"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคตคือธรรมกาย"
Group Blog
 
All blogs
 
มหาโชดกโกหกเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ - [12] "ทำได้แค่บางส่วนของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ในกระทู้ มหาโชดกโกหกเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ - [11] "อธิษฐานแบบขอหวย"   ผมได้นำเสนอวิธีสมาทานพระกรรมฐาน (ขึ้นครู) ของมหาโชดกไปแล้ว และได้บอกว่ามีความแปลกประหลาดหลายอย่าง

วันนี้ มาดูความแปลกประหลาด ที่บกพร่องและผิดพลาดอย่างมาก    ถึงกับทำให้มหาโชดกตกไปอบายภูมิเลยทีเดียว




ขอให้ผู้อ่านดูในส่วนที่ผมเน้นขีดเส้นใต้ด้วยสีแดงไว้ คือ ข้อความนี้ :


พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก ย่อมดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยหนทางสายนี้ อันเป็นทางสายเอก ซึ่งนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทั้งหลายรู้ทั่วถึงกันแล้วว่า ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔


ผมขอยืนยันว่า "ข้อความข้างต้นโกหกบิดเบือนอย่างแน่นอน"


เอาความรู้แบบบ้านๆ ทั่วไป แบบไม่ต้องเป็นนักวิชาการ   เราจะได้ยินข้อความที่ว่า "พระพุทธเจ้าค้นพบอริยสัจ 4"


วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวถึงอริยสัจ 4 ไว้ดังนี้


อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น)

การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ

ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค



อริยสัจ 4 นั้นคือ ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


มหาโชดกโกหกเอาดื้อๆ ว่า "พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก ย่อมดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยสติปัฏฐาน 4"


พระโชดกได้เปรียญเก้า  ไม่รู้จักอริยสัจ 4 หรืออย่างไร


จากหลักฐานที่ยกไปนั้น  พระมหาโชดกนอกจากจะโกหกเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว  ก็ยังโกหกบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เป็นไปตามคำสอนของพระพม่าอีกด้วย

ผมขอสรุปหัวข้อธรรมะที่เป็น "วิปัสสนาธุระ" ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ดังตารางด้านล่าง :




ในตารางดังกล่าวนั้น ไมได้นำ "วิชชา 3" กับ "วิปัสสนาญาณ 10" ลงไป   เพราะต้องการให้เห็นภาพกว้างๆ   

ทั้ง วิชชา 3 กับ วิปัสสนาญาณ 10 จะอยู่ในส่วนของอริยสัจ 4



จากตารางดังกล่าวนั้น  ทำให้เห็นได้ว่า ข้อความของมหาโชดกที่ว่า :


พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก ย่อมดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยหนทางสายนี้ อันเป็นทางสายเอก ซึ่งนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทั้งหลายรู้ทั่วถึงกันแล้วว่า ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

เป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด


นอกจากนั้นแล้ว การปฏิบัติธรรรมแบบยุบหนอพองหนอของมหาโชดกนั้น :

1.  ไม่ได้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน

2.  ไม่ได้เป็นสติปัฏฐาน 4

3.  วิปัสสนากรรมฐาน และ สติปัฏฐาน 4  ควรจะเป็นอีกอย่าง   ซึ่งจะได้นำมาเสนอต่อไป


จะเห็นได้ว่า มหาโชดกไม่ได้มีความรู้ในระดับที่จะเป็น "ครู" สอนปฏิบัติธรรมได้เลย  

เมื่อต้องการมีชื่อเสียง   แต่ไม่มีความรู้ จึงต้อง "โกหก"  

มหาโชดกเห็นว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำมีชื่อเสียง  และเป็นพระอยู่ใต้บังคับบัญชาของตนเอง

มหาโชดกจึงโกหกปั้นเรื่องขึ้นมา

คราวนี้มาดูหลักฐานที่ว่า คำสอนของมหาโชดกนั้น "ทำได้แค่บางส่วนของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" เท่านั้น





จากคำสอนของมหาโชดกนั้น จะเห็นว่า แค่เดินไป เดินมา สาวกของมหาโชดกก็ได้ญาณ 11 กันแล้ว ในจำนวนญาณทั้งหมด 16 ญาณ 

พูดง่ายๆ ว่า เดินไป เดินมา นั่งบ้าง นอนบ้าง  สาวกของมหาโชดกก็จะถึงนิพพานกันแล้ว

จากคำสอนของมหาโชดกดังกล่าว  สาวกของมหาโชดกจึงไม่ได้ทำอะไรนอนจาก "เดินไป เดินมา", "พองไป พองมา" ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจุบันกับอิริยาบถของร่างกาย  ถ้าร่างกายอยู่นิ่ง ก็ทำรู้สึกให้เป็นปัจจุบันกับ "ความรู้สึก"  เจ็บหนอ ปวดหนอ เห็นหนอ ได้ยินหนอ ฯลฯ ทำกันอยู่แค่นั้น

การที่ทำกันอยู่แค่นั้น เข้าข่ายเพียงบางส่วนของกายานุปัสสนาเท่านั้น  ดูรูปด้านล่าง :




จะเห็นได้ว่า สาวกของมหาโชดกจะทำได้เพียงบางส่วนของ อาปานบรรพะ, อิริยาปถบรรพะ และสัมปชัญญบรรพะเท่านั้น   

เนื้อหาในหนังสือของมหาโชดกอย่างอื่นๆ นั้น เขียนลงไปให้หนังสือหนาขึ้นเท่านั้น   มหาโชดกไม่ได้สอนให้สาวกปฏิบัติ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การปฏิบัติธรรมของมหาโชดกที่ได้นำมาจากพม่านั้น  เป็นเพียงบางส่วนของอาปานบรรพะ, อิริยาปถบรรพะ และสัมปชัญญบรรพะเท่านั้น 

วันนี้ผมมีรูปภาพมาให้ดู เพื่อเปรียบเทียบว่า "บางส่วน" นั้นแค่ไหน 



วงกลมสีแดงคือ สติปัฏฐาน 4 ในส่วนที่มีวงกลมเล็กอยู่นั้นคือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

วงกลมเล็กคือ การฝึกปฏิบัติยุบหนอพองหนอของมหาโชดก  

ส่วนที่เป็นศาสนาพุทธนั้น เป็นเพียงส่วนที่แรเงาไว้เท่านั้น    

ส่วนใหญ่แล้ว สายปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอ ไม่ได้เป็นของศาสนาแท้ๆ แต่เป็นของผลิตขึ้นให้เข้ากับวิทยาศาสตร์   ซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้ :

1. พระพม่าจะไม่เอ่ยถึงเรื่อง "บารมี 30 ทัศ" เพราะพระพม่าเชื่อตามวิทยาศาสตร์ว่าตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียว

2. พระพม่าจะไม่เคยกล่าวถึง "วิชชา 3"   เพราะวิชชา 3 ยืนยันว่า มีชาติที่แล้ว มีชาติหน้า

3. พระพม่าจะเน้นไปว่า "ไปนิพพานภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน" เพราะไม่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด   ถ้าไม่บรรลุนิพพานในชาตินี้ ก็ไม่ได้อะไรไปเลย


สำหรับสาเหตุที่ยืนยันว่า พระพม่าเชื่อวิทยาศาสตร์นั้น  

ขอยกตัวอย่างพระไทยก่อน

พระไทยในยุค พ.ศ. 2500 นั้น ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง จากอิทธิพลของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เข้ามาในไทยในสมัยต่อระหว่างรัชกาลที่ 3 กับรัชกาลที่ 4 พร้อมกับสนธิสัญญาบาวริ่ง (ประมาณ พ.ศ. 2398)

ตัวอย่างของพระที่เชื่อวิทยาศาสตร์นั้น เช่น พระพุทธทาส พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นต้น


เพราะฉะนั้น ขนาดว่าวิทยาศาสตร์เข้ามาในประเทศเรา ประมาณต้นรัชกาลที่ 4 พระไทยยังเชื่อไปตามวิทยาศาสตร์กันมาก  

ส่วนประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษมาแสนนาน  ก่อนที่อังกฤษจะเข้าประเทศไทยได้

นิวตันก็เป็นคนอังกฤษ  

ดังนั้น วิทยาศาสตร์แบบนิวตันจึงครอบงำพระพม่าไปเต็มๆ


มหาโชดกไปเรียนกลับมาแบบไม่รู้เรื่อง  จึงไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ  

พระพม่าสอนอย่างไรก็เชื่อหมด  แต่ด้วยความรู้ที่ไม่เพียงพอ  เมื่ออยากดังก็เลยต้องโกหก  

เรื่องของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่มหาโชดกนำมากล่าวถึง จึงเป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น

ขอสรุปกระทู้นี้  โดยการเปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมแบบยุบพองกับองค์ความรู้ของศาสนาพุทธทั้งหมด




วงกลมเส้นขอบสีน้ำเงินใหญ่คือ องค์ความรู้ของศาสนาพุทธทั้งหมด
วงกลมเส้นขอบสีแดงคือ สติปัฏฐาน 4
วงกลมเล็ก คือ การปฏิบัติธรรมแบบยุบพอง
ส่วนที่แรเงาสีดำนั้นคือ การปฏิบัติธรรมยุบพองที่เข้ากันได้กับสติปัฏฐาน 4 หรือที่เข้ากันได้กับศาสนาพุทธทั้งหมด

ขอบอกก่อนว่า วงกลมเส้นขอบสีน้ำเงินใหญ่ที่เป็นองค์ความรู้ของศาสนาพุทธทั้งหมดต้องใหญ่กว่านี้อีกมาก

แต่ถ้าทำอย่างนั้นจริงๆ หน้าเว็บก็ไม่พอใส่ จึงต้องลดขนาดวงกลมลงมา


ผลที่เกิดขึ้นกับสาวกของพระมหาโชดกก็คือ มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธน้อยมาก  ขอเปรียบเทียบด้วยภาพนี้





สมมุติว่า สี่เหลี่ยมผืนผ้าคือ องค์ความรู้ของศาสนาพุทธ 

ความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติของสาวกมหาโชดกก็ทำได้เพียงแค่ เดินวนเวียนไปมาอยู่แค่มุมหนึ่งของศาสนาพุทธเท่านั้น  

ไม่ว่าจะเดินจงกรมเป็นระยะทางไกลแค่ไหนก็ตาม  ก็ได้ความรู้เพียงเท่านั้น


ต่อมาอีกอย่างที่น่ากลัวก็คือ คนที่ปฏิบัติตามสายพองยุบ ถ้าไม่วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น อย่างมากตายไปแล้วก็ได้แค่สวรรค์ชั้น 1 เช่น อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์ พระมหาอาจ (อาจารย์ของมหาโชดก)

ใครก็ตามที่ไปโจมตีสายปฏิบัติธรรมอื่นว่า เป็นเพียงสมถะกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนา ไปนิพพานไม่ได้ ก็ตกนรก เช่น  มหาโชดก  คุณสิริ กรินชัย
  (คนต่อไปอาจจะเป็นดร. สนอง วรอุไร)


ท่านผู้อ่านก็เลือกเส้นทางของชีวิตได้เลย....



Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 10:36:55 น. 0 comments
Counter : 1612 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 769319
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 769319's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.