VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
การหวนกลับมาของสหรัฐฯ สู่อาเซียน


การหวนกลับมาของสหรัฐฯ .. สิ่งที่ "ประชาคมอาเซียนต้องจับตามอง

โดย

พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในวารสาร "หลักเมือง" ของกระทรวงกลาโหม ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.2557



สิ่งหนึ่งที่กลุ่มประเทศอาเซียนหรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังจับตามองอยู่ในปัจจุบัน คือการหวนกลับมาสู่ภูมิภาคนี้ของสหรัฐอเมริกา เพราะการหวนกลับมาในครั้งนี้ ย่อมมีผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างแน่นอน 

ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กำหนดนโยบาย "ปรับสมดุลย์" (Rebalancing  Policy) ภายหลังจากที่ทุ่มเททรัพยากรจำนวนมากมายมหาศาลไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน นับจากเหตุการณ์ 9/11 ในปี พ..2544 ส่งผลให้ละเลยความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

นโยบายการปรับสมดุลย์ในครั้งนี้ แม้สหรัฐฯ จะพยายามชี้แจงหลายครั้งว่า มิได้ต้องการควบคุมหรือถ่วงดุลย์อำนาจกับจีน ที่นับวันจะมีอิทธิพล ทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสังคม เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หากแต่สหรัฐฯ ต้องการร่วมมือกับจีนและประเทศในภูมิภาคนี้ ในการพัฒนาความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ตลอดจนด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน (common interests) ของทุกประเทศ และเป็นขอบเขตที่ทุกประเทศ สามารถร่วมมือกันได้ โดยปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม การที่สหรัฐฯ หวนกลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค มีสิ่งบ่งชี้ว่า สหรัฐฯ กำลังมุ่งใช้อำนาจในเชิงอ่อนโยน (soft power) แทนการแทรกแซงทางการทหารเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต เพื่อหาหนทางปิดกั้นการแผ่ขยายอำนาจของจีน โดยอาศัยภารกิจการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติเป็นเครื่องมือหลัก

เริ่มจากการใช้ข้อตกลงในระดับทวิภาคี (bilateral agreement) กับประเทศพันธมิตรดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น หรือฟิลิปปินส์ เป็นจุดเริ่มต้นในการประสานความร่วมมือ เช่น การปฏิบัติงานร่วมกันกับกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น ในกรณีภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ภายใต้ชื่อ “ยุทธการโทโดมาชิ” (Operation TOMODACHI) และปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพฟิลิปปินส์ ในกรณีพายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่น "ไห่เยี่ยนโดยส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน "ยูเอสเอส จอร์ช  วอชิงตัน" (USS George Washington) เดินทางนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เข้าไปในพื้นที่ประสบภัยเกือบจะในทันที ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ สหรัฐฯ จะยังคงแสวงหาความร่วมมือในด้านการปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่อไป เพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มบทบาทของตนเองให้มากขึ้น ตามนโยบาย "ปรับสมดุลย์ดังที่กล่าวมาข้างต้น

นอกจากการใช้ภัยพิบัติและการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมเป็นหนทางในการหวนกลับคืนสู่ภูมิภาคนี้แล้ว สหรัฐฯ ยังมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการทหารกับประเทศพันธมิตรดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนฟิลิปปินส์ในกรณีข้อพิพาทกับจีนเหนือหมู่เกาะสแปรตลีในทะเลจีนใต้

โดยเมื่อเดือนสิงหาคม พ..2554 สหรัฐฯ ได้มอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "เกรโกริโอ เดล พิล่าร์และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งอีกลำหนึ่ง ให้กับกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ทำให้เรือ "เกรโกริโอ เดล  พิล่าร์กลายเป็นเรือที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ขณะนี้

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเวียดนาม ซึ่งเคยเป็นคู่สงครามในสมัยสงครามเวียดนามนั้น สหรัฐฯ ก็หันกลับไปฟื้นฟูความสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะสหรัฐฯ ตระหนักดีว่า จีนได้กลายเป็นภัยคุกคามสำคัญของเวียดนาม ในกรณีความขัดแย้งที่หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลี 

โดยเมื่อปี พ..2555 สหรัฐฯ และเวียดนามได้ลงนามในแผนความร่วมมือทางด้านความมั่นคง ด้าน ประกอบด้วย ความมั่นคงทางทะเลการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพการปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ อีกทั้งเมื่อประธานาธิบดี เตรือง ตัน ซัง (Truong Tan Sang) ของเวียดนามเดินทางไปเยือนสหรัฐฯ และได้เข้าพบประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ..2556 ที่ผ่านมา ได้ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศกระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น จนถึงกับมีการคาดการณ์กันว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอาจจะได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคตอันใกล้นี้ก็เป็นได้

ทางด้านความสัมพันธ์กับลาว ซึ่งถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับจีนเป็นอย่างมากนั้น นางฮิลลารี่ คลินตัน (Hillary Clinton) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้เดินทางมาเยือนลาว เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ..2555 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ คนแรกที่เยือนลาวในรอบ 58 ปี 

การเดินทางมาในครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลาวใน ประเด็นหลัก คือ ประการแรก การทำลายระเบิดจำนวนมากมายมหาศาลสมัยสงครามเวียดนามที่ยังหลงเหลืออยู่ในดินแดนลาว โดยเฉพาะระเบิด "คลัสเตอร์" (Cluster) จำนวนนับล้านลูก ที่คาดว่าประมาณ ใน ยังไม่ระเบิด และฝังตัวกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขา และประการที่สอง คือ การค้นหาซากศพของทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตหรือหายสาปสูญในการปฏิบัติภารกิจในดินแดนของลาวระหว่างสงครามเวียดนาม

นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังได้ให้การสนับสนุนลาวในการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกอีกด้วย ภายหลังจากที่ลาวพยายามมาเป็นเวลานานกว่า 15 ปีแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ การสนับสนุนของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ส่งผลให้ลาวสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกได้ ในวันที่ กุมภาพันธ์ พ..2556 ที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ลาวมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต

สำหรับพม่า หรือ "เมียนม่าร์นั้น ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีโอบาม่าเดินทางไปเยือนเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ..2555 เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงธรรมชาติทางการเมืองของพม่า ได้ส่งผลให้พม่ามีการปรับบทบาทของตนเองชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ

ดังจะเห็นได้จากการประชุม "เสวนาแชงกรี-ลา" (Shangri-la Dialogue) ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปีเดียวกันที่ พลโท ลา มิน (Hla Min) รัฐมนตรีกลาโหมของพม่า ได้เปิดเผยต่อที่ประชุมถึงโครงการพัฒนานิวเคลียร์และการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีแบบพื้นสู่อากาศของพม่าว่า ได้ยุติลงไประยะหนึ่งแล้ว อีกทั้งเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ..2555 ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ก็ได้ลงนามในข้อตกลงกับสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ (IAEA: International Atomic Energy Agency) ซึ่งจะส่งผลให้พม่าต้องเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ทั้งหมด ต่อไอเออีเอ เพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพม่าไม่มีโครงการที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ด้วยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือ ตามที่สหรัฐฯและประเทศตะวันตกกล่าวอ้าง รวมทั้งพม่ายังได้ประกาศลดความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือลง ภายหลังจากที่เคยถูกกล่าวหาว่าทั้งสองประเทศ มีความร่วมมือทางด้านการทหารอย่างใกล้ชิด

ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การรุกทางการทูตของสหรัฐฯ ดังกล่าว ทำให้พม่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง เพื่อก้าวไปสู่ความยอมรับของนานาประเทศมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้จีนสูญเสียความเป็นมหาอำนาจ "ผูกขาดในพม่าลงอย่างเกือบจะสิ้นเชิง

ทางด้านความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นพันธมิตรใกล้ชิด และถือเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคง (Security Partner) ระหว่างกันสหรัฐฯ ก็ได้ขายเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์แบบ ลอคฮีด มาร์ติน เอฟ-35 (Lockheed Martin F-35) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่5 (Fifth Generation) ของตนให้กับกองทัพอากาศสิงคโปร์ ภายหลังจากที่ร่วมกันพัฒนาเครื่องบินขับไล่นี้มาตั้งแต่ปี พ..2546 โดยความสนใจในการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-35 ของสิงคโปร์ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่จีนได้เผยโฉมเครื่องบินขับไล่แบบ เจ-31 (J-31) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-35 โดยเฉพาะ ดังที่ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงคนหนึ่งของสหรัฐฯ กล่าวว่า ".. ทุกครั้งที่จีนทดลองเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ มันจะเป็นเสมือนโทรศัพท์ปลุก (wake-upcall) ประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศสิงคโปร์ ..”

นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะขายเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ - 35 ให้สิงคโปร์ เพื่อใช้ในการถ่วงดุลย์กับจีนแล้ว สิงคโปร์ยังได้เปิดฐานทัพเรือ "ชางงี" (Changi Naval Base : CNB) ซึ่งเป็นฐานทัพเรือล่าสุดของกองทัพเรือสิงคโปร์ ให้เป็นจุดเทียบเรือของกองเรือที่ ของกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิคที่ส่งเรือรบต่างๆ เช่น เรือยูเอสเอส ฟรีดอม (USS Freedom) ซึ่งมีวงรอบปฏิบัติภารกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เป็นระยะเวลา เดือน ตามนโยบาย "ปรับสมดุลย์ของสหรัฐฯ โดยเรือเหล่านี้ได้ใช้ฐานทัพเรือชางงี เป็นท่าเทียบเรือเพื่อเติมน้ำมันและส่งกำลังบำรุงตลอดระยะเวลาที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ฐานทัพเรือชางงีของสิงคโปร์กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ในภูมิภาคแห่งนี้ไปโดยปริยาย

สำหรับกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่จีนพยายามสร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น ทั้งการให้เงินกู้ระยะยาว ในการจัดซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบแซด - 9 จำนวน 12 เครื่อง และการมอบรถบรรทุกทหารและรถพยาบาลจำนวน 256 คัน พร้อมทั้งเครื่องแบบทหารจำนวน 50,000 ชุด คิดเป็นมูลค่า 14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับกองทัพกัมพูชามาแล้ว

ทั้งนี้เพราะจีนต้องการใช้กัมพูชาเป็นฐานในการถ่วงดุลกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่ถูกสหรัฐฯ รุกทางการทูตอย่างรุนแรง ซึ่งสหรัฐฯ เองก็พยายามเดินนโยบายสานสัมพันธ์ด้านการทหารอย่างต่อเนื่องกับกัมพูชาเช่นกัน เช่น การฝึกร่วมทางด้านการแพทย์ทหาร (Military Medicine) กับกองพลน้อยที่ 31 (Brigade 31) ในปี พ..2550 และบริจาครถบรรทุกทางทหาร จำนวน คัน และเครื่องปั่นไฟ เครื่อง ให้กับกองพลน้อยดังกล่าว เพื่อใช้ในภารกิจของหน่วยอีกด้วย รวมทั้งสนับสนุนครูฝึกจากชุดส่วนแยกกองกำลังสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิค (U.S. Pacific Command 
Augmentation Team : PAT) ประจำประเทศกัมพูชา เพื่อสนับสนุนการฝึกของกองกำลังรบพิเศษต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติของกัมพูชา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ..2552 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆ เช่น อาวุธประจำกายอาวุธประจำหน่วยอุปกรณ์สื่อสารเพื่อสั่งการและควบคุมบังคับบัญชา และอุปกรณ์เก็บกู้วัตถุระเบิด มูลค่ากว่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 180 ล้านบาท ให้กับกองกำลังดังกล่าวอีกด้วย

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของการหวนกลับคืนสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคของสหรัฐฯ เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจกับจีน นับจากนี้ต่อไป ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องวางบทบาทและนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของตนเอง ให้มีชัดเจนและละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น เพราะอาเซียนกำลังจะกลายเป็นเวทีแห่งการถ่วงดุลย์อำนาจ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกันเองและความขัดแย้งกับประเทศมหาอำนาจขั้วหนึ่งขั้วใดในอนาคต











Create Date : 14 สิงหาคม 2557
Last Update : 14 สิงหาคม 2557 20:25:24 น. 0 comments
Counter : 1551 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.