"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 
17 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
เรื่องที่คนไทย ควรเข้าใจให้ถูก (13) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


เราไม่สังเกตหรือว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมเป็นหมวดๆ เป็นชุดๆ การที่สอนเป็นชุดนั้นมีความหมาย นั่นคือระบบองค์รวมที่ฝรั่งกำลังตื่นแตกกัน เพราะว่าหัวข้อธรรมเหล่านั้น เป็นองค์ประกอบของส่วนรวมที่สมบูรณ์ ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งไปแล้วระบบก็ไม่สมบูรณ์ หมายความว่า ธรรม แต่ละหมวดๆ นั้นเป็นระบบดุลยภาพ

เมื่อปฏิบัติครบแล้ว มันจะดุลซึ่งกันและกันให้พอดี เกิดความพอดีขึ้นมาในชุดของมันที่เป็นระบบนั้น นี่คือระบบองค์รวม เพราะฉะนั้น ธรรมต้องปฏิบัติครบชุด ถ้าแยกออกมาเป็นข้อๆ กระจายหลุดจากกันแล้วจะเกิดปัญหา ยกตัวอย่างง่ายๆ

หลักธรรมที่เราคุ้นกันนักหนา คือ พรหมวิหาร 4 นี้ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากของการปฏิบัติธรรมไม่ครบชุด ทำให้ไม่เกิดดุลยภาพในองค์รวม เรามี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้ใช้ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเป็นท่าทีของจิตใจต่อเพื่อนมนุษย์ ที่ครบถ้วนบริบูรณ์

มนุษย์นั้นจะตกอยู่ในสถานการณ์ 4 อย่าง ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามสถานการณ์นั้นๆ ถ้าปฏิบัติผิดสถานการณ์ ธรรมนั้นแม้จะเป็นกุศล ก็อาจจะพลาด ทำให้เกิดผลเสียได้

สถานการณ์ที่ 1 เพื่อนมนุษย์ของเรา เป็นอยู่ปกติ ไม่ได้เดือดร้อน ไม่มีภัยอันตราย ไม่มีปัญหาอะไร เราก็มีท่าทีของธรรมข้อที่หนึ่ง คือเมตตา ซึ่งได้แก่ความรัก ความอยากให้เขาเป็นสุข ความปรารถนาดี ความเป็นมิตร เมตตาก็มาจากรากศัพท์เดียวกับมิตรนั่นเอง

ต่อมา สถานการณ์ที่ 2 เขาตกต่ำลง เดือดร้อน เป็นทุกข์ มีปัญหา เราก็ต้องย้ายจากเมตตา ไปกรุณา คือพลอยหวั่นใจ หวั่นไหว ในความทุกข์ของเขา คิดจะหาทางปลดเปลื้องเขาให้พ้นจากทุกข์

ต่อมา สถานการณ์ที่ 3 เขาขึ้นสูง ได้ดี มีความสุข ประสบความสำเร็จ ทำอะไรๆ ถูกทางแล้ว เราก็ย้ายมาสู่คุณธรรมข้อที่สาม คือมุทิตา หมายความว่าพลอยยินดีด้วย ส่งเสริมสนับสนุน

นี่ผ่านมา 3 สถานการณ์แล้ว ในหมู่คนไทยเรา ปรากฏว่าหลายคนแยกไม่ออกแม้แต่เมตตากับกรุณา ว่าต่างกันอย่างไร ธรรมหมวดนี้เป็นธรรมที่แสดงออกต่อคนอื่น คือ ต่อเพื่อนมนุษย์ จึงกำหนดความแตกต่างได้ด้วยการปฏิบัติในความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนั้น ตามสถานการณ์ที่เกิดกับเขา

ฉะนั้น วิธีแยกความหมายก็ดูที่สถานการณ์ที่เกิดแก่เขา คือ สถานการณ์ที่เขาเป็น ปกติเราก็มีเมตตา สถานการณ์ที่เขาตกต่ำเป็นทุกข์เราก็มีกรุณา สถานการณ์ที่เขาขึ้นสูงประสบความสำเร็จเราก็มีมุทิตา

มนุษย์ทั่วไปจะตกอยู่ใน 3 สถานการณ์นี้ เราก็มีครบแล้ว ปฏิบัติให้ถูกสถานการณ์ สามอย่างนี้ แล้วมีสถานการณ์อะไรอีก สามอย่างก็น่าจะครบแล้ว คน ถ้าไม่ปกติก็ต้องเดือดร้อน เป็นทุกข์ หรือมิฉะนั้น ก็ได้ดีมีสุข แล้วจะมีสถานการณ์อะไรอีก ทำไมพระพุทธเจ้า ยังตรัสข้อที่ 4 อีก สถานการณ์อะไร

บางท่านสอนว่า คือสถานการณ์ที่เขาได้ทุกข์จากผลกรรมที่เขาทำของเขาเอง ในข้อที่เราไม่สามารถจะช่วยได้ การตอบอย่างนี้ ต้อง ระวัง ต้องให้เห็นหลักที่ชัดเจน

อาจารย์ผู้ใหญ่มีชื่อเสียงมากของไทยท่านหนึ่งเอาอันนี้ไปพูดในการปาฐกถา ท่านบอกว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คนวางอุเบกขา กรรมของใครกรรมของมัน เห็นคนตกต่ำยากจน ก็บอกว่า โอ้! เป็นกรรมของเขาเอง เขาก็รับผลของกรรมของเขาไป ก็เลยไม่มีใครช่วยเหลือกัน สังคมไทยก็เลยแย่ นี่แหละ ถ้าพูดอย่างนี้ อุเบกขาก็โดนตี

ฝรั่งคนหนึ่งเขียนหนังสือ Buddhism and Society เป็นหนังสือหนาใช้ศึกษาในมหาวิทยาลัยของฝรั่งบางแห่งด้วย เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนาในพม่า ฝรั่งคนนี้ไปเอากรณีศึกษา (case study) ไว้ด้วย

เขายกตัวอย่างในเมืองพม่ามาเรื่องหนึ่ง จริงหรือไม่จริงผมก็ยังสงสัย แต่ฝรั่งคนนี้ยกตัวอย่างมาเล่าว่า เขาไปที่ชนบทแห่งหนึ่ง มีคนตกน้ำแล้วไม่มีใครช่วย เพราะคนพม่าบอกว่าเป็นกรรมของเขา แล้วก็ให้วางอุเบกขา ได้สองหลักคือ หนึ่ง หลักกรรม ว่าเป็นกรรมของเขา สอง อุเบกขา วางเฉย ไม่ช่วย

ฝรั่งคนนี้ก็เลยบอกว่า นี่เห็นไหม พุทธศาสนาทำให้คนเป็นอย่างนี้ เขาตี หนึ่ง...หลักกรรม สอง...หลักอุเบกขา โยงกันว่า คนพุทธอุเบกขาเพราะเห็นว่าเป็นกรรมของเขา เลยไม่ช่วยกัน เพราะฉะนั้นสังคมก็เลยตกต่ำเดือดร้อนอย่างนี้ เขาได้ทีก็ตีแพะไล่เลย เป็นการบอกไปด้วยว่าในสังคมของเขา ไม่อย่างนี้หรอก ของเขานี่ต้องช่วยกันสุดฤทธิ์เลย

ฉะนั้น สังคมฝรั่งจึงได้เจริญขึ้นมา เขาว่าอย่างนั้น เอาล่ะสิ อย่างนี้จะแก้อย่างไรล่ะ

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2557 12:25:45 น. 0 comments
Counter : 505 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.