อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เคยสงสัยไหมว่า เขาลักลอบตัด "ไม้พะยุง" ไปทําอะไรกัน??

โดยมติชนออนไลน์


เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักไม้พะยูงกันทั้งนั้น เหตุผลที่ต้องสันนิษฐานไว้อย่างนี้ ก็เป็นเพราะข่าวภูมิภาคที่เราๆท่านๆอ่านและฟังจากโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ หรือช่องทางเข้าถึงข่าวสารใดๆก็ตาม ที่นำเสนอเรื่องราวการจับไม้พะยูงกันจนเป็นเรื่องปกติรายวันนั่นเอง

แต่ก็เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของไม้พะยูงคืออะไร??  ทำไมคนมันถึงต้องลักลอบเข้าไปตัดกันถึงในเขตอุทยานเเห่งชาติไม่เกรงกลัวคุกกลัวตะราง  บางคนลักลอบไปตัดในพื้นที่วัด ไม่กลัวบาปกลัวกรรม   หนักกว่านั้น คือความพยายามในการขนไม้พะยูง ซึ่งข่าวบางข่าวอ่านแล้วก็แทบขำ เพราะผู้ต้องหาต้องพยายามหลบซ่อนสายตาเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อไม้ให้ถูกจับได้ 

เช่นที่เคยเห็นและเป็นข่าว ก็เช่นการใช้รถโฟล์คสวาเกน รถตู้ยี่ห้อหรูที่ระดับนายกรัฐมนตรีใช้ ในการไปขนไม้พะยูง หรือบางคนใช้รถเก๋งส่วนบุคคล ด้วยพื้นที่อันน้อยนิด ก็ก็ยังกล้าลงทุนยอมใช้ขนไม้พะยูง บางคนลงทุนใช้รถตำรวจ-ทหาร ปลอมไปขนก็มี...



เรื่องนี้น่าสนใจว่า ตกลงแล้วไม้พะยูงมันสำคัญยังไง ทำไมรอบตัวเราไม่เห็นจะมีใครใช้ไม้พะยูงไปทำอะไรเลย?

ผู้เขียนลงค้นหาประโยชน์ของไม้พะยูงในกูเกิ้ลก็ต้องดีใจ ที่พบเพื่อนเป็นจำนวนมาก หลายคนต้องเอาความสงสัยไปตั้งตามเว็บบอร์ดต่างๆ โดยเฉพาะ เว็บไซต์พันทิป ที่ต่างก็ถามกันว่าไม้พะยูงที่เห็นในข่าวบ่อยๆนี่ ตกลงมันมีประโยชน์อะไรกันแน่

ผู้เขียนติดต่อสอบถามไปยัง นายดำรงค์ พิเดช ที่ปรึกษาฝ่ายสังคมจิตวิทยา ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  และตำแหน่งปัจจุบันคือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ  ที่สำคัญคือเคยเป็น อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เคยต่อสู้เรื่องป่าไม้ และสิ่งเเวดล้อมมานาน

เมื่อถามไปสั้นๆง่ายว่า ทำไมจึงมีข่าวคนร้ายขนไม้พะยูงลักลอบไปขายบ่อยนัก มันสำคัญยังไง? นายดำรง ตอบกลับมาทันทีว่า เพราะมันแพงไง!! โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า

ราคาไม้พะยูงในเมืองไทยมันไม่เเพงหรอก แต่ปัญหาคือการรับซื้อเมื่อส่งออกไปเมืองนอกมันเเพงมาก โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศจีน

"ราคาในเมืองไทยมันไม่แพงหรอก   แต่ถ้าส่งออกไปต่างประเทศเนี่ย แต่ก่อนเขาขายกันเป็นคิว คิวละ 3 - 4 แสน แต่ปัจจุบัน เศษเล็กเศษน้อยเขาก็ขายกัน  เขาขายกันเป็นกิโลกรัมแล้ว กิโลนึงนี่ประมาณ 3,000" นายดำรงค์กล่าว


นายดำรงค์เล่าเพิ่มเติมอีกว่า  ทั้งนี้เหตุที่ประเทศจีนมีการรับซื้อไม้ชนิดนี้เยอะ เริ่มจากการนำเข้าไม้ชนิดนี้ไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม  ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2551 ซึ่งช่างที่ซ่อมพบว่าไม้ส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับฮ่องเต้ (เช่น เก้าอี้ โต๊ะต่างๆ) ล้วนทำมาจากไม้พะยูง และยังมีสภาพสมบูรณ์ดีมาก ทั้งๆ ที่ผ่านมานานหลายร้อยปี จึงเกิดการเล่าขานและเป็นกระเเสในเมืองจีน ทำให้คนรวยๆ ซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมากตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน ต้องการนำมันมาประดับบารมี เช่นการนำไปสลักมังกร หรือแม้กระทั่งการนำไปทำโรงศพของมหาเศรษฐี

ต่อมาก็มีความนิยมนำไม้พะยูงไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ระยะหลังไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก  ทางนายทุนจึงหันมาทำเป็นวัตถุมงคล พระ หรือแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ที่นำไปประดับบารมีคนรวย และเคารพบูชา 

ต่างกับประเทศไทยที่เชื่อว่าไม้พะยูงเป็นของสูง ผู้ที่มีบารมีไม่ถึงไม่สมควรเอามาใช้ เพราะจะมีปัญหาภายหลัง (ยกเว้นเอามาทำเป็นหิ้งพระ) ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงไม่นิยมนำไม้พะยูงมาทำเป็นไม้กระดาน บันไดบ้าน และเตียงนอน ใช้เพียงแต่ทำรั้วบ้านเท่านั้น


เมื่อเกิดความต้องการมาก ก็ทำให้เกิดปัญหาการลักลอบเข้าไปตัดโดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งปัญหารุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมูลค่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆของไม้พะยูง จนเจ้าหน้าที่รัฐเองบางส่วนยังเข้าร่วมขบวนการดังกล่าว รู้เห็นเป็นใจการค้าไม้พะยูงซะเองก็มี

ทั้งนี้อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เล่าเพิ่มเติมว่า  ในยุคที่ตนดำรงตำแหน่ง เมื่อเทียบสถานการณ์การค้าขายไม้พะยูงในปัจจุบันยัง ไม่รุนแรงขนาดนี้ โดยตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เข้ามาแก้ไข โดยได้ประกาศ  คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.  ก็ทำให้สถานการณ์เบาลง

โดยในส่วนจำนวนของไม้พะยูงนั้น เคยมีมากในประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนจะหมดไป การลักลอบตัดในไทยจึงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยในส่วนขั้นตอนการกระทำผิดนั้น หลังจากการลักลอบตัวในประเทศ ก็จะมีการลำเลียงออกต่างประเทศ โดยขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะผ่านลำน้ำโขง ไปยังประเทศลาว เพื่อส่งต่อไปยัง เวียดนามและจีน  ขณะที่บางส่วนก็ส่งต่อผ่านชายแดนไทย-กัมพูชา



เมื่อขอให้เสนอเเนะแนวทางแก้ไข นายดำรง เห็นว่า การแก้ปัญหานอกจากเร่งปราบปรามในไทย ก็จะต้องมีการประสานไปยังทางการของจีน ให้การรับซื้อไม้พะยูงเป็นเรื่องที่ผิด โดยเฉพาะการออกกฏระเบียบห้ามรับซื้อไม้พะยูงที่ขโมยมา ซึ่งขณะนี้ ไม้ดังกล่าวใกล้สูญพันธุ์ เหลือเพียงบริเวณประเทศไทยเท่านั้น  ซึ่งในฐานะที่ตนเองเป็นสมาชิกสภาปฏฺิรูปแห่งชาติ เห็นว่าน่าจะมีการเพิ่มโทษผู้ที่กระทำความผิดลักลอบตัดไม้ดังกล่าว เช่นโทษจำคุก หรือการยึดทรัพย์ ก็จะทำให้นายทุนที่อยู่เบื้องหลังเกิดความหวาดกลัว

ทั้งนี้เนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดโลก  โดยเนื้อไม้พะยูงมีความละเอียด เหนียวแข็งทนทานและชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัวจึงมักใช้ทำเครื่อง เรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ในการแกะสลักและทำด้ามเครื่องมือต่าง ๆ   ในกรณีของไทย ใช้ทำเกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด เป็นต้น

ทีนี้ก็พอเข้าใจกันบ้างแล้ว ว่าเขาขโมยไม้พะยูงกันเพราะอะไร เพราะมันคุ้มที่จะเสี่ยงนั่นแหละครับ  ... 

ขอบคุณที่มาจาก มติชนออนไลน์


Create Date : 09 ธันวาคม 2557
Last Update : 9 ธันวาคม 2557 7:46:21 น. 1 comments
Counter : 2498 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:21:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.