อวสานอาณาจักรฟูนานและอาณาจักรอีศานปุระ
พ่อค้าชาวอาหรับ ชื่อ สุไลมาน ซึ่งนําสินค้ามาค้าขายที่เมืองซาบาก (ชวา)เป็นประจํา ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับซาบากไว้ เมื่อ พ.ศ. 1394 ว่า "มหาราชซาบากยกกองทัพเรือไปปราบกษัตริย์เจนละนํ้า" ซึ่งตรงกับเรื่องราวในหนังสือของ แอล พี.บริกก์ ที่เขียนเรื่อง “อาณาจักรขอมโบราณ” หน้า 69 ว่า พระเจ้ามหิปติวรมัน คือกษัตริย์ขอมที่ทําสงครามกับพระเจ้าวิษณุแห่งชวา ประมุขแห่งไศเลนทร์นั่นเอง...ในการศึกครั้งนี้ พระเจ้าวิษณุทรงรับเอาเจ้าชายวรมันที2 ซึ่งสืบเชื้อสายมีความสัมพันธ์ในราชวงศ์ไศเลนทร์ไปพํานักให้การศึกษาสรรพวิทยาทั้งปวงที่อาณาจักรศรีวิชัย เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จกลับกัมพูชา ภารกิจของพระองค์ก็คือการรวบรวมดินแดนเจนละนํ้ากับเจนละบกให้เป็นแผ่นดิน
เดียวกัน พระองค์จึงเสด็จกลับกัมพูชาเมื่อ พ.ศ.1345  (การสงครามในสมัยโบราณผู้ชนะจะครอบครองทุกอย่างและขนทรัพย์สมบัติจากผู้แพ้สร้างความมั่งคั่งให้ตนเอง ศรีวิชัยในยุคนั้นจึงรํ่ารวยจากการค้าขายแลรบชนะคนอื่นให้ส่งส่วยเครื่องบรรณาการต้นไม้เงิน-ทอง เฉกเช่นเดียวกับศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในยุคต่อมาและพระนเรศวรถูกจับไปเป็นตัวประกัน)
อาณาจักรเจนละ หรือเจิ้นละ อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของอาณาจักรหลินยี่(จามปา) ปัจจุบันนี้คือประเทศกัมพูชาและดินแดนภาคอิสานตอนใต้ของประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นพิ้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมนั้นอาณาจักรเจนละเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนันต่อมาได้มีกำลังกล้าแข็งจึงประกาศอิสรภาพในพุทธศตวรรษที่ 11 เจ้าชายจิตรเสน แห่งอาณาจักรเจนละ ได้ยกทัพไปรุกรานอาณาจักรฟูนันแถบฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณจามปาศักดิ์หรือปราสาทวัดพู และแม่น้ำมูล ในระหว่าง พ.ศ. 1110–1150 ในสมัยนั้นพระโอรสของพระองค์คือพระเจ้าอิศานวรมัน ได้ทำการปราบปรามและครอบครองดินแดนของอาณาจักรฟูนันได้ทั้งหมดทรงตั้ง เมืองอิศานปุระ
 (ในบันทึกพระถังซำจังกล่าวถึงอาณาจักรอีสานปุระน่าจะหมายถึงเจนละนั้นเอง)

ศิลาจารึกที่ระบุพระนามของพระเจ้าจิตรเสน หรือ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปัจจุบันนี้พบแล้ว จำนวน 11 หลัก มีทั้งจารีกอยู่บนแท่งหิน ที่ทำขื้นโดยเฉพาะ บนฐานประติมากรรม และบนผนังถ้ำ จารึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนกันทุกหลัก ถึงแม้จะไม่ปรากฎศักราช แต่เมื่อศึกษาวิเคราะห์รูปอักษรในจารึกแล้ว ทราบว่าเป็นรูปอักษรปัลลวะ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 จารึกเหล่านี้ พบอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 หลัก ได้แก่ จารึกปากแม่น้ำมูล 1 และ 2 จารึกปากโดมน้อย จารึกวัดสุปัฏนาราม และ จารึกถ้ำภูหมาไน จารึกถ้ำเป็ดทอง 3 หลัก ที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนบน พบจารึกวัดศรีเมืองแอม ที่อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ในภาคตะวันออก พบจารึกช่องสระแจง ที่อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ล่าสุดพบที่จังหวัดร้อยเอ็ด  จารึกหลักที่ 1-3 มีข้อความ รูปอักษร ภาษาตรงกัน พบที่ปากแม่น้ำมูล อำเภอโขงเจียม 2 หลักมีลักษณะเป็นใบเสมาหิน จารึกข้อความด้านเดียว จำนวน 6 บรรทัด ทั้ง 2 หลักมีข้อความที่ตรงกันตามที่ ได้ถอดความไว้ ดังนี้ "พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ทรงพระนามว่า จิตรเสน ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีลารวเคามะ (แปลตามศัพท์ที่อ่าน) แม้โดยศักดิ์จะเป็นอนุชา แต่ก็เป็นพระเชษฐาของพระเจ้าศรีภวรรมัน ผู้มีพระนามปรากฎในด้านคุณธรรมแต่พระ
เยาว์ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า พระเจ้าศรีมเหนทวรมัน (หลังจาก) ชนะประเทศ (กัมพู) นี้ทั้งหมดแล้ว ได้สร้างพระศิวลึงค์ อันเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ไว้บนภูเขานี้"....เจนฬะส่วนราชวงศ์ดั้งเดิมย้ายขึ้นไปทางเหนือสร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงชื่อ ศัมภปุระ และภวปุระ (ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนล่างพ.ศ.1093) ต่อมา เกิดจลาจลในเมืองหลวงวยาธปุระเจ้าชายภววรมัน แห่งเมืองภวปุระ และเจ้าชายจิตรเสน แห่งศัมภปุระสายราชวงศ์พื้นเมือง ได้เข้าครอบครอง วยาธปุระ และรวมกันเข้ากับอาณาจักรเจนฬะ ช่วงพ.ศ. 1100-1170

อาณาจักร “เจนฬะ”หรือ อิศานปุระคือใคร มีความหมายอย่างไรนักประวัติศาสตร์กัมพูชาเองค้นไม่พบจากจารึกไหน ที่แน่ ๆปรากฏในจดหมายเหตุจีนของ สมณทูต จิว ตัก ก่วง (โจว ต้า กวน) เข้ามาดินแดนนี้เมื่อพ.ศ.1839 เจนฬะ ภาษาจีนแต้จิ๋ว(สมัยโน้น) ออกเสียง จิง - ฬะ จิง คือ แท้, เก่ง,รู้, จริง ฬะ คือ ไขมัน(จากสัตว์) อาจแปลเอาความได้ว่า เมืองแห่งไขมันสัตว์จากพราน ศาสตราจารย์ลี เธียบเตง ชาวกัมพูชา ซึ่งบันทึกสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า...เมื่อข้าพเจ้าไปประเทศจีนได้พบนักประวัติศาสตร์จีนชื่อ สิ่วเม้งพบเอกสารที่กล่าวถึงเจนละ ตั้งทิศเหนือของฟูนัน มีป่าหนาทึบ และมีผึ้งมากพ่อค้าจีนมักมาหาซื้อขี้ผึ้งแท้นำไปขายจีน เพื่อเอาไปทำเทียนไข มีขี้ผึ้งมากจึงสมมติเรียกชื่อประเทศนี้ว่า เจน หรือ เจง 
แปลว่า แท้ , จริงแท้ / ลัก(ฬัก)แปลว่า ขี้ผึ้ง หรือ ไขมัน รวมความคือ ประเทศไขมันแท้ (ยุคนั้นไขมันสัตว์และขี้ผึ้งน่าจะคือน้ำมันปิโตเลี่ยมสมัยนี้เพระนำไปเป็นพลังงานสร้างแสงสว่างในปราสาทราชวัง)

หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ (Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง (วิกิพีเดีย )









Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 19:44:28 น.
Counter : 3260 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2557

 
2
3
6
7
8
9
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog