ธนาคารต้นไม้ เครื่องมือเพิ่มสินทรัพย์และความมั่นคงเกษตรกรไทย 2014
ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยของ ธกส. พบว่าเกษตรกรมีหนี้เพิ่มขึ้น และฐานทรัพยากรของเกษตรกรมีมูลค่าเสื่อมลง อาทิ ดินเสื่อม เพราะใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงมาก ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นและคุณภาพชีวิตเกษตรกรแย่ลง ประกอบกับโครงการส่งเสริมต่างๆ ของภาครัฐ เกษตรกรทำแล้วอาจจะล้มเหลว ธกส. ในฐานะที่เป็นธนาคารพัฒนาชนบทจึงนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ขับเคลื่อนชุมชน ธกส. จึงเริ่มต้นพัฒนาชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากคัดเลือกชุมชนแล้วพัฒนาโดยใช้หลักคือ 1.เศรษฐกิจพอเพียง 2.เกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเปลี่ยนวิถีจากการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นวนเกษตร และ 3.วิสาหกิจชุมชน คือทำอย่างไรให้ผลิตแบบพออยู่ พอกิน พอใช้ และแบ่งปัน เหลือนำไปแปรรูป เพิ่มมูลค่าและขาย

ธกส. เป็นธนาคารพัฒนาชนบท เกี่ยวข้องกับเรื่องคน ดิน น้ำ ป่า เป็นการมุ่งชุมชนเป็นหลักเป็นศูนย์กลาง จากนี้ไปอีก 5 ปี ตั้งแต่ปี 2555 – 2559 ธกส. มุ่งเป็นธนาคารสีเขียว เช่น การดูแลเรื่องดิน มุ่งเรื่องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร ว่าใช้ปุ๋ยเคมีมากไปหรือไม่ ให้ความรู้เรื่อง
การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์หรือการดูแลน้ำ มุ่งการดูแลป่า ทั้งป่าส่วนตัว ป่าส่วนรวม ป่าของประเทศ ป่าของโลก เมื่อมีป่าก็มีน้ำ รวมทั้งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การทำแก้มลิงเล็กๆในครอบครัว แก้มลิงชุมชน แก้มลิงใหญ่ แก้มลิงที่เป็นป่า เป็นต้น เป็นการดูแลในบริบทนี้
 เพื่อมุ่งเป็นธนาคารสีเขียว ในอีก 5 ปี และเป็นไปตามแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2555 มุ่งสู่สังคมสีเขียว โลว์คาร์บอน

เป้าหมายทางเศรษฐกิจ
       1) พัฒนาการทำการเกษตรตามรูปแบบที่ใกล้เคียงป่าธรรมชาติ ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลผลิตที่หลากหลายจากผืนดิน มีอาหาร มียา มีไม้สร้างบ้านเรือน มีพืชพลังงาน มีส่วนเกินขายเป็นรายได้ประจำวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี รายได้เมื่อเกิดฉุกเฉินและมีต้นไม้เป็นบำนาญ
             ชีวิตเมื่อถึงวัยชรา ช่วยให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       2) สร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินบนดินจากมูลค่าของต้นไม้แล้วปรับโครงการสร้างการผลิตเกษตรกรลูกค้าและสมาชิกในชุมชนให้มีความมั่นคง พัฒนาประชาชนในชุมชนไปสู่ความพออยู่ พอกิน พอใช้ ตามแนวทางปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง
       3) เพื่อเพิ่มศักยาภาพในการประกอบอาชีพ สร้างห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของการผลิตทางการเกษตรและต้นไม้ และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก
       4) สร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้ต้นไม้เป็นเครื่องมือ เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้คนและชุมชน สามารถรักษาที่ดินทำกิน ป้องกันการขายที่ดิน ไม่เคลื่อนย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง แย่งชิงทรัพยากรสังคมเมืองหรือจากชุมชนสู่ป่า บุกรุกตัดไม้ทำลาย ป่า ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าของส่วนรวม

การสนับสนุนจากรัฐบาล
รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการธนาคารต้นไม้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังออกกฎหมายหลักประกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ สนับสนุนกล้าไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) สนับสนุนด้านวิชาการ เงินทุน ฯลฯ ชุมชนเป้าหมายการสร้างฐานเศรษฐกิจจากธนาคารต้นไม้

1)ชุมชนซึ่งตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต้นน้ำ 4 ลุ่มน้ำหลัก ภาคเหนือได้แก่ ปิง วัง ยม น่าน โดยเฉพาะชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานรายรอบสวนป่าอนุรักษ์ ซึ่งดำเนินการตามโครงการความร่วมมือฯ กับ อ.อ.ป. สร้างและฟื้นฟูพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งรองรับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) 14 จังหวัด จำนวน 98 สวนป่า พื้นที่ 51,000 ไร่

 2)ชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำลุ่มน้ำ 21 ลุ่มน้ำรอง คือลุ่มน้ำโขง กก ชี มูล โตนเลสาบ สาละวิน สระแกกรัง ป่าสักเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ปราจีนบุรี บางประกง ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก เพชรบุรี ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตาปี ทะเลสาบสงขลา ปัตตานี ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 

 3)ชุมชนพื้นที่กลางน้ำ ปลายน้ำ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่ดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สภพ.) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กรมส่งเสริมการเกษตร ฯลฯ หรือชุมชนที่กลุ่มลูกค้ามีหนี้ค้างชำระ โครงการปรับ
โครงสร้างหนี้ ลูกค้าเงินกู้โครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรายย่อยที่เป็นหนี้นอระบบ ชุมชนสมาชิกสหกรณ์สวนป่า

ธนาคารต้นไม้ ธกส.ผลการดำเนินงาน จัดตั้งธนาคารต้นไม้ (ชุมชน) จำนวน 3500 ชุมชน ภายในปีบัญชี 2555 และขยายผลเพิ่มเป็น 7,500 ชุมชน ภายในปีบัญชี 2559 สร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้ต้นไม้เป็นเครื่องมือ เป็นทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เป็นหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้คนและชุมชน สามารถรักษาที่ดินทำกิน ป้องกันการขายที่ดิน ไม่เคลื่อนย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง แย่งชิงทรัพยากรสังคมเมืองหรือจากชุมชนสู่ป่า บุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าของส่วนรวม

ที่มา:ว่าที่ร.ต.ไสว แสงสว่าง ผู้บริหารทีมธนาคารต้นไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.),2014

www.baac.or.th/csr2011/?content=tree&content_id=7&menu=2








Create Date : 24 กรกฎาคม 2557
Last Update : 24 กรกฎาคม 2557 20:37:34 น.
Counter : 2457 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
6
7
8
9
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
25
27
28
31
 
 
All Blog