อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เรียนรู้วิถีเก็บเงินแบบคนญี่ปุ่น



เก็บเงินแบบลืม ช่วยให้เก็บเงินอยู่ และจดบันทึกรับจ่าย ช่วยทบทวนพฤติกรรมใช้จ่ายของตนเอง 
วิธีเก็บเงิน
 ใคร ๆ ก็รู้ว่าประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องการเก็บออมเงิน การเตรียมพร้อมสำหรับเงินใช้จ่ายยามฉุกเฉินและยามเกษียณ จนถึงขั้นมีคำเรียกเฉพาะเกี่ยวกับการเก็บเงินเกิดขึ้นมาหลายคำ K-Expert ธนาคารกสิกรไทย เลยขอหยิบยกเอาบางเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบางคำเหล่านั้น และประวัติเกี่ยวกับการจัดการเงินแบบชาวญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟัง 
Hesokuri – Secret Money ของแม่บ้านญี่ปุ่น 
มีเรื่องเล่าว่ายุคของซามูไรในศตวรรษที่ 16 นั้น นาง Chiyo ภรรยาของซามูไรท่านหนึ่งที่ชื่อ Kazutoyo Yamanouchi ได้เก็บซ่อนเงินทีละน้อยไว้อย่างลับ ๆ เป็นเวลาหลายปี จนสะสมได้จำนวนมากพอ แล้วจึงนำเงินก้อนนั้นไปหาซื้อม้าชั้นดีมาให้สามีใช้ออกรบ ซึ่งในเวลาต่อมา ม้าตัวนี้ได้กลายเป็นม้าคู่หูของสามีทุกครั้งที่ออกรบ ช่วยกันรบจนชนะข้าศึกศัตรูและสร้างชื่อเสียงในช่วงยุคสงครามของญี่ปุ่น 
เงินที่ภรรยาซามูไรท่านนี้เก็บซ่อนไว้อย่างลับ ๆ โดยไม่นำออกมาใช้และไม่ให้ใครรู้ เรียกว่า "Hesokuri" นั่นเอง 
ในยุคต่อ ๆ มา สังคมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมนั้น ผู้ชายจะเป็นคนออกทำงานหาเงินนอกบ้าน โดยฝ่ายภรรยาจะเป็นแม่บ้านดูแลงานในบ้านต่าง ๆ เมื่อฝ่ายชายได้เงินเดือนกลับมา ก็จะนำกลับมาให้ภรรยาเป็นคนจัดการค่าใช้จ่าย ส่วนหนึ่งภรรยาจะให้เงินเป็นค่าครองชีพจำนวนหนึ่งแก่สามี ซึ่งเรียกว่า "Okosukai"

จากนั้นแม่บ้านญี่ปุ่นจะจัดสรรเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว และกันเงินที่เหลือบางส่วนเก็บซ่อนไว้ในที่ต่าง ๆ ในบ้าน เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางหนังสือ หรือแม้กระทั่งในตู้เย็น โดยไม่มีการนำออกมาใช้ หลายงานสำรวจบอกว่า แม่บ้านชาวญี่ปุ่นเก็บซ่อนเงินเหล่านี้ไว้ก็เพื่อเป็นเงินสำรองในยามฉุกเฉิน หรือใช้ในกรณีที่จำเป็น เช่น เป็นค่ารักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ช่วยเคลียร์ภาระหนี้สินของสามี หรือเป็นทุนรอนกรณีที่ต้องหย่าร้างกัน

        ประเด็นของเรื่องเล่าทั้งสองอยู่ตรงที่ เงินส่วนนี้มักถูกเก็บแบบ "เก็บลืม" อะแฮ่ม...ไม่ใช่ลืมเก็บนะ ซึ่งเก็บลืมในที่นี้ คือ เก็บให้พ้นหูพ้นตา ไม่ไปยุ่งกับมันอีก รวมถึงไม่ให้คนในบ้านรู้ว่ามีอยู่หรือรู้ว่าเก็บที่ไหน ซึ่งหลักคิดแบบ "เก็บลืม" เช่นนี้ ช่วยให้ "เก็บเงินอยู่" ได้จริง ๆ

ว่ากันว่า เงินจำนวนนี้มีมูลค่าตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลายล้านบาท โดยจะเพิ่มขึ้นไปตามอายุของแม่บ้านคนนั้น และไม่เพียงเฉพาะแม่บ้านชาวญี่ปุ่นเท่านั้นที่ใช้วิธีเก็บเงินแบบนี้ แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่ทำลักษณะคล้ายกัน อย่างเช่น อินเดีย เยอรมนี ชาวยิวที่อยู่ในแถบยุโรปตะวันออก เป็นต้น

วิธีเก็บเงิน

Kakeibo – บันทึกรับ-จ่าย

"Kakeibo" เป็นสมุดบันทึกรายรับ-รายจ่ายฉบับญี่ปุ่น มีมาตั้งแต่ปี 1904 โดย Motoko Hani และยังใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งขั้นตอนการจดบันทึกเป็นดังนี้

1. ค้นหาเงินที่จะใช้ได้ ด้วยการจดรายรับและรายจ่ายประจำออกมาก่อน ส่วนต่างระหว่างสองรายการนี้ คือเงินที่จะนำไปจัดสรรเพื่อใช้จ่ายต่อ

2. กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการจะเก็บ แล้วแยกเงินจำนวนนั้นออกไปเลย

3. ตั้งเป้ารายจ่ายในหมวดหมู่ต่าง ๆ โดยแยกเป็น รายจ่ายจำเป็น (ค่าอาหาร ค่าเดินทาง) รายจ่ายเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ (หนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง) รายจ่ายฟุ่มเฟือย (ค่าสันทนาการต่าง ๆ อย่าง กินข้าวนอกบ้าน สังสรรค์กับเพื่อน ช้อปปิ้ง) รายจ่ายพิเศษ (ของขวัญ ซ่อมแซม ซื้อเฟอร์นิเจอร์)

4. เขียนคำมั่นสัญญากับตัวเองในแต่ละเดือน เช่น เดือนนี้จะประหยัดค่าน้ำมันลงจากเดือนก่อนให้ได้ XX บาท, จะลดการออกไปกินข้าวนอกบ้านให้เหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นต้น

5. คำนวณส่วนต่างทุกสิ้นสัปดาห์/ทุกเดือน แล้วทบทวนว่าเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้เมื่อต้นเดือนหรือไม่

        ความน่าสนใจของ "Kakeibo" นั้น ไม่ใช่แค่การจดบันทึกรายการรับ-จ่ายเพียงตัวเลข แต่เป็นความเชื่อว่าการที่ใครก็ตามกลับมาจับดินสอปากกาเพื่อเขียนบันทึกเป้าหมายและรายการที่ตัวเองจับจ่ายใช้สอยเป็นประจำ เท่ากับคนนั้นกำลังได้ทบทวนพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และสะท้อนถึงวิถีการใช้ชีวิตว่าเป็นไปตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หากคลาดเคลื่อน เป็นไปเพราะเหตุใด มีอะไรต้องนำกลับมาปรับปรุงได้อีกในเดือนถัด ๆ ไป

วิธีเก็บเงิน

สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากเรื่องราวทั้งสอง

1. เก็บเงินในสภาพเหมือนถูกลืม โดยเฉพาะใครที่รู้ตัวเองว่าเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ อาจเลือกช่องทางเก็บเงินที่ไกลหูไกลตาหรือใช้ระบบเข้ามาช่วยจัดการแทนตัวเอง เช่น เลือกเก็บเงินทุกเดือนผ่านบัญชีเงินฝากแบบ 24 เดือน หรือหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในสัดส่วน (%) ที่สูงหน่อย หรือตั้งการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมแบบอัตโนมัติทุกเดือน เป็นต้น

2. แบ่งเงินตามวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยควบคุมให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ สำหรับคนที่ต้องการยาแรงหน่อย อาจเข้มงวดอีกนิดด้วยการนำเงินสดแยกใส่ซองจดหมายตามประเภทการใช้จ่ายไว้เลย เมื่อเกิดรายจ่ายในหมวดหมู่ใด ก็นำเงินจากซองนั้น ๆ ออกมาใช้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เงินสดในซองหมด เราก็จะรู้ตัวได้เลยว่าเงินสำหรับหมวดหมู่นั้นหมดแล้ว

3. ตั้งงบประมาณให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ อย่างเช่น ค่ากินข้าวนอกบ้าน หรือสันทนาการต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตของตัวเอง และลดทอนความรู้สึกว่าการเก็บเงินเป็นความเจ็บปวด

เห็นแบบนี้แล้ว อย่าลืมเก็บออมเงินเพื่อความมั่นคงในชีวิต

K-Expert Action

• ออมเงินสม่ำเสมอทุกเดือนอย่างน้อย 20% ของรายได้ต่อเดือน
• จดบันทึกรับ-จ่าย เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น ซึ่งช่วยให้เหลือเงินมาเก็บออมได้มากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก



Create Date : 28 มกราคม 2561
Last Update : 28 มกราคม 2561 14:13:58 น. 0 comments
Counter : 1255 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.