บ้านไม้ไผ่ และ วิธีรักษาไม้ไผ่ให้มีอายุใช้งานยืนยาว 2557
  เมื่อเราคิดจะใช้ไม้ไผ่ ปัญหาข้อแรกสำหรับเราคือ ทำอย่างไรจะรักษาเนื้อไม้ไผ่ให้ทนทานนานหลายๆ ปี ในหนังสือ BAMBOO WORLD ได้บอกกฏพื้นฐานไว้ว่า 
1. ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกตัดไม้ไผ่เลยครับ ต้องเลือกไผ่ที่โตเต็มที่ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากไผ่หนุ่มหน้าอ่อนๆ จะสะสมแป้ง และความชื้นไว้ในเนื้อมาก เพื่อเตรียมแตกหน่อ อันนี้มอดชอบกินมาก (แต่ถ้าอยากได้ไผ่ที่มีเนื้อเหนียวและลำโต
 ต้องอายุสัก 4-6 ปี) 
2. ต้องตัดไผ่ในฤดูแล้ง จะได้ไผ่ที่ทนทานต่อแมลงมากกว่า (ถ้าทำได้ตาม 2 ข้อข้างต้น ก็เป็นอันวางใจว่า ใช้ได้นาน ..ถ้าใช้อยู่ภายในอาคารนะ) 
3. อย่างไรก็ตาม ไผ่ที่จะนำไปใช้ OUTDOOR ก็ควรอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้

การถนอมไผ่โดยวิธีธรรมชาติ (คัดย่อจากหนังสือ “ไม้ไผ่ สำหรับคนรักไผ่”) 
หลักการคือ การทำลายสารพวกแป้งและน้ำตาล ในเนื้อไม้ไผ่ ซึ่งเป็นอาหารของแมลง ให้หมดไป แมลงก็เลยไม่มากิน 
1. การแช่น้ำ ตั้งแต่ 3 วันถึง 3 เดือน แช่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล 
2. การใช้ความร้อน หรือการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ เพื่อทำลายแหล่งอาหารของแมลงในเนื้อไผ่ ทำได้ 2 วิธีคือ การต้ม และปิ้งไฟ 
- การต้ม จะทำให้เนื้อไม้นุ่ม 
- การปิ้ง จะทำให้เนื้อไม้แข็งแรง และแกร่งขึ้น 
จึงควรเลือกวิธีให้เหมาะกับงานที่จะใช้ 
ปลูกไม่ไผ่ลดโลกร้อน ปลูก4ปีก็แก่พอเอามาสร้างบ้านได้ คสช.น่าสงเสริมการปลูกและการตลาดเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ สร้างป่ารุ่นแรกเพื่อปกคลุมภูเขาหัวโล้นใน8จังหวัดภาคเหนือที่พากันปลูกแต่ข้าวโพด-กะหล่ำปลี ...ถ้ามีพรบ.ป่าชุมชน-ธนาคารต้นไม้-agro forestry landscape ทางเลือกหนึ่งในเพิ่มป่าไม้ที่ยั่งยืนให้สังคมไทยและป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ


Traditional Indonesian Treatment System (ถอดความโดยย่อ จากหนังสือ “Bamboo World”) 
ชาวอินโดนีเซียนั้น รู้จักการใช้ไผ่มานานมาก และแน่นอนเขารู้ดีว่า ช่วงเวลาไหนเหมาะแก่การตัดไผ่ที่สุด เขากำหนดลงในปฏิทินเลยว่า “The period for harvesting bamboo” (Muller,1966) 
1. เขาจะตัดไผ่ที่มีอายุ 3 ปี แล้วทิ้งให้มันตั้งคาไว้ในกอนั่นแหละ ทั้งกิ่งก้านใบก็ไม่ต้องเอาออก แต่เขาจะเอาก้อนหินหนุนรอยตัดเอาไว้ให้พ้นดิน….ทิ้งไว้ประมาณ 4 อาทิตย์ 
2. จากนั้นจึงย้ายลำไม้ไผ่ออกจากกอ ริดกิ่ง ก้าน ใบ แล้วแช่ลำไผ่ลงในบ่อน้ำหรือลำธาร ต้องถ่วงน้ำหนักให้ไผ่จมอยู่ใต้น้ำนะ…ทิ้งไว้ 10 - 20 วัน 
3. เมื่อเอาขึ้นจากน้ำ ให้รีบผึ่งให้แห้งในที่ร่ม(มีหลังคาคลุม) ควรทำเป็นชั้นยกลอย ให้อากาศผ่านอย่างทั่วถึง…ผึ่งไว้ 2 เดือนก่อนนำไปใช้งาน เขาว่าเจ๋งสุด

วิธีแช่น้ำนี้ ใช้กันอย่างกว้างขวางนะ บ้านเราก็ใช้ ลาวก็เห็นว่าใช้ แต่ขอเตือนว่า วิธีนี้จะให้กลิ่นที่เหม็นเน่ามาก-ตอนช่วงที่เอาขึ้นมาผึ่ง และใช้งานใหม่ๆ (ถ้าแช่ในบ่อ ก็จะเหม็นตอนแช่ด้วย) ผมเคยคุยกับเจ้าของโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ที่เวียงจันทร์
 เขาก็บอกว่า คนงานเจอกลิ่นเข้าไป นานเข้าก็ไม่สบายไปเลย ?
//www.asa.or.th/th/node/92987
รูปภาพ

วิธีป้องกันมอดกินไม้สูตรโบราณ...ได้ผลชะงัด...สุดยอด เอาไม้ไผ่ทั้งลำลงแช่น้ำ 5-7 วัน จนมีกลิ่นเหม็นเน่า แล้วเอาขึ้นผึ่งแดด+ลม 5-7 วัน เช่นกัน(จนหายเหม็น) แล้วจึงนำไม้มาใช้งาน...มอดจะไม่มาแตะต้องเลยตลอดกาล.. 
ปลอดภัยจากสารเคมีดีด้วยครับ....ฟันธง... ? นอกจากแช่ในน้ำแล้ว ยังอีกมีวิธีครับเคยได้ยินมา ก็คือ  นำต้นไผ่มาลนไฟให้ความร้อน ให้เยื้อในลำไผ่สุก จนไม่เป็นที่สนใจของพวกมอดครับ  แล้วก็จัดการทาด้วยสารเคมีเคลือบผิวไผ่อีกที ก็น่าจะ
ยืดอายุไผ่ได้อีกพอสมควรครับ

อ่านเพิ่มเติม //www.thaiagrinews.com/การป้องกันรักษาไม้ไผ่โดยไม่ใช้สารเคมี
แบบบ้านสวยที่ามารถใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุก่อสร้างได้

การปลูกไผ่นั้นใช้เวลาสั้นเพียง3-5ปี ต้นไผ่ เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ใน1วันสามารถแทงยอดได้สูงสุด 3ฟุตหรือมากกว่านั้นโดยจะเจริญเต็มที่ภายในเวลา4ปี และหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วไม่จำเป็นต้องมีการปลูกใหม่อีก เนื่องจากรากแก้วของต้นไผ่จะแตกหน่อใหม่อย่างต่อเนื่องเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานอีกทางหนึ่ง จากการใช้รถแทรกเตอร์เตรียมดินและการปลูก ต้นไผ่ยังเป็นพืชที่แทบจะไม่ถูกทำลายโดยศัตรูพืชเลย เนื่องจากมีหน่วยป้องกันแบคที่เลียตามธรรมชาติ และ
สามารถเติบโตภายใต้ระบบอินทรีย์ จึงใช้น้ำปุ่ย ยาฆ่าแมลง และแรงงานในการปลูกน้อย ในพื้นที่ที่เท่ากัน ป่าไผ่มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนในอัตราที่สูงกว่าป่าธรรมชาติทั่วไป 30-35% นับเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างรวดเร็ว การสังเกตุ อายุของไม้ พื้นที่ป่าแต่ละป่่าของไม้ก็จะเห็นความแตกต่าง เมื่อนำมาใช้งาน ในเบื้องต้นไม้ที่มีอายุมากกว่า 3 ปีจะทำให้มีอายุการใช้งานนานและมีมอดรบกวนน้อย  น้ำยาที่นำมาใช้คือทิมบอ 
บอแรท( tim-bor borax )เป็นน้ำยารักษาเนื้อไม้ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา สารออกฤทธิ์ใน tim-borเป็นเกลืออนินนทรีย์ ที่พบทั่วไปในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบในพืช มีอยู่ในน้ำทะเล น้ำจืด ดิน อาหาร จึงมีความปลอดภัยสูงต่อคน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งแวดล้อมและผู้ใช้  ส่วนขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการคัดเลือกไม้ในป่า ที่มีอายุมากกว่า 3 ปี มาเจาะทะลวงปล้องทุกปล้องเพื่อให้น้ำยาเข้าไปเนื้อไม้ได้อย่างทั่วถึง และ
นำไปแช่ในอ่างที่เตรียมไว้ตั้งแต่ 4-15 วันแล้วแต่สกุลของไม้ ในอัตราส่วนของน้ำยา 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร ส่วนไม้ที่นำมาแช่ ต้องเป็นไม้ไผ่ที่พึ่งตัดใหม่ หรือไม้ไผ่ที่คงความสดอยู่และยังมีความชื้นอยู่ในเนื้อไม้มาก ก่อนนำมาเรียงผึ่งให้แห้ง เพื่อให้น้ำยาสามารถดูดซึมเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่อย่างทั่วถึงตลอดทั้งลำ 
//paikumpoo.tht.in/aticle13.html หรือ มุงบัง (เปี๊ยก)089-0947404 e-mail:paikumpoo@hotmail.co.th ID LINE PAIKUMPOO)

Read More //www.chiangmailifeconstruction.com/






Create Date : 15 สิงหาคม 2557
Last Update : 15 สิงหาคม 2557 19:45:56 น.
Counter : 67612 Pageviews.

1 comments
  
อาจสงบของพระเจ้าอยู่กับคุณ
คุณเป็นนักธุรกิจหรือหญิง? คุณอยู่ในใด ๆ
ความเครียดทางการเงินหรือไม่หรือคุณต้องการเงินทุนในการเริ่มต้นขึ้น
ธุรกิจของคุณเอง?
) สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวของธุรกิจ
ข) ธุรกิจเริ่มต้นขึ้นและการศึกษา
ค) การรวมหนี้
ชื่อ: ..........................................
ประเทศ: .........................................
ที่อยู่: ..........................................
สถานภาพ: .......................................
เพศ: ................................................ ...
อายุ ................................................. ....
วงเงินกู้ที่จำเป็น: .........................
เงินกู้ระยะเวลา: ...................................
หมายเลขโทรศัพท์มือถือส่วนบุคคล: .......................
รายเดือน
รายได้: .....................................
ขอขอบคุณและขอให้พระเจ้าคุ้มครอง
อีเมล์: marycoleloanscompany@gmail.com
โดย: Mrs Mary IP: 94.23.252.21 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:7:32:51 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
20
21
23
24
25
27
28
30
 
 
All Blog