Carpe diem

MonkeyFellow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MonkeyFellow's blog to your web]
Links
 

 
ถามว่าเดือนชื่อเดือนอะไรบ้าง

๏ ถามว่าเดือนชื่อเดือนอะไรบ้าง แก้ว่าชื่อเดือนอ้าย เดือนญี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ๊ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง ๚ะ

๏ ถามว่า เดือนอ้าย เดือนญี่ ภาษาอะไร ทำไมจึ่งไม่เรียกเดือนหนึ่งเดือนสองเล่า แก้ว่าเปนคำโปราณชาวเหนือ เหมือนหนึ่งเมื่อครั้งกรุงเก่า ก็มีชื่อเจ้าอ้ายพระยา เจ้าญี่พระยา เจ้าสามพระยา มีชื่ออยู่ดั่งนี้ ก็เหนว่าเดือนอ้าย เดือนญี่ ก็จะเปนเดือนหนึ่งเดือนสองนั้นเอง แต่ชื่อเดือนนั้น ในภาษาพม่า ภาษารามัญ ภาษาลาว ภาษาเขมรเรียกต่าง ๆ กันตามภาษาของเขา ข้างจีนเดือนหนึ่ง เขาก็ไม่เรียกว่าเดือนหนึ่ง เขาเรียกว่าเดือนปีใหม่ ต่อไปเขาก็นับเดือนสองเดือนสามไปจนถึงเดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสองเหมือนกัน แต่ภาษาบาฬีท่านก็เรียกเอาชื่อเดือนเมื่อวันเพ็ญ ตรงต่อชื่อดาวฤกษใด เอาฤกษวันนั้นมาเปนชื่อเดือน เดือนห้าเจตรมาศ เดือนหกพิสาขมาศ ฤๅไพสาขมาศ เดือนเจ๊ดเชฐมาศ ฤๅเชฐมูลมาศ เดือนแปดอาสาทมาศ เดือนเก้าสาวันมาศ เดือนสิบภัทร์บทมาศ เดือนสิบเอ๊ดอาสุขมาศ ฤๅอัสยุชมาศ เดือนสิบสองกัตติกมาศ เดือนอ้ายมิคสิรมาศ ฤๅมาคสิรมาศ เดือนญี่บุศมาศ เดือนสามมาฆมาศ เดือนสี่ผคุณมาศ

๏ ถามว่า ข้างไททำไมไม่ตั้งปีใหม่ที่เดือนอ้ายเล่า ไปตั้งปีใหม่ที่เดือนห้าเหตุอย่างไร แก้ว่าไม่ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้าย เพราะอาทิตยเดินไปเปนที่สุดข้างทิศใต้ จึ่งตั้งเดือนนั้นเป็นเดือนที่หนึ่งแล้ว ก็เปนระดูหนาว ด้วยหนาวเปนต้นระดูทั้งปวง จึ่งวางเดือนหนึ่งไว้ที่นั้น บางจำพวกเขาก็ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้ายก็มี ชาวยุโรปเขาก็ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้ายบ้าง เดือนญี่บ้าง เขาคิดเอาเมื่อวันอาทิตยกลับเข้ามาข้างเหนือได้ ๑๑ วัน วันนั้นดวงพระอาทิตยโตที่สุดตกในนิตย เรียกว่าพสุสงกรานต์ใต้ เขาก็เอาวันนั้นเปนปีใหม่ บวกศักราชขึ้นในวันนั้น ข้างจีนเขาก็เอาเดือนสามขึ้นคํ่าหนึ่งเปนปีใหม่ เอาเดือนญี่เปนเดือนสิบสอง เพราะเดือนญี่พระอาทิตยไปที่สุดข้างทิศใต้ จะกลับมาเหนือจึ่งเอาเดือนสามเปนปีใหม่ เมื่อเวลาอาทิตยกลับแล้ว เพราะจีนถือเอาดวงพระจันทรเต็มดวงคราวหนึ่ง ๆ เปนเดือน ถ้าถือเอาอาทิตยเปนเดือน ก็เหนจะเอาเดือนญี่เปนปีใหม่ เหมือนอย่างชาวยุโรป เพราะจีนถือเอาดวงจันทร จึ่งได้เลื่อนเข้ามาเดือนสาม จำพวกที่ถือคำภีร์โหราสาตร ไทยมอญพม่าที่ถูกกัน เขาคิดเอาเมื่ออาทิตยมาถึงกึ่งกลางพิภพ เปนราศริต้นเรียกว่าเมศราศรี จึ่งเอาเดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่งเปนปีใหม่ ด้วยใกล้อาทิตยจะขึ้นเถลิงศกในราศรีเมศเปนสงกรานต์

จะเห็นว่าตอนนั้น วันปีใหม่อยู่เดือนห้า 
เริ่มแรกตามจารีตของไทยแต่โบราณได้ถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย(๑) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนหลาย ๆ ชาติที่ถือว่าฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ด้วยว่าคนสมัยก่อนเห็นว่าฤดูหนาว เป็นช่วงผ่านพ้นจากฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายกลางคืน เขาจึงนับฤดูเหมันต์หรือซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายที่สว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นต้นปี นับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปีและฤดูฝนเป็นปลายปี

ต่อมาในระยะที่สอง เราได้มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนห้า(๕) คือราวช่วงสงกรานต์ อันเป็นการเปลี่ยนจารีตไปตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์

ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เราก็ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2432

ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ.2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม ซึ่งมีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี ดังนั้น เราจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484เป็นต้นมา (ปี พ.ศ.2483 เราจึงมีแค่ 9 เดือนและปี พ.ศ.2484 มี 12 เดือน จากนั้นปีต่อ ๆ มาก็มีปีละ 12 เดือนตามปรกติ)

พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้ (aphelion).

จะเห็นว่าวันในรูปไม่ตรงกัน เพราะนับจากวันครีษมายัน summer solstice  20 มิุนายนหรือ 21 มิถุนายน ไปประมาณ14 วัน 
– ช่วงวันที่ 21 มีนาคม กับวันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนกินเวลาเท่ากัน พระอาทิตย์จะขึ้นทิศตะวันออกและตกลงทิศตะวันตกพอดี
– ช่วงวันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่พระอาทิตย์อ้อมขึ้นเหนือที่สุด กลางวันจะยาวนาน พระอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่เช้าแต่ตกดินช้า
– ส่วนช่วงวันที่ 21 ธันวาคม เป็นวันที่พระอาทิตย์อ้อมใต้มากที่สุด ดวงอาทิตย์ขึ้นช้า ช่วงกลางวันสั้นและตกดินอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่วงกลางคืนยาวนาน

พระอาทิตย์อ้อมใต้ (เดือนกันยายน – เดือนเมษายน)
ตั้งแต่เดือนกันยายน จะเป็นเดือนที่เส้นทางวิถีวงโคจรของดวงอาทิตย์ จะเป็นแสงอ้อมจากทางทิศใต้ แล้วจะค่อย ๆ ขยับจากทิศใต้ลงใต้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมกราคมที่แสงแดดจะอ้อมใต้มากที่สุด จากนั้นแดดจะค่อย ๆ ขยับขึ้นเหนือมาจนถึงกลางเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ตรงกับตำแหน่งของประเทศไทยพอดีทำให้เป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย และหลังจากสิ้นเดือนเมษายน วิถีวงโคจรของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนจากการอ้อมทางทิศใต้เป็นการอ้อมทิศเหนือ รวมระยะเวลาแดดอ้อมใต้เป็นเวลา 8 เดือน

พระอาทิตย์อ้อมเหนือ (เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม)
หลังจากที่วิถีโคจรของดวงอาทิตย์เปลี่ยนจากการอ้อมทางทิศใต้ มาเป็นการอ้อมทางทิศเหนือช่วงสิ้นเดือน เมษายน ดวงอาทิตย์จะอ้อมทางทิศเหนือและจะขยับองศาขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดที่เดือนกรกฎาคม และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ขยับลงมาทางทิศใต้ จนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม วิถีวงโคจรจะเปลี่ยนกลับมาอ้อมทางทิศใต้อีกครั้ง โดยจะวนเวียนในลักษณะนี้ทุก ๆ ปี รวมระยะเวลาแดดอ้อมเหนือเป็นเวลา 4 เดือน




Create Date : 30 สิงหาคม 2563
Last Update : 30 สิงหาคม 2563 15:03:38 น. 1 comments
Counter : 506 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse


 


โดย: สมาชิกหมายเลข 2876811 วันที่: 30 สิงหาคม 2563 เวลา:19:25:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.