มารู้จักระบบขนส่งมวลชนทางรางกันดีกว่าครับ ว่าแต่ละประเภทมันเป็นอย่างไร โดย ดร.สญชัย ลบแย้ม



บทความ : รู้จักระบบขนส่งมวลชนทางราง

Getting toKnow Rail Transit

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม

กลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมือง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อีเมล์ drsonchai@gmail.com

ระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือ Rail transit จัดเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สำคัญประเภทหนึ่ง(Public transportation) ซึ่งในช่วงระยะทศวรรษที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะในแวดวงการวางแผนภาคและเมืองและการวางแผนการขนส่งทั้งระดับเมืองและภูมิภาค (Urban and Regional scale) ในครั้งนี้ผู้เขียนขออธิบายประเภทของระบบขนส่งมวลชนทางรางที่เป็นมาตรฐานสากลโดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้

ประเภทของระบบขนส่งมวลชนทางราง

จากรายงานการศึกษาระบบขนส่งมวลชนทางรางสำหรับกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง(OCMLT (Office of the Commission for the Management of LandTraffic), 2001) ผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งมวลชนทางราง หรือ JICA expert ได้เสนอการแบ่งประเภทของระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับเมือง

2. ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับภูมิภาค

การจำแนกประเภทดังกล่าวเป็นไปตามระยะทางการให้บริการ (Distance) ความเร็วของรถขนส่งมวลชน (Speed) และความจุผู้โดยสาร (Capacity) เป็นหลัก รายละเอียดตามรูปที่ 1


รูปที่ 1. ประเภทระบบขนส่งมวลชนทางราง

ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับเมือง (Urban rail transit)

ระบบขนส่งมวลชนระดับเมือง เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ให้บริการระหว่างเมืองและเมืองระหว่างชานเมืองและเมือง (Commuter) และบริการภายในเมืองโดยมีช่วงเวลาให้บริการที่แตกต่างกันตามประเภทของการให้บริการ เช่นระบบขนส่งมวลชนที่ให้บริการระหว่างชานเมืองและเมืองอาจมุ่งเน้นการให้บริการในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็นเพื่อให้บริการผู้พักอาศัยย่านชานเมืองสามารถเข้ามาทำงานในย่านกลางเมืองได้ส่วนระบบขนส่งมวลชนที่ให้บริการผู้โดยสารที่พักอาศัยและทำงานภายในตัวเมืองอาจมีการให้บริการที่มีช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า เป็นต้น

ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับเมืองประกอบด้วย ระบบขนส่งมวลชนแบบหนัก (Heavy rail) และระบบขนส่งมวลชนแบบเบา (Light rail) (สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก & จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542) โดยระบบขนส่งมวลชนแบบหนัก (รูปที่2) จะมีการให้พลังงานไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าเหนือรางที่ใช้ความต่างศักย์กำลังสูงซึ่งเรียกว่า Catenary หรือ Overhead line และสามารถจุผู้โดยสารได้ระหว่าง 40,000 - 60,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางสำหรับระบบขนส่งมวลชนแบบเบา (รูปที่ 3) จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากรางที่ 3 ซึ่งเรียกว่าThird rail หรือจากสายไฟฟ้าเหนือราง โดยกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้ระบบฯจะมีกำลังศักย์ต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนแบบหนัก ทั้งนี้ ระบบขนส่งมวลชนแบบเบานี้สามารถจุผู้โดยสารได้ระหว่าง 8,000 - 20,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางส่วนมากจะให้บริการในย่านที่มีความหนาแน่นประชากรสูงเนื่องจากมีความเร็วในการเดินรถต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนแบบหนักและปลอดภัยต่อประชาชนมากกว่าเพราะใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีกำลังศักย์ต่ำกว่าระบบขนส่งมวลชนแบบหนักอีกทั้งระบบรางที่ใช้ก็สามารถวางอยู่บนถนนปรกติได้อีกด้วยแตกต่างจากระบบขนส่งมวลชนแบบหนักซึ่งต้องชี้ระบบรางแยกต่างหากและควรมีรั้วกั้นเพื่อความปลอดภัย

รูปที่ 2. ระบบขนส่งมวลชนทางรางแบบหนัก


รูปที่ 3. ระบบขนส่งมวลชนทางรางแบบเบา

ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับภูมิภาค (Regional rail transit)

ระบบขนส่งมวลชนทางรางระดับภูมิภาคเป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางทีมีระยะทางการให้บริการสูงกว่าระบบขนส่งมวลชนระดับเมืองและมักมีความเร็วสูงที่สุด (รูปที่ 4)ในปัจจุบันมีการให้บริการด้วยรถขนส่งมวลชนทางรางแบบรถทั่วไป (Ordinary train) และรถไฟความเร็วสูง (High speed train) (รูปที่ 5 - รูปที่ 6)ซึ่งแบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการขับเคลื่อนหลัก ๆ มี 2 ประเภท คือขับเคลื่อนโดยใช้สายไฟฟ้าเหนือราง (Catenary) และใช้หลักการสนามแม่เหล็กในการขับเคลื่อน (Maglev)

รูปที่ 4. การแบ่งประเภทระบบขนส่งมวลชนทางราง

รูปที่ 5. รถไฟความเร็วสูงในญี่ปุ่น


รูปที่ 6. รถไฟความเร็วสูงในประเทศอื่น


จากกรณีศึกษาโดย JICA expert พบว่าสัดส่วนการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนของผู้โดยสารจะถูกกำหนดโดยระยะทางเป็นหลัก(OCMLT (Office of the Commission for the Management of LandTraffic), 2001) กล่าวคือ หากระยะทางใกล้ หรือไม่เกิน 500 กิโลเมตรผู้โดยสารมักเดินทางด้วยรถยนต์ (หรือรถโดยสารประจำทาง) ในกรณีระยะทางระหว่าง 400ถึง 900 กิโลเมตร ผู้โดยสารมีความเป็นไปได้ที่จะเดินทางด้วยรถไฟประเภทต่าง ๆและเมื่อระยะทางไกลมากขึ้น ผู้โดยสารย่อมเลือกที่จะเดินทางด้วยอากาศยานโดยสารเป็นต้น (รูปที่ 7)


รูปที่ 7. สัดส่วนระบบที่ใช้ในการเดินทาง

จะเห็นได้ว่าระบบขนส่งมวลชนทางรางมีความหลากหลายและมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไปตามบริบทความต้องการในการเดินทาง (Travel demand) และลำดับชั้นของเมืองและชุมชน (Urban hierarchy) เช่น เมืองขนาดใหญ่ (Mega city) เมืองขนาดรองและเมืองขนาดเล็กซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณประชากรหรือผู้โดยสารที่เป็นไปได้ของระบบนั่นเอง (Potential transit riders) ในโอกาสต่อไปผู้เขียนจะมาพูดถึงหลักการออกแบบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางที่ดีซึ่งมีความสำคัญต่อการส่งเสริมการเดินทาง (Transit-ridership boost) ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระบบขนส่งทางราง

รายการอ้างอิง

OCMLT (Office of theCommission for the Management of Land Traffic). (2001). Mass transit: Urban rail transportation master plan (BMA and surroundingareas) Main Report. Bangkok: Office of the Commission for the Management ofLand Traffic (OCMLT).

สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก, & จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2542). การขนส่งสาธารณะในเมือง (Urban public transport). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก.

ท่านใดสนใจ แนวความคิด Smart Growth (การวางผังเมืองพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด)เข้าไป กด like fanpage ตามลิ้งก์ Facebook นี้ครับ //www.facebook.com/smartgrowththailand

อ่านบทความ “ย้อนหลัง” เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านผังเมืองที่ลิ้งก์ตามที่อยู่ด้านล่าง 2 ลิ้งก์นี้

//www.oknation.net/blog/smartgrowth

//www.oknation.net/blog/smartgrowththailand




Create Date : 21 มีนาคม 2558
Last Update : 21 มีนาคม 2558 20:20:04 น. 0 comments
Counter : 1014 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1839484
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
21 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1839484's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.