถ่ายทอดให้พวกคุณ ผมคิดว่า สักวันคุณจะเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังสื่อสารกับคุณในวันนี้ คราวนี้ เรามาต่อเรื่องหาเหตุผลให้จบ เพื่อผมจะได้สรุปให้พวกคุณได้ว่า คุณควรจะทำการรวบรวมความคิดอย่างไร ถึงไหนกันแล้ว...”

ผมเริ่มทำการหาเหตุ และ ผลของแต่ละหัวข้อไปเรื่อยๆ จนเสร็จ...

“คุณวิบูลย์ จะให้ไปเรียกคุณชัชเข้ามาห้องประชุมเลยไม๊ครับ” คุณวิษณุถาม...

(อ่านต่อฉบับหน้า...)

สรุปหลักการและเหตุผล...
  • ความรู้สึกนึกคิดของคนเรา ต้องใช้เวลาในการให้เขาเปลี่ยนแปลง หรือ เปลี่ยนแปลงเขา

  • พฤติกรรมการแสดงออก ไม่ว่าทางด้านการพูด หรือ การกระทำ เป็นตัวสื่อว่า ผู้พูดหรือผู้กระทำมีนิสัย หรือ มีความคิดเช่นใด

  • คนเราต้องการทราบว่า ผลที่จะได้รับจากการกระทำนี้จะได้รับอะไร คุ้มค่ามากแค่ไหนที่จะลงมือกระทำ

  • การทำตามวิธีที่มีให้เรียบร้อยแล้ว จะง่ายและเร็วกว่าจะคิดวิธีขึ้นเอง แต่ คนใช้วิธีสำเร็จรูปจะไม่ลึกซึ้งหรือ พลิกแพลง ได้ดีเหมือนคนคิดวิธีเหล่านั้น

  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ถ้าไม่ทำอาจจะทำให้ปัญหาต่างๆลุกลาม

  • การแก้ปัญหาอย่างถาวรต้องแก้ที่ต้นเหตุ เพราะเป็นปัญหาที่ควรจะแก้ไข หรือ ปรับปรุงบางส่วนเพื่อให้ส่วนอื่นๆไม่เกิดปัญหา

  • การยกตัวอย่างในสิ่งแวดล้อมเดียวกับผู้ฟัง ผู้ฟังจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากกว่า

  • ในการดำเนินการประชุม ผู้ดำเนินการควรจะเรียนรู้พฤติกรรมผู้เข้าร่วมประชุมอยู่เป็นประจำ เพื่อจะปรับการประชุมให้เป็นไปตามภาวการณ์ในห้องประชุมนั้นๆ


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)




Create Date : 04 พฤษภาคม 2550
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 13:02:08 น. 1 comments
Counter : 1353 Pageviews.

 
อ่านแล้วยิ่งดีครับ


โดย: Walkerahead วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:18:47:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.