ยินดีต้อนรับสู่ "กระท่อมตาเชย"
space
space
space
space

ตำราว่านหลักของไทย
แนะนำตำราว่านหลักของไทยทั้ง 11 เล่ม


เพื่อให้นักเล่นว่านในรุ่นหลังได้มีหลักเกณฑ์ในการเล่นว่าน จึงจำเป็นต้องทราบถึงที่ไปที่มาของว่านเสียก่อน และต้องทราบด้วยว่าตำราว่านที่คนรุ่นก่อนเขาใช้เป็นหลักหรือเป็นต้นแบบที่เชื่อถือได้ในการเล่นว่านนั้น มีทั้งหมดกี่ฉบับ อะไรบ้าง

แรกเริ่มเดิมทีนั้น คำว่าว่านน่าจะมีการจดจารบันทึกแทรกอยู่ตามตำรับตำรายาโบราณรุ่นเก่าๆ ของไทย เช่น สมุดใบลาน สมุดดำ สมุดไท และสมุดข่อย แต่ก็คงจะมีบันทึกแทรกไว้เพียงแห่งละนิดละหน่อย และน่าจะอยู่อย่างกระจัดกระจายกันออกไปหลายที่หลายแห่งด้วยกัน

เพื่อเป็นการยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ว่าเป็นความจริง ตาเชยจึงได้พยายามสืบเสาะค้นหาตำราเก่าๆ (ก่อนที่จะมีการจัดพิมพ์ตำราว่านเล่มแรกของไทยขึ้นในปี พ.ศ.2473) เพื่อเอามาศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชื่อว่านเพิ่มเติม ในที่สุดก็ได้ตำรามาอ่านถึง 4 เล่มด้วยกันคือ

1) "คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์" เป็นคัมภีร์ใบลานก้อมฉบับลานดิบ จำนวน 1 ผูก จารเส้นด้วยอักษรไทย 65 หน้าลาน ลงจารปี พ.ศ.2202-2204 เป็นปีที่ 3-5 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช








2) "ตำราพระโอสถ ครั้งรัชกาลที่ ๒" สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณะ โปรดให้พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2459




3) ตำราพระโอสถพระนารายณ์" สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทาน พ.ศ.2460




4) หนังสือ "แพทย์ตำบล เล่ม1" พระยาแพทย์พงศา วิศุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) เป็นผู้รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2464



ในหนังสือทั้ง 4 เล่มนี้ ตาเชยพบรายชื่อว่าน (โบราณเขียน หว้าน) ทั้งที่เคยรู้จักและที่ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนถึง 13 ชนิดด้วยกัน คือ หว้านน้ำ หว้านเปราะป่า หว้านพระผนัง หว้านบุษราคำ หว้านไข่เหน้า หว้านพันชน หว้านพระกราบ หว้านพระตะบะ หว้านพระตะหึง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง ว่านนางคำ และว่านหางช้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นว่านยาที่ใช้ประโยชน์ในทางสมุนไพรทั้งสิ้น เพราะรายชื่อว่านเหล่านี้ถูกบันทึกอยู่ในตำรับยาทั้งหลายนั่นเอง


...........................................................................



และต่อไปนี้คือรายชื่อ "ตำราว่านหลัก" ทั้งหมด เท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์กันขึ้นมา ในยุคก่อน พ.ศ.2520

1) ตำราว่านเล่มแรกของไทย และของโลกจริงๆ นั้นชื่อ "ลักษณะว่าน" นายชิต วัฒนะ เป็นผู้รวบรวมพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2473





2) เล่มที่สองชื่อ "ตำหรับ กระบิลว่าน" หลวงประพัฒสรรพากร รวบรวมพิมพ์(ในงานปลงศพสนองคุณ นางเอี่ยม กาญจนโภคิน) โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2475 และ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระวิจิตรเลขการ โรงพิมพ์อักษรนิติ, 2476

ตำราเล่มนี้แหละที่นักเล่นว่านรุ่นเก่ายอมรับนับถือกันว่าเป็นตำราว่านที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคก่อน พ.ศ. 2500 (ตำราเล่มนี้ยังมีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ)






3) เล่มสามชื่อ "ตำราพันธุ์ว่านยา 108 อย่าง" ศ.ส. (นามแฝง) รวบรวมพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2480 (ตำราเล่มนี้ถูกขโมยไปจากหอสมุดแห่งชาติเมื่อไม่นานมานี้)





4) เล่มที่สี่ "คู่มือนักเล่นว่าน" ล.มหาจันทร์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2480





5) เล่มที่ห้า "ตำราสรรพคุณยาไทย ว่าด้วยลักษณะกบิลว่าน" นายไพทูรย์ ศรีเพ็ญ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2484

เล่มนี้นับเป็นตำราเล่มสุดท้ายในยุคก่อน พ.ศ.2500 พอตำราเล่มนี้พิมพ์ออกมาได้ไม่นานนัก ประเทศไทยก็ตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2





6) ทิ้งช่วงมานานหลายปีจึงมาถึงเล่มที่หกชื่อ "ตำราดูว่านและพระเครื่องพระบรมธาตุ" ชัยมงคล อุดมทรัพย์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2503 เล่มนี้มีชื่อว่านบันทึกอยู่ 112 ชนิด




7) เล่มที่เจ็ด "ตำรากบิลว่าน" พยอม วิไลรัตน์ รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2504 ตำราเล่มนี้มีว่านบันทึกไว้ 233 ชนิด (แต่ว่านจำพวกเศรษฐี 8 ชนิด ท่านนับรวมเป็น 1 ชนิดเท่านั้น) และยังมีพืชที่เรียกว่า "ต้นยาวิเศษนานาชนิด" อีก 47 ชนิดบันทึกไว้ รวมเป็นทั้งหมด 280 ชนิด




8) เล่มที่แปด "ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน" อุตะมะ สิริจิตโต รวบรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2505 ในตำราเล่มนี้มีว่านอยู่ 166 ชนิด (มีซ้ำ 1 ชนิด) เป็นตำราเล่มแรกที่มีภาพประกอบอยู่ด้วย แต่เป็นภาพขาวดำที่ไม่ค่อยชัดนัก และมีเพียง 16 ภาพเท่านั้น




9) เล่มที่เก้า "ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์" อาจารย์ชั้น หาวิธี รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2506 ในเล่มนี้มีว่าน 197 ชนิด (พิมพ์ซ้ำ 5 ชนิด) และมีต้นยาพิเศษอีก 8 ชนิด รวมเป็น 205 ชนิด

สำหรับอาจารย์ชั้นนี่ เมื่อก่อนท่านมีแผงขายว่านอยู่ที่สนามหลวง ภายหลังจึงย้ายเข้าไปขายในตลาดวัดมหาธาตุ ตาเชยเองก็เคยเหมาว่านของท่านมาปลูกอยู่หลายสิบชนิด




10) เล่มที่สิบ "ตำราคุณลักษณะว่าน และ วิธีปลูกว่าน" นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ รวบรวมพิมพ์ในนามของสมาคมพฤษชาติแห่งประเทศไทย พ.ศ.2506 ตำราเล่มนี้ได้รวบรวมชื่อว่านเข้าไว้ถึง 301 ชนิด รวมกับต้นยาอีก 1 ชนิด เป็น 302 ชนิด แต่มีที่ซ้ำแยะมากเพราะเป็นตำราที่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นมาจากตำราทั้ง 9 เล่มข้างต้นรวมเอาเข้ามาไว้ในเล่มนี้เล่มเดียว (ว่านบางอย่างมีหลายชื่อและยังมีหลายชนิด เมื่อรวบรวมมาจากตำราอีกหลายๆ เล่มย่อมต้องมีซ้ำๆ กันมากเป็นของธรรมดา) ในตำราเล่มนี้มีภาพขาวดำประกอบอยู่ 16 ภาพ

ตำราว่านเล่มนี้แหละ ที่นักเลงว่านตัวจริงในยุคกลางตลอดมาจนถึงยุคหลัง ต่างก็ใช้เป็นคู่มือและใช้เป็นหลักอ้างอิงในการเล่นว่านมาจนกระทั่งทุกวันนี้ และต่างก็ยอมรับนับถือกันว่าเป็นตำราว่านที่สมบูรณ์มากที่สุดเล่มหนึ่ง เพราะได้รวบรวมรายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่านเอาไว้ทั้งหมด เป็นต้นว่า กำเนิดว่าน พระตำหรับว่าน อิทธิฤทธิ์ของว่าน ฤกษ์ในการปลูกว่านหรือกู้ว่าน วิธีปลูกว่าน พิธีกู้ว่าน ตลอดจนคาถาที่ใช้ในการเสกน้ำรดว่านเพื่อให้คงความเข้มขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งยังเป็นตำราว่านเล่มแรกที่มีการจำแนก และบอกชื่อว่านเป็นชี่อทาง พฤกษ์ศาสตร์ ถึงแม้จะไม่ครบทั้งหมดแต่ก็สามารถแยกไว้ได้ถึง 34 วงศ์ (Family) 512 สกุล (Genus) 1,715 พันธุ์ (Species)




11) เล่มที่สิบเอ็ด "ตำรากบิลว่านฉบับสมบูรณ์" ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. รวบรวมพิมพ์ พ.ศ.2508 ตำราเล่มนี้รวบรวมว่านไว้ 217 ชนิด (มีซ้ำ 1 ชนิด) และมีภาพขาวดำประกอบอยู่ 36 ภาพ

ตำราเล่มนี้มีการเปิดตัวบรรดาว่าน "กวัก" เอาไว้ถึง 9 ชนิด ได้แก่ กวักพุทธเจ้าหลวง กวักนางพญาใหญ่ กวักนางพญาเล็ก กวักนาวมาควดี (ภายหลังเล่นกันในนามว่านมหาโชค) กวักหงษาวดี (ภายหลังเล่นกันในนามว่านมหาลาภ) กวักทองใบ กวักแม่จันทร์ กวักโพธิ์เงิน และกวักเงินกวักทอง ให้นักเลงว่านได้รู้จักและเริ่มเสาะแสวงหามาเล่นกัน




.......................................................................

นักเล่นว่านรุ่นเก่าก่อนแต่ไหนแต่ไรมา ต่างก็ยอมรับว่ารายชื่อว่านที่ได้บันทึกอยู่ในตำราทั้ง 11 เล่มนี้แหละ คือ "ว่าน" ที่แท้จริง เพราะเป็นการค้นคว้ารวบรวมเอามาจากบรรดาครูอาจารย์และผู้รู้ที่เชื่อถือได้ในยุคก่อนๆ บ้างก็คัดลอกมาจากตำหรับตำราเก่าแก่บ้าง โดยมิได้มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และยังไม่มีการตั้งชื่อกันเอาเองแบบตามใจฉัน เหมือนดังเช่นตำราว่านในยุคหลังๆ นี่เลย

ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ.2520 - 2526 ซึ่งเป็นช่วงที่ว่านได้รับความนิยมอย่างสูงสุดนั้น มีตำราว่านพิมพ์ออกมาขายกันแยะมาก ซึ่งตำรายุคใหม่นี้ ส่วนใหญ่จะอาศัยคัดลอกคำบรรยายลักษณะว่านแต่ละชนิดมาจากตำราเล่มที่ 10 แล้วจึงค่อยหาถาพถ่ายต้นว่านมาประกอบเอาเอง ทั้งที่ผู้เขียนตำราก็มีความรู้เรื่องว่านเพียงงูๆ ปลๆ ตรงนี้แหละจึงเป็นที่มาของความผิดพลาดในหลายๆ ประการของตำรารุ่นใหม่ๆ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ

ในเมื่อตำราเองมันยังผิดเสียแล้ว ก็ลองนึกดูสิว่านักเล่นว่านในยุคหลังๆ จะพากันเข้ารกเข้าพงขนาดไหน และนี่เองคือสาเหตุที่ตาเชยจำต้องลุกขึ้นมาร้องบอกนักเล่นว่านรุ่นใหม่ๆ ว่า "เล่นว่านให้ถูกต้องตรงตามตำรา" แน่นอนตำราในที่นี้ย่อมหมายถึงตำราหลักรุ่นเก่าทั้ง 11 เล่มนั้น ไม่ใช่ตำราที่เขียนขึ้นมาเพียงเพื่อจะ(หลอก)ขายว่านของตัวเอง หรือเพื่อหาเงินเข้ากระเป๋าอย่างเดียวโดยไม่เคยคิดที่จะรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมเลยแม้สักนิด





Create Date : 08 ตุลาคม 2558
Last Update : 20 ตุลาคม 2558 9:25:14 น. 33 comments
Counter : 18977 Pageviews.

 
like ค่ะ


โดย: mcayenne94 วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:19:28:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับของมีค่าอย่างนี้ค่ะ


โดย: ป้าวลี (ป้าวลี ) วันที่: 16 ตุลาคม 2558 เวลา:19:08:27 น.  

 
ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ งงเหมือนกันค่ะว่าทำไมว่านมีแต่ชื่อเพราะๆที่เป็นมงคลทั้งนั้น หนังสือว่านรุ่นโบราณพอจะหาอ่านหรือซื้อได้ที่ไหนบ้างมั้ยคะ


โดย: เบน IP: 171.4.250.216 วันที่: 24 ตุลาคม 2558 เวลา:19:51:51 น.  

 
ขอบคุณข้อมูล หนังสือว่านที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย สุดยอดครับ


โดย: ชีวิตมีค่าเสมอ IP: 1.47.231.42 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา:23:06:32 น.  

 
ขอบพระคุณมากครับ สำหรับตำราว่านสำคัญๆ ^_^


โดย: Charnlala IP: 182.52.113.25 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา:17:08:45 น.  

 
ไม่เคยเห็นมาก่อน น่าสนใจมากค่ะ เป็นหนังสือหายากสุดๆ อยากโหลดเก็บไว้ดู ต้องทำไงคะ


โดย: Kan Kiti IP: 192.99.14.36 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา:2:19:09 น.  

 
dกราบของพระคุณท่านตาเชย งามๆครับ


โดย: เดอะ เฟริส วัน IP: 118.175.109.24 วันที่: 16 ธันวาคม 2558 เวลา:13:31:17 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: รัฐศักดิ์ ซื่อสัตย์ IP: 182.52.170.86 วันที่: 22 ธันวาคม 2558 เวลา:2:47:17 น.  

 
ขอบพระคุณครับ ผมสนใจและตั้งใจจะเรียนมานานแล้วติดอยู่ที่ความเชื่อถือในตำราจริงๆ จนเราได้มาเจอกันนี่แหละครับ ผมจะได้เริ่มต้นให้ถูกต้องตามครูบาอาจารย์วะที


โดย: สมาชิกหมายเลข 2881528 วันที่: 23 ธันวาคม 2558 เวลา:16:02:46 น.  

 
ดีครับ


โดย: นาถยา ศรีหะมนตรี IP: 1.46.206.34 วันที่: 1 ธันวาคม 2559 เวลา:9:13:16 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: สมาชิกหมายเลข 2045622 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:16:31 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ


โดย: วัฒนา IP: 171.99.162.249 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:19:14:49 น.  

 
ตำราเล่มเก่าๆไม่มีรูป ใช้แต่จินตนาการ ตามบัญยาย
และจะยืดหลักอะไรว่าจริงแค่ไหน เราก็ไม่เห็นต้นว่านจริงๆ


โดย: คนมองตรง IP: 119.46.227.2 วันที่: 22 กรกฎาคม 2560 เวลา:13:34:11 น.  

 
ตำราเล่มเก่าๆไม่มีรูป ใช้แต่จินตนาการ ตามบัญยาย
และจะยืดหลักอะไรว่าจริงแค่ไหน เราก็ไม่เห็นต้นว่านจริงๆ


โดย: คนมองตรง IP: 119.46.227.2 วันที่: 22 กรกฎาคม 2560 เวลา:13:37:12 น.  

 
ดีมากๆเลยคะ😆😘


โดย: ทองสุก..วังชัย IP: 49.230.223.79 วันที่: 25 กรกฎาคม 2560 เวลา:13:20:20 น.  

 
ขอบคุณอย่าสูงครับ ตำราเหล่านี้เป็นองค์ความรู้แก่ผู้สนใจรุ่นหลังที่มีคุณค่ายิ่งครับ


โดย: ไพล IP: 124.121.38.28 วันที่: 17 ตุลาคม 2560 เวลา:0:13:42 น.  

 
ขอบคุณตาเชยมากครับ ที่เเบ่งปันความรู้


โดย: คนแปดริ้ว IP: 124.120.201.253 วันที่: 26 ธันวาคม 2560 เวลา:20:24:29 น.  

 
ใครมีลิงค์ตำราว่านบ้างมั๊ยครับ ส่งมาให้หน่อยนะ ผมโหลดมิได้ครับ


โดย: ก๊อต IP: 110.169.128.192 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:0:28:32 น.  

 
ใครมีลิงค์ตำราว่านบ้างมั๊ยครับ ส่งมาให้หน่อยนะ ผมโหลดมิได้ครับ


โดย: ก๊อต IP: 110.169.128.192 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:0:29:00 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ


โดย: พลรัช IP: 223.24.175.106 วันที่: 21 พฤษภาคม 2561 เวลา:9:02:20 น.  

 
ได้เคยอ่านหนังสือกบิลว่านของร.ต.สวิงเมื่อ20 กว่าปีมาแล้ว ผู้หมวดท่านเขียนเรื่องว่านไว้ในหนังสือกบิลว่านมีประโยชน์มากครับ เชื่อมาถึงทุกวันนี้ว่าท่านรู้จริงครับ ยกม่านไว้เป็นปรมาจารย์เลยครับ


โดย: กริช แก้วกระจ่าง IP: 125.27.204.57 วันที่: 21 พฤษภาคม 2561 เวลา:17:01:25 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ


โดย: วิทยา IP: 1.46.1.60 วันที่: 10 กันยายน 2561 เวลา:14:24:50 น.  

 
ขอบคุณ คุณตามากครับ


โดย: จุ้ย IP: 163.172.136.205 วันที่: 11 กันยายน 2561 เวลา:8:21:58 น.  

 
ใครยังพอมีลิงค์ไหมครับ รบกวนขอไว้ศึกษา ขอบคุณครับ


โดย: Gappy IP: 182.232.190.57 วันที่: 22 กันยายน 2561 เวลา:12:56:18 น.  

 
ขอบพระคุณคะ


โดย: ทศพรสวรรค์ IP: 49.231.193.118 วันที่: 17 ตุลาคม 2561 เวลา:14:06:02 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ


โดย: นิน IP: 223.24.144.52 วันที่: 23 ตุลาคม 2561 เวลา:23:05:09 น.  

 
ตาครับ กระผมยังขาด อีก 5 เล่ม ครับ

2480 คู่มือนักเล่นว่าน ล.มหาจันทร์
2484 ตำราสรรพคุณยาไทย ว่าด้วยลักษณะกบิลว่าน
2503 ตำราดูว่านและพระเครื่อง พระบรมธาตุ
2504 ตำรากบิลว่าน และ ต้นยาวิเศษนานาชนิด
2505 ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน


โดย: Kitti Phom IP: 202.60.203.174 วันที่: 22 เมษายน 2562 เวลา:13:49:33 น.  

 
คุณตาคะ หนูอยากได้ ตำราส่วนที่เขียนถึงว่านภาคหรือพาก หนูจะหาซื้อได้จากที่ไหนคะ


โดย: ดารา IP: 125.27.121.90 วันที่: 12 มิถุนายน 2562 เวลา:12:53:58 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้คะ


โดย: ออย IP: 171.4.221.148 วันที่: 5 มิถุนายน 2563 เวลา:10:51:30 น.  

 
สุดยอดคับ


โดย: วีรวุฒิ IP: 27.55.83.150 วันที่: 30 มีนาคม 2564 เวลา:15:13:34 น.  

 
ขอบคุณตาเชย ครับผม ดีใจมากเลย ยังกะถูกหวย


โดย: Thawatchai Laosongkram IP: 1.4.232.19 วันที่: 28 ตุลาคม 2564 เวลา:16:10:40 น.  

 
ขอบคุณตาเชย ที่แบ่งปันความรู้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ^^


โดย: อ้อย IP: 49.228.166.1 วันที่: 18 เมษายน 2565 เวลา:12:53:43 น.  

 
ขอบคุณมากครับ เพื่อมิให้ความรู้ทางว่านทั้งหลายหายไป


โดย: ต้อม IP: 124.120.254.124 วันที่: 15 พฤษภาคม 2565 เวลา:18:25:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

ตาเชย
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 86 คน [?]




คนชลบุรีโดยกำเนิด เป็นลูกชาวนา-ชาวสวน-ชาวไร่ ชีวิตจึงสัมผัสกับต้นไม้ใบหญ้ามาแต่เล็กแต่น้อย จบมัธยมจาก "ชลชาย" แล้วไปต่อที่ "บ้านสมเด็จ" สุดท้ายจบลงที่ "ประสานมิตร"

- ไปบวชด้วยความสมัครใจของตัวเองอยู่ 4 พรรษา ได้เรียนทั้งธรรมบาลี และภาษาขอม ศึกษาการทำผงพุทธคุณต่างๆ การลง-การเขียนยันต์ 108 และอาถรรย์เวทย์วิทยาเกือบทุกด้าน ในขณะเดียวกันก็เริ่มเรียนรู้เรื่องว่านและสมุนไพรอย่างจริงจังในช่วงนี้

- สึกออกมาแล้วสอบเข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมป่าไม้ ผ่านการอบรมในหลักสูตรการเพาะชำกล้าไม้ และเทคนิคการขยายพันธุ์พืช แล้วย้ายมาอยู่กรมอุทยานฯ ผ่านการอบรมการยังชีพในป่าชึ่งคลอบคลุมถึงการรู้จักพรรณไม้ที่ให้น้ำสามารถนำมาดื่มและใช้ได้ การรู้จักพรรณไม้ที่ใช้เป็นอาหาร และใช้เป็นยาได้ ในช่วงสุดท้ายของชีวิตราชการได้ไปช่วยงานปลูกสร้างสวนเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ไทยทุกชนิด-พืชสมุนไพรในโครงการตามพระราชดำริฯ จนเกษียณอายุราชการ

- เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปราม จึงต้องใช้ชีวิตอยู่ในดงในป่า อยู่กับต้นไม้มาตลอดเป็นเวลานานกว่า 30 ปี และยังใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดเปิดร้านจำหน่ายว่าน-สมุนไพร และพันธุ์ไม้ไทยแทบทุกชนิดมานานกว่า 20 ปี

- จึงเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของต้นไม้อยู่พอสมควร เป็นสมาชิกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทยประเภทตลอดชีพมาแต่ยุคแรกๆ เป็นสมาชิกสมาคมว่านแห่งประเทศไทยมาแต่ยุคเริ่มก่อตั้ง เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์และวิทยากรระดับผู้นำเผยแพร่สมุนไพรไทยในโครงการตามพระราชดำริฯ โดยเฉพาะความรู้ในเรื่องว่านต้องจัดอยู่อันดับต้นๆ ของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเลยทีเดียว


space
space
[Add ตาเชย's blog to your web]
space
space
space
space
space