ประโยชน์ของตะแบก (สมุนไพร)
ชื่ออื่น ๆ : อ้าย (สุราษฎร์), กะแบก (ไทย), เปลือย (สุโขทัย-พิษณุโลก), เปื๋อยหรือป๋วย (ภาคเหนือ), เปือย (ลานช้าง), ตะแบกใหญ่, ตะแบกหนัง (ไทยภาคกลาง), เปื๋อยตุ้ย, เปื๋อยค่าง, เปื๋อยน้ำ, เปื๋อยลัวะ, เปื๋อยเปลือกหนา, เปื๋อยขาว (ปราจีน)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์ : LYTHERCEAE

ลักษณะทั่วไป :

  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้นมีลำต้นสูงประมาณ 60-70 ฟุต เปลือกของลำต้นจะเกลี้ยง ซึ่งคล้ายกับต้นฝรั่ง แต่จะมีจุดด่างขาว ๆ อยู่ตามลำต้น โคนต้นจะมีรากเว้าลึกจากดิน
  • ใบ : ออกใบเดี่ยว รูปไข่มีสีเขียว ปลายแหลม ใบจะคล้ายกับใบอินทนินหรือลั่นทมไทย
  • ดอก : ออกเป็นช่อ มีสีม่วงปนขาว แต่ถ้าแก่จัดจะกลายเป็นสีม่วงแดง ฉะนั้นเวลาดอกบาน ต้นทั้งต้นจะมีอยู่ 2 สี ซึ่งสวยมาก ดอกหนึ่งมีอยู่ 6 กลีบ ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกอินทนิน, ดอกเสลา
  • ผล : เมื่อดอกร่วงก็จะติดผล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ คล้ายกับลูกหมากดิบสดเล็ก ๆ เป็นมัน

การขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณ :

  • เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด ลงแดง และมูกเลือด

ถิ่นที่อยู่ : ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบ ในประเทศไทยนี้มีอยู่ทุกภาคแต่ที่มีอยู่มากที่ ป่ายุบศรีราชา



ขอบคุณข้อมูลจาก samunpri.com




Create Date : 03 สิงหาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 4:08:56 น.
Counter : 1458 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

vnize
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
3 สิงหาคม 2557
All Blog