Entrepreneurs : The Energizers of Small Business เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ จะดำเนินไปด้วยดีหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพและความสามารถของผู้ประกอบการในบ้านเมืองของเรานั่นเอง
 
ธันวาคม 2557
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
18 ธันวาคม 2557

002. เคเอฟซี (KFC) หรือไก่ทอดเคนทักกี (Kentucky Fried Chicken)



ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1952 (เมืองคอร์บินตอนเหนือ, รัฐเคนทักกี)
ผู้ก่อตั้ง ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
สำนักงานใหญ่ หลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี

บุคลากรหลัก

Gregg R. Derrick ประธานบริษัท
Harvey R. Brownlea ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
James O'Reilly รองประธานบริษัทฝ่ายการตลาด

อุตสาหกรรม อาหารจานด่วน
รายได้ $ 15 พันล้าน (2011)
จำนวนพนักงาน 24,000 (2007)
บริษัทแม่ ยัม! แบรนด์ส์ อิงส์






เคเอฟซี (KFC) หรือไก่ทอดเคนทักกี (Kentucky Fried Chicken)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เคเอฟซี (อังกฤษ: KFC) หรือ ไก่ทอดเคนทักกี (อังกฤษ: Kentucky Fried Chicken) เป็นภัตตาคารอาหารจานด่วนหลายสาขาที่เน้นอาหารประเภทไก่ทอดและมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา เคเอฟซีเป็นภัตตาคารหลายสาขาที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากแมคโดนัลด์ ด้วยจำนวนร้าน 18,875 ร้านใน 118 ประเทศนับถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 บริษัทเป็นบริษัทย่อยของยัม!แบรนส์ บริษัทภัตตาคารที่เป็นเจ้าของพิซซ่าฮัทและทาโคเบลล์ด้วย


เคเอฟซีก่อตั้งโดยฮาร์แลนด์ แซนเดอส์ นักลงทุนที่เริ่มขายไก่ทอดจากร้านอาหารข้างถนนในคอร์บิน รัฐเคนทักกี ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แซนเดอส์เริ่มเห็นความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปิดแฟรนไชส์ร้านอาหาร และแฟรนไชส์ "เคนทักกีฟรายด์ชิกเคน" (ไก่ทอดเคนทักกี) ร้านแรกเปิดที่รัฐยูทาห์ในปี ค.ศ. 1952 เคเอฟซีทำอาหารประเภทไก่ให้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารจานด่วน และกระจายตลาดโดยท้าทายผู้นำด้านร้านอาหารประเภทแฮมเบอร์เกอร์ หลังจากตั้งชื่อตราสินค้าของตนเป็น "เคอเนลแซนเดอส์" (Colonel Sanders) ฮาร์แลนด์กลายเป็นบุคคลโดดเด่นในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอเมริกัน และรูปภาพของเขาเป็นที่รู้จักกว้างขวางในภาพโฆษณาเคเอฟซี อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริษัททำให้แซนเดอส์รู้สึกว่ายากที่จะรับมือ และในปี ค.ศ. 1964 เขาขายบริษัทให้กับกลุ่มนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่นำโดยจอห์น วาย. บราวน์ จูเนียร์ และแจ็ก ซี. แมสซีย์

เคเอฟซีเป็นหนึ่งในกิจการอาหารจานด่วนกิจการแรก ๆ ที่ขยายตัวเข้าสู่สากล เปิดสาขาในสหราชอาณาจักร เม็กซิโก และจาไมกาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1970-1980 เคเอฟซีประสบกับโชคชะตาทั้งร้ายและดีคละกันไป หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเกี่ยวกับหุ้นส่วนที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องธุรกิจร้านอาหาร หรือมีประสบการณ์เพียงน้อยนิด เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เคเอฟซีถูกขายให้กับผู้จำหน่ายสุรา ฮิวไบลน์ (Heublein) ซึ่งก็ถูกธุรกิจอาหารและยาสูบ อาร์.เจ. เรย์โนลด์ และขายกิจการให้กับบริษัท เป๊ปซี่โค กิจการขยายตัวต่อไปอีกหลายประเทศ และในปีค.ศ. 1987 เคเอฟซีกลายเป็นกิจการร้านอาหารตะวันตกกิจการแรกที่เปิดที่ประเทศจีน กิจการได้ขยายตัวในจีนอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท เป๊ปซี่โคแยกแผนกร้านอาหารออกเป็นไทรคอนโกลบอลเรสเตอรอนส์ (Tricon Global Restaurants) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นยัม!แบรนส์

ผลิตภัณฑ์แรกเริ่มของเคเอฟซีคือไก่ทอดที่ทอดด้วยอุณหภูมิสูง (pressured frying) ปรุงรสด้วยสูตรสมุนไพรและเครื่องเทศ 11 ชนิดของแซนเดอส์ ส่วนผสมของสูตรนี้เป็นความลับทางการค้า ไก่ทอดหากมีปริมาณมากจะเสิร์ฟใน "ถัง" ที่ทำจากกระดาษแข็ง ซึ่งกลายเป็นลักษณะที่รู้จักกันดีของกิจการตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกโดยลูกค้าแฟรนไชส์ พีต ฮาร์แมน ในปี ค.ศ. 1957 ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เคเอฟซีขยายเมนูให้มีอย่างอื่นนอกจากไก่ทอด เช่น เบอร์เกอร์ไก่ไม่มีกระดูก และแซนด์วิชไก่ไม่มีกระดูกชนิดห่อด้วยแป้ง รวมถึงสลัด และเครื่องเคียง เช่น เฟรนช์ฟรายส์ และโคลสลอว์ ขนมหวาน และน้ำอัดลม ซึ่งจัดหาโดยบริษัทเป๊ปซี่โค เคเอฟซีเป็นที่รู้จักด้วยสโลแกนว่า "finger linkin' good" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "Nobody does chicken like KFC" และ "So Good"






ประวัติ

ร้านแรกของเคเอฟซีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยผู้พันฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ ที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเมืองคอร์บิน รัฐเคนทักกี และเปิดร้านสัมปทานสาขาแรกเมื่อ พ.ศ. 2495 ในภายหลังเมื่อกิจการได้รับความนิยม ผู้พันแซนเดอส์จึงขายกิจการให้กับกลุ่มนักลงทุนอื่นในปี พ.ศ. 2505 ด้วยมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในภายหลังแบรนด์เคเอฟซีถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มบริษัท PepsiCo ซึ่งได้แยกธุรกิจเกี่ยวกับอาหารออกมาเป็นบริษัท TRICON ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น ยัม! แบรนด์ส อิงค์ ในปัจจุบัน


ชื่อ






เคเอฟซีได้เปลี่ยนจากชื่อเต็ม "เคนทักกี้ฟรายชิคเก้น" มาเป็นชื่อย่อ "เคเอฟซี" เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยให้เหตุผลว่าต้องการลดความสำคัญของคำว่า "ชิคเก้น" หรือ "ไก่" ลง เนื่องจากมีผู้ประท้วงเกี่ยวกับการใช้ไก่ดัดแปลงพันธุกรรมของ KFC เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือต้องการทิ้งคำว่า "ฟราย" ซึ่งสวนกับกระแสสุขภาพในการลดการบริโภคของทอด อย่างไรก็ตาม ปี พ.ศ. 2548 เคเอฟซีเปิดร้านอาหารใหม่ในรัฐเคนทักกี้ ได้ใช้ชื่อว่า "เคนทักกี้ฟรายชิคเก้น" เช่นเดิม และมีแผนจะใช้ชื่อเดียวกันนี้ในอนาคต






ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว


เคเอฟซีในประเทศไทย

เคเอฟซีเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยกลุ่มเซ็นทรัล โดยมีสาขาแรกอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเจ้าของกิจการบริษัทแม่มาเป็นบริษัท PepsiCo ซึ่งได้ดึงเครือเจริญโภคภัณฑ์มาร่วมดำเนินกิจการในประเทศไทยด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงการการบริหารโดยมีเจ้าของหลักเป็นบริษัทยัม! แบรนด์ส อิงค์ ในประเทศไทยจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทยัม! ประเทศไทย

ปัจจุบันเคเอฟซีมีสาขามากกว่า 500 แห่ง ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแบ่งดำเนินการระหว่างเซ็นทรัลและเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยของทางเซ็นทรัล เรสเตอรองค์ กรุ๊ป ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาในโรบินสัน เซ็นทรัล เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล เซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี และเทสโก้ โลตัส และของทาง ยัม! ประเทศไทย จะดำเนินการภายใต้ห้างขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย (เมื่อเทียบกับเซ็นทรัล) และยังเป็นเจ้าเดียวที่เปิดบริการส่งถึงบ้าน และอ้างว่ามีส่วนแบ่งตลาดถึง 49% ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดทั้งหมดในประเทศ.



Source://th.wikipedia.org/wiki/


วันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2557

-------------------------------------------------------------


ผู้พันแซนเดอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




เกิด 9 กันยายน ค.ศ. 1890 เฮนรีวิล , อินดีแอนา , สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต 16 ธันวาคม ค.ศ. 1980 (90 ปี) หลุยส์วิล , เคนทักกี, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติ อเมริกา
ศาสนา คริสต์
คู่สมรส โจเซฟีน คิง , คลอเดีย พริส
บุตร มาร์กาเร็ท แซนเดอส์, แบรนดอน แซนเดอส์ ,แกรนท์ แซนเดอส์ และ
มิล์ดเรด แซนเดอส์
บิดามารดา วิลเบอร์ เดวิด แซนเดอส์,มาร์กาเร็ท แอน แซนเดอส์


พันเอกฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ (อังกฤษ: Harland David Sanders) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ผู้พันแซนเดอส์ (อังกฤษ: Colonel Sanders) (9 กันยายน ค.ศ. 1890 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 1980) เป็นผู้ก่อตั้งร้านไก่ทอดเคนทักกีอันเลื่องชื่อ และเจ้าของสูตรไก่ทอดดังกล่าว เขายังเป็นพ่อครัวมือเอกแห่งยุค เดิมเขาประกอบอาชีพหลายอย่าง และล้มเหลวเสมอ แต่บั้นปลายชีวิต เขาเป็นมหาเศรษฐีเพราะไก่ทอดนั้น


วัยเด็ก

แซนเดอส์เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 ที่เฮนรีวิล รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา โดยเขาเป็นลูกชายคนโตจากลูกทั้ง 3 คนของ วิลเบอร์ เดวิด แซนเดอส์ กับ มาร์กาเร็ท แอน แซนเดอส์ พ่อของแซนเดอส์ได้เสียชิวิตลงตั้งแต่เขาอายุเพียง 5 ปี แซนเดอส์ได้อาศัยอยู่กับแม่มาโดยตลอดและได้เรียนรู้วิธีทำอาหารจากแม่ที่ต้องทำอาหารเลี้ยงน้องๆของเขา แซนเดอส์มีฝีมือด้านการทำอาหารมาก เขาสามารถชนะเลิศการประกวดทำอาหารประจำหมู่บ้านเมื่อมีอายุเพียง 7 ปีเท่านั้น แต่ด้านการเรียนของเขาอาจไม่ราบรื่นนักเมื่อเขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคันโดยเรียนไม่จบ


การทำงาน

แซนเดอส์ต้องทำงานหาเงินช่วยครอบครัวตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี ตั้งแต่ทำงานในฟาร์มใกล้บ้าน เป็นคนขายประกัน พนักงานดับเพลิง แถมยังเข้าเป็นทหารตั้งแต่อายุ 16 ปี (โดยโกหกเรื่องอายุเพื่อเข้าเกณฑ์ทหาร) แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าไรนักเลย แต่จนกระทั่งอายุย่างก้าวเข้าสู่วัย 40 เขาก็เริ่มทำงานในด้านที่เขาถนัด นั่นก็คือการทำอาหาร โดยเขาได้เป็นพ่อครัวทำอาหารอยู่ในรัฐเคนทักกี ซึ่งที่นั่นเขาก็ประสบความสำเร็จเมื่อผู้คนชื่นชอบอาหารฝีมือของเขา จนเขาสามารถออกมาเปิดร้านอาหารเป็นของตนเองได้ และในอีก 9 ปีต่อมา เขาก็คิดค้นไก่ทอดสูตรลับขึ้นมาได้สำเร็จ โดยมีเครื่องปรุงเป็นเครื่องเทศต่างๆถึง 11 ชนิด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนแซนเดอส์ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการรัฐเคนทักกีให้เป็นถึง พันเอก ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์ ในปี ค.ศ. 1935

ในปี ค.ศ. 1939 นักวิจารณ์อาหารดันแคนไฮนส์ (Duncan Hines) ได้เยี่ยมร้านอาหารของแซนเดอร์ส แล้วประทับใจมาก โดยได้เขียนให้เกียรติร้านนี้ว่าเป็น “ร้านที่น่ามาท่องเที่ยวชิมอาหาร” โดยข้อเขียนนี้ได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศสหรัฐ ในขณะที่ความสำเร็จของเขาขยายวงไปเรื่อยๆ แซนเดอร์สได้มีบทบาทด้านสังคมมากขึ้น เขาได้เข้าร่วมสมาคมโรตารี่ (Rotary Club), สภาหอการค้า (Chamber of commerce), และสมาคม Freemasons เขาได้หย่าขาดจาก โจเซฟิน ภรรยาคนแรกในปี ค.ศ. 1947 สองปีต่อมา เขาได้แต่งงานกับเลขานุการ ชื่อ คลอเดีย (Claudia) และเขาได้รับตำแหน่ง ผู้พันแห่งเคนตั๊กกี้อีกครั้ง จากเพื่อนของเขา คือ ผู้ว่าการรัฐ ลอเรนซ์ เวเธอร์บี้ (Governor Lawrence Wetherby)

ในปี ค.ศ. 1950 แซนเดอร์สได้พัฒนาบุคลิกของเขาให้เป็นสัญลักษณ์ของกิจการ โดยเขาไว้เคราแพะ แล้วย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว และผูกไทร์แบบเป็นเส้น (String tie) เขาไม่เคยปรากฏตัวต่อสาธารณะในรูปแบบการแต่งกายอื่นๆในช่วง 20 ปีหลังของชีวิตเขา โดยในช่วงฤดูหนาว เขาใส่ชุดผ้าขนสัตว์หนา และในฤดูร้อน เขาใส่เสื้อผ้าทำจากฝ้าย แต่ทั้งหมดเป็นแบบเดียวและมีสีขาว เขาย้อมหนวดและเคราเป็นสีขาว เข้ากับสีผมและเสื้อผ้า และนั่นเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจำได้ ในวัย 65 ปี ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ได้ก่อตัวขึ้นในรูปบริษัท เป็นครั้งแรก โดยผู้ก่อตั้งคือผู้พันแซนเดอร์ส ร้านอาหารหลักของเขาก็ประสบปัญหาล้มเหลวอีกครั้ง เนื่องจากเกิดถนนสายระหว่างรัฐที่ 75 (Interstate 75) ทำให้คนไม่เดินทางผ่านถนนท้องถิ่นเดิม มาที่ร้านของเขา เมื่อเกิดวิกฤติ มีคนมากินอาหารน้อยลง เขาได้ใช้เงิน $105 จากเงินสวัสดิการเกษียณอายุ (Social Security check) ใบแรก เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายการเดินทางไปเยี่ยมผู้ซื้อแฟรนไชส์ของเขา และนี่อาจเป็นข้อดีที่ทำให้เขาหันมาทำกิจการแฟรนไชส์เครือข่ายร้านอาหารอย่างจริงจัง แม้วัยของเขาจะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ในปี ค.ศ. 1964 ผู้พันแซนเดอร์สได้ขายกิจการ ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ให้แก่ กลุ่มนักลงทุนมืออาชีพที่มี Jack Massey และ John Y. Brown Jr. เป็นแกนนำ และเพื่อรักษาไก่ทอดเคนตั๊กกี้ ให้คงคุณภาพและรสชาติแบบดั้งเดิม จึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติของ KFC ขึ้นในปีค.ศ. 1978 โดยมีผู้พันแซนเดอร์สเป็น ผู้ตรวจสอบการรักษารสชาติ ของไก่ทอดเป็นหม้อแรก จากพีท ฮาร์แมน ผู้ที่ได้แฟรนไชส์เป็นรายแรก


การเสียชีวิต

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1980 แพทย์ได้ตรวจพบว่าแซนเดอส์ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเขายังป่วยเป็นโรคปอดบวมอีกด้วย ทำให้แซนเดอส์เสียชีวิตลงในวัย 90 ปีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1980 ที่หลุยส์วิล รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา ศพแซนเดอส์ได้รับการตั้งไว้ ณ ที่ทำการเมืองหลวง รัฐเคนทักกี แล้วนำศพไปฝังไว้ที่สุสานเคฟฮิลล์ ในเมืองหลุยส์วิล ร่างของเขาได้รับการฝังขณะสวมชุดขาวและโบว์สีดำอย่างเดิม ซึ่งหลังจากเขาเสียชิวิต ร้านอาหารของเขาก็ยังคงได้รับความนิยมจากลูกค้า โดยในปัจจุบัน ร้านเคเอฟซีมีสาขาต่าง ๆ เกือบ 30,000 ร้านทั่วโลก.


Source://th.wikipedia.org/wiki/

--------------------------------------------------------------


Create Date : 18 ธันวาคม 2557
Last Update : 19 ธันวาคม 2557 19:54:43 น. 0 comments
Counter : 7457 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ThaiEntrepreniur
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"ข้าพเจ้าเป็นนายแห่งโชคชะตาของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าเป็นกัปตันแห่งดวงวิญญานของข้าพเจ้า"
[Add ThaiEntrepreniur's blog to your web]