เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
ขอบเขตของภาครัฐ

ขอบเขตของภาครัฐตามาตรฐานสากลมีแค่ไหนกัน
คำถามนี้คงติดอยู่ภายในใจของหลายๆคนอยู่
เราลองมาดูกันว่าเค้าแยกกันยังไง



ตามตารางที่เห็นข้างบนนี้โดยหลักแล้วอิงจาก IMF
เนื่องจากในช่วงวิฤต IMF ต้องการวิเคราะห์ภาระและหน้าที่ของลูกหนี้ของตัวเอง
ไม่ต้องการให้มีหมกเม็ด หรือเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการชำระคืนหนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังวิกฤต ภาครัฐของไทยเกิดการกลายพันธุ์ขึ้น
ซึ่งมีน้อยประเทศในโลกที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

เรามาเริ่มต้นจากรัฐบาลกันก่อน
รัฐบาลตามนิยามของ IMF เกิดจากหนทางของประชาธิปไตย
กล่าวคือ มีการเลือกผู้แทนของประชาชนขึ้นมาบริหารประเทศ
ดังนั้น การดำเนินการใดๆที่เกิดขึ้นจากสภาผู้แทนฯ
ย่อมเป็นเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ การลงทุน การกู้เงินตราต่างประเทศ หรือภาษี
ทั้งหมดนี้จะถูกนับรวมเป็นรัฐบาล

สำหรับภาครัฐถัดมา คือการกล่าวรวมถึงการกระจายอำนาจ
ในกรณีของต่างประเทศคือการรวมรัฐแต่ละรัฐเข้าด้วยกัน
แต่สำหรับในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นรัฐเดียว
ภาครัฐจึงเกิดจากการรวมรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน

นอกจากนั้นแล้วรัฐวิสาหกิจซึ่งถือเป็นหน่วยงานกึ่งรัฐบาลกึ่งเอกชน
(หลายท่านให้คำจำกัดความอีกคำว่าเป็น รัฐพาณิชย์
ซึ่งหมายถึงเป็นหน่วยงานรัฐที่ดำเนินการเพื่อการพาณิชย์
โดยเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคม)
ทั้งนี้เนื่องมาจากบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารของรัฐบาล (ที่เกิดจากวิถีแห่งประชาธิปไตย)
จึงจำเป็นต้องนับรวมอยู่ในภาคสาธารณะด้วย
ขณะที่รายจ่ายทั่วไปอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายเงินเดือน
การใช้จ่ายในการดำเนินงาน ถือเป้นหน้าที่ของ MD
ซึ่งเป็นไปเพื่อการพาณิชย์ จะไม่ถูกนับรวมเป็นภาคสาธารณะ

ในส่วนถัดมา นโยบายกึ่งการคลัง
ส่วนนี้เกิดขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
ซึ่งขณะนั้นสภาพคล่องล้นระบบอยู่ แต่ไม่มีคนลงทุนมากนัก
(เนื่องมาจากกำลังการผลิตยังเหลือเฟือจากวิกฤต ไม่มีใครลงทุนใหม่เพิ่ม)
ภาครัฐจึงได้สั่งให้สถาบันการเงินของรัฐ ปล่อยเงินกู้มากขึ้น
โดยเฉพาะปล่อยเงินกู้ในส่วนโครงการของภาครัฐ
การวัดขอบเขตส่วนนี้ในปัจจุบันยังค่อนข้างเป้นสีเทาอยู่
เพราะตั้งแต่แรก ไม่มีการแยกการทำบัญชีเงินกู้
ระหว่างเงินกู้ในโครงการทั่วไป กับเงินกู้จากโครงการภาครัฐ
ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบอกได้ว่า NPL ที่เกิดขึ้น
เกิดจากการดำเนินงานของธนาคารเองเท่าไหร
และเกิดจากการโครงการของรัฐบาลเท่าไหร
นั่นหมายถึงไม่สามารถบอกถึงผลของเงินลงทุนทั้งสองส่วนได้อย่างละเอียด
ยังเป็นส่วนสีเทาๆที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งในส่วนรายละเอียดของนโยบายกึ่งการคลังนี้
จะขอยกไปพูดอีกครั้งหนึ่งในครั้งถัดไปนะครับ


ในส่วนสุดท้ายเป็นส่วนของภาคเอกชนทั่วไป
ซึ่งภาครัฐไม่สามารกำหนดหรือสั่งให้ดำเนินการใดๆได้โดยตรง

ที่ได้กล่าวข้างต้นทั้งหมดคงพอให้ได้ทราบถึงอำนาจ หน้าที่
ขอบเขตความรับผิดชอบได้คร่าวๆนะครับ


Create Date : 04 สิงหาคม 2549
Last Update : 4 สิงหาคม 2549 14:34:01 น. 0 comments
Counter : 5248 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.