คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
สิงหาคม 2564
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
28 สิงหาคม 2564
space
space
space

วรรณยุกต์ในภาษาไทย
  วรรณยุกต์ ในภาษาไทย  

         
วรรณยุกต์ คือ อะไร   วรรณยุกต์  คือ เสียงสูงต่ำในภาษาไทย
หรือ เราเรียกวรรณยุกต์อีกชื่อหนึ่งว่า  เสียงดนตรี 
เพราะมีเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ นั่นเอง ภาษาที่มีลักษณะเช่นนี้ ในโลกนี้มีเพียง
  2  ภาษาเท่านั้น   คือ ภาษาไทยและภาษาจีน 
เสียงสูงต่ำนี้ มีความสำคัญต่อความหมายมาก เพราะ เสียงสูงต่ำ ทำให้
ความหมายของคำ ๆ นั้น เปลี่ยนแปลงไปได้  ค่ะ
เช่น  ไข ไข่ ไข้   จะเห็นว่า 3 คำนี้  มีเสียงวรรณยุกต์ ต่างกัน
 ความหมายก็จะแตกต่างกันไป
  นี่คือ ความสำคัญของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย ค่ะ
         
ปัญหาที่เราพบเกี่ยวกับการใช้วรรณยุกต์ในภาษาไทย คือ การใช้รูป
วรรณยุกต์ผิด   ถ้าปัญหาในการสอบ ซึ่งจะถามเสียง
วรรณยุกต์ของคำที่กำหนดให้
ถ้าเป็นการกำหนดให้บอกเสียงวรรณยุกต์เป็นคำ ๆ ก็ไม่ยากนักสามารถ
ผันเสียงวรรณยุกต์ด้วยการผันเสียงเทียบกับอักษรกลาง
ซึ่งเป็นอักษรหมู่เดียวที่ผันได้ครบเสียง  กล่าวคือ  วรรณยุกต์ของภาษา
ไทยจะมี 4 รูป 5 เสียง  คือ  รูป  เอก  โท  ตรี  จัตวา (ก่า ก้าก๊ก ก๋า)
เสียง มี 5 เสียง คือ  เสียงสามัญ  เอก โท ตรี จัตวา  
       
การบอกเสียงวรรณยุกต์ตามแบบเก่าที่เราเคยเรียนมา คือ ใช้การเทียบ
เสียงจากอักษรกลางตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น 
ถ้าหากว่า  ข้อสอบที่มีตัวเลือก มีคำน้อย ๆ มาให้เราเลือก  เราก็คงจะ
สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ด้วยการเทียบเสียงจากอักษรกลางได้
ทันเวลาในการสอบ  แต่ถ้าตัวเลือก เป็นประโยค
ไม่ต่ำกว่า 5  คำ กว่าจะผันให้ครบทุกตัวเลือกจะเสียงเวลามาก ซึ่งถ้า
เป็นข้อสอบแข่งขัน  มีเวลาน้อยกว่าการสอบโดยทั่วไป 
ก็จะยิ่งต้องทำข้อสอบให้เร็วที่สุด  ถ้าจะมัวแต่ผันเสียงโดยการเทียบ
เสียงแบบเก่าที่เราเคยเรียนมา ก็คงทำข้อสอบ
ไม่ทันแน่นอน   ฉันเห็นปัญหาข้อนี้ตอนฉันติวข้อสอบให้นักเรียน  จึง
พยายามสังเกต  หาเทคนิคที่จะให้บอกเสียงวรรณยุกต์
โดยไม่ต้องไปเทียบเสียงกับอักษรกลาง  เช่น  อยากรู้ว่า   ไพร่  เป็น
เสียงวรรณยุกต์อะไร  ก็ต้อง เทียบกับอักษรกลางว่า
   ไป ไป่ ไป้   จึงจะได้เสียงเทียบ คือ ไพร่  กับ ไป้ จึงจะบอกได้ว่า
  ไพร่ นั้นเป็นเสียงวรรณยุกต์โท  ซึ่งทำให้เสียงเวลา
ในการเทียบเสียงมาก  

           ดังนั้น  ฉันจึงสร้างเทคนิคการบอกเสียงวรรณยุกต์โดยไม่ต้อง
เทียบเสียงจากอักษรกลาง  คือ ให้จำกฎที่ฉันคิดขึ้น
เพื่อใช้ในการบอกเสียงวรรณยุกต์โดยไม่ต้องเทียบเสียงจากอักษร
กลางที่เราเคยเรียนกันมาแต่เดิม ค่ะ คือ มองเห็น
คำนั้น ๆ เราก็สามารถบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้น ๆ ได้ ค่ะ 


  
บทเรียนสำเร็จรูป  เทคนิคการบอกเสียงวรรณยุกต์โดยไม่ต้องเทียบเสียงจากอักษรกลาง  ค่ะ 

 ฉันขอสรุปกฎเกณฑ์ในการรู้หรือบอกเสียงของวรรณยุกต์ของคำ โดย
ไม่ต้องเทียบเสียงจากอักษรกลาง ดังนี้ ค่ะ

1. ท่านผู้อ่านทุกคนต้องจำอักษรสามหมู่ หรือ ไตรยางศ์ ให้ได้ เพราะอักษรสามหมู่จะต้องนำมาใช้ในการสังเกตเสียงวรรณยุกต์
ของคำที่เราต้องการทราบว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์อะไร

อักษรกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ต ด บ ป อ
อักษรสูง มีทั้งหมด 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห
ส่วนอักษรต่ำ ท่านผู้อ่านไม่ต้องจำค่ะ เพราะอะไรคะ ก็เพราะว่า เมื่อจำ อักษรกลางและอักษรสูงได้หมดแล้ว ที่เหลือ
ก็จะเป็นอักษรต่ำทั้งหมด นั่นเอง
2. เหตุผลที่ต้องให้ท่านจำอักษรกลางและอักษรสูงให้ได้ เพราะว่า
หมู่อักษรสูงและอักษรกลาง จะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
กล่าวคือ เมื่อท่านผู้อ่านเห็นรูปวรรณยุกต์อยู่บนหัวของอักษรสูง
หรือกลางเป็นรูปวรรณยุกต์อะไร ก็จะมีเสียงวรรณยุกต์
ตามรูปนั้น เช่น เมื่อเห็นคำว่า "จ่าย" ท่านก็บอกได้ว่า คำว่า "จ่าย"
มีเสียงวรรณยุกต์ เอก เพราะว่า "จ" เป็นอักษรกลาง
ตามกฎ จะมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ ตรงกับรูป หรือ ตัวอย่างคำว่า "ไข้"
ท่านผู้อ่านก็บอกได้ว่า คำว่า "ไข้" 
เป็นเสียงวรรณยุกต์ "โท" เพราะว่า ตามกฎ "ข" เป็นอักษรสูง มีรูปและ
เสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
ท่านคงเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า เรื่องของวรรณยุกต์ ถ้าเรารู้ถึงหล้กการ
สังเกตตามกฎที่กล่าวมาแล้ว มันไม่ใช่เรื่องยาก
สำหรับเราเลยใช่ไหมคะ
ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า เอ้า แล้วอักษรต่ำล่ะ รูปและเสียงวรรณยุกต์เป็นอย่างไร ไม่เห็นพูดถึงเลย ไม่ต้องสงสัยค่ะ
กำลังจะให้เป็นกฎข้อที่ 3 นะคะ
3. อักษรต่ำ คำเป็น เป็นอักษรหมู่เดียวที่รูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรง
กัน ยกเว้นอักษรต่ำคำตาย ที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่ตรงตามรูป
และไม่ตรงตามรูปวรรณยุกต์ที่ปรากฏให้เห็น อธิบายให้ชัดเจน ดังนี้

ถ้าเป็นอักษรต่ำคำเป็น เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์เอก เสียงของคำนั้นจะเป็น
เสียงวรรณยุกต์โท เช่น คำว่า "ค่า" จะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท
เพราะว่า "ค" เป็นอักษรต่ำ คำเป็น เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์เอกบนหัว "ค"
จะมีเสียงวรรณยุกต์โท   แต่เมื่อเห็น
รูปวรรณยุกต์โท บนหัวของอักษรต่ำ เสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นจะเป็น
เสียง ตรี ตัวอย่างเช่นคำว่า "ท้าย" จะมีเสียงวรรณยุกต์ ตรี
เพราะว่า "ท" เป็นอักษรต่ำ ตามกฎ  เมื่อเห็นรูปวรรณยุกต์โท เสียง
วรรณยุกต์จะเป็นเสียงตรี

สำหรับอักษรต่ำคำตาย จะมีทั้งรูปวรรณยุกต์ตรงกับเสียงและไม่ตรงกับ
เสียง คือ เสียงจัตวาจะตรงกับรูปจัตวาเท่านั้น เช่น คำว่า
ม๋ด โค๋ก เป็นต้น จะมีเสียง จัตวาเมื่อมีรูปวรรณยุกต์จัตวากำกับอยู่ แต่
คำเหล่านั้น มักไม่ค่อยใช้ในภาษาเขียน

ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับ คำเป็น คำตาย ซึ่งจะต้องใช้เกี่ยวข้องกับ
เรื่องของวรรณยุกต์ คือ คำเป็น กับคำตาย
จะผันเสียงวรรณยุกต์ได้ไม่เท่ากัน

ลักษณะที่เราจะสังเกตได้ว่าเป็นคำเป็น คือ
1.ต้องประสมกับสระเสียงยาว เช่น อีกา รูปู โอ่อ่า จำไม่ ใต้ เอา เป็นต้น
2.ต้องไม่มีตัวสะกดอยู่ในแม่ กก กบ กด (แม่ กบด) เช่น จาน มัมมี่ เวร
กัน งง เฉย เทอญ เป็นต้น
ลักษณะที่เราจะสังเกตได้ว่าเป็นคำตาย คือ
1.ต้องประสมกับสระเสียงสั้น เช่น กะทิ โอ๊ะ เลาะ ทะลุ
2.ต้องมีตัวสะกดในแม่ กก กบ กด ( แม่กบด)เช่น จับ กวาด ฉก ลบ

นอกจากนี้ ยังมีอีกสองคำที่ต้องทำความเข้าใจ นั่นคือ คำว่า คำตาย
เสียงสั้น กับคำตายเสียงยาว เพราะจะเกี่ยวข้องกับการผันเสียงวรรณยุกต์ในอักษรต่ำคำตาย ในเรื่องคำพื้นเสียงด้วย
1.คำตายเสียงสั้น หมายถึง คำที่เป็นอักษรต่ำคำตายที่ประสมกับสระ
เสียงสั้น เช่น งก รถ ซบ เป็นต้น
2.คำตายเสียงยาว หมายถึง คำที่เป็นอักษรต่ำคำตายที่ประสมกับสระ
เสียงยาว เช่น โงก ชาติ ซีก เป็นต้น

นักเรียนจะเห็นว่า กฎข้อ 1 ,2 และ 3 ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการบอกเสียง
วรรณยุกต์โดยมี รูปวรรณยุกต์ให้สังเกตได้
แต่คำในภาษาไทย ยังมีอีกพวกหนึ่งที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับไว้ให้เรา
ใช้สังเกตตามกฎที่ฉันให้ไว้ คำพวกนี้ จะเป็นคำพื้นเสียง
ของอักษรทั้ง 3 หมู่ ซึ่งจะมีคำพื้นเสียงทั้งหมด 7 เสียง ที่ท่านต้อง
จำให้ได้ว่า
อักษรแต่ละหมู่ทั้งคำเป็นและคำตาย
จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงใดบ้าง ดังนี้


4. คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ให้สังเกต ต้องจำเสียงวรรณยุกต์ของคำพื้น
เสียงของอักษรทั้งสามหมู่ให้ได้ ดังนี้

อักษรกลาง
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง เช่น
กาน ก่าน ก้าน ก๊าน ก๋าน
คำตาย มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง เช่น
ปัด ปั้ด ปั๊ด ปั๋ด
อักษรสูง
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
ขัน ขั่น ขั้น
คำตาย มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันวรรณยุกต์ได้ 2 เสียง เช่น
ขด ข้ด
อักษรต่ำ
คำเป็น มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
คาน ค่าน ค้าน
คำตายเสียงสั้น มีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
โคก โค้ก โค๋ก
คำตายเสียงยาว มีพื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันวรรณยุกต์ได้ 3 เสียง เช่น
มด ม่ด ม๋ด

สรุปได้ว่า ท่านผู้อ่านต้องจำคำพื้นเสียงของอักษรสามหมู่นี้ให้ได้ เพื่อ
ที่จะบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
ให้สังเกต เช่น เมื่อเห็นคำว่า " ปด" 
ท่านก็บอกได้ว่า เป็นเสียงเอก เพราะว่า "ป" เป็นอักษรกลาง คำตาย มี
พื้นเสียงเป็นเสียง เอก หรือเห็นคำว่า "สอย"
ท่านบอกได้ทันทีว่า เป็นเสียง จัตวา เพราะว่า "ส" เป็นอักษรสูงคำเป็น
มีพื้นเสียงเป็นเสียง จัตวา เป็นต้น

นอกจากนี้ ฉันขอให้ข้อสังเกตในเรื่องการใช้วรรณยุกต์ไว้สังเกต เพื่อ
ไม่ให้เขียนหนังสือผิด ดังนี้
5. อักษรกลาง คำเป็น หมู่เดียวเท่านั้นที่สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้
ครบ 5 เสียง
6.อักษรสูงและอักษรต่ำ ไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรีใช้ ถ้านักเรียนเห็นมีรูป
วรรณยุกต์ตรีอยู่บนหัวของอักษรทั้งสองหมู่นี้
แสดงว่าเขียนผิด ค่ะ ข้อนี้ไว้ใช้สังเกตข้อสอบที่ให้เลือกข้อใดใช้คำผิด
หรือ ข้อใดใช้คำถูกต้อง

ฉันหวังว่า กฎเหล่านี้ คงจะช่วยให้ท่านผูอ่านบอกเสียงวรรณยุกต์โดย
ไม่ต้องนับนิ้วในการผันวรรณยุกต์หรือเทียบเสียงวรรณยุกต์
จากอักษรกลางอีกต่อไปแล้วนะคะ    ลองทำข้อสอบข้อต่อไปนี้  สัก
ข้อ นะคะ  โดยใช้เทคนิคที่ฉันให้ไว้  ค่ะ
ใหม่ ๆ อาจจะลำบาก แต่ถ้าคล่องกฎนี้แล้ว  ท่านก็จะไม่ต้องนำคำนั้น ๆ
ไปเทียบเสียงกับอักษรกลาง
เห็นคำนั้น ๆ แล้ว ก็สามารถบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นได้ทันที ค่ะ 
     ลองทำดูนะคะ อิอิ 

ประโยคใดต่อไปนี้ มีเสียงวรรณยุกต์ตรี 2 คำ 

ก. เกิดเป็นไทยแล้วใจต้องสู้                  ข. ศัตรูหน้าไหนไม่เกรงกริ่ง  
ค. หากมาช่วงชิงตายเสียเถิด           ง. ถิ่นไทยเรารู้เรารักยิ่ง 

อย่าเพิ่งแอบดูข้อเฉลย นะคะ 

คำเฉลย  
ก. เอก สามัญ สามัญ ตรี สามัญ โท โท     เหตุผล  เกิด เป็น เสียงเอก
เพราะ ก. เป็นอักษรกลาง คำตาย  เป็น  ป เป็นอักษรกลาง คำเป็น
เสียงสามัญ  
ไทย  สามัญ เพราะ ท เป็นอักษรต่ำ คำเป็น  เสียงสามัญ  แล้ว  เสียง
ตรี เพราะ ล เป็นอักษรต่ำ เห็น รูปโท เสียงเป็นตรี 
 ใจ  สามัญ เพราะ  จ อักษรกลางคำเป็น  เสียง สามัญ  ต้อง  เสียงโท
เพราะ ต เป็นอักษรกลาง รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน 
สู้ เสียงโท เพราะ ส  เป็นอักษรสูง รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน
   
ข. เอก สามัญ โท จัตวา โท สามัญ  เอก    เหตุผล  ศัต  เสียงเอก  ศ
เป็นอักษรสูง คำตาย เสียงเอก  ตรู สามัญ ต
เป็นอักษรกลาง คำเป็น  เสียงสามัญ  หน้า  เสียงโท ห เป็นอักษรสูง
  รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน    ไหน เสียงจัตวา
  เพราะ ห อักษรสูง  คำเป็น  เสียงจัตวา  ไม่  เสียงโท  ม  อักษรต่ำ 
รูปเอก เสียงโท  เกรง  เสียงสามัญ 
เพราะ ก เป็นอักษรกลาง คำเป็น เสียง สามัญ กริ่ง  เสียงเอก เพราะ ก
เป็นอักษรกลาง  รูปและเสียงตรงกัน 

ค. เอก สามัญ โท สามัญ สามัญ จัตวา เอก  เหตุผล  หาก เป็น เอก
เพราะ ห เป็นอักษรสูง คำตาย เสียงเอก  มา  เสียงสามัญ
เพราะ  ม. อักษรต่ำ คำเป็น เสียงสามัญ ช่วง  เสียงโท  เพราะ ช เป็น
อักษรต่ำเป็นรูปเอก เสียงเป็น โท  ชิง  สามัญ 
ช เป็นอักษรต่ำ คำเป็น เสียงสามัญ ตาย  สามัญ  เพราะ ต เป็นอักษร
กลาง คำเป็น สามัญ เสีย  เสียงจัตวา  เพราะ ส
เป็นอักษรสูง คำเป็น เสียงจัตวา  เถิด  เสียงเอก  เพราะ ถ เป็นอักษรสูง
คำตาย  เสียงเอก 
     
ง. เอก สามัญ  สามัญ ตรี สามัญ  ตรี เอก  เหตุผล  ถิ่น เสียงเอกเพราะ
ถ เป็นอักษรสูง  รูปและเสียงตรงกัน  ไทย  เสียงสามัญ 
เพราะ ท เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น เสียงสามัญ เรา  เสียงสามัญ เพราะ ร
เป็นอักษรต่ำคำเป็น เสียงสามัญ  รู้  ตรี เพราะ
ร เป็นอักษรต่ำ รูปโท เสียงจะเป็นตรี  เรา  (อธิบายแล้ว)  รัก เสียงตรี 
เพราะ  ร เป็นอักษรต่ำ คำตายเสียงสั้น เสียงเป็นตรี 
ยิ่ง  เสียงโท  เพราะ ย เป็นอักษรต่ำ  เห็นรูปโทเสียงเป็นตรี  

 ฉันได้ให้เหตุผลของคำแต่ละคำ ซึ่งเป็นไปตามกฎที่ฉันบอกค่ะ
เพื่อน ๆ ชาวบล็อก อาจจะนำไปใช้สอนลูกหลานได้
หรือ อาจจะเป็นความรู้ที่ทำให้เราใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง มากยิ่งขึ้น ค่ะ
   ใครที่เลือก ข้อ ง. เป็นข้อที่ถูกต้องค่ะ  เพราะมีเสียงตรี สองคำ
ตามโจทย์ต้องการ ค่ะ  คือ คำว่า  รู้  และ คำว่า รัก  

สวัสดี ค่ะ 

 



Create Date : 28 สิงหาคม 2564
Last Update : 28 สิงหาคม 2564 22:28:46 น. 36 comments
Counter : 3806 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtuk-tuk@korat, คุณtoor36, คุณกะว่าก๋า, คุณkae+aoe, คุณดาวริมทะเล, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณSweet_pills, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณสองแผ่นดิน, คุณnewyorknurse, คุณ**mp5**, คุณkatoy, คุณชีริว, คุณคนผ่านทางมาเจอ


 
โอ๊ยมึน ไล่เสียงอย่างเดิมดีแล้วค่ะอาจารย์
แต่งหนังสือด้วยเก่งจังค่ะ ไก่จิกเด็กตายเฎ็กฏายบนปากโอ่ง ค่ะ



โดย: หอมกร วันที่: 29 สิงหาคม 2564 เวลา:6:07:37 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์
เห็นเรื่องวรรณยุกต์ ที่เข้ามาในหัวคือ
ไก่ จน ดิน บิน วน ตำ บล ป่า อ้อ
ขวดของฉันถูกเผาฝังเสียหาย
ลืม ๆ ไปมั่งไม่ทราบว่าใช่หรือเปล่าค่ะ

เสียงวรรณยุกต์ในถาษาเหนือ มีมากกว่า 5 เสียงค่ะ
บางเสียงอยู่ระหว่าง โทและตรี
เช่น ดอกคำบู้๊จู้๊ คือ ดอกดาวเรือง

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 สิงหาคม 2564 เวลา:15:22:12 น.  

 
ผมค่อนข้างข้องใจเรื่อง นะคะ กับ นะค่ะ มากกว่า ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงใช้ผิดกันเยอะ ใช้ผิดความหมายเปลี่ยนเยอะมากเลยด้วย เช่น

ขอให้หายนะคะ กับ ขอให้หายนะค่ะ ความหมายต่างกันแบบเห็นได้ชัดเลย


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 29 สิงหาคม 2564 เวลา:15:31:39 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์

มีคนเคยบอกว่าภาษาที่เหมือนเสียงดนตรีมากที่สุดในโลก
มีภาษาไทยกับภาษาฝรั่งเศส
คือมี วรรณยุกต์ที่ผันเสียงได้หลายระดับมาก

ภาษาจีนก็เป็นหนึ่งในภาษาที่ผันเสียงได้เยอะมากที่สุดด้วยนะครับ
เป็นความรู้ใหม่ของผมเลยครับ

จำได้ว่าเคยเรียนสมัยเป็นนักเรียน
ตอนนี้ลืมหมดแล้วครับ 555
ข้อสอบครั้งนี้ผมเลยตอบผิดครับ (ผมเลือกข้อ ข.) 555




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 สิงหาคม 2564 เวลา:18:31:29 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

อิสระ
อาจหมายถึงการต้องเป็นคนโดดเดี่ยวเดียวดาย
อย่างถึงที่สุด
ไม่มีใครผูกมัด
ไม่มีใครให้รัก
และไม่ได้รักใคร

อิสระในบทกวีนี้
ผมหมายถึงการปล่อยวางทุกสิ่ง
เพือ่หลุดพ้นจาการเวียนว่ายตายเกิดครับ
คนเราเกิดลำพัง ตายลำพัง
ในท้ายที่สุดของชีวิต
จึงเป็นความโดดเดี่ยวอย่างถึงที่สุด
รวมทั้งความรักก็ต้องปล่อยวางการยึดติดด้วย

แต่คำที่ผมเลือกใช้
อาจทำให้ดูเหมือนจะเป็นคนที่ไม่ผูกมัดกับใคร
ไม่กล้ารักใคร ไม่กล้าให้ใครมารักก็ได้ครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 สิงหาคม 2564 เวลา:22:32:06 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 สิงหาคม 2564 เวลา:6:54:17 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 30 สิงหาคม 2564 เวลา:8:25:36 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

ชอบการตอบคอมเม้นท์ของอาจารย์ค่ะ
คนที่ทำบล็อกส่วนใหญ่ นอกเหนือจากการบันทึกเรื่องราวของตัวเองแล้ว
ก็อยากให้คนอ่าน และพูดคุยเกี่ยวกับบล็อกของเรา ถูกไหมคะ
และเมื่อมีการซักถามเรื่องราวในบล็อก จขบ.ก็จะต้องมาตอบให้ความกระจ่าง นอกเหนือจากการทักทายปกติ เป็นครั้งแรกในการเข้าชมบล็อกนั้นๆ นะคะ แต่ละคนจะแบบไหนก็ไม่ว่ากันค่ะ ไม่ได้มีกฎอะไรตายตัว เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ แต่บางบล็อกเราไม่มีความรู้ หรือเราอาจไม่ชอบ เราก็จะคอมเม้นท์เลี่ยงๆไปนะคะ



อาจารย์เป็นอาจารย์สอนภาษาไทยหรือคะ ภาษาไทยนู๋คิดว่าเป็นภาษาที่ยากมาก อาจารย์ว่าจริงไหมคะ เพราะคำๆเดียวกัน บางเวลาก็ความหมายต่างกันได้ ในบางประโยค ในภาวะอารมณ์ของคนพูด
เห็นฝรั้งหลายคนพูดภาษาไทยได้ดี นู๋ยังชื่นชมเขาเลยนะคะ

โหนู๋ลืมไปหมดแล้วค่ะ อักษรสูง-กลาง-ต่ำ คำเป็น-คำตาย คืนครูไปนานแล้วนะคะ วันนี้มาอ่านใหม่ เหมือนมาเรียนใหม่เลยค่ะ 555

ขอบคุณที่อาจารย์ยังจำนู๋ได้นะคะ และขอบคุณสำหรับโหวต กำลังใจ ตอนนี้นู๋พอเดินได้ดีขึ้นแล้วค่ะ แต่ยังต้องอาศัยไม้ค้ำช่วยอยู่ค่ะ



โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 30 สิงหาคม 2564 เวลา:15:45:20 น.  

 
สวัสดีครับอาจาร์

ทีแรกคิดว่าเรื่องวรรยุคไม่ยาก จัดมาเลยครับอาจารย์ จะตอบให้ถูก
พออ่านมาถึงท่าไม้ตาย คือคำถาม.......สาบานว่านั่งผันพร้อมนับนิ้วอยู่ 4 รอบ ไม่รอดครับ อาจารย์อาจจะบอกว่า ไหนละคำตอบ.....ผมหาคำตอบไม่ได้ครับ 55555 ในหัวผมคือ ไม่มีข้อไหนถูกเลย ถ้าเป็นข้อสอบสมัยประถม ผมจะคิดว่าคุณครูออกโจทย์ผิดแหง คิดเข้าข้างตัวเองไปอีก

แต่จริงๆ คือ น่าจะเป็นที่ผมเองที่เรียนไม่รู้เรื่อง ผันวรรณยุคไม่ถูก เสียงตรีอยู่ไหนก็ไม่รู้ รับได้แค่ 1 เสียงทั้งนั้นเลยครับ

เมื่อก่อนคำเป็นคำตายนี่พอได้ครับ จำได้ว่าแม่เป็นคนเอาหนังสือเรียนไปอ่าน แล้วมาสอนผมซ้ำอีกที เพราะเรียนในห้องไม่เข้าใจครับ
แต่ตอนนี้ส่งคืนอาจารย์ไปหมดแล้ว ได้มา remind กับอาจารย์นี่แหละครับ


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 30 สิงหาคม 2564 เวลา:16:35:16 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

กรุงเทพต้องเผื่อเวลาเดินทางเยอะเลยนะครับอาจารย์
ขนาดอาจารย์ออกบ้านตั้งแต่เช้า กว่าจะตรวจ กว่าจะฟังผล
เสียเวลาไปเกือบครึ่งวัน

ตอนผมไปกรุงเทพกลัวที่สุดก็รถติดนี่ล่ะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 สิงหาคม 2564 เวลา:22:39:34 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:6:28:24 น.  

 
จำได้ว่าเคยเรียนตอนเด็ก ตอนนี้ส่งคืนคุณครูหมดเลยค่ะ แหะ ๆ


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:12:56:39 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

พอมีเวลาก็จะแวะมาทักทาย และขอบคุณสำหรับคำอธิบายนะคะ
จะเรียกชือไหนก็ได้ค่ะ ตามสะดวกค่ะ ใช้ทั้งสองชื่อเลยค่ะ

ไว้ว่างจะมาทักทายใหม่นะคะ



โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:13:45:25 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ แต่หากใครถามเรื่องไวยกรณ์จริงๆ
ทราบเลยค่ะว่าควรปรึกษาอาจารย์สอนภาษาไทยเท่านั้น

ต๋าจำได้แค่ กก กด กบ กง กน กม เกย เกอว
ตอนนี้ให้คำมาสักคำยังไม่แน่ใจค่ะอาจารย์ว่าจะแยกได้ตรงกลุ่มหรือเปล่า

อักษรกลางและอักษรสูงรวม 20 ตัว
รูปวรรณยุกต์อย่างไรเสียงวรรณยุกต์ก็เป็นไปตามนั้น
อย่างนั้นควรจำ 20 ตัวนี้ให้ได้ก่อนนะคะ เพราะที่เหลือคืออักษรต่ำ

คำเป็นกับคำตาย คำตายยังแบ่งเป็นเสียงสั้นกับเสียงยาว
ที่เกิดจากการประสมสระเสียงสั้นและเสียงยาว
ทั้งสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หากเข้าถึงและจดจำได้
การเขียนรวมถึงการอ่านภาษาไทย ภาษาประจำชาติเราคงถูกต้อง
เป็นที่น่าภูมิใจของตัวเองนะคะ

อ่านจบเจอคำถามรู้ตัวเลยค่ะอาจารย์ว่าตอบทันทีไม่ได้
หากต้องทำข้อสอบภาษาไทยตอนนี้เด็กๆคงทำเสร็จก่อนแน่นอนค่ะ

ขอบคุณอาจารย์สำหรับความรู้นะคะ
เมื่อเช้าต๋าอ่านได้ครึ่งนึงแล้วมีเรื่องต้องทำเลยมาอ่านต่อ
ขอบคุณอาจารย์สำหรับกำลังใจค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:14:38:56 น.  

 
ไข่ 3 ฟองค่ะอาจารย์ตอนแรกหยิบมาถ่ายรูป 2 ฟอง พอตอกใส่ชามแล้วคิดว่าไม่พอเลยไปหยิบมาเพิ่มค่ะ แหะๆ


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:15:14:46 น.  

 
จากบล๊อก

พอดีหันไปเจอพี่หมิงที่นั่งตรงข้ามเลยนึกจะเขียนเรื่องว๊ากเกอร์นี่แหละครับอาจารย์ ว๊ากเกอร์ ม. ผม ไม่โหดครับ เพราะเคลมว่า "เสรีภาพทุกตารางนิ้ว" สั่งให้น้องทำนั่นทำนี่ไม่ได้ ทำได้แค่พูดให้คิดเองว่าควรทำอะไรไม่ทำอะไร อย่างห้องเชียร์วิศวะ มีรางวัลในการเข้าห้องเชียร์ครบคือ "เกียร์" ที่เด็กวิศวะทุกคนต้องการครับ ทุกคนเลยมาเข้าห้องเชียร์

รับน้องกันถึงตายนี่ผมไม่เข้าใจเลยว่า เป็นแค่รุ่นพี่มีสิทธิ์อะไรมาทำกับคนอื่นแบบนั้น เพราะก้าวออกจากที่เรียน รุ่นพี่ก็แค่คนคนหนึ่ง อยากให้เลิกๆ วัฒนธรรมตะคอก ด่าทอ สั่งให้ทำอะไรประหลาดๆ ซักทีครับ

ผมชอบอ่านครับอาจารย์ เหมือนเป็นการทบทวนความรู้สมัยโน้นนนน ด้วยครับ และรู้ว่า....ลืมไปหมดแล้วครับ 555555

ไม่ได้เบื่อกับอาจารย์ 5555 ผมนิ้วลั่นทำผิดพิมถูกเอง เป็นปกติ แล้วก็ยินดีรับคำแนะนำอาจารย์เลยครับ เพราะที่ผิดนี่ก็ไม่รู้ตัวเลยครับว่าพิมอะไรไป....อุ่ย.....พิมพ์ จะพยายามทำให้ได้ครับอาจารย์ ^^


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:15:47:58 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

กรุงเทพฝนตกหนักหลายพื้นที่
น้องสาวผมอยู่แถวฝั่งธนฯ
บอกว่าน้ำท่วมเอ่อเหมือนกันครับ

ความโลภของนายตำรวจคนนี้
ไม่เพียงแต่เรื่องฆ่าผู้ต้องหา
แต่ผมว่าน่าจะสืบต้นด้วยว่า
รถจำนวนมากได้มายังไง
บ้านหลังใหญ่ๆได้มายังไง
ลำพังเงินเดือนข้าราชการ
ไม่น่าจะครอบครองทรัพย์สินมากมายขนาดนี้ได้เลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 สิงหาคม 2564 เวลา:19:43:33 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กันยายน 2564 เวลา:6:09:29 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์มากนะคะสำหรับคอมเมนท์ที่ขณะอ่านทำให้ใจยิ้มไปด้วยค่ะ

ต๋ามีหลานสาวคนเดียว เป็นป้าต๋าแล้วค่ะอาจารย์
หากนับญาติทางฝั่งสามีด้วย ต๋าก็เป็นทั้งน้า อา ย่าและยาย
หลานๆอยู่กับพ่อแม่เค้า ต๋าไม่มีลูกก็ได้แต่เฝ้าดูพัฒนาการของหลานๆค่ะ

บทเรียนสำเร็จรูปที่อาจารย์เขียนทำให้เด็กๆที่ได้ใช้ได้ประโยชน์
ซึ่งประโยชน์นี้สามารถขยายต่อได้ในวงกว้างและอยู่คู่สถานศึกษาไปอีกนาน
น่าภูมิใจกับอาจารย์อย่างมากค่ะ

อาจารย์มีความสุขสดชื่นมากๆตลอดวันนี้นะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 1 กันยายน 2564 เวลา:10:59:44 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ในงานเขียนของผม
จิต คือ ความคิด
ใจ คือ ความรู้สึก
อันนี้ผมเรียบเรียงมาจากคำสอนธรรมะที่อาแปะเคยสอนผมไว้น่ะครับ

งานทุกชิ้นที่เขียน
ก็จะเขียนในความหมายนี้หมดเลย

ขอบคุณคำอธิบายของอาจารย์ด้วยครับ
ผมได้ความรู้ใหม่เลยว่า
จิต เป็น ภาษาบาลี
และ ใจ เป็นคำไทยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กันยายน 2564 เวลา:11:02:23 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กันยายน 2564 เวลา:6:48:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

มีคำสอนนึงที่ผมชอบมากครับอาจารย์
เขาบอกว่าบางเรื่องในชีวิตต้องใช้ความคิด (สมอง) แก้ปัญหา
บางเรื่องต้องใช้ความรู้สึก (หัวใจ) แก้ปัญหา
แต่ถ้าคนไหนเลือกวิธีผิด
ปัญหาที่ต้องใช้สมอง ดันไปใช้หัวใจแก้ไข
ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้เลยครับ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กันยายน 2564 เวลา:11:44:32 น.  

 
ปลื้มใจ ภูมิใจ อิ่มเอมใจไปกับอาจารย์อย่างมากค่ะ
กับเรื่องราวดีๆในเวลาห้าวันที่ช่วยให้คนคนหนึ่ง
สอบเข้าเรียนต่อในสิ่งที่ต้องการได้สำเร็จ
และตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตให้ไปในเส้นทางอาชีพที่เลือกนะคะ

ความเป็นคุณครูผู้ให้แม้คนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนมาขอร้อง
อาจารย์ยังสละเวลาเตรียมการสอนและทุ่มเทเวลาที่มี
เวลาอาหารกลางวันยังต้องลดทอน น่าประทับใจมากค่ะอาจารย์
อาจารย์ฟังข่าวดีตอนนั้นคงหายเหนื่อยนะคะ

บทเรียนที่อาจารย์เขียนและแจกจ่าย
ต๋าขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์ด้วยค่ะ

ต๋าพิมพ์ทางมือถือ ไม่ค่อยสะดวกเท่าใช้คอมฯ
ดีใจที่ได้อ่านเรื่องราวดีๆนี้ก่อนนอนค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ
อาจารย์นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 3 กันยายน 2564 เวลา:0:45:08 น.  

 

สวัสดีค่ะอจ.

มาอ่านเรื่องวรรณยุกตื ด้วยค่ะ
>>>>

อจ. อธิบายเรื่อง คำพูด กิน ทาน รับประทาน
เหมาะสมในโอกาสใดบ้างค่ะ
มีคนว่าทาน ไม่ได้ ต้องรับประทาน
หรือใช้ กินดีกว่า...ถ้าจะใช้คำว่าทาน เพราะมันผิด?


โดย: newyorknurse วันที่: 3 กันยายน 2564 เวลา:5:10:03 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กันยายน 2564 เวลา:6:36:31 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 3 กันยายน 2564 เวลา:9:42:55 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เมื่อวานผมก็คุยกับลูกชายเรื่องศาสนาครับ
ผมอธิบายลูกว่าศาสนาพุทธนั้นมีความเป็นวิทยาศาสตร์
คือพูดด้วยเหตุและผล
เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี
มีแล้วก็ดับไป

เพียงแต่ในคำสอนของทุกศาสนา
ถ้าตัดอิทธิปาฏิหาริย์ออกไป
แล้วดูหลักการปฏิบัติตน
ก็จะพบว่า
ทั้งสามศาสนาหลักของโลก
มีการสอนให้ทำความดี หลีกเลี่ยงความชั่วทั้งสิ้นเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กันยายน 2564 เวลา:19:36:59 น.  

 

สวัสดีค่ะอจ.

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายเรืองการใช้คำ กิน ทาน รับประทานค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 4 กันยายน 2564 เวลา:3:48:51 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กันยายน 2564 เวลา:6:37:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

คนมีเสน่ห์กับคนเจ้าชู้
ผมว่าใกล้เคียงกันมากๆเลยครับอาจารย์ 555

คนเจ้าชู้ส่วนใหญ่
สปอร์ต ใจถึง พูดเก่ง และแต่งตัวดีนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กันยายน 2564 เวลา:17:29:10 น.  

 
บางคนสอนยังไงก็ไม่เข้าใจการผันวรรณยุกต์เสียทีนะครับ เลยใช้ค่ะ-คะ ผิดตลอดเลย
ภาษาไทยยากตรงเสียงสูงเสียงกลางเสียงต่ำคำเป็นคำตาย ผันออกมาเสียงต่างกันอีก
อย่างไล่ 5 เสียง --> คาว ข่าว ข้าว ค้าว ขาว ต่างชาติมาอ่านคงงงกับวรรณยุกต์เรา
ยิ่งคำตายบางเสียงเขียนไม่ได้อีก

โจทย์หนนี้ตอบถูกนะครับ ง.
ตั้งแต่เด็กไม่ว่าเสียงมันจะประหลาดขนาดไหนผมก็จะฝืนผันมันให้ครบ 5 เสียงนั่นแหละ
คด(ฝืนสามัญ) ขด ค่ด คด ค๋ด~


โดย: ชีริว วันที่: 4 กันยายน 2564 เวลา:21:15:24 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กันยายน 2564 เวลา:7:14:17 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เดือนนี้ผมมีนัดตรวจร่างกาย
คิดว่าจะเลื่อนไปก่อนครับ
จนกว่าโควิดจะสถานการณ์ดีขึ้น

ตอนนี้ญาติฝ่ายแม่และพ่อของผม
ติดโควิดกันหมดเลยครับ
ที่กรุงเทพติด 7-8 คน
ที่ชลบุรีก็ติด 5-6 คนทั้งบ้านเช่นกัน

เชียงใหม่ก็ยังมีคนติดเยอะอยู่ครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กันยายน 2564 เวลา:18:28:31 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำผิดครับอาจารย์ ไว้คลายล็อคดาวน์แล้วน่าพาเพื่อนๆ และลูกศิษย์มาเที่ยวแถบนี้นะครับ
ใกล้กันก็มีเมืองโบราณศรีมโหสถ มีทั้งศรีมหาโพธิ์ต้นแรกที่นำมาจากอินเดียเมืื่อ 2,000 ปีก่อน และสระมรกตที่มีพระพุทธบาทชิ้นแรกในประเทศไทยด้วย


โดย: ชีริว วันที่: 5 กันยายน 2564 เวลา:23:01:30 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์สุวิมล..

ตามมาอ่านด้วยคะ..

มีประโยชน์มากคะ..



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 6 กันยายน 2564 เวลา:18:51:24 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำอวยพรครับอาจารย์

วันนี้ผมไม่ได้ฉลองหรือทำอะไรเป็นพิเศษ
ที่บ้านก็รู้ครับ ว่าผมไม่ได้จัดงานอะไรเลยครับ
มาดามถามว่าจะเอาเค้กมาเป่ารึเปล่า
เธอถามเล่นๆครับ เพราะรู้ว่าผมไม่เคยจัดงานวันเกิดเลย 555

สิ่งที่ผมทำ คือ ทำทุกอย่างเป็นปกติ
แต่จะนั่งเขียนบันทึกถึงตัวเอง
ซึ่งวันนี้ก็เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

2800 ในสมัยนั้น ก็พอมีค่าอยู่ครับ
ผมเก็บเงินจากเงินแต๊ะเอีย
ได้เงินพอก็ไปซือ้เลยล่ะครับ

พ่อแม่ผมก็พูดจีนได้
ตอนเด็กแม่เคยสอนเป็นคำ ๆ
แต่ผมเป็นด็กไม่มีทักษะเรื่องภาษาต่างประเทศ
เลยไม่ได้เรียนอย่างจริงจังสักภาษา
ได้แต่มาเสียดายตอนโตนี่ล่ะครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กันยายน 2564 เวลา:20:22:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space