5. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             4. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=thanathana&month=03-2013&date=12&group=2&gblog=4

ความคิดเห็นที่ 14-46
GravityOfLove, 30 มกราคม เวลา 20:02 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             หน้าต่าง ๑
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1
             ๑. ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น
ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒ อย่าง
ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง
              ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร
ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำมีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง.
แต่พระเถระได้กล่าวว่า มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว
โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มี ด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.

             ๒. พิจารณาอย่างไรคะว่า เป็นสัตว์ เป็นสังขาร

ปาณาติบาตมีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.
อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง.
มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ.
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี.
มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง.
ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว
สัมผัปปลาปะมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว
เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว
และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือนกัน (แต่)
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.

             ๓.
อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจารมีเวทนา ๒
ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓.
ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว.
สัมผัปปลาปะมีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒
ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่)
พยาบาทมีเวทนาเป็นทุกข์.

หน้าต่าง ๒
             ๔. บทว่า มูลโต ความว่า กรรมบถ ๗ จะมีมูล ๓
ตามอำนาจของอโลภะ อโทสะและอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
แต่มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ. อนภิชฌามีมูล ๒
สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
มีมูลเดียวสำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ แต่อโลภะ
ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.
แม้ในอัพยาบาทก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

             ๕. ท่านพระสารีบุตรยังเทศนาให้จบลงด้วยคำว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส อธิบายว่า
แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้.
คำที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
               ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.

             ๖.       ในจำนวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น
วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต) ไว้ได้.
(ส่วน) โอชารักษาชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้.
แต่ทั้ง ๒ อย่างนั้นรวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว)
ได้ด้วยรักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.

             ๗.  (นำมาให้อย่างนี้) คือก่อนอื่น
กวฬิงการาหารเพียงแต่วางไว้ในปากเท่านั้น ก็ก่อตั้งรูปทั้ง ๘ ขึ้น
(สร้างรูปทั้ง ๘ ขึ้น). ส่วนคำข้าวแต่ละคำที่ฟันเคี้ยวให้ละเอียดกลืนลงไป
จะก่อตั้งรูปขึ้นคำละ ๘ รูปทั้งนั้น. กวฬิงการาหารนำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘
มาให้อย่างนี้. ส่วนผัสสาหาร คือผัสสะที่จะให้เกิดสุขเวทนา
เมื่อเกิดขึ้นจะนำสุขเวทนามาให้. ผัสสะที่จะให้เกิดทุกขเวทนาก็เช่นนั้น
คือจะนำทุกข์มาให้ ที่จะให้เกิดอทุกขมสุขเวทนาก็จะนำอทุกขมสุขมาให้.
ผัสสาหารจะนำเวทนาทั้ง ๓ มาให้โดยประการทั้งปวง ดังที่พรรณนามานี้.
               มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ
จะนำกามภพมาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ
ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้. มโนสัญเจตนาหารจะนำภพทั้ง ๓ มาให้อย่างนี้
แม้โดยประการทั้งปวง.
               แต่วิญญาณาหาร ท่านกล่าวว่าจะนำขันธ์ทั้ง ๓
ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณนั้น และรูป ๓๐
อย่างที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓
มาให้โดยนัยแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้นในปฏิสนธิขณะ.
วิญญาณาหารนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้อย่างนี้ ดังนี้.
               อนึ่ง ในอาหารวาระนี้
กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่ยังมีอาสวะอยู่นั้นแหละ ท่านกล่าวไว้ว่า
มโนสัญเจตนาหารจะนำภพทั้ง ๓ มาให้. ปฏิสนธิวิญญาณนั้นเองท่านกล่าวไว้ว่า
วิญญาณจะนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้. แต่อาหาร ๓ อย่างเหล่านี้
พึงทราบว่าเป็นอาหารโดยไม่แปลกกัน
เพราะนำมาซึ่งธรรมที่สัมปยุตกับด้วยวิญญาณนั้น
และธรรมที่เป็นสมุฏฐานแห่งวิญญาณนั้น.
               ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู
(ชีวิต) ไว้ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำ (รูป) มา. ผัสสะ
เมื่อถูกต้องอยู่นั้นแหละ (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำเวทนามา).
มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลมาอยู่นั่นแหละ (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำภพมา).
วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมา).
             ๘. กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำจุนร่างกายอยู่อย่างนี้
ย่อมชื่อว่าให้สำเร็จหน้าที่ของอาหาร (การนำรูปมา)
และแม้เมื่อให้สำเร็จอาหารกิจอยู่อย่างนี้
กวฬิงการาหารก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยของรูปสันตติ ๒ อย่างคือ
เป็นปัจจัยของรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วย
รูปที่ตัณหาและทิฏฐิถือเอาแล้วด้วย.๑-
กวฬิงการาหารเป็นสิ่งที่ตามรักษากัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม)
และเป็นผู้ให้กำเนิดแก่รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานดำรงอยู่ได้.

             ๙. (มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ
จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้ว ในภายในรูป ๓๐ ถ้วน
ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ นี้ คือ
กวฬิงการาหารที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร
และวิญญาณาหารที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ
ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต และวิญญาณคือตัวจิตเอง
เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

             ๑๐ อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น
แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ
ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสะ ๑
เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตที่สหคตด้วยโลภะ ๑ วิญญาณคือตัวจิตเอง ๑ รวมทั้ง
(๓ อย่าง) เหล่านี้ ได้แก่ผัสสาหาร
มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารที่เป็นอนุปาทินนกะเกิดขึ้นแล้ว
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

             ๑๑ เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย.
(ต้องรู้ได้ด้วยปัญญา).

หน้าต่างที่ ๓ ไม่ค่อยมีคำถาม พยายามอ่านเอาใจความ (ด้วยความยากลำบาก) ค่ะ
(ไม่อย่างนั้นจะนอนอ่านจนเผลอหลับโดยไม่ได้ปิดไฟนอนไปอีก ๒-๓ คืน
ตื่นขึ้นมาก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี)
ภายหน้าเมื่อมีความเข้าใจส่วนอื่นๆ มากขึ้น ก็กลับมาอ่านอีก น่าจะเข้าใจมากขึ้น
ขอถามสัก ๑ ข้อ ก็แล้วกันค่ะ

             ๑๒.  พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ ๑๖
สถานที่กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง.
แต่ตามมติของพระเถระท่านได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๔ และมรรคทั้ง ๔ ไว้ใน ๓๒
สถานเท่านั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล
ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕
นิกายหมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตรที่ประกาศสัจจะ ๔ อย่างไว้ถึง ๓๒ ครั้ง
และประกาศอรหัตไว้ถึง ๓๒ ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.
               คำว่า อิทมโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ ๖๔ อย่าง
คือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ ๔ ไว้ ๓๒ อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้ ๓๒ อย่าง.

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14-47
ฐานาฐานะ, 2 กุมภาพันธ์ เวลา 17:41 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
กรุณาอธิบายค่ะ
             หน้าต่าง ๑
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1
             ๑. ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น
ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒ อย่าง
ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง
             ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร
ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำมีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง.
แต่พระเถระได้กล่าวว่า มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว
โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มี ด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.
อธิบายว่า
             สันนิษฐานว่า ในการแสดงกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถ
เป็นการกล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำ คือ มรรคละอกุศลกรรมบถ 10
             ในการแสดงถึงคำว่า บรรเทาปฏิฆานุสัย เป็นการกล่าวถึงมรรคที่ 3
อนาคามิมรรค เพราะอนาคามิมรรค ตัดปฏิฆานุสัย
             ในการแสดงถึงคำว่า มานานุสัย เป็นการกล่าวถึงมรรคที่ 4
เพราะอรหัตตมรรค ตัดมานานุสัย.

             ๒. พิจารณาอย่างไรคะว่า เป็นสัตว์ เป็นสังขาร
ปาณาติบาตมีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.
อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง.
มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ.
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี.
มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง.
ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว
สัมผัปปลาปะมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว
เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว
และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือนกัน (แต่)
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
อธิบายว่า
             การพิจารณาว่ามีอะไรเป็นอารมณ์นั้น โดยมากมักจะมีทั้งสัตว์
และสังขาร เป็นอารมณ์.
             ตัวอย่างเช่น เจริญเมตตาพรหมวิหาร มีสัตว์เป็นอารมณ์
คือปรารถนาให้สัตว์อื่นมีความสุข.
             การเจริญปัญญาในวิปัสสนา เช่นความเกิดของเวทนา เป็นการ
มีสังขารเป็นอารมณ์ หรือพิจารณาว่า เมตตาพรหมวิหารต้องประกอบด้วย
การมนสิการอันเป็นที่ตั้งของเมตตา ความเพียรประกอบเนืองๆ ในเมตตา
เป็นการมีสังขารเป็นอารมณ์.
             โดยหลักนี้ ปาณาติบาตเป็นน่าจะมีทั้งสัตว์เป็นอารมณ์ เพราะ
รู้หรือเข้าใจว่า นั่นเป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิต จึงเรียกว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์
เจตนาจะให้สัตว์นั้น ตายลง มีสัตว์เป็นอารมณ์
เจตนาจะให้สังขารของสัตว์นั้น เช่นลมหายใจขาดตอนลง หรือความเป็นไป
ของการสืบต่อของชีวิตินทรีย์ ขาดตอนหรือขาดไป มีสังขารเป็นอารมณ์.
             อทินนาทาน ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ คือรู้ว่ามีเจ้าของ
(ต้นไม้ไม่เป็นเจ้าของของใบ) แต่คนเป็นเจ้าของต้นไม้ เมื่อมนสิการว่า
เราจะถือเอามีผู้หวงแหน น่าจะเรียกว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์
             แต่ประเด็นเจ้าของอาจไม่นำมาพิจารณาในกรณี
             อาจพิจารณาแต่ว่า สิ่งที่จะขโมย เช่น
             ขโมยสัตว์เลี้ยว ขโมยคน เป็นการมีสัตว์เป็นอารมณ์
             ขโมยเสื้อผ้า เงินทอง มีสังขารเป็นอารมณ์

             ๓.
             อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจารมีเวทนา ๒
ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓.
ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว.
สัมผัปปลาปะมีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒
ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่)
พยาบาทมีเวทนาเป็นทุกข์.
อธิบายว่า
             อทินนาทานมีเวทนา ๓. เพราะขณะขโมยมักจะดีใจ (สุข)
หรืออาจเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา) หรือเสียใจ แต่ต้องขโมย (โทมนัส)
             ส่วนมิจฉาจาร มักมีเพียง 2 คือ สุขและอุเบกขาเท่านั้น
             คำว่า แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ.
             คำนี้ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน อาจมีนัยว่า ขณะตกลงปลงใจ เป็นสุขเวทนา?
             อภิชฌามีเวทนา ๒ คล้ายมิจฉาจาร
             มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน ไม่เกิดกับโทสะ จึงมีเวทนา 2 เท่านั้น.
             พยาบาทและผรุสวาจา มีเวทนาเป็นทุกข์.

หน้าต่าง ๒
             ๔. บทว่า มูลโต ความว่า กรรมบถ ๗ จะมีมูล ๓
ตามอำนาจของอโลภะ อโทสะและอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
แต่มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ. อนภิชฌามีมูล ๒
สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ มีมูลเดียวสำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ
แต่อโลภะ ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.
แม้ในอัพยาบาทก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
อธิบายว่า
             มูลฝ่ายกุศลมี 3 คือ อโลภะ อโทสะและอโมหะ
             มูลฝ่ายอกุศลมี 3 คือ โลภะ โทสะและโมหะ
             กรรมบถ 7 มีครบ 3 คืออโลภะ อโทสะและอโมหะ
ถ้าบุคคลนั้น มีปัญญาประกอบ (คือสัมมาทิฏฐิ)
แต่จะเหลือ 2 คืออโลภะ อโทสะ ถ้าผู้นั้นไม่มีปัญญา
             เช่น ใส่บาตรตามๆ คนอื่น โดยไม่มีปัญญาพิจารณา
ในเรื่องกรรม ผลของกรรมเป็นต้น.
             อนภิชฌามีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
             คำนี้โดยคำ สันนิษฐานว่า คือ อโลภะและอโมหะ
             แต่โดยตัวอโลภะ อาจจะหมายถึง อโทสะและอโมหะ
โดยความที่อนภิชฌา คืออโลภะนั่นเอง ตัวเองไม่มีตัวเองเป็นมูล.
             ในเบื้องต้น ขอให้ถือนัยว่า อโลภะและอโมหะ ไปก่อน.

             ๕. ท่านพระสารีบุตรยังเทศนาให้จบลงด้วยคำว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส อธิบายว่า
แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้.
คำที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
             ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.
อธิบายว่า ตามข้อ 1

             ๖. ในจำนวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น
วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต) ไว้ได้.
(ส่วน) โอชารักษาชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้.
แต่ทั้ง ๒ อย่างนั้นรวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว)
ได้ด้วยรักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.
อธิบายว่า
             สันนิษฐานว่า คล้ายๆ การลดความอ้วน เช่นใช้เม็ดแมงลัก
หรือบุ เพื่อให้กระเพาะเต็ม แก้หิว แต่จะไม่มีสารอาหาร หรือแคลลอรี่.
             เม็ดแมงลักและบุ เปรียบเหมือนวัตถุ คือไม่ให้หิว
             สารอาหารอื่นๆ เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เป็นโอชา
ทำให้ร่างกายมีกำลัง ดำรงอยู่ต่อไป.

             ๗. (นำมาให้อย่างนี้) คือก่อนอื่น
กวฬิงการาหารเพียงแต่วางไว้ในปากเท่านั้น ก็ก่อตั้งรูปทั้ง ๘ ขึ้น
(สร้างรูปทั้ง ๘ ขึ้น). ส่วนคำข้าวแต่ละคำที่ฟันเคี้ยวให้ละเอียดกลืนลงไป
จะก่อตั้งรูปขึ้นคำละ ๘ รูปทั้งนั้น. กวฬิงการาหารนำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘
มาให้อย่างนี้. ส่วนผัสสาหาร คือผัสสะที่จะให้เกิดสุขเวทนา
เมื่อเกิดขึ้นจะนำสุขเวทนามาให้. ผัสสะที่จะให้เกิดทุกขเวทนาก็เช่นนั้น
คือจะนำทุกข์มาให้ ที่จะให้เกิดอทุกขมสุขเวทนาก็จะนำอทุกขมสุขมาให้.
ผัสสาหารจะนำเวทนาทั้ง ๓ มาให้โดยประการทั้งปวง ดังที่พรรณนามานี้.
             มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพมาให้.
ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
มโนสัญเจตนาหารจะนำภพทั้ง ๓ มาให้อย่างนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
             แต่วิญญาณาหาร ท่านกล่าวว่าจะนำขันธ์ทั้ง ๓ ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณนั้น
และรูป ๓๐ อย่างที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ มาให้โดยนัยแห่งปัจจัย
มีสหชาตปัจจัยเป็นต้นในปฏิสนธิขณะ.
วิญญาณาหารนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้อย่างนี้ ดังนี้.
             อนึ่ง ในอาหารวาระนี้
กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่ยังมีอาสวะอยู่นั้นแหละ ท่านกล่าวไว้ว่า
มโนสัญเจตนาหารจะนำภพทั้ง ๓ มาให้. ปฏิสนธิวิญญาณนั้นเองท่านกล่าวไว้ว่า
วิญญาณจะนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้. แต่อาหาร ๓ อย่างเหล่านี้
พึงทราบว่าเป็นอาหารโดยไม่แปลกกัน
เพราะนำมาซึ่งธรรมที่สัมปยุตกับด้วยวิญญาณนั้น
และธรรมที่เป็นสมุฏฐานแห่งวิญญาณนั้น.
             ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต)
ไว้ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำ (รูป) มา. ผัสสะ เมื่อถูกต้องอยู่นั้นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำเวทนามา). มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลมาอยู่นั่นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำภพมา). วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมา).

อธิบายว่า
             กวฬิงการาหาร นำรูปที่มีโอชะเป็นที่ ๘ อุดหนุน
รูปที่เกิดจากกรรม ให้สืบต่อไปได้.
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อวินิพโภครูป
             ผัสสะ นำเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งมาให้.
             มโนสัญเจตนาหาร คือกรรม นำภพต่างๆ ที่กรรมนำเป็นปัจจัยมาให้
เช่น กุศลนำภพในส่วนสุคติมาให้ อกุศลนำภพในส่วนทุคติมาให้
กรรมเช่นรูปฌาน นำภพในรูปภพมาให้ กรรมเช่นอรูปฌาน นำภพในอรูปภพมาให้
             วิญญาณ (ปฏิสนธิวิญญาณ) นำนามรูปที่เกิดพร้อมๆ มาให้.
             อาหารทั้ง 4 นี้ ควรเข้าใจว่าเป็นปัจจัยให้สัตว์เกิดขึ้น ดำรงต่อไปได้
หรือพิจารณาย้อนกลับไปว่า สัตว์ต่างๆ อาศัยอะไรจึงเป็นไปได้ ซึ่งก็คือ อาหาร 4 นี้เอง.

             ๘. กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำจุนร่างกายอยู่อย่างนี้
ย่อมชื่อว่าให้สำเร็จหน้าที่ของอาหาร (การนำรูปมา)
และแม้เมื่อให้สำเร็จอาหารกิจอยู่อย่างนี้
กวฬิงการาหารก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยของรูปสันตติ ๒ อย่างคือ
เป็นปัจจัยของรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วย
รูปที่ตัณหาและทิฏฐิถือเอาแล้วด้วย.๑-
กวฬิงการาหารเป็นสิ่งที่ตามรักษากัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม)
และเป็นผู้ให้กำเนิดแก่รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานดำรงอยู่ได้.
อธิบายว่า
             วิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป รูปนี้ น่าจะเป็นรูปเกิดแต่กรรม
ส่วนนาม ได้แก่นามขันธ์ที่เกิดร่วมกันกับวิญญาณนั้น (ขณะปฏิสนธิ)
             กวฬิงการาหารต่างๆ ในขณะต่อๆ ไป ก็หล่อเลี้ยงสัตว์นั้นไว้
ให้สืบต่อเนื่องไปได้ ไม่ขาดสาย (ไม่ตายในระหว่าง).

             ๙. (มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ
จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้ว ในภายในรูป ๓๐ ถ้วน
ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ นี้ คือ
กวฬิงการาหารที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร
และวิญญาณาหารที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ
ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต และวิญญาณคือตัวจิตเอง
เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

อธิบายว่า
             ข้อนี้กล่าวถึงอาการเกิดขึ้นในขณะแห่งปฏิสนธิ
             กล่าวคือ ยังมีตัณหาอยู่นั่นเอง จึงมีปฏิสนธิอีก หากไม่มีตัณหาแล้ว
จะไม่มีปฏิสนธิอีกเลย.

             ๑๐ อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น
แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ
ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสะ ๑
เจตนาที่สัมปยุตด้วยจิตที่สหคตด้วยโลภะ ๑ วิญญาณคือตัวจิตเอง ๑ รวมทั้ง
(๓ อย่าง) เหล่านี้ ได้แก่ผัสสาหาร
มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารที่เป็นอนุปาทินนกะเกิดขึ้นแล้ว
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

อธิบายว่า อธิบายเหมือนข้อ 9 กล่าวคือ เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
หรือกล่าวว่า เพราะตัณหายังไม่สิ้นไป ด้วยอรหัตตมรรค.

ความคิดเห็นที่ 14-48
(ต่อ)
             ๑๑ เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย. (ต้องรู้ได้ด้วยปัญญา).
อธิบายว่า อาการที่เราเห็น เช่น ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น
อาการที่เห็นเหล่านั้น เป็นรูปารมณ์ ซึ่งเห็นด้วยจักษุ
             กล่าวคือ สิ่งที่เห็นนั้นส่อความถึงชรา เท่านั้นเอง ส่วนปัญญา พิจารณาจาก
สิ่งที่เห็นแล้ว รู้ถึงความหมายของชรา.
             เหมือนไฟไปในที่ใด ก็เป็นเถ้าถ่าน เมื่อเห็นเถ้าถ่าน คนที่มีปัญญา ก็พิจารณา
เห็นต่อไปว่า ไฟได้ไหม้ผ่านทางนี้.
             เถ้าถ่าน เป็นนิมิต ให้รู้ว่า ไฟได้ผ่านบริเวณนี้ บริเวณนี้จึงมีร่องรอย
เถ้าถ่านไม่ใช่ไฟ เป็นแต่ร่องรอย ให้รู้ถึงไฟ.
             การเห็นฟันหัก ... หนังเหี่ยวห่น การเห็นนั้นเป็นการเห็นรูปารมณ์
แต่ส่อความให้รู้ว่า นี้คือชรา ชรามาแล้วนั่นเอง.

             หน้าต่างที่ ๓ ไม่ค่อยมีคำถาม พยายามอ่านเอาใจความ (ด้วยความยากลำบาก) ค่ะ
(ไม่อย่างนั้นจะนอนอ่านจนเผลอหลับโดยไม่ได้ปิดไฟนอนไปอีก ๒-๓ คืน
ตื่นขึ้นมาก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี)
             ภายหน้าเมื่อมีความเข้าใจส่วนอื่นๆ มากขึ้น ก็กลับมาอ่านอีก น่าจะเข้าใจมากขึ้น
ขอถามสัก ๑ ข้อ ก็แล้วกันค่ะ

             ๑๒.  พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ ๑๖ สถานที่กล่าวไว้แล้วโดยพิสดาร
ในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง. แต่ตามมติของพระเถระท่านได้กล่าวถึง
สัจจะทั้ง ๔ และมรรคทั้ง ๔ ไว้ใน ๓๒ สถานเท่านั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล
ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕
นิกายหมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตรที่ประกาศสัจจะ ๔ อย่างไว้ถึง ๓๒ ครั้ง
และประกาศอรหัตไว้ถึง ๓๒ ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.
             คำว่า อิทมโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ ๖๔ อย่าง
คือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ ๔ ไว้ ๓๒ อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้ ๓๒ อย่าง.

             ตอบว่า สันนิษฐานว่า
             การแสดงธรรมเป็นต้นว่า
             เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร
             นี้เป็นนัยแห่งสัจจะ 4
             เมื่อแสดงโดยย่อ คือเพียงหัวข้อ ก็นับเป็น 1
             เมื่อแสดงโดยพิสดาร หรือละเอียด หรือแจกแจง ก็นับเพิ่มอีก 1

             โดยนัยนี้ มี 16 บท บทละ 2 เป็น 16 คูณ 2 เท่ากับ 32
             การแสดงธรรมเป็นต้นว่า
             ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย
ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
ในปัจจุบันนี้เทียว
             นี้เป็นนัยแห่งการบรรยายพระอรหัต ในหัวข้อและแจกแจง จึงเป็น 32
             นี้เป็นการสันนิษฐาน เพราะเหตุว่า สันนิษฐานไปทางอื่นไม่ได้.
             อย่างไรก็ตาม อาจไม่พบเนื้อความนี้ตามที่สันนิษฐานไว้ อาจเนื่องด้วย
พยัญชนะในพระสูตร ได้ทำการย่อไว้ด้วยเครื่องหมาย ...

ความคิดเห็นที่ 14-49
GravityOfLove, 2 กุมภาพันธ์ เวลา 20:54 น.

พอจะเข้าใจขึ้นบ้างแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

             การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :-
             6. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=6






Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 22:17:48 น.
Counter : 731 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog