อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ติด กาแฟ ควรเลิกอย่างไรดี ?


นอกเหนือจากความหอมของ กาแฟ บรรยากาศในการดื่ม กาแฟ ที่แสนจะมีเสน่ห์ นักดื่ม กาแฟ รู้กันดีว่าในกาแฟมีสารที่เรียกว่า “คาเฟอีน”อยู่ ซึ่งสารคาเฟอีนนี้จะทำช่วยให้คนวัยทำงานอย่างเราๆผ่านช่วงบ่ายอันแสนง่วงไปได้ แต่คนส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า “คาเฟอีนเป็นสารเสพติด” หมอไม่ได้พิมพ์ผิด และท่านผู้อ่านก็ไม่ได้อ่านผิด คาเฟอีนเป็นสารเสพติดจริงๆ

ในทางการแพทย์ได้กำหนดให้มีอาการที่เรียกว่า ภาวะติดคาเฟอีน(caffeine dependence) เช่นเดียวกับสารเสพติดอย่างสุรา ซึ่งภาวะดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ที่เรียกว่า dsm-iv เหตุผลเนื่องจากคาเฟอีนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีสูตรโครงสร้างคล้ายสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าอะดีโนซีน(adenosine) ผลก็คือทำให้ในสมองมีสารโดปามีน (dopamine) และ ซีโรโตนิน(serotonin)เพิ่มสูงขึ้น สารทั้งสองตัวนี้มีฤทธิ์ทำให้สมองตื่นตัว และทำงานหนักขึ้น รวมถึงความรู้สึกพึงพอใจจากการดื่ม กาแฟ  หลังจากดื่ม กาแฟ แล้วคาเฟอีนจะเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่สมองภายใน 45 นาที และมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 3-5 ชั่วโมง

142024990

ใครบ้างต้องเลิกดื่ม กาแฟ

  1. คาเฟอีนจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เรียกว่าการเมตาบอลิสม์ที่ตับ ดังนั้น ผู้ที่ควรจะต้องเลิกดื่ม กาแฟ ก็คือ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับ เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักเกินไป
  2. เด็กและสตรีมีครรภ์ก็ควรงดดื่ม กาแฟ เพราะการที่สมองถูกกระตุ้นด้วยคาเฟอีน จะทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องพัฒนาการของสมอง นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
  3. คาเฟอีนยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะจึงควรงดการได้รับคาเฟอีนทั้งจากชา กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแล็ต
  4. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ คาเฟอีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้น นั่นแปลว่าหัวใจทำงานหนักขึ้น
  5. นอกจากนี้ กาแฟ ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น  เร่งการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก  และยังมีผลต่อสภาพจิตใจในผู้ที่มีความวิตกกังวลอีกด้วย

อ่านถึงตรงนี้แล้ว ท่านผู้อ่านอยากเลิกดื่ม กาแฟ หรือยังครับ สำหรับผู้ที่ดื่ม กาแฟ เพียงวันละไม่เกิน 1 แก้ว การเลิก กาแฟ นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับผู้ที่ติดคาเฟอีน (caffeine dependence) การเลิก กาแฟ อาจจะเป็นเรื่องยากสักนิด แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าท่านติดคาเฟอีนหรือไม่นั้น พิจารณาจากหลักเกณฑ์ 3 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ คือ

  1. มีการใช้คาเฟอีน หรือดื่ม กาแฟ อยู่ แม้จะมีความรู้ว่า กาแฟ มีผลทำให้เกิดอาการทางร่างกายหรือจิตใจที่มีอยู่เรื้อรังหรือกำเริบ
  2. มีความต้องการได้รับคาเฟอีน หรือดื่ม กาแฟ อยู่ตลอด โดยไม่สามารถลดปริมาณลงได้
  3. มีภาวะถอนคาเฟอีน ( caffeine withdrawal) หรืออาการลงแดง กาแฟ นั่นเอง ซึ่งอาการสำคัญก็คือ วันไหนไม่ได้ดื่ม กาแฟ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนมาก  ปวดศรีษะ  และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับคาเฟอีนหรือดื่ม กาแฟ ครั้งสุดท้าย และจะมีอาการมากที่สุด ใน 2-4 วันแรก โดยมากภาวะถอนคาเฟอีน มักจะพบได้ในคนที่ดื่มกาแฟเกิน 2 แก้วต่อวัน หรือได้รับคาเฟอีนอย่างน้อย 100 มิลลิกรัมต่อวัน
  4. มีภาวะดื้อคาเฟอีน (caffeine tolerance) กล่าวคือ ปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงจะทำให้รู้สึกสดชื่นหรือกระปรี้กระเปล่าเท่าเดิม

สำหรับเทคนิคการเลิกดื่มกาแฟ โดยเฉพาะในคนที่มีอาการติดคาเฟอีน หมอขอแนะนำวิธีการเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. ให้ลดปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันลง เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 4 แก้วให้ลดลงเหลือ 3 แก้ว แต่หากจำเป็นต้องดื่มแก้วที่ 4 ให้ชงด้วยกาแฟสกัดคาเฟอีน(decaffeinated) จนกระทั่งร่างกายเริ่มชินก็ให้ลดปริมาณลงอีก
  2. สำรวจว่า นอกจากกาแฟแล้ว ท่านยังได้รับคาเฟอีนจากอาหารชนิดใดอีกบ้าง เช่น ชา โกโก้ ช็อคโกแลต ซีเรียลรสโกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น จากนั้นให้ลดการบริโภคทุกอย่างร่วมกับการลดปริมาณกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน  หรือเลิกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้
  3. นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  4. ดื่มน้ำสะอาดวันละประมาณ 1-2 ลิตร และการรับประทานวิตามินบีรวม ซึ่งจะช่วยทุเลาอาการอ่อนเพลีย
  5. การออกกำลังกาย จะช่วยให้สมองเพิ่ม ซีโรโตนิน(serotonin) และโดปามีน(dopamine) ได้เช่นเดียวกันกับการได้รับคาเฟอีน
  6. งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  7. รับประทานอาหารเช้า เพราะระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพียงพอจะช่วยให้สมองและร่างกายทำงานได้โดยไม่อ่อนเพลีย
  8. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ และควรหลีกเลี่ยงการไปร้านกาแฟ
  9. หากมีอาการปวดศรีษะระหว่างงดกาแฟ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล หรือแอสไพรินได้ ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่
  10. หากมีอาการหงุดหงิด ใจสั่น อาจจะใช้วิธีอาบน้ำเย็นช่วย

เทคนิคทั้ง 10 ข้อนี้ประยุกต์จากความรู้ทางวิชาการและจากประสบการณ์การแนะนำผู้มาตรวจสุขภาพ รวมถึงประสบการณ์ของหมอเองในการลดปริมาณการดื่มกาแฟ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ผู้อ่านลดปริมาณการดื่มกาแฟได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเลิกดื่มกาแฟก็คือ ความตั้งใจและความมุ่งมั่นของท่านผู้อ่านเอง

ขอบคุณที่มาจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช




Create Date : 22 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 สิงหาคม 2557 4:18:28 น. 1 comments
Counter : 1180 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:14:30:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.