กันยายน 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
24
25
27
28
29
30
 
 
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทบรู


การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตามคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้านชุมชนไทบรูบ้านเวินบึก อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เล่าว่ากลุ่มชาติพันธ์บรูในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองต่างๆทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และได้อพยพเข้ามาอาศัยในฝั่งโขงของไทย

บรูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มตระกูลมอญ-เขมรอพยพมาจากประทศลาวเนื่องจากถูกกดขี่แล้วทำงานหนักอีกทั้งยังต้องเสียภาษีให้แก่ฝรั่งเศส จึงอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่ที่ฝั่งไทยริมแม่น้ำโขงที่บ้านเวินบึกบ้านท่าล้ง และบ้านหนองครก อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี บ้านเวินบึก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบรูส่วนใหญ่มีอาชีพจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น การสานหวด การจักตอก สานเสื่อเตย(นอกจากนี้ชาวบรูยังมีความชำนาญในการล่าสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำชาวบรูนิยมล่าหมูป่า อีเห็น นกตะกวด บ่าง กระต่าย งู และอื่นๆ เพื่อเป็นอาหาร แต่ด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ทุกคนต่างต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของปากท้องชาวบรู บ้านเวินบึกที่อยู่ในวัยแรงงานก็อพยพไปทำงานต่างถิ่น เมื่อไปอยู่ที่อื่นก็ต้องใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารและเกิดความอายที่จะพูดภาษาบรูจึงทำให้มีการพูดภาษาบรูลดน้อยลง และยังมีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์เด็กที่เกิดมาเป็นลูกผสม คือ ผสมระหว่างคนบรูกับคนลาวบ้าง คนบรูกับคนไทยบ้างพ่อแม่ไม่ได้พาลูกพูดภาษาบรู เด็กจึงพูดภาษาบรูไม่ได้ (กลุ่มชาติพันธุ์บรู, 2559) 

            ชนชาติเผ่าบรูสมัยโบราณอาศัยหากินอยู่ตามลำแม่น้ำโขงปัจจุบันชนเผ่านี้ ได้มาตั้งบ้านเรือนที่บ้านเวินบึก และบ้านท่าล้งในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยประชากรรวมกันทั้ง 2หมู่บ้าน มีประมาณ 500 คนคนเผ่าบรูมีภาษาพูดคล้ายคลึงกับภาษาส่วยที่ยังมีใช้กันอยู่ใน จ.ศรีสะเกษซึ่งภาษาพูดทั้งสองภาษานี้ แม้จะมีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกันแต่มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงสันนิษฐานว่าชนเผ่าบรูได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากขอมโบราณ ซึ่งเมื่อกว่า 3,000 ปีก่อน ได้แผ่อารยธรรมผ่านมาทางลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันยังมีศาสนาสถานรูปแบบขอมปรากฏอยู่ที่ปราสาทวัดภูเมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป.ลาว สำหรับเอกลักษณ์ของชนเผ่าบรูที่ ไม่เหมือนใครคือเป็นคนรักถิ่นที่อยู่ ไม่รับอารยธรรมจากภายนอก อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่และมีภาษาพูดเป็นของตนเอง โดยใช้พูดกันเฉพาะคนในหมู่บ้าน ทำให้เด็กหญิงและเด็กชายที่เกิดในชนเผ่านี้จะแต่งงานกับคนในหมู่บ้านด้วยกันเอง ทั้งหมู่บ้าน จึงมีนามสกุลใช้ไม่กี่นามสกุล (www.guideubon.com,2559)

ภาษาของชาวไทบรู

ที่มา ://www.langrevival.mahidol.ac.th/Research/website/bu.html,2559




Create Date : 17 กันยายน 2559
Last Update : 17 กันยายน 2559 14:19:59 น.
Counter : 3644 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3414610
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



การศึกษาความหลากหลายของการหมักดองอาหารพื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหารบริเวณชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย ,อาหารหมักดอง , ของดอง , อาหารอิสาน ,อาหารพื้นเมือง