การเจริญเติบโตของไม้สักตามฤดูกาล (Tectona Grandis Linn. F.)
 ไม้สักในประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตตามฤดูกาล  ด้านความสูง (hight growth)จะมีระยะเวลาประมาณ 4 เดือนในรอบ 1 ปี และมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน ส่วนด้านความใหญ่ของต้น(diameter growth)จะมากสุดในเดือนกรกฏาคม-สิงหาคมซึ่งเป็นกลางฤดูฝน ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ไม่ไกลจากลำน้ำไหลผ่าน ซึ่งมักนำความอุดมสมบูรณ์จากต้นน้ำมาให้เหมาะที่สักจะเจริญเติบโตได้ดี และมีโอกาสได้เนื้อไม้ที่มีสีทองสูง ไม้สักที่ขึ้นในพื้นที่ชุ่มชื้นจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าในที่แห้งแล้ง  ความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะจะอยู่ระหว่าง 1,250-3,000 มิลิเมตร/ปี  ควรมีวันที่ฝนตกเฉลี่ย  120 วัน/ปี ไม้ที่จะมีคุณภาพของเนื้อไม้ดีจะต้องมีช่วงฤดูแล้ง (หนาว-ร้อน) ที่เด่นชัด  3-5 เดือน ไม้สักที่ขึ้นในที่แห้งแล้งมักจะแคระแกร็น  มีรูปทรงเป็นพุ่มและความสูงน้อยและอาจตายในฤดูร้อน  ในทางตรงกันข้ามสักที่ขึ้นในที่ที่มีความชุ่มชื้นสูงสักจะมีขนาดใหญ่และมี พูพอนมาก... //www.sc.mahidol.ac.th/usr/?cat=2



        ส่วนที่เจริญเติบโตของต้นไม้ก็คือ ส่วนปลายของราก ใบ และชั้นของเซลล์ที่อยู่ถัดเข้ามาจากทางด้านในของเปลือก (Bark) ที่เรียกว่าแคมเบี่ยม (Cambium) น้ำและแร่ธาตุจะถูกดูดโดยราก และถูกนำไปยังใบ โดยผ่านทางท่อเซลล์บริเวณกระพี้ไม้ ที่เรียกว่า ซีเล็ม (Xylem) จากนั้นจะเข้าไปรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศที่ใบ โดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการปรุงอาหารขึ้น จากนั้นอาหารที่ปรุงขึ้นมานั้นจะถูกส่งกลับไปยังส่วนต่างๆของต้นไม้โดยทางท่อเซลล์ที่เรียกว่า โพลเอ็ม (Phloem) ซึ่งอยู่บริเวณเปลือกไม้ทางด้านใน (Inner bark )...การสร้างเซลล์หรือการเจริญเติบโตของไม้ที่เรียกว่า แคมเบี่ยม นี้จะเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน ชั้นของเซลที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดูจะแยกออกจากกัน ชั้นของเซลล์เหล่านี้เรียกว่าวงปี (Annual Ring) ดังนั้นแต่ละวงปีจะประกอบด้วยชั้นของเซลล์สองชั้นคือชั้นเซลล์ที่เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ในฤดูใบไม้ผลิต้นไม้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะมีขนาดใหญ่และผนังเซลล์จะบาง แต่เซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นในฤดูร้อนจะมีขนาดเล็กกว่าและผนังเซลล์หนา ทั้งนี้เนื่องจากในฤดูร้อนการเจริญเติบโตของเซลล์จะช้าลง ดังนั้นชั้นของเซลล์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะมีขนาดเล็กและผนังเซลล์หนากว่าแต่จะมีสีเข้มกว่าชั้นเซลล์ในฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย วงปีเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อรูปแบบของเสี้ยนไม้ ซึ่งจะสามารถดูได้จากผิวไม้ที่ตัดออกมาจากท่อนไม้หรือซุง 
//www.buranapagroup.com/en/knowledge_woodgrow.php

งานวิจัยการเจริญเติบโตของไม้สักในเขตร้อน
1.Moiture and Teak...A report from India (Kondas, 1995) shows that teak responds very well in terms of growth and girth increment in areas where the trees receive at least sufficient moisture for most of the year when compared with growth in monsoon areas.

2.The Effect of Rainfall on the Radial Growth and Long-term Growth Patterns of Teak (Tectona grandis Linn.f.) in Natural Forests of Myanmar...All teak-ring chronologies are positively correlated with May to October rainfall.
• The results of the current study are found to be compatible to 
some extent with the findings in Thailand and India. 
• Seasonal pattern of tree growth is related to water availability.
• The growth dynamics of teak stands differ distinctly from one 
another.
• In terms of volume increment perspective by using ring-width 
analysis, rotation age and minimum exploitable dbh limit of teak for different sites could be determined.
• The influence of site, climatic variations, composition and structure of the stands must be considered when estimating growth rates of teak trees.

3.Carbon Cycling in Teak Plantations in Comparison with Seasonally Dry Tropical Forests in Thailand ...Teak has been a popular tree species for timber production in commercial and private farmland and remains a promising species for carbon sequestration in the seasonally dry tropics. A carbon cycling scheme obtained in teak (-gmelina) plantations showed a high rate of carbon accumulation in the soil of Alfisols in western Thailand which has high calcium content and high soil pH.

4.กรณีศึกษา:งานวิจัยศักยภาพการสังเคราะห์แสงของใบปาล์มน้ำมัน
ศ.ดร.สุนทรี  ยิ่งชัชวาลย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์/ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ในฐานะนักวิชาการด้านสรีรวิทยาพืชเล็งเห็นข้อจำกัดของการทำสวนปาล์มน้ำมันนอกพื้นที่ปลูกเดิมเพราะแม้ว่าปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชที่ทนและขึ้นได้ในหลายพื้นที่ แต่การสร้างทะลายเป็นภาระที่หนักของต้นไม่เพียงสภาพอากาศที่ต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงพอให้ตาดอกเป็นดอกตัวเมียและไม่ฝ่อต้นปาล์มน้ำมันต้องใช้น้ำและอาหารสะสมเพื่อเลี้ยงทะลาย ดังนั้นการมีฝนกระจายทุกเดือนจึงมีผลต่อการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในทรงพุ่มได้ ฝนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่สุด...สำหรับศักยภาพการสังเคราะห์แสงของใบปาล์มน้ำมัน อัตราปุ๋ยที่รักษาระดับการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน  สภาพอากาศที่จำกัดการแลกเปลี่ยนแก๊สของใบ และข้อกำหนดการให้น้ำ  ได้ข้อสรุป ดังนี้
 1.หากช่วงแล้งนาน ปริมาณฝนในรอบปีเพียงพอต่อการดำรงชีพของปาล์มน้ำมัน ช่วงฤดูฝนต้นจะเติบโตและให้ทะลายเป็นปกติ แต่วันที่ไม่มีฝนตกหมายถึงต้องนำสารอาหารจากต้นมาใช้ และช่วงแล้งกำหนดการเกิดดอกเพศเมีย
      2.ต้นปาล์มน้ำมันใช้น้ำได้มากถึง  300 ลิตรต่อต้นต่อวัน แต่ในช่วงแล้งจะใช้ได้น้อยเพราะอากาศที่แห้งจะชักนำให้ปากใบปิดแคบลง ทำให้การคายน้ำและการดูดน้ำของรากลดลง การให้น้ำช่วงแล้งจึงไม่ได้ส่งเสริมการเติบโตได้มากอย่างที่คิดกัน 
      3.การปรุงอาหารเกิดได้น้อยเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศต่ำ เนื่องจากปากใบเปิดได้น้อย ปากใบที่ปิดแคบลงไม่เพียงจำกัดอัตราการคายน้ำ แต่ยังมีผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงและระบบขนส่งน้ำและสารอาหารในต้นและที่ส่งเลี้ยงทะลายปาล์มลดลง  
      4.การเกิดและการสร้างน้ำหนักทะลายปาล์ม ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่สะสมของต้นซึ่งขึ้นกับการสังเคราะห์แสงของใบที่ถูกควบคุมโดยความชื้นสัมพัทธ์อากาศที่ยอดต้นที่มีต่อการเปิดของปากใบอีกทีหนึ่ง  เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ทนและขึ้นได้ในหลายพื้นที่ แต่การสร้างทะลายปาล์มที่มีน้ำมันสูงเป็นภาระหนักที่ของต้น ไม่เพียงสภาพอากาศต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงพอให้ปากใบเปิดเพื่อสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร  ยังจำเป็นต่อการกำหนดให้ตาดอกเป็นเพศเมียและไม่ฝ่อ  การดำรงชีพในฤดูแล้งใช้สารอาหารที่สะสมมาจากช่วงฤดูฝนหากช่วงแล้งนาน อาหารถูกนำไปใช้เลี้ยงต้นทำให้สารอาหารลดลงสำหรับการสร้างทะลายในรุ่นต่อไป 

//www.kehakaset.com/index.php/component/content/article?id=300:2011-05-23-07-42-41&catid=38





Create Date : 06 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2557 15:07:16 น.
Counter : 1093 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
7
9
10
11
16
17
21
22
23
25
28
30
 
 
All Blog