อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ก่อนสอบ คะแนนสูง ควรดีใจหรือไม่?

บทสนทนาต่อไปนี้ ขอใช้นามสมมติแทนครูผู้นำเสนองานวิจัย ส่วนวิทยากรผู้พิจารณาให้คำแนะนำคือ ดร.ไพจิตร สดวกการ  

วิทยากรฯ: ทำไมคุณครูจึงเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนล่ะคะ วิธีเดิมที่คุณครูใช้อยู่นักเรียนเรียนแล้วได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียนหรือคะ ?

ผู้นำเสนอฯ ก: คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เรียนเรื่องนี้ที่ดิฉันสอนในปีที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำค่ะ คิดเป็นร้อยละ 56.2 เท่านั้น ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่โรงเรียนกำหนดไว้ค่ะ

วิทยากรฯ: โรงเรียนของคุณครูกำหนดเกณฑ์ไว้เท่าไรคะ ?

ผู้นำเสนอฯ ก: ร้อยละ 60 ค่ะ ดิฉันหวังว่ากระบวนการใหม่ที่นำมาใช้ จะสามารถทำให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ค่ะ

วิทยากรฯ: อ้าว! แล้วคุณครูไปเทียบกับก่อนเรียนทำไมล่ะคะ สมมติว่าก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 25 เพราะยังไม่ได้เรียน แต่เดาถูกบ้างถ้าเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ถ้าหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45 แสดงว่ากระบวนการใหม่นี้ดีกว่าวิธีเดิมที่คุณครูเคยใช้หรือคะ

ผู้นำเสนอฯ ก: ไม่ใช่ค่ะ เพราะวิธีเดิมได้ถึงร้อยละ 56.2 แต่ดิฉันต้องการให้ได้ถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ค่ะ ดิฉันต้องเปรียบเทียบกับร้อยละ 60 หรือคะ

วิทยากรฯ: ถูกต้องค่ะ คุณครูต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน................................โดยใช้กระบวนการ..............................กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม จึงจะตรงกับปัญหาที่คุณครูต้องการจะแก้

ผู้นำเสนอฯ ข: แต่ที่โรงเรียนของดิฉันไม่ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ค่ะ ถ้าไม่เทียบกับก่อนเรียนแล้วจะไปเทียบกับอะไรคะ

วิทยากรฯ: อาจจะใช้เกณฑ์ของกลุ่มโรงเรียน ของเขตพื้นที่การศึกษา หรือถ้าหากการสอนโดยวิธีเดิมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด จะช้เกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ในหลักสูตรก็ได้ หรือต้องการพัฒนาให้ได้ผลสูงขึ้นกว่าการใช้วิธีเดิม ก็นำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยวิธีเดิมมาเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบก็ได้ 

ส่วนคุณครูที่ผลิตสื่อแบบที่ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น บทเรียน CAI บทเรียนสำเร็จรูป หรือชุดการสอน ซึ่งมีการหาประสิทธิภาพของสื่อและพัฒนาจนได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 แล้ว เมื่อนำมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ทำไมจึงลดคุณค่าของสื่อโดยนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจากสื่อไปเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนล่ะคะ ถ้ามั่นใจว่าสื่อมีประสิทธิภาพตามนั้นจริง สามารถนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มเป้าหมายไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มได้เลย แต่ถ้าไม่มั่นใจว่ากลุ่มเป้าหมายจะมีคุณภาพเทียบเท่ากับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อหรือไม่ ก็อาจจะลดเกณฑ์ลงได้บ้างตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม เป็นต้น

ผู้นำเสนอฯ ค: ที่จริงพวกดิฉันก็รู้สึกถึงความไม่สมเหตุสมผลนะคะที่นำคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากวิธีดีๆ ที่เราอุตส่าห์พัฒนาขึ้นไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเพื่อแสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าใช้วิธีเดิม แต่พวกเราไม่มีความมั่นใจในความรู้สึกนึกคิดของตนเอง จึงได้แต่ทำตามๆ กันมาค่ะ อีกอย่างก็คือพวกเรารู้จักแต่สูตร t-test ที่ใช้เปรียบเทียบก่อนเรียนหลังเรียนเท่านั้น

วิทยากรฯ: t-test คือสถิติอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากร ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเป็นนักเรียนจำนวนมาก เช่น คุณครูอยากทราบว่าวิธีใหม่ที่คุณครูต้องการนำมาใช้แก้ปัญหาจะใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้ง 200 คนในโรงเรียนที่คุณครูสอนอยู่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าใช้วิธีเดิมหรือไม่ นั่นคือ กลุ่มเป้าหมายมีถึง 200 คน แต่คุณครูทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 เพียงห้องเดียวจำนวน 40 คนที่มีระดับความสามารถคละกันซึ่งใช้เป็นตัวแทนของนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้งหมดได้ ในกรณีนี้เรียกนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 200 คนว่า “ประชากร” และเรียกนักเรียนจำนวน 40 คนในห้องที่คุณครูใช้ทดลองสอนว่า “กลุ่มตัวอย่าง” 

สมมติว่าวิธีเดิมที่คุณครูเคยใช้นั้น นักเรียนเรียนแล้วได้คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ถึงร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม แต่คุณครูต้องการให้ได้ถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม คุณครูก็ตั้งเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เมื่อทดลองใช้วิธีใหม่ สมมติว่าได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 63.25 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) ที่ตั้งไว้ ต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติว่าถ้านำไปใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้ง 200 คน จะได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยใช้สูตร t-test แบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (สูตรนี้มีในหนังสือสถิติเพื่อการวิจัย เช่น ของอาจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ หรือที่เว็บไซต์บ้านครูไผ่ //www.krupai.net ค่ะ

แต่ในกรณีที่คุณครูระบุว่า กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเป็นนักเรียนจำนวน 40 คน ในห้องที่คุณครูทดลองใช้วิธีใหม่ หมายความว่าคุณครูไม่สนใจว่าวิธีดังกล่าวจะใช้กับนักเรียนห้องอื่นได้ผลดีด้วยหรือไม่ คุณครูก็ไม่ต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติเพื่อสรุปผลที่ได้ไปสู่ใครที่ไหนอีก ถ้านักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คนเรียนโดยใช้วิธีใหม่แล้ว ได้คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 63.25 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) ที่ตั้งไว้ ก็สรุปผลการวิจัยได้เลยว่า การนำวิธีใหม่มาใช้แก้ปัญหากับนักเรียนห้องที่คุณครูสอนอยู่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่คุณครูตั้งไว้ ไม่ต้องทำ t-test ค่ะ

ผู้นำเสนอฯ ง: แล้วมีกรณีไหนบ้างคะที่เหมาะจะเปรียบเทียบผลหลังเรียนกับก่อนเรียน

วิทยากรฯ: การเปรียบเทียบผลหลังเรียนกับก่อนเรียนเหมาะสำหรับใช้กับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามปกติ คือใช้วิธีเดิมแล้วผลหลังเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียน หรือใช้กับตัวแปรที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงยาก แม้ว่านักเรียนปกติจะสามารถเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม แต่ตัวแปรบางอย่าง เช่น เจตคติ พฤติกรรม ลักษณะนิสัย ทักษะบางอย่าง หรือความสามารถทางการคิดระดับสูง อาจจะยังไม่เปลี่ยน ดังนั้น ถ้าใช้วิธีใดแล้วสามารถทำให้ตัวแปรที่เปลี่ยนยากเหล่านี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนได้ ย่อมเป็นที่ยอมรับได้ว่าวิธีนั้นๆ มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ต้องวัดได้ตรง เช่น การวัดพฤติกรรม ต้องวัดด้วยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอหลายๆ ครั้งในระยะเวลาที่นานพอสมควร การวัดความสามารถทางการคิดระดับสูง ต้องวัดด้วยข้อสอบที่นักเรียนไม่เคยเห็น ไม่เคยฝึกมาก่อนในระหว่างเรียน เป็นต้น




Create Date : 18 กันยายน 2557
Last Update : 18 กันยายน 2557 10:20:10 น. 1 comments
Counter : 1118 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:14:50:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.