"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2557
 
10 เมษายน 2557
 
All Blogs
 
วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (21) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


"ธรรม" แปลว่า หลัก หรือหลักการ คือ หลักความจริง หลักความดีงาม หลักการปฏิบัติ หรือหลักที่จะเอาไปใช้ปฏิบัติ รวมทั้งหลักคำสอนที่จะให้ประพฤติปฏิบัติ และกระทำการได้ถูกต้อง

"อรรถ" (อัตถะ ก็เขียน) แปลว่า ความหมาย ความมุ่งหมาย จุดหมาย ประโยชน์ที่ต้องการ หรือสาระที่พึงประสงค์

ในการปฏิบัติธรรม หรือกระทำการตามหลักการใดๆ ก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมาย และความมุ่งหมายของธรรมหรือ หลักการนั้นๆ ว่า ปฏิบัติ หรือทำไปเพื่ออะไร ธรรม หรือหลักการ นั้น กำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่าง ที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้ออื่นๆ

ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการ และความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้องที่เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หรือธัมมานุธัมมปฏิบัติ แปลอย่างสืบๆ กันมาว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ แปลง่ายๆ ว่าปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อย เข้ากันได้ สอดคล้องกัน และส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่า เป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรม หรือการกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้หรือไม่

ถ้าไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม หรือดำเนินตามหลักการ ก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้าม คือเกิดโทษขึ้นได้

ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย ธรรมเพื่ออรรถ หลักการเพื่อจุดหมาย จะทำอะไร ต้องถามได้ตอบได้ ว่าเพื่ออะไร

ในทางธรรม ท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก ทั้งในแง่เป็นคุณสมบัติของบุคคล เช่น สัปปุริสธรรม 7 และปฏิสัมภิทา 4 เป็นต้น และในแง่ลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม เช่น ปัญญาวุฒิธรรม และแนวปฏิบัติธรรมที่จะยกมาแสดงต่อไป

เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ขอยกบาลีบางแห่งมาดูประกอบ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ..."

"ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งธรรมที่ภาษิตแล้วนั้นๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งธรรมที่ภาษิตไว้ข้อนี้ นี้เป็นอรรถแห่งธรรมที่ภาษิตไว้ข้อนี้..."

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพหูสูต และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ เป็นอย่างไร? บุคคลบางคนมีสุตะ (ความรู้ที่ได้เล่าเรียนสดับไว้) คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละเป็นอันมาก, เขารู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แห่งสุตะที่มากนั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ), อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นพหูสูต และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ"

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเราแสดงไว้แล้ว เป็นอันมาก คือ สูตร เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ, ถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถาที่มี 4 บาทแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมถูกหลัก (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) ก็ควรเรียกได้ว่าเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม"

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลายไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ไม่ทรงธรรมไว้โดยเคารพ ไม่ไตร่ตรองอรรถ (อัตถุปปริกขา) แห่งธรรมที่ทรงไว้โดยเคารพ ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม..."

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ย่อมเล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมทรงธรรมไว้โดยเคารพ ย่อมไตร่ตรองอรรถ (อัตถุปปริกขา) แห่งธรรมที่ทรงไว้แล้วโดยเคารพ ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ย่อมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ),..."

พึงสังเกตแนวธรรมในสูตรนี้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้:

ฟังและเล่าเรียนธรรม ทรงธรรมไว้ได้ ไตร่ตรองอรรถ (อัตถุปปริกขา) ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

หน้า 27


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ    




Create Date : 10 เมษายน 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 9:19:01 น. 0 comments
Counter : 521 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.