การจัดระบบกายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน



บทความ : การจัดระบบกายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

โดย ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง (13 กุมภาพันธ์2555)

thapana.asia@gmail.com/ //www.asiamuseum.co.th/

www.smartgrowthasia.com


กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

ภาพจาก : วีดีโอในคลิปท้ายบทความ


วันนี้ผมขอกล่าวถึงประเด็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เกิดจากกายภาพเมืองอีกครั้งหากท่านยังจำได้ หลายๆ บทความของผมได้ชี้ให้เห็นมหันตภัยที่เกิดจากการกระจัดกระจายของเมืองหรือที่เรียกทับศัพท์กันว่า Urban Sprawl กายภาพเมืองที่กระจัดกระจายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนตั้งอยู่เป็นหย่อมๆไม่ต่อเนื่องกัน หรือกระจัดกระจายตามแนวถนนจนมองหาศูนย์กลางชุมชนที่แท้จริงไม่ได้หรือกระจัดกระจายไปรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมแหล่งผลิตอาหารและพื้นที่ทางธรรมชาติหลายท่านคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติเมื่อประชากรมีมากขึ้นเมืองก็ต้องแผ่ขยายไปเป็นธรรมดาหากเป็นวิธีคิดแบบเก่าก็คงไม่ผิดครับ แต่สำหรับทศวรรษนี้ยุคสมัยของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) เมืองจะแผ่กระจายแบบไร้การควบคุมเช่นนั้นอีกไม่ได้ ระบบการผังเมืองที่ชาญฉลาดจะต้องบังคับยับยั้งด้วยทุกกลยุทธ์ให้เมืองที่มีอยู่กลับมากระชับคำว่า “เมืองกระชับ” หรือ“Compact City” นั้นไม่ใช่แนวคิดแต่เป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้บริเวณใจกลางเมืองมีความหนาแน่นและครบถ้วนบริบูรณ์ไปด้วยสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกแล้วเมืองกระชับจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นได้อย่างไรผมขอชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของกายภาพเมืองกระจัดกระจายกับกายภาพเมืองกระชับ ดังนี้



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

ภาพจาก : วีดีโอในคลิปท้ายบทความ


เมืองกระจัดกระจาย

1) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนเพราะประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลไม่เป็นกลุ่ม ไม่มีศูนย์ชุมชนที่มีความหนาแน่นซึ่งประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมากจนสามารถตั้งเป็นสถานีขนส่ง

2) ผลจากข้อแรกทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกในการเดินทางจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียวการใช้รถยนต์ในปริมาณที่มากเพื่อเดินทางเข้าสู่แหล่งงานบริเวณใจกลางเมืองได้ก่อให้เกิดปัญหาการคับคั่งการจราจรปัญหามลพิษและกระตุ้นให้โลกร้อน

3) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการทำให้ประชาชนขาดแคลนหน่วยบริการที่จำเป็นเช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงเรียน สนามกีฬา ฯลฯ

4) ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพที่เป็นพื้นฐานของเมืองน่าอยู่เช่น การลงทุนก่อสร้างทางเดินและทางจักรยานที่มีมาตรฐาน การลงทุนพัฒนาภูมิทัศน์ถนนการลงทุนร้านค้าบริการที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) ความสัมพันธ์ของผู้คนภายในชุมชนมีน้อยเนื่องจากบ้านเรือนตั้งอยู่ห่างไกลกันและไม่มีศูนย์ชุมชนที่ชัดเจนทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งเป็นอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

ภาพจาก : วีดีโอในคลิปท้ายบทความ


เมืองกระชับ

1) มีความคุ้มค่าในการลงทุนระบบขนส่งมวลชนเนื่องจากประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มก้อนและหนาแน่น

2) ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางหลากหลายรูปแบบทั้งการเดินการใช้จักรยาน ระบบขนส่งมวลชน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล

3) มีความคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภคสาธารณูปการเนื่องจากในการลงทุนต่อหนึ่งหน่วยมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก

4) รัฐและเอกชนมีความคุ้มค่าในการลงทุนด้านกายภาพและบริการพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนก่อสร้างทางเดิน ทางจักรยาน และภูมิทัศน์ถนนที่มีมาตรฐานหรือแม้แต่กการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

5) มีโอกาสมากในการพัฒนาเป็นชุมชนซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื่องจากการอยู่กันอย่างกระชับทำให้เกิดการรู้จักสัมพันธ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยกัน


กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

ภาพจาก : วีดีโอในคลิปท้ายบทความ



กายภาพเมืองที่งดงามและกายภาพถนนที่ปลอดภัยทั้งคนเดินและขี่จักรยาน

ภาพจาก : วีดีโอในคลิปท้ายบทความ



Dan Burden 

ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute


สำหรับการออกแบบปรับปรุงกายภาพในเมืองที่กระชับเพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่นั้น Dan Burden ผู้อำนวยการของ Walkable and Livable Communities Institute (ในฐานะนักออกแบบชุมขนเมือง (Urban Design) ที่นิตยสาร Times Magazineได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ของโลกด้าน Civic Innovators ปี ค.ศ.2001 ได้เสนอผลงานเรื่อง New Public Health attended a walkability audit of downtownSan diego ในงานประชุมประจำปี New Partner for Smart Growth Conference 2012) กล่าวไว้ว่า ทางเดิน ทางจักรยานและถนนของเมืองน่าอยู่นั้นจะต้องออกแบบปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ 5ข้อ ได้แก่

1) ความรู้สึกปลอดภัยของคนเดินความเป็นมิตรของรถยนต์ส่วนบุคคล (ที่ไม่ใช้ความเร็ว)การปกป้องทางเดินด้วยต้นไม้และสาธารณูปโภคบนทางเท้า

2) ความสะดวกสบายที่เกิดจากพื้นผิวทางเดินทางลาด และอุปกรณ์ประกอบถนน

3) ประสิทธิภาพ ได้แก่ประสิทธิภาพของการสัญจรด้วยรถเข็นเด็กที่ต่อเนื่องในเส้นทางยาวไกลได้ระบบสัญลักษณ์การจราจร ระบบลดความเร็วรถยนต์การยกระดับผิวทางบริเวณสี่แยกและสามแยก ที่จอดรถยนต์และจักรยานริมถนนสถานีรถขนส่งมวลชน ฯลฯ

4) ความสะดวกในการเข้าถึงบริการและการเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายไปยังสถานที่สำคัญๆและ

5) จูงใจให้เกิดการใช้จากสภาพแวดล้อมที่ห่อหุ้มด้วยต้นไม้ใหญ่ไม้พุ่มร้านค้าหลากหลายบริการที่ตกแต่งสวยงาม ฯลฯ

หากผู้บริหารเมืองท่านใด ต้องการแสดงถึงความรักและความห่วงใยที่ท่านมีต่อประชาชน Smart Growth Thailand ขอให้ท่านจงมอบกายภาพเมืองที่น่าอยู่แก่พวกเขาตามภาพกายภาพเมืองดัง vdo ของ Dan Burden ที่ท่านจะได้รับชมต่อไปนี้ ;

ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านบทความ “ย้อนหลัง” เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านผังเมืองที่ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่าง 2 ลิ้งก์นี้

//www.oknation.net/blog/smartgrowth

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand





Create Date : 24 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2557 16:35:18 น. 0 comments
Counter : 1026 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.