บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2015


การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2007 ได้ให้ความสำคัญกับแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) อย่างมาก ในการผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรนั้น พิจารณาได้จากสาระสำคัญที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมกันร่างขึ้นมา


กล่าวคือ AEC Blueprint กำหนดคุณลักษณะของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันเป็นเป้าหมายในการดำเนินการภายในปี 2015 ไว้ 4 ประการหลักคือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single market and production base)
2) การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับสูง (Highly Competitive Economic Region)
3) การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน (Region of Equitable Economic Development)
4) การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ (Fully Integrated Region into the Global Economy)


แผนงานส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานอย่างเสรีนั้น มิได้จำกัดเพียงมิติของการเปิดเสรีทางการค้า หากแต่จำเป็นต้องอาศัยอีกมิติหนึ่งที่สอดรับกันด้วย นั่นคือ มิติด้านการอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียนนั้น จะไม่อาจบรรลุได้หากขาดมิติใดมิติหนึ่งที่กล่าวมานั้น


สำหรับการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้านั้น การเปิดเสรีทางการค้าเน้นที่
(1) การลดอุปสรรคทางการค้าด้านภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี
(2) การอาศัยแนวทางการรวมกลุ่มแบบรายสาขา (sector-based approach)
เป็นกลไกนำร่องเร่งรัดดำเนินการรวมกลุ่ม โดยกำหนดให้ 11 สาขา สำคัญ คือ สาขาเกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว และการบิน ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2010 ตามด้วยสาขาโลจิสติกส์ ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2010


การอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าสำหรับอาเซียนนับแต่ปี 2007-2015 จะเน้นที่
(1) การรวมกลุ่มทางศุลกากร ซึ่งรวมถึงการปรับประสานกระบวนการและขั้นตอนศุลกากร ให้ง่ายและเป็นแนวเดียวกัน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยการปฏิบัติตามรูปแบบของกระบวนการขนส่งสินค้าระดับภูมิภาค การจัดทำระบบสินค้าส่งผ่านของอาเซียน การจัดทำระบบศุลกากรของอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การรวมกลุ่มทางการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น
(2) ความร่วมมือด้านมาตรฐานและกฎระเบียบด้านเทคนิค และการประเมินความสอดคล้องด้านคุณภาพ การรับรอง และการวัด (Standard and Conformance) โดยมีการจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วม (MRA) รายสาขา เกี่ยวกับการประเมินความสอดคล้องสำหรับสาขาที่มีการระบุไว้ ในกรอบความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมของอาเซียน ในลักษณะที่ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกิจและการค้า โดยไม่กระทบต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้ สำหรับการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้า ยังให้ความสำคัญด้วยการปรับปรุง ทบทวนและส่งเสริมการพัฒนากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ที่ตอบสนองต่อพลวัตรและการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตของโลก การใช้ระบบประเมินอากรล่วงหน้า การจัดทำพิธีการในการออกหนังสือรับรองให้เรียบง่าย การออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ด้วย


สำหรับการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้านั้น การเปิดเสรีทางการค้าประเภทบริการเน้นที่
(1) การเข้าถึงตลาด และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติอย่างเต็มที่
(2) การขจัดข้อกีดกันสำหรับการบริการทุกรูปแบบ (Mode of Supply)
(3) การจัดประเภทสาขาบริการสำหรับเร่งรัดการรวมกลุ่ม (Priority Services Sectors) ภายในปี 2010 ประกอบด้วย บริการด้านสุขภาพ (การรักษาพยาบาล การดูแลพักฟื้น) บริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม) ธุรกิจท่องเที่ยว (โรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร การจัดเลี้ยง ตัวแทนท่องเที่ยว ธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์)


การอำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายบริการสำหรับอาเซียนปี 2007-2015 เน้นที่
(1) การยอมรับซึ่งกันและกันด้านคุณสมบัติในการให้บริการทางวิชาชีพของผู้ให้บริการทางวิชาชีพ ในสาขาบริการทางวิชาชีพหลักๆ
(2) การจัดทำโครงการ Professional Exchange หรือโครงการแลกเปลี่ยนทุนมนุษย์ประเภทวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการบริการด้านวิชาชีพในอาเซียน


จากการตระหนักถึงประโยชน์ของการลงทุนระหว่างกันในอาเซียน เพิ่มเติมจากการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และจากความตระหนักถึงความพร้อมที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก การเปิดเสรีด้านการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกเน้นแนวทางที่เรียกว่า “การเปิดเสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับ” ซึ่งครอบคลุม
(1) การขยายมาตรการหลักต่อไปนี้
. (ก) มาตรการไม่เลือกปฏิบัติ
. (ข) การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ และ
. (ค) การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งต่อนักลงทุนในอาเซียน
(2) การลด และหากเป็นไปได้ ยกเลิกข้อจำกัดในการเข้ามาลงทุนในสาขาสำคัญ


การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายด้านเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิกให้มากขึ้นนั้น เน้นที่
(1) การปรับประสานมาตรฐานด้านตลาดทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ในการเสนอขายตราสารหนี้ ข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูล กฎเกณฑ์การจัดจำหน่ายระหว่างกัน
(2) การอำนวยความสะดวกด้านข้อตกลงยอมรับร่วม หรือข้อตกลงสำหรับการยอมรับคุณสมบัติ การศึกษา และประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านการตลาด
(3) การให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในด้านภาษา และข้อกำหนดในส่วนของกฎหมายสำหรับการออกตราสาร
(4) การส่งเสริมโครงสร้างภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อส่งเสริมฐานการลงทุนโดยการออกตราสารหนี้ในอาเซียน
(5) การส่งเสริมให้ใช้ “ตลาด” เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างตลาดหลักทรัพย์กับตลาดตราสารหนี้
(6) การเปิดเสรีบัญชีทุนอย่างเป็นระเบียบมากขึ้น และสอดคล้องกับวาระแห่งชาติ ตลอดจนความพร้อมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกมากขึ้น
(7) การอนุญาตให้มีมาตรการปกป้องอย่างเพียงพอต่อเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนความเสี่ยงจากการเปิดเสรี
(8) การสร้างความยึดมั่นในการจัดสรรผลประโยชน์จากการเปิดเสรีต่อกัน
(9) การยกเลิก หรือผ่อนคลายข้อกำหนดด้านการชำระเงินและโอนเงินในการทำธุรกรรมกระแสรายวัน
(10) การยกเลิก หรือผ่อนคลายข้อกำหนดด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน


การส่งเสริมการเคลื่อนย้ายด้านแรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกให้มากขึ้นนั้น เน้น
(1) การอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตรา (Visa) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ (Professionals) และแรงงานฝีมือ (Skilled Workers) จากภายในภูมิภาคด้วยกันเอง
(2) การจัดทำกรอบแผนงานด้านมาตรฐานความสามารถ (Competencies) และคุณสมบัติ (Qualifications) ในระดับอาชีพ (Occupations) หรือระดับงาน (Jobs) หลายประเภท
(3) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศสมาชิก เพื่อยกระดับความชำนาญและการเข้าสู่ตลาดแรงงานของกำลังแรงงาน ซึ่งเสริมด้วยการพัฒนาเครือข่ายข้อมูลด้านตลาดแรงงานระหว่างประเทศสมาชิก


สำหรับการที่อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับสูงนั้น AEC Blueprint ให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็น คือ
(1) นโยบายการแข่งขัน
(2) การคุ้มครองผู้บริโภค
(3) สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา
(4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(5) ภาษีอากร
(6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


สำหรับนโยบายการแข่งขัน โดยเน้นการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมของการแข่งขันอย่างยุติธรรมซึ่งปี 2015 เป็นปีที่กำหนดให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนต้องมีนโยบายการแข่งขันการค้า การจัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบายการแข่งขัน ซึ่งจะคอยหารือและประสานงานกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงการพัฒนานโยบายการแข่งขันของภูมิภาค ในลักษณะที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เป็นธรรม ทั้งต่อประเทศสมาชิกด้วยกันเองและต่อภายนอก โดยคำนึงถึงมาตรฐานสากลในการปฏิบัติ และประสบการณ์ของประเทศสมาชิก


ในขณะเดียวกัน ASEAN Coordinating Committee on Consumer Protection จะเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่วน ASEAN IPR Action Plan 2004-2010 และ ASEAN Cooperation on Copyrights จะเป็นกลไกในการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในบรรยากาศของความร่วมมือในภูมิภาคด้านทรัพย์สินทางปัญญา นอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของประเทศสมาชิกบนฐานความเชื่อมโยงด้วยความเร็วสูง (High-speed connection) การสร้างเครือข่ายของความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างประเทศสมาชิก และการปฏิบัติตามกรอบความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN)


ในการที่อาเซียนจะก้าวสู่การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันนั้น AEC Blueprint ให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็น คือ (1) การลดช่องว่างของการพัฒนา บนกรอบแนวคิดว่าด้วยความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน หรือที่เรียกว่า Initiative for ASEAN Integration (IAI) ซึ่งนอกจากการสานต่อแนวทางที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2000 ซึ่งเน้นการลดช่องว่างระหว่างประเทศอาเซียนเก่ากับประเทศสมาชิกใหม่แล้ว ยังให้ความสำคัญเพิ่มเติมต่อการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับภายนอก และ (2) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมและกลาง โดยอาศัยพิมพ์เขียวทางนโยบายของอาเซียน ว่าด้วยการพัฒนาวิสาหกิจขนาดย่อมและกลางระหว่างปี 2004-2014


สำหรับการเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่นั้น AEC Blueprint เน้น 2 ส่วนคือ
(1) การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันต่อปฏิสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับภายนอก ซึ่งรวมถึงการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEP)
(2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายอุปทานของโลก ซึ่งอาเซียนยึดหลักปฏิบัติสากลที่ดีและมาตรฐานในการผลิตและจำหน่าย ประกอบกับการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ ในการยกระดับขีดความสามารถและผลิตภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาไม่สูงนัก


ทั้งนี้ จะมีการนำ AEC Scorecards มาใช้ในการจัดทำตัวชี้วัดทางสถิติ เพื่อติดตามและประเมินความคืบหน้าของการดำเนินงาน ประกอบกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโดยอาศัย ASEAN Development Fund ในการสร้างเสริมขีดความสามารถของประเทศสมาชิก แผนงานด้านการสื่อสารที่ดีเพื่อสร้างการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในทุกประเทศสมาชิก โดยมีการกำหนดให้มีการทบทวน AEC Blueprint เป็นระยะๆ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทั้งในภูมิภาคและในบริบทโลกที่แวดล้อมอาเซียนด้วย เพื่อให้อาเซียนสามารถก้าวสู่เป้าหมายสุดท้ายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ใน ASEAN Vision 2020 บนฐานของการประสานประโยชน์และความร่วมมือ ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบเปิดโดยมองบริบทภายนอกและภายในควบคู่กันไป การส่งเสริมระบบแห่งการเคารพยึดมั่นในกฎเกณฑ์และพันธกรณีที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งภายในอาเซียนและต่อสากล ซึ่งเป็นกรอบพหุภาคีที่ใหญ่กว่าอาเซียน อันจะนำพาอาเซียนให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ภูมิภาคที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเสมอภาคกัน ตาม ASEAN Vision 2020 นั้น



จาก //www.thaiworld.org/th/include/answer_search.php?question_id=709
โดย ดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน (วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2552 16:24:00 น. 2 comments
Counter : 1265 Pageviews.

 
เนื้อหาดีมากๆๆๆเลยค่ะ ตรงกับที่ต้องการด้วย ต้องขอขอบคุณดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน (วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ด้วยน่ะค่ะ



โดย: สุภัสรา ไชยรัตน์ IP: 118.174.214.195 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:19:55:27 น.  

 
เนื้อหาดีมากๆๆๆเลยค่ะ ตรงกับที่ต้องการด้วย ต้องขอขอบคุณดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน (วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)ด้วยน่ะค่ะ



โดย: สุภัสรา ไชยรัตน์ IP: 118.174.214.195 วันที่: 11 ธันวาคม 2554 เวลา:19:55:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.