อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
5 โรคยอดฮิต พบบ่อยในผู้สูงอายุ !



โรคผู้สูงอายุ
โรคผู้สูงอายุจริง ๆ แล้วมีหลายโรค แต่ที่พบบ่อยก็คือ 5 โรคนี้ ซึ่งครอบครัวและคนใกล้ตัวควรรู้ไว้ดูแลผู้สูงวัยในบ้าน

ทำไมอะไร ๆ ก็ผู้สูงอายุ ก็เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในอีกไม่กี่ปี และเชื่อได้ว่าเกือบทุกครอบครัวจะต้องมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ ข้อมูล หรือวิธีการดูแลเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ทาง สสส. จึงนำเรื่องเกี่ยวกับ 5 โรคผู้สูงอายุ มาฝากกัน เพื่อให้คุณหรือคนใกล้ตัวได้สำรวจว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ? จะได้เตรียมพร้อมตั้งรับ ! กลุ่มอาการและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เรียนรู้สาเหตุเพื่อป้องกันการเกิดอาการและโรค รวมทั้งรู้จักวิธีการดูแลรักษาเพื่อบรรเทาและหลีกเลี่ยงการเจ็บปวด
โรคผู้สูงอายุ

1. เวียนศีรษะ


เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยมากอาการมักเป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งอาจจะมีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งสาเหตุของอาการเวียนศีรษะนั้นเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ประกอบไปด้วยอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน การมองเห็น ระบบประสาท ตลอดจนสมองน้อยที่ควบคุมการทรงตัว ระบบกล้ามเนื้อ และข้อต่อ

สิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวเร็วขึ้น

          - โรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันสูง หรือโรคหัวใจ ที่ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดจึงไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวได้ไม่เพียงพอ
          - โรคที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย ฯลฯ
          - โรคที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้อเสื่อม หรือเคยมีกระดูกหักมาก่อน ฯลฯ
          - โรคของหูต่าง ๆ อาจทำให้ทำงานแย่ลง เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
          - โรคอื่น ๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกเวียนศีรษะไม่หาย

          - อันดับแรกต้องหาสาเหตุให้พบก่อนว่าเกิดจากอะไร โดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
          - สำหรับผู้ที่มีอาการเดินเซ เวียนศีรษะ ไม่ควรให้นั่งหรือนอนอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะต้องเดินไปทำกิจวัตรประจำวันด้วย และต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด โดยไม่ควรพยุงเดินตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้ต่อไป

โรคผู้สูงอายุ

2. โรคกระดูกพรุน


เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุทุกคน อันมีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน

          - ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ
          - กรรมพันธุ์
          - การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ยาคอร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต
          - การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
          - ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มชา หรือกาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย
          - ฮอร์โมนลดลง เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน
          - ขาดการออกกำลังกาย
          - ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดี มีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน

          - ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร
          - เมื่อมีความเจ็บปวดไม่ว่าสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัดหรือเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
          - ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ปลาเล็กปลาน้อย หรือดื่มนมพร่องมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น
          - งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่
          - หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมันจะมีสารสเตียรอยด์สะสมอยู่จะทำให้กระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว

โรคผู้สูงอายุ

3. โรคข้อเสื่อม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก โดยมากเป็นตำแหน่งข้อ คือ มีอาการปวดและมักเป็นหลังจากที่มีการใช้ข้อมากกว่าปกติ อาจมีอาการเจ็บด้านใดด้านหนึ่งของข้อได้ หรืออาจมีอาการบวมแดง แต่เมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลงหรือหายไป แต่อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานข้อ นอกจากนี้ยังมีอาการข้อฝืดเกิดขึ้นจากการหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียว นั่งสมาธิและนั่งพับเพียบฟังเทศน์ เป็นต้น

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม

          - อายุมากขึ้น
          - พันธุกรรมและโรคทางเมตาบอลิก เช่น โรคเกาต์
          - เป็นโรคที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ เช่น โรคข้อ รูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ
          - การได้รับบาดเจ็บของข้อ อาจมีการเคลื่อนไหวข้อซ้ำ ๆ หรือมีน้ำหนักที่กดทับลงผิดข้อ ก็มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้
          - อาชีพการงานที่มีการใช้นิ้วมือมาก
          - ความอ้วน พบว่า คนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักเป็นที่ข้อรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า เป็นต้น
          - กล้ามเนื้อต้นขาเหนือเข่าอ่อนแรงหรือลีบ จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม

          - หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
          - การนั่งส้วมไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก หรือหาม้าสามขา มาคร่อมบนส้วมซึม
          - ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน
          - หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน
          - หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
          - หากมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โรคผู้สูงอายุ

4. โรคสมองเสื่อม


เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแก้ไขได้ เช่น เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่อาจเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีอาการ

          มักลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ มาไม่นาน ขณะที่ความจำเรื่องเก่าในอดีตยังดีอยู่ ทำสิ่งที่เคยทำเป็นประจำไม่ได้ มักถามซ้ำ ๆ ในเรื่องที่เพิ่งบอกไป สับสนเรื่องวัน เวลา สถานที่ พฤติกรรม อารมณ์ และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงจากเดิม

          จริงอยู่ที่ว่าอาการหลงลืมมากเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุและอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม แต่หากรู้สึกว่ามีอาการที่น่าสงสัยเหล่านี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม

          - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
          - ระวังการใช้ยาเอง ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูเพื่อกันการสั่งยาซ้ำซ้อน
          - หมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเจาะเลือดตรวจหาประวัติและไขมันในเลือดสูง
          - ออกกำลังกายเป็นประจำ
          - หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดและชะลอภาวะสมองเสื่อม เช่น ดนตรีบำบัด เต้นรำ เล่นเกมฝึกสมอง กลิ่นบำบัด และการออกกำลังกายที่ฝึกความสัมพันธ์ของร่างกายและการสั่งงานของสมองซีกซ้ายและขวา

          ผู้ดูแลต้องมีความอดทนและมีความยืดหยุ่นกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้จะมีขีดจำกัดหลายด้าน เช่น หิวอาหารไม่เป็นเวลา เดินช้า พูดช้า ตัดสินใจช้าและต้องให้กำลังใจผู้สูงอายุ อย่าดุด่าว่ากล่าวให้ท่านเกิดความท้อแท้และหมดกำลังใจ

เทคนิคพัฒนาความจำ


          - ตั้งสมาธิกับสิ่งที่ทำและพยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
          - เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและที่จำเป็นเท่านั้น
          - พกสมุดบันทึกติดตัวตลอดเวลา

โรคผู้สูงอายุ

5. โรคซึมเศร้า


เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจที่สำคัญซึ่งไม่อาจมองข้ามได้ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งของการฆ่าตัวตาย

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า

          - การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง
          - โรคทางกายบางอย่าง การได้รับยาหลายขนานที่ทำให้เกิดอาการเศร้า
          - การสูญเสียสิ่งที่มีค่าในชีวิต เช่น คู่ชีวิต หรือการงานโดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่ต้องมาเป็นผู้ตาม เป็นต้น

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

          - หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว
          - พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้
          - ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรก รวมทั้งทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
          - หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

ถ้าหากท่านใดสนใจ อยากเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น วันนี้ สสส. มีนิทรรศการ  "ชราแลนด์ ดินแดนวันเดอร์เวิลด์" นิทรรศการที่จะชวนคุณมาทดสอบและทำความเข้าใจว่าผู้สูงอายุเป็นใคร ควรได้รับการดูแล รวมถึงการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและสังคมกับพวกเขาอย่างไร นิทรรศการจะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2560 ณ โซนนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 2 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

เรื่องโดย : พัชรี  บอนคำ team content  //www.thaihealth.or.th
ข้อมูลจาก : SOOK PUBLISHING, คู่มือการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ 18 ชั่วโมง โดยงานผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดย สสส. และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยข่อนแก่น



Create Date : 24 มิถุนายน 2560
Last Update : 24 มิถุนายน 2560 15:26:05 น. 1 comments
Counter : 1897 Pageviews.

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:18:12:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.