Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
จังหวะในการเทรด

      วันนี้ว่าง ๆ ครับ...
    เลยขออัพ blog ซักหน่อย...
เรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ trader ส่วนใหญ่มักจะหลงลืม
และกระทำผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ใช่ครับมันคือจังหวะในการเทรด
การเข้า order หากเปรียบเหมือนการเจอคู่แท้ในชีวิต
มันต้องเจอในจังหวะที่ ถูกที่ ถูกเวลา และถูกโอกาส มันถึงจะเจอคนที่ใช่
และความใช่นั้นมันจึงจะกลายเป็นความจริง

มันก็เหมือนกับการเทรดที่เราต้องเข้า order ในจังหวะที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกโอกาส
จังหวะในการเทรดหรือภาษาชาวบ้านที่บรรดา trader เรียกกัน
เราเรียกกันว่า...รอบ (cycle)...ครับ
ไอ้ cycle นี่แหละที่ทำให้ trader หลายคนหลงลืม
อาจเป็นเพราะอารมณ์ตลาด หรืออาจเกิดจากข่าวที่ทำ bias ฯลฯ
บางคนจึงเข้าผิดจังหวะ จังหวะที่ควร long ดัน short
จังหวะที่ควร short ดัน long ผมว่าหลาย ๆ คนก็คงมีประสบการณ์แบบนี้
นั้นเป็นเพราะอะไร นั้นเป็นเพราะเราไม่รู้จักรอ cycle หรือรอรอบของมัน
เปรียบเหมือนกับการเจอคนที่ใช่ในชีวิตแหละครับ
หากเราอยากมีแฟนมาก ก็รีบหาแฟน พอได้เขามาเป็นแฟนแล้ว
ปรากฏว่าในอนาคตเรามาเจออีกคนซึ่งเป็นคนที่ใช่สำหรับเรา
แต่มันก็สายไปแล้วครับ มันเปลี่ยนไม่ได้แล้ว เรามาเจอคนที่ใช่ในวันที่ผิดเสียแล้ว
มันก็เหมือนการเทรด หากเราเข้า order ผิดจังหวะ เราอาจจะติดดอย
หรืออาจต้อง cut loss แบบเจ็บลึกแบบที่ต้องจดจำไปตลอดชีวิต

ใช่ครับ...สิ่งที่ผมอยากจะสื่อก็คือ...
"นักเก็งกำไรที่ดีควรที่จะรอคอยจังหวะในการเทรด หรือรอรอบของมันครับ"
คล้ายกับนักลงทุนแนว VI ที่รอให้ราคามันต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
มี margin of safety เยอะ ๆ ถึงค่อยทยอยเข้าซื้อ

คราวนี้เรามาดูกัน ว่าเราจะนิยามคำว่ารอบอย่างไร
สำหรับตัวผมเองนั้นมอง trader แต่ละประเภท...ให้นิยามคำว่ารอบที่ต่างกัน

ถ้าเป็น Swing Trader จะนิยามคำว่ารอบออกเป็นสองลักษณะคือ
1.รอบขาขึ้น วัดจาก swing low ขึ้นไป swing high แล้วลงมาจบที่
swing low อันถัดไปอันนี้ถือเป็นหนึ่งรอบขาขึ้น
2.รอบขาลง วัดจาก swing high ลงมาถึง swing low แล้วขึ้นมาจบที่
swing high อันถัดไปอันนี้ถือว่าจบหนึ่งรอบขาลง

ถ้าหากยังไม่เห็นภาพผมจะยกตัวอย่างจาก Indicator ยอดฮิต
ให้คิดตามนะครับ ผมจะไม่อธิบายการใช้ Indy แบบลงลึกนะคิดว่าหาอ่านกันได้ 
และเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพเฉย ๆ นะครับ
ใช้เทรดจริง ๆ อาจต้องไปทดสอบและคลำกันเอาเอง ยกตัวอย่างเช่น

RSI (Relative strength index)
หลักการของ RSI ก็ง่าย ๆ ครับ RSI มีค่ามากกว่า 50 เป็นด้านขาขึ้น
RSI มีค่าต่ำกว่า 50 เป็นด้านขาลง
หรือ MACD (Moving average convergence divergence)
หลักการง่าย ๆ ของ MACD คือ MACD มีค่ามากกว่า 0 เป็นด้านขาขึ้น
ส่วนถ้า MACD มีค่ำต่ำกว่า 0 จะเป็นด้านขาลง

ถ้าเราต้องการเข้า order ฝั่ง long เราควรรอรอบให้ราคามันลงมาทำ swing low ก่อน 
พร้อมกับ RSI มีค่าต่ำกว่า 50 หรือ MACD มีค่าต่ำกว่า 0
เราถึงควรพิจารณาหาจุด setup ที่จะเข้า long อาจหาเอาจากสัญญาณ
Momentum ขัดแย้งกับราคา หรือที่เขาเรียกกันว่า Divergence อะไรก็ตามแต่ 
แล้วไปปิด order ใน swing high ถัดไป ในทางกลับกัน 
หากเราต้องการเข้า order ฝั่ง short เราควรรอให้ราคา
มันขึ้นไปทำ swing high ก่อน พร้อมกับ RSI มีค่ามากกว่า 50 หรือ
MACD มีค่ามากกว่า 0 เราถึงควรพิจารณาหาจุด setup ที่จะเข้า short
แล้วไปปิด order ที่ swing low ถัดไป
สำหรับเหตุผลที่ swing trader ต้องรอรอบแบบนี้ในการเข้า order นั้น 
ก็เพื่อเป็นการเพิ่มระยะทางให้ราคามันวิ่งได้ยาวมากขึ้น 
ซึ่งมันจะส่งผลต่อกำไรที่ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า
"these methods of technical analysis define past market
movement. but profit come from future price action"

ยกตัวอย่างการมองรอบของ trader อีกประเภทนึงก็แล้วกัน เอาเป็น
แบบ Trend follow นะครับ นิยามของคำว่ารอบของ trend follower
ก็น่าจะประมาณว่า รอให้ราคาอยู่ในช่วงพักตัว (side way  หรือ no trend) ก่อน
เมื่อ Break out จากกรอบพักตัวไปแล้ว จนมาถึงการพักตัวของราคาครั้งใหม่
อีกครั้งหนึ่ง ถึงเป็นการจบหนึ่งรอบ trend
ผมขอยกตัวอย่างการจับรอบของ trader ประเภทนี้จาก Indicator 
ที่เหล่า trend follower นิยมใช้กันมากตัวหนึ่งนะครับ นั้นก็คือ

ADX (Average direction movement index)
หลักการของ ADX ก็ง่าย ๆ นะครับ ถ้าค่า ADX ต่ำกว่า 20 
จะถือว่าราคาไม่มีเทรน (์side way) ซึ่งราคาจะวิ่งอยู่ในกรอบ
ราคาจะก่อตัวเป็นรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม ฯลฯ
และหาก ADX มีค่ามากกว่า 20 ขึ้นไปเรื่อย ๆ จะถือว่าราคาเริ่มวิ่งเป็นเทรน
ดังนั้นในการเข้า order ของพวก trend follower จะต้องรอให้ราคา
เกิดการพักตัวหรือ side way พร้อมกับ ADX มีค่าต่ำกว่า 20 ก่อน
ไม่ว่าจะเป็นการเข้า order ด้าน long หรือ short
แล้วค่อยพิจารณาเข้า order จากการ break out ออกจากกรอบ side way

ทั้งนี้การมองรอบไม่ได้จำกัดให้มองเฉพาะเจาะจงกับ Indicator
ประเภท oscillator เท่านั้น อาจประยุกต์ใช้กับ Indicator ประเภท
overlay ก็ได้ หรือจะใช้กับ Fibonacci retracement หรือดูจาก
Price Action ของราคา หรือจากทฤษฎีคลื่น อะไรก็ได้เกือบทั้งหมด 
ขึ้นอยู่กับสไตร์การเทรดของเรา แล้วเราจะนำเครื่องมือทาง
technical analysis มาประยุกต์ใช้อย่างไรมากกว่าครับ




Create Date : 12 ตุลาคม 2557
Last Update : 12 ตุลาคม 2557 9:41:56 น. 0 comments
Counter : 980 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tetae56
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เอาแต่คิดมากเกินไป...สุดท้ายก็วิ่งวนอยู่กับที่...
Friends' blogs
[Add tetae56's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.