+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
 
มีนาคม 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 มีนาคม 2560
 
All Blogs
 
ทำไมผู้ผลิตญี่ปุ่นจึงพ่ายแพ้



ทำไมผู้ผลิตญี่ปุ่นจึงพ่ายแพ้


ทำไมผู้ผลิตญี่ปุ่นจึงพ่ายแพ้ … คนญี่ปุ่นยังคิดว่า“ตัวเองมีความสามารถทางเทคโนโลยี แต่ไม่เก่งขายของ” เอาจริงๆ แล้วคนญี่ปุ่นยังหลงมัวเมากับคำว่า “ประเทศญี่ปุ่นมีความสามารถเทคโนโลยี” อยู่หรือไม่ไปๆ มาๆ อาจจะสู้ชาติอื่นแล้วไม่ได้

Panasonic Sony Toshiba Hitachi Sharp Sanyo NEC Pioneer
ชื่อนี้เราได้ยินกันมานาน
แต่รู้สึกว่าปัจจุบันมันไม่ยิ่งใหญ่เท่าเมื่อก่อน

Sumgsung, LG
ผู้ผลิตสัญชาติเกาหลีที่มีผลิตภัณฑ์ครองพื้นที่ในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้ามากที่สุด
และบริษัทจีนเกิดใหม่อย่างHuawei ที่กำลังมาแรง
ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าทำไมผู้ผลิตญี่ปุ่นจึงเริ่มตายจากหายไป

Yunogami Takashi อดีตวิศวกรของบริษัทฮิตาชิ ได้กล่าวถึง “ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น”ไว้ในหนังสือที่เขาแต่งชื่อเรื่องพอแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า …
“ความพ่ายแพ้ของการผลิตแบบญี่ปุ่น: เครื่องบินซีโร่ สารกึ่งตัวนำ ทีวี”
(日本型モノづくりの敗北)

“ความพ่ายแพ้”ที่ว่านี้อย่างน้อยเป็นสิ่งที่ผู้เขียนหนังสือรู้สึก
ผมก็รู้สึกเช่นกัน

หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี2013 เดือนตุลาคม แม้เวลาผ่านมา 3 ปีเศษแล้ว แต่เนื้อหายังไม่ได้ล้าสมัย

ผมได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจบลงเลยมาขอเล่าให้ฟัง ณ มารุมุระ ในที่นี้จะยกประเด็นที่น่าสนใจไว้ 3 ข้อที่เกี่ยวกับสาเหตุความพ่ายแพ้ที่ว่านี้และตามด้วยความเห็นของคุณ Yunogami ว่าญี่ปุ่นควรทำอะไรดี

1. สินค้าญี่ปุ่นOver Quality และราคาแพง

+ Over quality
ญี่ปุ่นสร้างของที่มีQuality สูง แต่คุณภาพก็สูงเกินความจำเป็น
และไม่ยอมสร้างสินค้าราคาที่ถูกและจูงใจพอให้คนควักกระเป๋าตังค์

ยกตัวอย่างเช่นทีวีจอ LCD ของ Sony

แม้ทีวีLCD ของ Sony จะภาพสวย กว่าทีวีเจ้าอื่นในต่างประเทศ (ตามที่อ้างในหนังสือ)แต่มันก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่ยากจะสังเกต

และถ้ามันมีทีวีที่ราคาถูกกว่ามีฟังก์ชั่นที่ต้องการมากกว่า คนจะซื้อ Sony ทำไม

เขายกตัวอย่างเช่นตลาดในอินเดีย
คนอินเดียนิยมดูคริกเกตกันมาก
เกมกีฬาคริกเกตนัดหนึ่งยาวนานมากถ่ายทอดทางทีวีถึง 4 – 5 ชั่วโมง
คนดูถ่ายทอดสดก็มีอยากเปลี่ยนไปทีวีช่องอื่นบ้างแต่ก็ยังอยากรู้สกอร์
ทีวีเจ้าอื่นมีฟังก์ชั่นให้แสดงผลสกอร์กีฬาคริกเกตตรงมุมหน้าจอด้านขวาถึงเปลี่ยนไปดูช่องอื่นก็สามารถติดตามผลคริกเกตได้
แต่ญี่ปุ่นก็ไม่ได้ปรับตัวตามเพราะฝ่ายวางแผนสินค้ายังยืนกรานจะชูจุดขายด้วย Quality ของภาพ

Quality ภาพดี แต่ไม่มีฟังก์ชั่นการแสดงผลคะแนนคริกเกต (Quality ด้านการใช้สอย)
Quality ของคนขาย แต่ใช่ Quality ที่คนซื้อต้องการหรือเปล่า

+ ราคาแพง
สาเหตุที่สินค้าญี่ปุ่นมีราคาแพงเพราะการสร้างOver quality เหล่านี้
ในกระบวนการสร้างOver quality ที่ว่านี้ต้องใช้การพัฒนาแบบ Fine-Tuning ที่จูนชิ้นส่วนประกอบทุกชิ้นเข้าหากันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้การพัฒนาแบบนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 擦り合わせ [สุริอาวาเซะ]

แต่ข้อเสียของการพัฒนาแบบนี้คือเมื่อFine-tuned แล้ว จะขาดความยืดหยุ่น หาอะไหล่เปลี่ยนยาก วางแผนสำรองยาก

ยกตัวอย่างเช่นเครื่องบิน Zero fighter
เครื่องบินZero-fighter ถูกออกแบบและผลิตโดยบริษัท Mitsubishi Heavy industry
เครื่องบินถูกพัฒนาให้มีตัวเครื่องเบาที่สุดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการการบินที่รวดเร็ว ของกองทัพเรือ ถึงขั้นไม่ติดเกราะป้องกันกระสุนของเครื่องบินเลยทีเดียว

และแล้วสงครามโลกครั้งที่สองก็เริ่มต้นขึ้น

เพื่อเพิ่มกำลังผลิตเครื่องบินป้อนให้ทันตามความต้องการกองทัพเลยมีคำสั่งจากกองทัพเรือให้อีกบริษัทที่ชื่อว่าNakjima Hikouki ร่วมการผลิตเครื่องบินZero-fighter ด้วย

แต่ด้วยความที่เครื่องบินนั้นถูกFine-tuned จากการออกแบบของบริษัท Mitsubishi Heavy industry ให้เครื่องบินเบาที่สุด(Quality ความเบา) กลับก่อให้เกิดความลำบากเมื่อต้องการประกอบเครื่องบินที่อะไหล่ผลิตกันคนหล่ะบริษัท ตัวอย่างเช่นตัวถังน้ำมันที่ผลิตโดย NakajimaHikouki ไม่สามารถมาประกอบกับตัวถังเครื่องที่ผลิตโดยบริษัท MitsubishiHeavy Industry จึงทำให้การผลิตนั้นขาดความยืดหยุ่น กำลังการผลิตลดลงแต่ล่ะบริษัทต้องมีวิธีการบำรุงรักษาต่างกันและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของตัวบุคคลค่อนข้างมาก

แม้จะเป็นตัวอย่างในอดีตแต่การพัฒนาแบบ Fine-Tuning 擦り合わせ [สุริอาวาเซะ]ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นเป็นปรกติในญี่ปุ่น ซึ่งการมุ่งสู่ Quality ที่มากเกินไปนั้นจะทำให้เกิดราคาที่แพงตามมาจากเวลาที่ต้องใช้ไปในการสร้าง Quality นั้นๆ

2. ภาษาญี่ปุ่นที่ตีความหมายของInnovation และ Marketing แบบผิดๆ

+Innovation

ความเข้าใจผิด
Innovation มักจะถูกแปลเป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่หมายความว่า “การปฎิรูปทางเทคโนโลยี”技術革新[กิจุซึคะคุชิน]*

ความหมายแท้จริง
Innovation การผสมผสานระหว่างสิ่งประดิษฐ์และตลาดที่รองรับ

*หลังๆคนญี่ปุ่นก็เริ่มใช้คำทับศัพท์แล้ว

+Marketing

ความเข้าใจผิด
Marketing คือการขายของที่สร้างขึ้นมา**

ความหมายแท้จริง
Marketing คือการสร้างสรรค์ทำตลาด

**ความคิดแบบคลาสสิคของบริษัทผู้ผลิตที่รุ่งเรืองในยุค80

คนญี่ปุ่นยังคิดว่า“ตัวเองมีความสามารถทางเทคโนโลยี แต่ไม่เก่งขายของ”
เอาจริงๆแล้ว คนญี่ปุ่นยังหลงมัวเมากับคำว่า “ประเทศญี่ปุ่นมีความสามารถเทคโนโลยี” อยู่หรือไม่
ไปๆมาๆ อาจจะสู้ชาติอื่นแล้วไม่ได้

คำพูดที่ว่านี้ เป็นกับดักทางความคิดของคนญี่ปุ่น

3. ผู้ผลิตญี่ปุ่นกอดคอกันตายหมู่

ขอยกเหตุการณ์สมมติที่มีหลายส่วนจากเรื่องจริง
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 1 : “เฮ้ย ต่างชาติยอดขายกำลังไล่แซงพวกเราแล้วว่ะ”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 2 : “ทำไงดี”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 3 : “งั้นเรามารวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิต สร้างชิป (chip)ไปต่อกรพวกมัน”
(ผู้ผลิตทุกราย): “เอาเบยๆ”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 3 : “เป้าหมายของพวกเราจะนำพาประเทศญี่ปุ่นกลับมากุมบังเหียนของอนาคตSemi-conductor ให้ได้”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 1 : “เราไปขอเงินสนับสนุนจากรัฐกัน”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 2 : “แล้วเราจะทำอะไรดีล่ะ”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 1 : “เรามาออกแบบชิปที่สุดยอดกันดีกว่า”

ผู้ผลิตทุกรายต่างส่งวิศวกรมือดีของตนมาร่วมออกแบบชิปกัน

ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 2 : “ว่าแต่การกุมบังเหียนของอนาคต Semi-conductorคืออะไรหว่า”

เวลาผ่านไป5 ปี

ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 1 : “เป็นไงบ้างชิปที่พวกเราผลิตกันขึ้นมาด้วยงบประมาณ 70000 ล้านเยน”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 3 : “ดูไปดูมา มันเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้ว”
ผู้ผลิตSemi-conductor ญี่ปุ่น 2 : “ชิปหายแล้ว”

เมื่อผู้ผลิตSemi-conductor รวมตัวกันเพื่อออกแบบชิปตัวใหม่ไปแข่งขันกับต่างประเทศแต่ชิปที่ถูกออกแบบนั้นล้าสมัยไป ทำให้ญี่ปุ่นเสียทั้งเงิน ทรัพยากรบุคคล และเวลา

การรวมตัวที่แลดูเหมือนจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ที่ดีนั้นจริงๆ แล้วต่างสร้างสถานการณ์รับผิดชอบหมู่ เพื่อจะโยนกลองกันไปกันมาทีหลังสุดท้ายก็ตายหมู่

+++

ที่กล่าวมาเป็นปัจจัยกว้างๆที่ทำให้ บริษัทญี่ปุ่นเจอความ”พ่ายแพ้”
ความพ่ายแพ้นี้อาจจะฟังดูแรงอาจจะเป็นเพียงแค่ข้อความที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงความน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาของตน

เมื่อผู้ผลิตญี่ปุ่นไม่รู้ว่าจริงๆตลาดต้องการอะไร และหลงงมไปกับสิ่งที่ตัวเองถนัดซึ่งก็คือการพัฒนาแต่เทคโนโลยีพอเจอภัยคุยคามจากคู่แข่งต่างประเทศบริษัทผู้ผลิตในประเทศก็กอดคอร่วมหัวจนจมท้ายไปกันทั้งหมด

ในท้ายเล่มคุณYunogami ผู้เขียนได้เสนอแนวทางว่าญี่ปุ่นควรทำอย่างไร

+ ญี่ปุ่นควรทำอย่างที่เคยทำมาในอดีตช่วงแรกๆสมัยหลังสงครามโลกซึ่งก็คือการ Copy ของดีๆจากต่างประเทศแล้วเอามาปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ขอให้ลืมสะว่า “ญี่ปุ่นมีความสามารถทางเทคโนโลยี”ที่ประเทศเกาหลีใต้และจีนมีวันนี้ได้เพราะCopy อย่าคิดว่า Copy ต้องเป็นเรื่องน่าอาย ให้ศึกษาจากคนที่เก่งกว่า

+ การสร้างตลาดใหม่นั้นเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งจำเป็น ต้องตั้งโจทย์มีภาพในใจว่าคนเราจะเป็นสุขเพียงใดหากเราตอบโจทย์ให้เขาได้เหมือนดั่งการสร้างเครื่องฉีดน้ำล้างก้น washlet ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่อยากกลับไปล้างก้นแบบเดิมอีกแล้ว

+++

จบกันไปสำหรับประเด็นสำคัญในหนังสือและข้อเสนอของผู้เขียนที่คิดว่ามีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านได้ลองคิดดูแล้วมันก็เป็นอะไรซ้ำๆกับที่เคยอ่านมาไหมครับ

“ศึกษาจากคนที่เก่งกว่าและ สร้างตลาด”

โดยส่วนตัวแล้วผมก็คิดว่าการที่ผู้ผลิตญี่ปุ่นญี่ปุ่นไม่ได้คิดระดับโลกจริงๆเป็นส่วนให้ความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นตกลงไป เขาอาจจะลืมตั้งโจทย์ว่า “ทำอย่างให้คนอินเดียรู้สกอร์คริกเกตแม้จะเปลี่ยนช่องทีวี”

ผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นคงต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งแล้วในการตั้งโจทย์

“ฉันต้องทำทำอะไร สักอย่างแล้ว”

เล่าโดย: วสุ มารุมุระ

ที่มา //www.marumura.com/lost-japanese-manufacturer/




Create Date : 03 มีนาคม 2560
Last Update : 3 มีนาคม 2560 15:01:00 น. 0 comments
Counter : 1666 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.