VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 
"ฟูโกกุ เคียวเฮ" การสร้างแสนยานุภาพของญี่ปุ่น ตอนที่ 1

นโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮกับการสร้างแสนยานุภาพของญี่ปุ่น (ตอนที่ 1)


โดย 


พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธ์ในการผลิตซ้ำเพื่อการค้า อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น





การที่คณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นลงมติ ตีความมาตรา แห่งรัฐธรรมนูญของประเทศ เมื่อวันที่ กรกฎาคม พ..2557 ที่ผ่านมา ภายใต้การผลักดันของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายบทบาทของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JSDF : Japanese Self-defense Forces) ในการใช้กำลังรบเข้า "โจมตีหรือทำสงครามกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็น "ภัยคุกคามอย่างชัดเจนต่อความอยู่รอดของประเทศ และเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพในการดำรงชีวิตตามปกติของประชาชนชาวญี่ปุ่น

ทั้งนี้มีเงื่อนไขอยู่ว่า การโจมตีดังกล่าวจะต้องเป็นหนทางเลือกสุดท้าย ภายหลังจากพยายามปกป้องประเทศมาอย่างเต็มความสามารถแล้ว อีกทั้งการใช้กำลังรบดังกล่าวนั้น จะต้องใช้อย่างจำกัดในระดับที่ต่ำที่สุดเท่านั้น

สรุปสั้นๆ ก็คือญี่ปุ่นกำลังแก้ไขข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กองทัพของตนเองสามารถทำสงครามแบบจำกัดขอบเขตได้ ทั้งนี้เพื่อปกป้องตนเองจากประเทศที่แสดงตนเป็นผู้รุกรานนั่นเอง

ความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด เพราะในห้วงเวลาที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประสบปัญหาอย่างมาก เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตนเองกับจีน ตลอดจนพฤติกรรมคุกคามจากเกาหลีเหนืออย่างต่อเนื่อง 

โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะเซนกากุ (Senkaku) หรือที่จีนเรียกว่า "เตียวหยี" (Diaoyu) ที่ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากันหลายครั้ง จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นต้องเพิ่มแสนยานุภาพทางการทหารมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจกับการแผ่ขยายแสนยานุภาพของจีน ที่กำลังกลายเป็นความวิตกกังวลในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคมากขึ้นเรื่อยๆ

การเพิ่มแสนยานุภาพดังกล่าว ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีการใช้งบประมาณทางทหารสูงที่สุดเป็นอันดับ ของโลกหรือประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท รองมาจากสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย และอังกฤษเท่านั้น 

และทำให้กองทัพญี่ปุ่นหรือ "กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดชาติหนึ่งในเอเชีย ซึ่งการสร้างกองทัพญี่ปุ่นในครั้งนี้ ได้กระทำควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เป็นแหล่งเงินทุนจำนวนมหาศาลในการพัฒนากองทัพนั่นเอง

จนกระทั่งเมื่อนายชินโซ อาเบะ ได้รับการเลือกตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาก็สานต่อนโยบายการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพ ด้วยการนำนโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮ" (富国強兵 Fukoku Kyohei : Fu = รุ่งเรือง, koku = ประเทศ, kyo = แข็งแรง, hei = ทหารหรือ "ประเทศรุ่งเรือง กองทัพแข็งแกร่งในสมัยราชวงศ์เมจิ ที่เคยสร้างญี่ปุ่นจนกลายเป็นมหาอำนาจในอดีต กลับมาใช้ในการบริหารประเทศอีกครั้ง

อันที่จริงแล้ว นโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮนั้น มีรากฐานมาจากนโยบายของจีนโบราณ ในสมัยราชวงศ์ "ฉินหรือ “จิ๋น” (Qin) ช่วงปี พ..323 ถึง พ..338 เพื่อใช้ในการรวมประเทศ และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดินจีน

โดยเฉพาะในยุคของมหาจักรพรรดิ์ "ฉินสื่อหวงตี้อันเกรียงไกร หรือที่คนไทยเรียกว่า "จิ๋นซีฮ่องเต้ผู้สร้างกำแพงเมืองจีนนั่นเอง

ต่อมาเมื่อจักรพรรดิ์ "มุสึฮิโตะหรือจักรพรรดิ์เมจิแห่งราชวงศ์เมจิของญี่ปุ่น ขึ้นครองราชย์ในปี พ..2410 พระองค์ก็ได้นำนโยบายดังกล่าวมาใช้พัฒนาประเทศญี่ปุ่น ให้ก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรมและมหาอำนาจทางทหาร จนกลายเป็น "จักรวรรดิ์ญี่ปุ่นอันเกรียงไกร ก่อนที่จะล่มสลายลง เนื่องจากผลของการเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ โจมตีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และดินแดนต่างๆ ในภาคภูมิเอเชีย – แปซิฟิคในสงครามโลกครั้งที่สอง

ปัจจุบันญี่ปุ่นยังคงพัฒนาเศรษฐกิจของตนอย่างไม่หยุดยั้ง ตามนโยบาย"ฟูโกกุและพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งตามนโยบาย "เคียวเฮ

โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจนั้น แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะมีความยิ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองลงมาจากสหรัฐอเมริกาและจีนก็ตาม แต่ญี่ปุ่นก็ประสบปัญหานานัปการ ทั้งจากสภาวะเงินฝืด และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะก็ได้ประกาศนโยบาย "อาเบะโนมิคส์ขึ้น (Abenomics : เป็นคำผสมระหว่าง Abe และ Economics) เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านนโยบายการเงินการคลังหลายรูปแบบ

เช่น ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนที่ซบเซามานานเกือบยี่สิบปี การออกมาตรการให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลง การให้ธนาคารชาติซื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากท้องตลาด รวมถึงการทุ่มเม็ดเงินในการลงทุนของภาครัฐ เพื่อหวังกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภายในประเทศ เป็นต้น 

ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี พ..2556 นโยบายนี้ดูจะประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะสามารถกระตุ้นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากเดิม 3.6% เป็น 4.5% และค่าเงินเยนอ่อนตัวลงถึง 25% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกา

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปี พ..2556 ถึงกลางปี พ..2557 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ก็ยังไม่เพิ่มมากขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น จนถูกวิจารณ์ว่านโยบาย "อาเบะโนมิคส์อาจจะไม่เพียงพอต่อการเยียวยาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่อยู่ในสภาพเจ็บป่วยเรื้อรัง ทำให้ต้องจับตากันต่อไปว่านายชินโซ อาเบะ จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบใดมาแก้ไขปัญหาในครั้งนี้อีก

สำหรับการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศต่างๆ นั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะเน้นการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาบุคลากร ให้กับประเทศเป้าหมาย ที่ญี่ปุ่นจะเข้าไปลงทุนผ่านหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลญี่ปุ่นเอง 

เช่น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA : Japan International Cooperation Agency) หลังจากนั้น นักลงทุนญี่ปุ่นก็จะเข้าไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การก่อสร้างห้างสรรพสินค้าและนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ลักษณะรูปแบบการลงทุนของญี่ปุ่นนั้น จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การกระจายฐานการผลิตของตนให้ทั่วทั้งภูมิภาค เช่น การลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักลงทุนญี่ปุ่นจะสร้างเครือข่ายของโรงงานอุตสาหกรรมขึ้น

ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัท "ยาซากิ" (Yasaki Corp) ทุ่มลงทุน 24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างโรงงานผลิตส่วนประกอบ หรือ อะไหล่รถยนต์ ในจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา จากนั้นก็จะส่งชิ้นส่วนเหล่านี้ มาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป ที่โรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย และอินโดนีเซีย 

หรือสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเลนส์ สำหรับกล้องถ่ายรูปที่แขวงสะหวันนะเขต ในประเทศลาว แล้วส่งอุปกรณ์เหล่านี้ มาประกอบเป็นกล้องถ่ายรูปสำเร็จรูปที่โรงงาน "นิคอน" (Nikon) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของประเทศไทย เป็นต้น 

การลงทุนในลักษณะนี้ ส่งผลให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในคาบสมุทรอินโดจีน ในทางกลับกันก็เป็นการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง ตามแนวทางของญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากเกาหลีใต้จีนสหรัฐฯ และยุโรป ที่มุ่งลงทุนในแต่ละประเทศ แยกออกจากกันโดยอิสระ

ญี่ปุ่นยังได้ลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า "เมกกะโปรเจ็ค" (Mega Projects) มากมายในกลุ่มประเทศ "อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือจีเอ็มเอส (Greater Mekong Sub-Region : GMS) และกลุ่มประเทศอาเซียนใหม่ หรือกลุ่ม "ซีแอลเอ็มวี" (CLMV : Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam)

โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ที่มหาอำนาจทั้งจีนและญี่ปุ่น ต่างทุ่มเทงบประมาณในการลงทุนจำนวนมาก เพื่อพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์และรายได้อย่างมหาศาลกับกลุ่มประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และกลุ่มซีแอลเอ็มวีนี้ โดยเฉพาะการขนส่งหรือโลจิสติกส์ (Logistic) และอุตสาหกรรมประเภทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในการขนถ่ายสินค้าจากจีน เข้าสู่ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ การลงทุนดังกล่าว ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียนไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตามการลงทุนในอาเซียนของญี่ปุ่น ต้องเผชิญกับคู่แข่งที่สำคัญคือ จีน ที่ทุ่มการลงทุนอย่างมหาศาลในพื้นที่เดียวกัน

เช่น การลงทุนของจีนในประเทศลาว ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดจากเดิม 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการลงทุนเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลแทบทั้งสิ้น ทั้งการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การเกษตร และ การทำเหมืองแร่

นอกจากนี้จีนยังเดินหมากด้านการลงทุนคล้ายคลึงกับญี่ปุ่น ด้วยการให้ทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งสาธารณูปโภคในประเทศที่ตนจะเข้าไปลงทุน เช่น สนับสนุนลาวในการก่อสร้างสนามกีฬาและศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ พร้อมที่พักสำหรับการประชุมร่วมอาเซียนและยุโรป หรือ "อาเซม" ( ASEM : Asia Europe Meeting) ที่ลาวเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อปี พ..2555 หรือการลงทุนก่อสร้างถนนสายสำคัญในประเทศกัมพูชา เป็นต้น การลงทุนดังกล่าว ทำให้จีนได้กลายเป็นประเทศที่เอื้อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อลาวและกัมพูชามากที่สุดประเทศหนึ่งเช่นเดียวกับญี่ปุ่น

สำหรับการลงทุนในกัมพูชา ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีความโดดเด่นจากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ และมีแรงงานราคาถูก

ในปี พ..2555 มีนักลงทุนจากต่างประเทศ มุ่งหน้ามาลงทุนในกัมพูชารวม 157 โครงการ คิดเป็นจำนวนเงินถึง 2,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนจากเกาหลีใต้ลงทุนมากที่สุด เป็นอันดับหนึ่ง อันดับสองคือจีน และอันดับที่สาม คือญี่ปุ่น

ในปี พ..2555 บริษัท โตโยเอ็นจิเนียร์ (TOYO Engineer) ของญี่ปุ่น ได้ยื่นขอสัมปทานในการสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ก่อนที่จะพ่ายแพ้ต่อบริษัท "ซิโนแมช" (SINOMACH) ของจีนที่ได้รับเลือกจากกัมพูชา ให้เป็นผู้ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมูลค่า 2.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ดังกล่าวไปในปีต่อมา จะเห็นได้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นในกัมพูชา ได้ถูกจีนเบียดขึ้นมาครองตำแหน่งอันดับสองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การต่อสู้ทางเศรษฐกิจที่ดุเดือดดังกล่าวข้างต้น ทำให้ญี่ปุ่นพยายามหยุดยั้งการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีน ด้วยการเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาใน "ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิคหรือ ทีพีพี (TPP : Trans-Pacific Partnership) ซึ่งเป็นความตกลงการค้าเสรี ที่มีมาตรฐานสูงเพื่อการบูรณาการด้านต่างๆ เช่น การบริการ การลงทุนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ รวบรวมประเทศสมาชิกต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อถ่วงดุลย์ด้านเศรษฐกิจกับจีน ส่วนมาตรการดังกล่าวนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น คงต้องติดตามกันต่อไปในอนาคต

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพของกองทัพญี่ปุ่น หรือที่คนไทยเรียกว่า "กองทัพพระมหาจักรพรรดิ์หรือ "กองทัพลูกพระอาทิตย์ตามนโยบาย "เคียวเฮนั้น

นอกจากจะได้มีการเพิ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลมาระยะหนึ่งแล้วดังที่กล่าวข้างต้น จนงบประมาณด้านการป้องกันประเทศในปี พ..2556 เพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี และยังมีการเพิ่มจำนวนกำลังทหารในกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในรอบ ปีอีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกตุว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ญี่ปุ่นมีความได้เปรียบในการเสริมสร้างแสนยานุภาพของตนเอง คือ การมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีระดับสูง จนสามารถทำการวิจัยค้นคว้า และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีคุณภาพขึ้นใช้เองได้ในทุกระดับ ตั้งแต่อาวุธปืนเล็กยาว ไปจนถึงรถถัง ยานเกราะ เครื่องบินนานาชนิด ดาวเทียม  ขีปนาวุธนำวิถี เรือดำน้ำ และเรือบรรทุกเครื่องบิน เป็นต้น

งบประมาณที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลของญี่ปุ่นนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในการจัดหาอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงสุด เช่น การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ ยุคที่ 5 (5th Generation) แบบ เอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 (F-35 Lighting II) จากบริษัท ล็อคฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) ของสหรัฐอเมริกา จำนวนอย่างน้อย 50 ลำ 

โดยเครื่องบินรุ่นนี้ เป็นเครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยี “ล่องหน” (Stealth) ที่มีราคาแพงที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด เท่าที่โลกเคยสร้างมา ญี่ปุ่นสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ครั้งแรกจำนวน 42 ลำ และจะมีการส่งมอบในปี พ..2559 ส่วนเครื่องบินที่เหลือ จะมีการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำมาผลิตเองในประเทศ 

มีแนวโน้มว่าเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-35 จะถูกนำมาถ่วงดุลย์กับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของจีน คือเครื่องบินขับไล่แบบ เจ-20 (J-20) ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นคู่แข่งของเครื่องบินขับไล่ในค่ายโลกเสรี อีกทั้งเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-35 จะถูกบรรจุเข้าประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเดิม ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน

ถึงแม้ว่ากองทัพอากาศของญี่ปุ่น จะได้ชื่อว่ามีแสนยานุภาพแข็งแกร่งที่สุดในเอเชียอยู่แล้วก็ตาม เพราะเต็มไปด้วยเครื่องบินขับไล่อันทรงอานุภาพเป็นจำนวนถึง 362 ลำ ในจำนวนนี้มีเครื่องบินขับไล่ แบบมิตซูบิชิ เอฟ-15 เจ/ดีเจ อีเกิล (Mitsubishi F-15 J/DJ Eagle) ซึ่งเป็นเครื่องบินรบของบริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส (McDonnell Douglas) แห่งสหรัฐอเมริกา ที่มอบสิทธิบัตรในการผลิตให้กับบริษัทอุตสาหกรรมหนักมิตซูบิชิ (Mitsubishi Heavy Industry) ของญี่ปุ่นเป็นจำนวนถึง 223 ลำ ทำให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้มากที่สุด เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องบินรุ่นนี้ยังมีอายุการใช้งานยาวนานไปจนถึงปี พ..2568 เครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-15 ส่วนใหญ่ จะประจำการอยู่ในกองบินที่ 6 (6th Air Wing) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศ "โคมัตสุ" (Komatsu Airbase) และอีกส่วนหนึ่งถูกส่งไปประจำการใกล้กับพื้นที่พิพาทบริเวณเกาะ "เซนกากุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น การจัดหาเครื่องบินขับไล่ แบบเอฟ-35 เพิ่มขึ้นดังกล่าว จะส่งผลให้กองทัพอากาศญี่ปุ่นมีแสนยานุภาพที่น่าเกรงขามขึ้นอย่างมาก

อีกทั้งญี่ปุ่นยังมีระบบต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีป "บีเอ็มดี" (BMD : Ballistic Missile Defence) อันทรงอานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนแบบ สแตนดาร์ด  เอสเอ็ม - 3 (Standard SM-3) ที่เป็นระบบต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีป และต่อต้านอากาศยานระดับกลาง


(โปรดติดตามตอนที่สอง)




Create Date : 01 กันยายน 2557
Last Update : 1 กันยายน 2557 9:14:13 น. 0 comments
Counter : 3108 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.