อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
76 ปีผ่านไป ชาตินิยม ที่ยังหลงเหลือจากนโยบาย จอมพลป.

76ปีผ่านไป ชาตินิยม ที่ยังหลงเหลือจากนโยบาย จอมพลป.

วันนี้ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 76 ปีที่แล้ว  ใครจะยังจำได้ว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยงแปลงครั้งใหญ่ที่สุดนับหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี2475   โดยชายที่ชื่อว่า แปลก ขีตตะสังคะ หรือ พันตรีหลวงพิบูลสงคราม ต่อมาคือ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการขนานนามว่า นายกฯตลอดกาล และจอมพลกระดูกเหล็ก

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ถือว่าเป็นวันที่จอมพล ป.ก้าวขึ้นสู่อำนาจนายกรัฐมนตรีคนที่ 3ของประเทศไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยครั้งแรก 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (5 ปี 228 วัน)และครั้งที่2 คือ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (9 ปี 161 วัน) ถือว่ายาวนานมาก เด็กรุ่นนี้คงจำภาพของท่านจอมพลป.ในแง่ของชาตินิยมและการปลุกระดมในการคลั่งชาติ แต่ลืมไปว่าอีกภาพหนึ่งของจอมพลป. พิบูลสงคราม คือผู้พลิกโฉมประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคใหม่อย่างเต็มตัว

MThai News ขอถือโอกาสนี้ยกเกร็ดประวัติศาสตร์การเมืองในอดีตเกี่ยวกับ รัฐนิยมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน ให้คนรุ่นหลังได้ลองอ่านและเห็นถึงอีกมุมของคุณูปการของท่าน รวมไปถึงรู้ว่าแท้จริงวัฒนธรรมบางอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็เริ่มมาจาก จอมพลป. นายกฯคนนี้เอง

นโยบายยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม

นโยบายยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม

 การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมดนตรี

จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีผู้นำที่มาพร้อมกับนโยบายสร้างชาติเปลี่ยนวัฒนธรรม มุ่งส่งเสริมอัตลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในอารยประเทศ การเปลี่ยนแปลงนั้นรวมถึงวัฒนธรรมดนตรีที่ส่งผลกระทบต่อดนตรีไทยในปัจจุบัน
มีแบบแผนให้มีการพัฒนาปรับปรุงทั้งระบบเสียงให้มีความเทียบเท่ากับดนตรีสากล ปรับปรุงมาตรฐานของนักดนตรีให้มีความสามารถตามที่กรมศิลปากรเป็นผู้กำหนด รวมถึงการบันทึกโน๊ตในรูปของบรรทัด 5 เส้น ​ โดยมีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับการบรรเลง การขับร้องและการพากย์ พุทธศักราช 2486 หากไม่ทำตามมีโทษตามกฎหมาย เหตุนี้สร้างความยุ่งยากจากเรื่องของดนตรีไทยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นข้อจำกัด ดังเช่นปรากฎในภาพยนตร์โหมโรง กลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดนตรีไทยในยุคนั้นมาถึงยุคปัจจุบันเสื่อมความนิยมลงไปเรื่อยๆ บวกกับกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่รุนแรงและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

A8692274-3

สวัสดี เป็นคำทักทายประจำชาติ

สมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กำหนดให้คนไทยใช้คำว่าสวัสดีเป็นคำทักทาย นอกจากนี้ยังมีการใช้การทักทายแบ่งตามช่วงเวลาเลียนแบบชาวตะวันตกด้วย เช่น

ตอนเช้า “อรุณสวัสดิ์” มาจากคำว่า “good morning”
“ทิวาสวัสดิ์” มาจากคำว่า “good afternoon”
“สายัณห์สวัสดิ์” มาจากคำว่า “good evening”
“ราตรีสวัสดิ์” มาจากคำว่า “Good Night”

นอกจากนี้ยังมีการวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน, ท่าน, เรา เปลี่ยนจากสมัยก่อนที่ใช้ กู มึง เอ็ง ข้า

ว่าด้วยรัฐนิยม [ชาตินิยม]

รัฐนิยมเป็นประกาศ 12 ฉบับของจอมพลป. พิบูลสงคราม ลักษณะคล้ายกฎหมายบังคับใช้ทั่วไป มีจุดประสงค์เพื่อปลุกระดมให้รักชาติ โดยประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1  คือการพลิกโฉมประเทศ เปลี่ยนชื่อจากสยามมาเป็น ประเทศไทย เรียกประชาชนในชาติว่า “คนไทย”

“….รัฐนิยมฉบับที่ 1: เรื่อง การใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ     โดยที่ชื่อของประเทศนี้ มีเรียกกันเป็นสองอย่าง คือ “ไทย” และ “สยาม” แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า “ไทย” รัฐบาลเห็นสมควรถือเป็นรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติและความ นิยมของประชาชนชาวไทย ดั่งต่อไปนี้
ก. ในภาษาไทย  ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติให้ใช้ว่า “ไทย”
ข. ในภาษาอังกฤษชื่อประเทศ ให้ใช้ว่า THAILAND ชื่อประชาชน และสัญชาติให้ใช้ว่า THAI…”

ต่อมาก็มีนโยบายให้เรียกทุกคนว่าคนไทย แม้จะมีเชื้อสายอื่นก็ตาม ห้ามมิให้แบ่งแยก เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น [รัฐนิยมฉบับที่3]

หลังจากเปลี่ยนชื่อประเทศก็มีรัฐนิยมอีกหลายฉบับที่ประกาศตามกันมา เช่น เรื่องเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี การเคารพธงชาติ ที่ปัจจุบันกลายเป็นแบบแผน เคารพธงชาติเวลา 8.00น. และ 18.00น. ก่อนเข้าเรียนต้องมีการสวดมนต์ไหว้พระ

“…เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพดังกล่าวพึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี…”

คนไทยต้องอ่านออกเขียนได้

รัฐนิยมประกาศให้คนไทยต้องอ่านภาษาไทย เรียนภาษาไทย พูดภาษาไทย โดยระบุว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยที่ดีประการที่หนึ่งนั้น คือ ศึกษาให้รู้หนังสือไทยอันเป็นภาษาของชาติ อย่างน้อยต้องให้อ่านออกเขียนได้ ประการที่สอง ชนชาติไทยจะต้องถือเป็นหน้าที่อันสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนแนะนำชักจูง ให้พลเมืองที่ยังไม่รู้ภาษาไทย หรือยังไม่รู้หนังสือไทย ให้ได้รู้ภาษาไทย หรือให้รู้หนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้
โปรดช่วยเหลือเด็ก ผู้พิการและผู้สูงอายุ

ในรัฐนิยมฉบับที่ 12 มีการประกาศว่า ในที่สาธารณสถานหรือในถนนหลวง ให้บุคคลทำการช่วยเหลือคุ้มครองโดยลักษณะที่จะยังความปลอดภัยให้แก่เด็ก คนชราหรือคนทุพพลภาพในการสัญจรไปมา หรือในการหลบหลีกภยันตรายผู้ใดสามารถกระทำการช่วยเหลือคุ้มครองดังกล่าวในข้อ 1 ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีวัฒนธรรม ควรได้รับความนับถือของชาวไทย

รัฐนิยมในชีวิตประจำวัน

ต่อมารัฐนิยมเริ่มก้าวล่วงเข้ามาถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนในยุคสมัยนั้น โดยมีการประกาศอย่างจริงจังในรัฐนิยม ฉบับที่10 11  โดยระบุว่า

รัฐนิยม ฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทยและห้ามผิดเพศ ผู้ชายสวมหมวกใส่เสื้อชั้นนอกคอเปิดหรือปิด สวมกางเกงขายาวแบบสากล สวมรองเท้าหุ้มส้นและหรือหุ้มข้อ และถุงเท้า ส่วนผู้หญิงก็ต้อง สวมหมวก ใส่เสื้อนอกคลุมไหล่ สวมผ้าถุง ใส่รองเท้าหรือหุ้มส้นและถุงเท้า เป็นต้น

รัฐนิยมในชีวิตประจำวัน

รัฐนิยมในชีวิตประจำวัน

พักกลางวันไม่เกิน1ชั่วโมง
รัฐนิยม ฉบับที่ 11 เรื่องกิจประจำวันของคนไทย ( ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2484 ) โดยชนชาติไทยพึงบริโภคอาหารให้ตรงเวลา ไม่เกินวันละ 4 มื้อ และนอนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต้องมุ่งมั่นทำงาน พักกลางวันไม่เกิน 1 ชั่วโมง มีเวลาทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ทั้งชำระร่างกายแล้วจึงรับประทานอาหารว่าง

ในเวลากลางคืนก็ควรใช้ในการพบปะสนทนาในครอบครัว มิตรสหาย ทั้งใช้ศึกษาหาความรู้ หรือในการมหรสพ ส่วนวันหยุดก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อร่างกายและจิตใจ เล่นกีฬา พักผ่อน ทำบุญ ฟังเทศน์ เป็นต้น

สาเหตุที่มีประกาศรัฐนิยมทั้ง2ฉบับ ต้องเข้าใจว่าสมัยก่อนคนไทยไม่ได้ใช้ชีวิตกันแบบนี้ บางกลุ่มเป็นคนป่า คนเรือแพ ใช้เวลาไปกับการทำไร่นา บางคนก็ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ทำมาหากินเพราะถือว่ามีที่ดิน ข้าวปลาที่สมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว ค่อยทำเมื่อไหร่ก็ได้ การกำหนดแบบแผนนี้ ช่วยทำให้คนไทยขยันขึ้นมาบ้าง และเพื่อให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ รู้จักการจัดสรรเวลาที่ถูกต้อง

ที่สำคัญคือรัฐนิยมที่ประกาศมาเกือบทุกฉบับส่งเสริมภาพลักษณ์ให้คนไทยดูดีขึ้นเปลี่ยนจากพวกบ้านป่าเมืองเถื่อนเป็นผู้ดีศิวิไลซ์  ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากรัฐนิยมข้างต้น ปัจจุบันก็ยังคงเป็นมรดกตกทอดมาสู่คนยุคหลังและกลายเป็นชีวิตประจำวัน เป็นแบบแผนที่บางคนเรียกมันว่ากรอบแห่งการดำเนินชีวิต ใครผิดแปลกจากนี้จะกลายเป็นคนนอกกรอบไปทันที ผิดกฎไปในทันที ซึ่งต่อมาแม้จะหมดยุคการบังคับใช้รัฐนิยมไปแล้ว แต่ใครจะไปรู้ว่า รัฐนิยมมันฝังลึกลงไปในวัฒนธรรมของคนไทยไปเป็นส่วนหนึ่งเป็นที่เรียบร้อย เราประพฤติปฏิบัติตามโดยไม่ถือว่ามันเป็นข้อบังคับกันไปแล้ว

By @Nookkill :P

: , , ,
อ่านแล้ว : 37615 ครั้ง
ติดต่อทีมข่าว : news@mthai.com


Create Date : 20 ธันวาคม 2557
Last Update : 20 ธันวาคม 2557 10:41:29 น. 1 comments
Counter : 1079 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:26:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.