"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 มกราคม 2558
 
All Blogs
 
สักวันหนึ่ง .. วัดไทยแห่งแรกในโบเด็นเซ ความหวังของชาวพุทธที่เยอรมัน





 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พื้นดินกว้างใหญ่ประมาณ 2,600 ตารางเมตร ในโบเด็นเซ ประเทศเยอรมัน ในสายตาของคนไทยในโบเด็นเซ กลายเป็นความหวังของการสร้างวัด

วัดได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เมื่อมีกิจกรรมชาวพุทธต่างแวะเวียนมาเยี่ยมกันจนไม่ต่างจากญาติในครอบครัว

แต่ตอนนี้วัดที่เหล่าพุทธบริษัทที่เยอรมันเรียกกันนั้น ยังเป็นแค่ "ศูนย์พุทธศาสนาและสมาคมวัฒนธรรมไทยโบเด็นเซ" ยังไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่าอาคาร 2 ชั้น

โดยชั้น 1 ถูกจัดแบ่งเป็นห้อง ทั้งห้องนอน ห้องน้ำ และห้องโถงใหญ่สำหรับประกอบพิธีกรรมมีพระพุทธรูปโต๊ะหมู่บูชา รอบข้างมีเครื่องสังฆทาน ผ้าไตรจีวร หนังสือสวดมนต์ เบาะนั่งสมาธิ พื้นที่จุคนได้ประมาณร้อยคนได้

เช่นเดียวกับชั้น 2 ถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับสวดมนต์ มีที่พักและห้องน้ำอีกส่วนต่างหาก ยิ่งช่วงหลังคนเริ่มมามากขึ้นจนทำให้สถานที่เล็กไปถนัดใจ อาคารหลังนี้ไม่อาจปรับปรุงขยายไปได้มากกว่านี้

"ที่เยอรมันจะเคร่งครัดทุกเรื่อง ถ้าจะปรับปรุงสิ่งใดต้องแจ้งให้ทางราชการรับรู้และต้องได้รับความยินยอมจากคนในพื้นที่ด้วย และผู้ที่จะอยู่อาศัยต้องมีห้องพักชัดเจน พระที่นี่จึงมีแค่ 3 รูป ถ้าจะมีเพิ่มก็ต้องมีห้องเพิ่มก่อน..." พระมหาจิราธิวัฒน์ อัตถยุตโต พระธรรมทูตรุ่นที่ 14 เลขานุการสมาคมศูนย์พุทธศาสนาฯ อธิบาย

แต่ด้วยจำนวนคนที่มาทำบุญบางช่วงเทศกาล เช่น กฐิน เป็นต้น และกิจกรรมถือศีลปฏิบัติธรรมในวันสำคัญ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น หรือกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้น เช่น เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ นับวันมีแต่จะมากขึ้น

จึงต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วน เพราะต้องมีการใช้เสียง อีกทั้งจำนวนคนที่มาอาจมาไกลจึงต้องมีที่พักเพื่อสะดวกมากขึ้น ด้วยความจำเป็นเหล่านี้ ทุกคนจึงคิดว่าอยากร่วมแรงกายแรงใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างวัดบนพื้นที่ๆ ใหญ่กว่านี้

วัดหรือศูนย์พุทธศาสนาฯ แห่งนี้ได้เปลี่ยนมุมมองของชาวต่างชาติที่เข้ามาสัมผัสแตกต่างกัน นายเทียร์รี่ ซาร์เซียร์ (Thierry Serzier) ซึ่งแต่ก่อนไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ

นางโอ ผู้เป็นภริยา บอกเล่าให้ฟังว่า "ตอนที่แม่ของเทียร์รี่ป่วยหนักต้องผ่าตัดด่วน โอกาสรอด 50/50 ช่วงนั้นเข้าถวายสังฆทานที่วัด พอกลับไปเหมือนปาฏิหาริย์ แม่ก็อาการดีขึ้นจนทุกคนก็ประหลาดใจ นั่นอาจเป็น จุดเริ่มต้นแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคุณเทียร์รี่ที่ทำให้ได้รู้จักที่พึ่งทางใจ"

 






 

 

 

 

 

 

 

แม้แต่ นายเบามานน์ (Baumann) เจ้าของตึก ที่ศูนย์พุทธศาสนาฯ เช่าอยู่ในปัจจุบัน ก็ชื่นชมความเป็นคนไทยและศาสนาพุทธ ได้เห็นศรัทธาของคนไทยและฝรั่งเข้ามาที่ศูนย์แห่งนี้จำนวนมาก จึงยอมลดค่าเช่าให้จำนวนหนึ่ง

ที่น่าสนใจ คือ ผู้หญิงชาวเยอรมันคนหนึ่ง เห็นการแต่งตัวของพระ จึงเดินเข้ามาพูดคุยด้วย พร้อมแนะนำว่า เธอเคยทำสมาธิที่แคนาดา กับองค์ดาไลลามะมาก่อน และรู้ว่ามีวัดไทยตั้งอยู่ที่นี่เลยต้องการเรียนรู้การทำสมาธิแบบไทย

สอดคล้องกับที่ พระมหาขวัญยืน สิริธัมโม เล่าให้ฟังถึงฝรั่งที่สนใจวัดไทย ส่วนหนึ่งมาจากการเคยได้ทำสมาธิมาก่อน หรือบางคนก็เคยไปเมืองไทย หรือบางคนรู้จักผ่านเว็บไซต์ของศูนย์ (www.thaizentrum-bodensee.de/index.php/verein_de.html)

จากองค์ประกอบทั้งหมด ทั้งพระสงฆ์และกำลังศรัทธาของทั้งชาวพุทธไทยและเยอรมัน ดูจะพร้อมแล้ว สำหรับการสร้างวัดที่มีพื้นที่จัดสรรประโยชน์เป็นของตนเอง เพื่อต่อลมหายใจพระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน

และต้อนรับชาวพุทธที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั้งใกล้และไกลซึ่งนับวันมีแต่จะมากยิ่งขึ้น เป็นศูนย์รวมของหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จัดกิจกรรมทางศาสนา และได้ช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้ให้ลูกหลานในต่างแดนได้เรียนรู้

แต่สิ่งเดียวที่ชาวพุทธทุกคนต้องช่วยกันต่อไป คือ การร่วมกันเสียสละกำลังทรัพย์คนละเล็กละน้อย สนับสนุนส่งเสริมบุญใหญ่ครั้งนี้ และตราบที่เรายังเชื่อมั่นในข้อคิดที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ได้ให้ไว้ว่า "เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น (ชาวโลก) โดยไม่ยึดมั่นตัวเองมากเกินไป ที่สำคัญต้องรู้จักอดทน มั่นคงในความดี ไม่ชิงดีชิงเด่นกันเอง"

ไม่นานเราจะได้ยินชื่อวัดไทยในโบเด็นเซ ประเทศเยอรมันในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน

หน้า 28


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 14 มกราคม 2558
Last Update : 14 มกราคม 2558 11:51:53 น. 0 comments
Counter : 1081 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.