Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
RTAF F-16 MLU ตอนที่ 4: ระบบ IFF ก้าวสำคัญสู่การรบแบบ BVR ของ MLU

ระบบพิสูจน์ฝ่ายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เมื่อทำการรบอากาศ-สู่-อากาศในระยะเกินกว่าสายตามองเห็น หรือ Beyond Visual Range (BVR) เนื่องจากนักบินจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป้าหมายที่ตรวจจับได้ด้วยเรดาร์นั้นเป็นฝ่ายเดียวกัน (friend) หรือฝ่ายตรงข้าม (foe) เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ฝ่ายด้วยสายตาได้ (visual identification) ดังนั้นในกรณีที่กฎในการปะทะ (Rule of Engagement; ROE) อนุญาตให้สามารถทำลายเป้าหมายในระยะ BVR ได้ ระบบพิสูจน์ฝ่ายจึงมีสิ่งที่ขาดไม่ได้ (ยกเว้นกรณีใช้การพิสูจน์ฝ่ายจาก AWACS หรือฐานเรดาร์ภาคพื้นดิน แล้วสั่งการสกัดกั้น โดยต้องติดตามเป้าหมายนั้นตลอดเวลา)

F-16MLU ใช้ระบบพิสูจน์ฝ่าย APX-113(V) Advanced Identification Friend or Foe (AIFF) ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่า Combined Interrogator/Transponder (CIT) หรือมีขีดความสามารถทั้งการเป็น transponder คือ เป็นอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณพิสูจน์ฝ่ายเพื่อให้อากาศยานหรือเรดาร์ภาคพื้นดินทราบว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน และ interrogator คือ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณเพื่อสอบถามฝ่ายไปยังอากาศยานเครื่องอื่น เพื่อให้ transponder บนอากาศยานเหล่านั้นส่งสัญญาณพิสูจน์ฝ่ายกลับมา ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน

ระบบ APX-113(V) ผลิตโดยบริษัท BAE Systems และเป็นระบบที่ออกแบบมาสำหรับ F-16 โดยเฉพาะ มีใช้งานอยู่กับ F-16MLU, F-16A/B block20, F-16C/D block50/52 50/52 plus และ F-16E/F รวมทั้ง F-2A ของญี่ปุ่น F-16MLU จัดเป็น บ.ขับไล่ F-16 รุ่นแบบแรกๆ ที่มีระบบลักษณะดังกล่าว คือ เป็นระบบแบบ CIT ใช้งาน โดย F-16 รุ่นที่มีระบบพิสูจน์ฝ่ายลักษณะนี้ใช้งานรุ่นแรก คือ F-16A/B ADF นั่นเอง แม้กระทั่ง F-16C/D ของ ทอ.สหรัฐฯ เองก็ยังมีระบบลักษณะนี้ติดตั้งในจำนวนจำกัด และต้องรอติดตั้งเมื่อเข้ารับการปรับปรุงตามโครงการ CCIP




สายอากาศระบบ AIFF บน F-16AM (F-16A MLU) จะติดตั้งอยู่หน้าห้องนักบิน
ลักษณะเป็นครีบ 4 อัน ในต่างประเทศเรียกว่า bird slicer เพราะ เหมือนใบมีด
(Copyright: Michel Vaeremans - //www.airliners.net)



เปรียบเทียบระหว่างสายอากาศ IFF บน F-16A ADF (บน) กับ F-16 MLU (ล่าง)
นอกจากนี้บน F-16 ADF จะมีสายอากาศเป็นครีบด้านล่างช่องรับอากาศเข้า ย. ด้วย
(Copyright: //www.aerospaceweb.org)



ในการใช้งาน ระบบ APX-113(V) มีโหมดการทำงานครอบคลุมการพิสูจน์ฝ่ายแบบ Mk XII อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งในโหมด 1, 2, 3/A, 4, C และ S (level 3) และเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยสูงด้วยขีดความสามารถในการเข้ารหัสสัญญาณในโหมด 4 ด้วยคอมพิวเตอร์เข้ารหัสแบบ KIV-6 F-16MLU สามารถใช้ระบบ AIFF ในการพิสูจน์ฝ่ายของเป้าหมายในโหมดแต่ละโหมด และพร้อมกันหลายๆ โหมดได้ นอกจากนี้การที่ระบบ AIFF สามารถทำงานในโหมด S (level 3) ได้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการบินในพื้นที่ที่มีอากาศยานพลเรือนบินอยู่ (civil airspace) รวมทั้งอากาศยานที่ติดตั้งระบบป้องกันอากาศยานชนกัน ที่เรียกว่า ระบบ TCAS (Traffic Alert and Collision Avoidance System) อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันนั้นการบินในภารกิจต่างๆ ของ บ.ขับไล่ มักจะอยู่ใกล้หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศยานพลเรือนบินอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้




ส่วนประกอบทั้งหมดของระบบ APX-113 AIFF
(Copyright: Marconi Aerospace Inc.)



คอมพิวเตอร์เข้ารหัสแบบ KIV-6
(Copyright: US Navy)



ระบบ APX-113(V) ออกแบบให้ใช้สายอากาศในการส่งสัญญาณหลายชิ้นร่วมกัน มีขีดความสามารถในการกวาดหาเป้าหมายทั้งวิธี electronic และ mechanical scanned ในมุม +/- 60 องศา ทั้งในแนวระนาบและแนวตั้ง (มุมกวาดเท่ากับเรดาร์ APG-66(V)2 ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกัน) ระยะห่างของเป้าหมายที่ระบบสามารถส่งสัญญาณออกไปเพื่อพิสูจน์ฝ่ายได้ มีระยะถึง 100 nm (180 km) (ไกลกว่าระยะตรวจจับของเรดาร์ APG-66(V)2 อยู่พอสมควร) มีความแม่นยำในส่งสัญญาณในระยะ 500 ft หรือในมุม +/- 2 องศา และสามารถพิสูจน์ฝ่ายของเป้าหมายที่อยู่ในลำคลื่นของสัญญาณได้พร้อมกัน 32 เป้าหมาย

ด้วยความสามารถของระบบดังกล่าว F-16MLU สามารถค้นหาอากาศยานได้โดยไม่ต้องใช้เรดาร์ โดยใช้การส่งสัญญาณพิสูจน์ฝ่ายออกไปเพื่อมองหาสัญญาณตอบรับได้ในระยะไกล

อุปกรณ์ของระบบ APX-113(V) มีความน่าเชื่อถือสูง โดยมีค่า MTBF นาน 1600 ชั่วโมง เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นบนเครื่องผ่านทาง data bus มาตรฐาน MIL-STD-1553B และใช้ซอฟแวร์ที่เขียนด้วยภาษา Ada อีกทั้งได้รับการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ (system architecture) ให้สามารถรองรับการอัพเกรดเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย (เช่น โหมดการพิสูจน์ฝ่ายใหม่ๆ ที่จะออกมาเพิ่มขึ้นในอนาคต)


Create Date : 02 เมษายน 2551
Last Update : 13 พฤษภาคม 2551 20:27:40 น. 4 comments
Counter : 5771 Pageviews.

 
....แฮ่.....


โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 3 เมษายน 2551 เวลา:21:18:13 น.  

 
emo อ๊ากกกกก เราโดนแย่งอีกแว้ววววว


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 3 เมษายน 2551 เวลา:23:16:46 น.  

 
ภาษ Ada นี่ออกแบบโดย US Goverment เลยนะครับเนี๊ย อาจารย์ผมที่เนอเมริกันบอกว่าส่วนใหญ่แล้วอุตสาหกรรมอาวุธใช้เจ้านี่เยอะ แต่คนทั่วไปไม่ค่อยใช้ เพราะมันสเปกสูงเกินไปและชาวบ้านเขาไมค่อยชอบรัฐบาลสหรัฐกัน


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 3 เมษายน 2551 เวลา:23:26:58 น.  

 
สวัสดีครับอาจาร ริน ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ จะติดตามตอนที่5นะครับ สวัสดีครับ


โดย: sherlork (prasopchai ) วันที่: 30 เมษายน 2551 เวลา:11:19:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Warfighter
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




พบกันได้ที่ http://www.thaifighterclub.org ครับ และ pantip.com ห้องหว้ากอ (นานๆ โผล่ไปซักทีนะครับ)
Friends' blogs
[Add Warfighter's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.