ยุทธศาสตร์การค้ากำลังเดินซ้ำเสันทางเดิมและไทยจะผงาดขึ้นเป็นศูนย์กลางในศตวรรษที่21
การค้าบนเส้นทางสายไหมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาของอารยธรรมจีน อนุทวีปอินเดีย เปอร์เซีย ทวีปยุโรปและคาบสมุทรอาหรับ โดยเปิดอันตรกิริยาทางการเมืองและเศรษฐกิจทางไกลระหว่างอารยธรรม แม้ผ้าไหมเป็นสินค้าหลักจากจีนแน่นอน แต่ก็มีการค้าสินค้าอื่นจำนวนมาก และศาสนา ปรัชญาหลายความเชื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ จนถึงโรคก็ไปมาตามเส้นทางสายไหมเช่นกัน นอกเหนือจากการค้าทางเศรษฐกิจแล้ว เส้นทางสายไหมยังใช้เป็นการค้าทางวัฒนธรรมในบรรดาอารยธรรมตามเครือข่ายเส้นทางด้วย ผู้ค้าหลักระหว่างยุคโบราณ คือ ชาวจีน เปอร์เซีย กรีก ซีเรีย โรมัน อาร์มีเนีย อินเดียและแบกเตรีย (Bactrian) และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 8 เป็นชาวซอกเดีย (Sogdian) ระหว่างการเจริญของศาสนาอิสลาม พ่อค้าอาหรับกลายมาโดดเด่น (วิกิพีเดีย)


เส้นทางการค้าในศตวรรษที21...ซ้ำรอยเส้นทางสายใหมในอดีตเมื่อพันปีมาแล้ว เส้นทางเครื่องเทศ จากอักษรภาพแกะสลักภายในพีระมิดอียิปต์โบราณ จนถึงเนื้อความในพระคัมภีร์ไบเบิล ปรากฏชื่อเครื่องเทศจากโลกตะวันออกหลายครั้งสะท้อนความผูกพันอันยาวนานระหว่างเครื่องเทศ กับมนุษย์ได้อย่างดี ผลผลิตจากหมู่เกาะโมลุกกะถูกส่งต่อไปยังประเทศจีนและเปอร์เซีย (หรืออิหร่านในปัจจุบัน)โดยเส้นทางขนส่งเครื่องเทศที่เรียก “Golden road to Samarkand” ซ่ึงถูกใช้ติดต่อกันนานนับพันปีโดยกองคาราวานอูฐขนาดใหญ่ใช้อูฐถึง 4,000 ตัว ทําหน้าที่ขนเครื่องเทศจําพวก อบเชย ดอกจันทน์ พริกไทย และกานพลู จากหมู่เกาะโมลุกกะและอินเดีย ขิง แห้งจากจีน เพื่อนําไปขายในตลาดอียิปต์ นักประวัติศาสตร์พบหลักฐานว่ากานพลูที่ขายในเปอร์เซียเมื่อ 3,000 ปี ที่แล้วถูกส่งไปจากหมู่เกาะโมลุกกะ และสี่ศตวรรษก่อนคริสต์กาล ประเทศ จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นเคยมีกฎให้ข้าราชบริพารที่จะเข้าเฝ้ าฮ่องเต้ต้องอมดอก-กานพลูเพื่อให้ลมหายใจหอมตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในวัง

นักเดินเรือชาวอาหรับชื่อ“อิบ อัล ฟาดีห์” ได้เดินทางเข้ามายัง “ประเทศซาบาก” เมื่อ พ.ศ. 1445 จดบันทึกเรื่องราวของ สหพันธรัฐศรีวิชัยสมัยนั้นไว้ว่า…… “ซาบาจและกาลัชบาร์ (เคดาห์) เป็นอาณาจักรเดียวกัน เบรุส (บนเกาะสุมาตรา) ก็รวมอยู่ในอาณาจักรนี้ด้วย เป็นศูนย์กลางการค้าการบูร กานพลู ไม้จันทน์ ลูกจัน นกแก้วของประเทศนี้สามารถพูดภาษาอาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย และ กรีก ได้… นักเดินเรือชาวอาหรับอีกผู้หนึ่งชื่อ“อิบน์ โรเตห์” เดินทางเข้ามาในดินแดนสหพันธรัฐศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ. 1446 เขาได้กล่าวเปรียบเทียบความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของมหาราชแห่งซาบาจกับพระราชาในประเทศอินเดียไว้ว่า…… “ในบรรดาประมุขของประเทศอินเดียทุกพระองค์ ไม่มีใครร่ำรวยหรือมีอำนาจ หรือมีรายได้มาก
กว่ามหาราชแห่งซาบาก”


ศิลาจารึกกาลาสัน พ.ศ.1322 พูดถึงตักโกลาเป็ นท่าสําคัญเพราะเป็ นจุดพักหรือเมืองท่าที่ใช้เป็ นทะเลสําหรับการไปมาหาสู่ยังเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ของสยามประเทศ ชื่อเมืองที่สําคัญในสุวรรณภูมิคือตักโกล่า จึงมีข้อน่าศึกษาว่าควรจะอยู่ที่แห่งใดเพราะเป็ นแหล่งที่มีกระวานจํานวนมากหรือเป็ นแหล่งขายกระวาน อันเป็ นสินค้าที่ชาวอินเดียต้องการ เมื่อสอบกับการเดินทางของสมัยโบราณที่มีผ่านเข้ามายังอินโดจีนแล้วก็น่าจะเชื่อว่าเมื่อประมาณ 1,4๐๐-1,5๐๐ ปี ชาวอินเดียตอนใต้ จากแค้นกลิงคราษฎร์ เมืองมัทราชนี ได้พากันเดินทางเข้ามาทําการค้าขายทางทะเลและขึ้นบกที่เมืองตักโกลาแห่งนี้...

ใน“ศิลาจารึกตันโจร์” ในแคว้นโจละทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียซึ่งพระเจ้าราเชนทรโจละที่ 1 ทรงโปรดให้จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1573 เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศประกาศชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของพระองค์ มีใจความสอดคลองกับเรื่องราวในตำนานสะระยะห์ มลายูดังนี้ พระเจ้าราเชนทรเสด็จนำกองทัพเรือข้ามทะเลอันเต็มไปด้วยระลอกคลื่น จับกุมพระเจ้าสังกรมวิชยคุงคะวรมันกษัตริย์แห่งกะฑะรัม พร้อมด้วยช้างมากมายที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ ยึดได้ทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากที่กษัตริย์พระองค์นั้นได้สะสมไว้อย่างชอบธรรม พระเจ้าราเชนทรยึดได้ประตูชัยที่มีชื่อว่า วิทยาธรโทรณะ ประตูเมืองของนครหลวงอันมโหฬารมีชื่อว่า ศรีวิชัย ประตูนี้มีประตูเล็กที่ตกแต่งอย่างสวยงามประดับประดาด้วยเพชรพลอย พระเจ้าราเชนทรยึดได้รัฐปันนาย ที่มีน้ำเต็มเปี่ยมในอ่างเก็บน้ำรัฐมลายูที่มีภูเขาเป็นป้อมปราการล้อมรอบ รัฐมะยิรูดิงกัมซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลจนดูประหนึ่งคูเมือง รัฐไอลังกะโสกะซึ่งเก่งกล้าในการรบ เมืองมัมปะปะลัมที่มีน้ำลึกเป็นแนวป้องกันเมือง รัฐเมวิลิมบันกัมที่มีกำแพงเมืองสง่างาม เมืองวาไลยพันดุรุที่มีวิไลยพันดุรุ เมืองตาลัยตักโกลัมเมืองที่ได้รับยกย่องจากนักปราชญ์ว่าเชี่ยวชาญทางวิทยาการ รัฐตามพรลิงกัมเมืองที่ยิ่งใหญ่และมีความสามารถในการรบ เมืองอิลามุรีเดแอมเมืองที่รบพุ่งอย่างดุเดือด เมืองนักกะวารัมเมืองที่มีกำลังทหารมากและป้องกันโดยทะเลลึก”...ยุทธศาสตร์ไทยจึงสมควรปรับให้สอดคล้องกับเส้นทางยุทธศาสตร์การค้าของโลกในศตวรรษที่21





Create Date : 14 พฤษภาคม 2558
Last Update : 14 พฤษภาคม 2558 10:15:41 น.
Counter : 1513 Pageviews.

1 comments
  
เงินบาทอ่อนๆๆๆเขายังไม่ซื้อของไทยตราบใดยังไม่มีเลืออกตั้ง55555เงินบาทแข็งไม่ได้แล้ว
โดย: naty IP: 1.10.211.95 วันที่: 14 พฤษภาคม 2558 เวลา:16:58:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤษภาคม 2558

 
 
 
 
 
1
4
5
6
7
8
11
13
15
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog