การประชุมร่วมรัฐสภา



  • รัฐสภา หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ( กรณีที่ประเทศที่ใช้ระบบ 2 สภา )
  • ส่วนประเทศที่ใช้สภาเดียวคือสภาผู้แทน ก็ให้หมายถึง รัฐสภา การทำหน้าที่ร่วมกันในที่ประชุม เรียกว่า ประชุมรัฐสภา กรณีแยกกันประชุม ก็ให้เรียกตามชื่อสภานั้น เช่น สมาชิกสภาผู้แทนประชุม ก็เรียกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาก็เรียกวุฒิสภา




  • ตามรัฐธรรมนูญไทยฉบับที่18 หรือฉบับ พ.ศ.2550 ระบุให้ทั้ง 2 สภาทำหน้าที่รัฐสภาร่วมกันในเรื่องดังต่อไปนี้



มาตรา136 ในกรณีต่อไปนี้ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน



  • การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 19
  • การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาตามมาตรา 21
  • การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ตามมาตรา 22
  • การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา 23
  • การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามมาตรา 127
  • การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมตามมาตรา 127
  • การเปิดประชุมรัฐสภาตามมาตรา 128
  • การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาตามมาตรา 137
  • การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 145
  • การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติใหม่ ตามมาตรา 151
  • การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติต่อไป ตามมาตรา 153 วรรคสอง
  • การแถลงนโยบายตามมาตรา 176
  • การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179
  • การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม ตามมาตรา 189
  • การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190
  • การแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291



กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง




Create Date : 06 มิถุนายน 2555
Last Update : 6 มิถุนายน 2555 16:18:01 น.
Counter : 1998 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thongnetra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
10
12
13
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
28
29
 
All Blog