รับทำโปรเจ็คและให้คำปรึกษาโปรเจ็คเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller)
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2557
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 
โปรเจ็คเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยผ่าน Android Application

โปรเจ็คเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยผ่าน Android Application
แนวคิดของโปรเจ็คนี้เกิดจากความขี้เกียจของตัวเจ้าของผู้เขียนบนความเอง ที่ต้องลุกไปเปิดปิดสวิตช์ไฟเวลาเข้านอน ซึ่งมันอยู่ไกลจากเตียงนอนมาก... T.T   จึงมีความคิดว่าถ้าเราทำรีโมทมาควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสวิตช์ไฟได้ คงมีความสะดวกไม่น้อย แต่มองดูรอบตัวเราก็ประจักว่ามีรีโมทเต็มไปหมด ไม่ว่าจะทีวี, กล่องเคเบิล, เครื่องเสียง, เครื่องปรับอากาศ...ฯลฯ เต็มไปหมด แต่ถ้าเปลี่ยนจากตัวรีโมทมาเป็นโทรศัพท์มือถือ(smart phone)ละจะดีมั๊ย ..... :-) เพราะปกติโทรศัพท์มือถือก็ติดตัวเราไปทุกที่อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเข้าห้องน้ำ กินข้าว หรือทำกิจกรรมต่างๆภายในบ้าน จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีแนวคิดที่จะทำ android application ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยใช้บลูทูธเป็นตัวส่งสัญญาณจาก smart phone ไปยังชุดควบคุม

หลักการและแนวคิดคือ ผู้ใช้งาน หรือ End User จะทำการควบคุมบน android application บน smart phone โดย smart phone จะทำการติดต่อกับ ioioboard (https://www.sparkfun.com/products/retired/10748) ผ่านทางบลูทูธ ซึ่งเจ้าตัว ioioboard นี่เองจะเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง hardware กับ software  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้เฉพราะตัว ioioboard มาควบคุม hardware ไม่มีความยึดหยุ่นเพียงพอในการใช้งานเพราะว่าเราไม่สามารถแก้ไข firmware ที่อยู่ภายใน ioioboard ได้  ซึ่งจะเจอปัญหาเช่น เวลาเราทำการปิด application ไป วงจร relay จะกลับไปในสถาวะเดิม ตามค่า default ของ ioioboard ซึ่งไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีตัว embedded board อีกชุดหนึ่งที่ทำงานควบคู่กับเจ้า ioioboard ซึ่งผู้เขียนใช้ microcontroller เบอร์ PIC18F2550 เป็นตัวเชื่อมต่อ โดยจะขอเรียกสั้นๆว่าชุด mcu โดยมีวงจรการเชื่อมต่อตามรูปด้านล่างครับ






รูปที่ 1 แสดงวงจร ioio board เชื่อมต่อกับ mcu และชุดควบคุม relay


การทำงานวงจรคือ ioio board จะมีขา output ที่ส่งสัญญาณไปให้ mcu อยู่ทั้งหมด 5 เส้น โดยเป็นขาสั่งงาน on-off  delay 4 เส้น (6,5,4,3) และขา active 1 เส้น (7) และมีขา input ที่รับสัญญาณจาก mcu อยู่ 4 เส้น (10, 11,12,13)   ใช้เป็นตัวบอก สถานะของ relay output ให้กับตัว ioioboard  ส่วนตัว mcu จะทำการสั่งงานไปยังชุดควบคุม relay ตามวงจรด้านบน

Note: หน้าที่ของขา active (ขา 7) เป็นสัญญาณบอกให้กับ mcu ว่า android application กำลังทำงานหรือ active อยู่หรือไม่ ถ้าไม่ active ตัว mcu จะไม่รับคำสั่งจาก ioio board



รูปที่ 2 android application interface

การใช้งานของ android application คือเมื่อ End User กดที่รูปหลอดไฟ ระบบจะทำการเปิด-ปิด relay ตามรูป (หลอดไฟ ติด-ดับ) บนหน้าจอจะมีปุ่ม refresh  เพื่อใช้ในการ update สถานะของระบบ (ปุ่ม refresh ใช้สำหรับกรณีที่ระบบขาดการเชื่อมต่อกับตัวมือถือ แล้วผู้ใช้ต้องการรู้สถานะปัจจุบันของระบบ)

ในส่วนของ android source และ mcu source  ให้ดาวน์โหลดตาม link ด้านล่างครับ






Create Date : 22 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 สิงหาคม 2557 23:13:06 น. 0 comments
Counter : 7167 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

buten_kmitl
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




รับทำโปรเจ็คอิเล็กทรอนิค เขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรเลอร์ควบคุมฮาร์ดแวร์ ราคาฟรีแลนซ์
TEL : 089-1407205
Email: uten.boonliam@gmail.com
New Comments
Friends' blogs
[Add buten_kmitl's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.