อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ปวดกล้ามเนื้อ แต่กินยาคลายกล้ามเนื้อแล้วง่วง ควรทำอย่างไร ?



ปวดกล้ามเนื้อ
อีกหนึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุขณะขับขี่รถ ที่หลายคนคิดไม่ถึงก็คือการกินยาบางชนิดก่อนขับรถที่ส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอน หลับใน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "ยาคลายกล้ามเนื้อ" อาการปวดเมื่อยตัวเกิดขึ้นได้กับทุกคน

ปวดกล้ามเนื้อ ทำไมต้องกินยาคลายกล้ามเนื้อ ?

          อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมทั้งวัน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการ ตึง ยึด หรือการก้มยกของที่ต้องออกแรงกล้ามเนื้อมากเกินไป จนเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ในที่สุด โดยหลายคนมักเลือกที่จะบรรเทาอาการปวดเหล่านี้ด้วย "ยาคลายกล้ามเนื้อ" เพื่อให้อาการปวดหายไปโดยเร็ว
ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดกินต่างจากยาใช้ภายนอกอย่างไร

          ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดกินจะทำให้ตัวยาถูกดูดซึมโดยตรงผ่านกระแสเลือดและออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางหรือสารสื่อประสาทบางชนิด ส่งผลให้ลดอาการอักเสบและคลายกล้ามเนื้อ ทำให้ลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว

          แต่ควรใช้กับอาการปวดกล้ามเนื้อที่รุนแรงโดยหากเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากตัวยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจึงอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

กินยาคลายกล้ามเนื้อแล้วง่วงเพราะอะไร ?

          ส่วนมากยาคลายกล้ามเนื้อชนิดกินมักออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของเรา โดยมีรายชื่อยาชนิดกินที่ส่งผลให้ง่วงนอนดังนี้

1. ตัวยาที่มีส่วนผสมของออร์เฟเนดรีน (Orphenadrine)

          มีฤทธิ์ต่อการทำงานของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีภาวะผ่อนคลาย ทำให้ลดภาวะเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หากใช้ยานี้ติดต่อกันอาจมีอาการ ง่วงซึม คลื่นไส้

2. ตัวยาที่มีส่วนผสมของโทลเพอริโซน (Tolperisone HCL)

          ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยบรรเทาอาการปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ดี ส่งผลให้มีอาการง่วงซึม

3. ตัวยาที่มีส่วนผสมของไดอะซีแพม (Diazepam)

          เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่มีฤทธิ์อ่อน โดยจะไม่มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อแต่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและทำให้ง่วงนอน

4. ตัวยาที่มีส่วนผสมของบาโคลเฟน (Baclofen)

          ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท หรือไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทุเลาลง และด้วยตัวยามีฤทธิ์ตอบระบบประสาทจึงส่งผลให้ง่วงนอน วิงเวียนและปวดศีรษะ

ควรกินยาคลายกล้ามเนื้อต่อเมื่อมีอาการอย่างไร ?

          การกินยาคลายกล้ามเนื้อเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรงเฉียบพลันโดยใช้ร่วมกับยาแก้ปวดอื่น ๆ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อไม่มาก เช่น เล่นกีฬา ยกของผิดท่า หรือมีอาการปวดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ ควรใช้ยาบรรเทาอาการปวดภายนอกที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ตัวยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) และหากอาการปวดมีอาการกล้ามเนื้อฉีกขาดร่วมด้วยก็ไม่ควรนวดเด็ดขาดเพราะการนวดจะยิ่งทำให้ยิ่งมีอาการอักเสบมากขึ้น แต่ควรใช้ยาบรรเทาอาการปวดอักเสบที่ออกฤทธิ์เย็นชนิดสเปรย์รักษาแทน    

ยาคลายกล้ามเนื้อควรต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเอง หรือใช้ยาบรรเทาอาการปวดด้วยยาพร่ำเพรื่อเกินไป หากจำเป็นต้องกินยาควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง 

เรียบเรียงโดย
ดร.ชลชัย อานามนารถ
อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/TYx4ed
https://goo.gl/ewyt3M
https://goo.gl/ufdBAa
www.facebook.com/unirenspray



Create Date : 09 สิงหาคม 2560
Last Update : 9 สิงหาคม 2560 8:01:17 น. 1 comments
Counter : 3136 Pageviews.

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:17:45:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.