เทคโนโลยีพลังงานขยะชุมชน สู่การจัดการzero waste management

ปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีกำจัดขยะที่สามารถแปลงขยะเป็นพลังงานทดแทน และใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่1.เทคโนโลยีการฝังกลบ และระบบผลิตก๊าชชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas to Energy) 2.เทคโนโลยีเตาเผาขยะ(Incineration) 3.เทคโนโลยีการผลิตก๊าชเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน (Municipal Solid Waste Gasification: MSW  Gasification) 4.เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน(Anaerobic Digestion) 5.เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะ 6.(Refuse Derived Fuel : RDF) 7.เทคโนโลยีพลาสมาอาร์ก (Plasma Arc) 8.เทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง

รูปแบบการจัดการขยะชุมชนให้เข้าสู่หลักการ zero waste และ Waste to Energy ที่เรี่ยบง่ายและลงทุนไม่สูงมาก คนไทยสมารถบริหารจัดการได้เองคือการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากขยะหรือRDF...การจัดการขยะนั้น นับวันจะมีปัญหายุ่งยากมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดปริมาณของเหลือทิ้งเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองและชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบกับลักษณะหรือองค์ประกอบของขยะ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญ และลักษณะวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอย โดยผ่านกระบวนการจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติของขยะมูลฝอยเพื่อทำให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขยะที่ไร้ควัน (Refuse Derived Fuel, RDF) เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไปโดยกระบวนการผลิตดังกล่าวไม่มีน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ...เชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นรูปแบบของการจัดการขยะ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงวิธีหนึ่ง โดยการปรับปรุงและแปลงสภาพของขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่มีคุณสมบัติในด้านค่าความร้อน (Heating Value)ความชื้น ขนาด และความหนาแน่น เหมาะสมในการเป็นเชื้อเพลิงป้อนหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน และมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอ...เอื้ออาทรต่อสังคมดังนี้ 1.ลดปัญหาขยะตกค้าง ที่ส่งผลให้เกิดมลภาวะต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 2.รับซื้อวัสดุ Recycle จากชุมชนในราคาสูง2.จ้างงานแรงงานท้องถิ่น เพื่อกระจายรายได้3.ชุมชนจะได้รับประโยชน์จากกาษีโรงเรือน และภาษีที่ดิน


การเปรี่ยบเที่ยบ co2 emissionจากเชื้อเพลิงต่างๆ

ชนิด                         heating value                   co2 emission/ton

ถ่านหิน coal              25GJ/Mg                             2.41

เชื้อเพลิงRDF            14-20GJ/Mg                         0.64


การบริหารจัดการขยะให้เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถทำได้อย่างยั่งยืนเพื่อการรองรับขยะที่มีในปัจจุบันทั้งหมดและรองรับขยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงอยากให้รัฐบาลเห็นความสำคัญในเรื่องนี้และปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมพลังงานทดแทนและมาตราการส่งเสริมในรูป ADDER-FITที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย

ผลประโยชน์จากการจัดการขยะเพื่อพลังงานทดแทน
1.ด้านเศรษฐกิจ
  -ลดการพึ่งพานำเข้าพลังงาน
 - ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล
  -ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
  -มีรายได้จากการขายไฟฟ้าและคาร์บอนเครดิต
2.ด้านสังคม/ชุมชน
  -ลดจำนวนผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
  - เพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนและสังคม
  - ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน
  - เพิ่มการจ้างงาน
3.ด้านสิ่งแวดล้อม
  -คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศดีขึ้น
  - กำจัดของเสียอย่างถูกสุขลักษณะและยั่งยืน
  - ลดปัญหาโลกร้อนจากการปล่อย CH4 สู่บรรยากาศ
  - ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมข้างเคียง
  - ลดปัญหาน้ำชะขยะสู่ใต้ดิน

 

 

 




Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 16:39:55 น.
Counter : 2460 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
5
6
9
10
11
14
15
16
17
18
19
22
23
24
27
31
 
 
All Blog