ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
24 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของราชนาวีไทย

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาและอีกหลายปีนับจากนี้ กองทัพเรือไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ครับ

ถ้าผมจะลองนับเล่น ๆ ก็คือ นับยุคที่เราต้องพึ่งพาชาวยุโรปร้อยเปอร์เซ็นจนถึงตอนที่เสด็จเตี่ย .... พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ .... ทรงนำนายทหารเรือไทยทำการเดินเรือโดยไม่ต้องพึ่งพาชาวต่างชาติ เป็นยุคที่ 1

นับช่วงการสร้างกองทัพทั้งด้านโครงสร้างและกำลังพลจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองสูงสุดยุคหนึ่งของราชนาวีไทยเป็นยุคที่ 2

นับช่วงการฟื้นตัวของกองทัพเรือหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงการจัดหาอาวุธปล่อยนำวิถีทั้งพื้นสู่อากาศและพื้นสู่พื้น เป็นยุคที่ 3

นับช่วงของการจัดหาเรือรบขนาดใหญ่และความพยายามในการเป็นกองเรือน้ำลึก (Blue Navy) จนถึงช่วงหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นยุคที่ 4

ตอนนี้ ก็คือยุคที่ 5 เป็นยุคที่กองทัพเรือปรับโครงสร้างเหล่าทัพครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง เปลี่ยนแนวคิดการจัดหาและการใช้เรือรบให้ประหยัดแต่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการเป็นยุคแห่งการพึ่งพาตนเอง ด้วยการต่อเรือด้วยตนเองหลายลำ มากกว่าเรือที่จัดหาจากต่างประเทศในอัตราส่วนที่สูง

และนี่ก็คือเรือฝีมือคนไทยอีกลำนึงครับ ภายหลังจากกองทัพเรือออกแบบเรือชุดเรือหลวงปัตตานีขึ้นเอง แต่เนื่องจากภาวะงบประมาณและความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้านจนต้องนำแบบเรือไปต่อที่ประเทศจีนนั้น ตอนนี้ทร.กำลังจะมีเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งฝีมือคนไทยที่จะเริ่มดำเนินการต่อในต้นปีหน้าแล้วครับ

หลังจากเรือชุดเรือหลวงปัตตานีจำนวน 2 ลำ ซึ่งถือเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดแรกของกองทัพเรือ ตามรายละเอียดความต้องการแล้ว กองทัพเรือยังคงต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอีก 4 ลำ ทดแทนเรือฟริเกตตั้งแต่รุ่นสงครามโลกจำนวนมากที่จะต้องถูกปลดประจำการลง



เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเป็นเรือซึ่งออกแบบมาให้มีความคงทนทะเลได้สูงกว่าเรือขนาดเล็ก แต่ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนั้นประหยัดกว่าเรือฟริเกตุทั่วไปค่อนข้างมาก และเมื่อถึงภาวะสงคราม เรือสามารถเข้ารับการปรับปรุงเพื่อให้ทำการรบแบบเรือฟริเกตุได้โดยใช้เวลาไม่นาน ซึ่งกองทัพเรือใช้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในการลาดตระเวนน่านน้ำเพื่อดูแลเขตเศรษฐกิจจำเพาะและปราบปรามการกระทำผิดกฏหมายทางทะเลทดแทนเรือฟริเกตุที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้กองทัพเรือสามารถเก็บเรือฟริเกตุไว้สำหรับภาระกิจด้านการรบขนาดใหญ่ได้

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำนี้ได้รับการอนุมัติงบประมาณเมื่อปีที่แล้วครับ เมื่อรวมค่าวัสดุอุปกรณ์ ระบบอาวุธ วัตถุดิบ และเครื่องมือต่าง ๆ จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นราว 3 พันล้านบาท ซึ่งในอนาคต ก็น่าจะถูกกว่านี้อีก เนื่องจากสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์บางรายการจากการต่อครั้งนี้ได้ครับ โดยเงินจำนวนนี้หมุนเวียนอยู่ในประเทศเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างมากทีเดียว ไม่ได้หายออกนอกประเทศทั้งหมดเหมือนการต่อเรือจากต่างประเทศ

แบบเรือที่ใช้นั้นได้ต้นแบบมาจากแบบเรือของบริษัท BVT Surface Fleet ซึ่งเป็นบริษัทของประเทศอังกฤษที่ทร.เคยสั่งต่อเรือมาแล้วหลายลำในอดีตครับ โดยแบบเรือนั้นพัฒนามาจากแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองเรือยามฝั่งตรินิแดด แอน โทแบโค ซึ่งพัฒนามาจากแบบเรือชั้น River ของราชนาวีอังกฤษและกองทัพเรือโอมานอีกทีนึงครับ โดยกองทัพเรือได้รับแบบให้เข้ากับความต้องการของกองทัพเรือเองเช่น การตัดโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ออกไป คงเหลือแต่เพียงลานจอดเฮลิคอปเตอร์เท่านั้น และใช้ระบบอาวุธ รวมถึงระบบอิเล็กทรอนิกส์บนเรือต่าง ๆ ให้เป็นมาตราฐานของราชนาวีไทย

อีกทั้งบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกองทัพเรือไทย ก็จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างและการออกแบบเรือจาก BVT Surface Fleet ด้วยครับ ถือเป็นทางลัดในการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย เพราะเราสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรในการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเองโดยใช้การรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศผ่านการจัดหาของกองทัพเรือ ซึ่งในอนาคต เราก็สามารถใช้เทคโนโลยีตรงนี้ในการต่อยอดเพื่อสร้างเทคโนโลยีของตนเองได้

ในการสร้างเรือนั้น จะใช้การสร้างเป็นบล็อค ๆ แล้วนำมาประกอบกันซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างเรือสมัยใหม่ครับ โดยหลังจากการเตรียมงานมาเกือบสองปี ทางบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด จะเริ่มประกอบตัวเรือในอู่ราชนาวีมหิดลที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีในเดือนมิถุนายนปี 2553 และจะสามารถปล่อยเรือลงน้ำได้ในเดือนธันวาคมปี 2554 เพื่อทำการทดสอบในทะเลและส่งมอบเรือให้กับกองทัพเรือได้ในเดือนมิถุนายนปี 2555 ครับ



เรือมีความยาว 90.5 เมตร กว้าง 13.5 เมตร มีระวางขับน้ำ 1,900 ตัน ความเร็วเดินทาง 23 น็อต ความเร็วสูงสุด 25 น็อต ปฏิบัติการได้ในทะเลลึกในสภาพทะเลที่แปรปรวนถึงจน State 5 พิสัยปฏิบัติการที่ความเร็วสูงสุด 1,000 ไมค์ทะเล ที่ความเร็วมัธยัส 3,500 ไมล์ทะเล เครื่องยนต์ดีเซลของ MAN สองเครื่อง และติดตั้งระบบอำนวยการรบ TACTICOS, เรดาร์ตรวจการณ์แบบ Smart-C, และระบบควบคุมการยิงแบบ Optronic รุ่น MIRADOR ของบริษัท Thales สำหรับระบบอาวุธนั้นประกอบไปด้วย ปืนเรือขนาด 76/62 Super Rapid ของ OTO Melara, ปืนรองขนาด 30 มม. แท่นเดียวรุ่น DS-30M จำนวน 2 ชุด และปืนกล .50 นิ้วจำนวน 2 กระบอกครับ

เมื่อเรือลำนี้ต่อเสร็จและมีประสิทธิภาพที่ดีพอ ก็คงจะต่อมาเพิ่มอีกเรื่อย ๆ จนครบจำนวนความต้องการ 4 ลำครับ

เห็นแบบนี้แล้วก็ต้องพูดว่า ราชนาวีไทย พัฒนาแบบนี้ ถูกใจกองเชียร์ครับ

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เฝ้าติดตามการพัฒนาของราชนาวีไทยมาโดยตลอดครับ

ผมกล้าพูดได้ว่า ราชนาวีไทย นำหน้าเหล่าทัพอื่นไปมากพอสมควรแล้วครับ

นำหน้าในแทบทุกด้าน ไล่ตั้งแต่แนวคิด ทั้งแนวคิดการบริหารกองทัพ แนวคิดต่อพลเรือน แนวคิดต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพภัยคุกคามในปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้ กองทัพเรือมีแนวคิดที่ดีและน่าชื่นชมมานานหลายปีแล้ว

ในส่วนของการบริหารกองทัพ ทร.กล้าที่ตัด ลด และยุบหน่วยงานที่ไม่จำเป็นลง กล้าที่จะปรับสายการบังคับบัญชาใหม่ให้กระชับและทันต่อการตอบสนองต่อภัยคุกคาม รวมถึงหน่วยงานใหม่ ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่เข้าใจสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของโลกได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญที่สุด และเป็นจุดเด่นที่ทร.สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า นำหน้าเหล่าทัพอื่นหลายขุม คือการพึ่งพาตนเอง ที่มีโครงการเพิ่งพาตนเองมากมาย หลาย ๆ โครงการ คือการยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรมของประเทศไทย หลายโครงการ เมื่อสำเร็จ กลายเป็นเหมือนก้าวกระโดดของงานวิจัยของไทย และที่สำคัญก็คือ งานวิจัย มีความต่อเนื่อง มีแผนยุทธศาสตร์รองรับ และนำไปใช้งานจริงหลายโครงการ และทุกอย่าง ถูกกว่าการจัดหาจากต่างประเทศหลายสิบเท่า

ดังนั้นถ้าทร.เหลือเงินไปจัดหาอาวุธที่ทันสมัยที่ ณ วันนี้เรายังทำไม่ได้เอง มากกว่าเหล่าอื่น ก็อย่าแปลกใจครับ

ถึงวันนี้ เรือรบตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ราว ๆ 2,000 ตัน ทร.ไทยไม่ต่อที่ต่างประเทศแล้วครับ ต่อเองในประเทศทั้งนั้น ด้านหนึ่งคือการลดการนำเข้าและเงินตราต่างประเทศที่ต้องจ่ายไป อีกด้านหนึ่งคือการพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย ทั้งด้านผลงาน เทคโนโลยี ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ ซึ่งทำไปทำมา ทร. จะพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ๆ จนอาจจะไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติเลยด้วยซ้ำ

เอาเป็นว่า มีเรื่องน่าชมมากกว่าน่าด่าล่ะครับ เหอ ๆ

และสิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้ก็คือ ทร.เริ่มหามาตราฐานอาวุธของตัวเองเจอแล้วครับ

ตอนนี้ ปืนเรือที่เป็นมาตราฐานของทร.ก็คือ 76/62 ของ OTO Melara จากอิตาลี ไม่ว่ามองไปทางไหน ปืนเรือหลัก จะเป็นรุ่นนี้แทบทั้งสิ้น ยกเว้นเรือที่ขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ปืน 5 นิ้ว ซึ่งก็ใช้รุ่นเดียว ๆ กันแทบจะหมดเหมือนกัน

เรื่องเครื่องยนต์ ทร.ต่อเรือใหม่ครั้งไหน ให้เดาไว้ได้เลยครับว่าเครื่องยนต์ต้องเป็น MTU จากเยอรมัน จะมีโอกาสถูกถึง 90%

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ น้อยครั้งที่ทร.จะไปจัดหาจากบริษัทอื่นนอกจาก Thales จากประเทศเนเธอแลนด์ เช่นระบบควบคุมการยิง ถ้าเป็นแบบ Optronic ก็จะเป็น MIRADOR เป็นต้น

ปืนรอง แต่ก่อนมีเยอะแยะไปหมด ตอนนี้ กำลังเปลี่ยนมาเป็นมาตราฐานเดียวกันในการต่อเรือใหม่ ๆ ก็คือ DS-30M จากประเทศอังกฤษ

และอื่น ๆ อีกมากมาย

เรื่องนี้มันง่ายตรงไหนรู้ไหมครับ มันง่ายตรงที่ว่า ทร.สามารถสับเปลี่ยนกำลังพลไปตามเรือต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเรียนรู้อะไรใหม่มากนัก เพราะเรือลำโน้นมันก็เหมือนกับเรือลำนี้ เรื่องการฝึก การซ่อมบำรุง ก็สามารถเป็นมาตราฐานเดียวกันได้ทั้งกองทัพ คือเรียนที่เดียวก็ได้ความรู้ในการทำงานแทบจะครบแล้ว อะไหล่ก็ประหยัดเพราะไม่ต้องสต็อคอะไหล่มาก ช่างก็เกิดความชำนาญ อย่างช่าง MTU ทร. ภาคเอกชนแย่งตัวกันอุตลุต เพราะรู้หมด บางคนไม่จบปริญญาตรี แต่ทำงานได้ดีกว่าคนจบป.โทเมืองนอก ก็เพราะแบบนี้

ขอชื่นชมทร.ไว้ ณ ที่นี้ครับ ผมเชื่อว่า ในอนาคต เราน่าจะได้เห็นอะไรดี ๆ จากกองทัพเรือแน่นอนครับ



อ้างอิง

"อีกก้าวหนึ่งของอยู่ราชนาวีมหิดล กับการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง"

//www.navy.mi.th/dockyard/orm/LeftLink/OPV/index.html

Thailand to build offshore patrol vessels
Tuesday, 25 August 2009 01:33

Thailand has an 1,800 nautical mile coastline to protect, with responsibility resting mainly with the Royal Thai Navy (RTN).

With a fleet of over 130 mainly modern vessels, including a small aircraft carrier, 15 frigates and corvettes, and six missile-armed fast attack craft, the RTN is one of Southeast Asia's larger, and better-equipped, maritime forces.

The RTN's major warships are potent symbols of national sovereignty, and regularly provide a high-profile Thai presence in regional exercises with foreign navies.

Also, they sometimes venture further afield on defence diplomacy missions.

Regional concerns are mounting, though, over maritime territorial sovereignty, offshore resource protection, resurgent piracy, terrorism, search and rescue, and, in the wake of the 2004 tsunami, disaster relief.

In response, the RTN has switched its acquisition priorities from deep-sea warships with surface, underwater and air warfare capabilities, to offshore patrol vessels (OPV), suitable for cost-effective patrol, enforcement, response and surveillance duties.

Three locally-built Hua Hin-class OPVs entered service with the RTN in the early 2000s, while in 2005/2006 the RTN commissioned two 96-metre Pattani class OPVs, constructed by Hudong Shipyard, in Shanghai, China.


Now, British Shipbuilder BVT Surface Fleet has forged an alliance with Bangkok Dock, for the construction of an advanced OPV for the RTN. Bangkok Dock will build the ship at their dry dock facility in the Thai capital, to a design supplied by BVT.

The design of the helicopter-capable, 90-metre, OPV will be based on that of the Trinidad and Tobago Coast Guard's (TTCG) three new ships, which are at present in build in UK.

This new class is a development of the British Royal Navy's River class ships, as, incidentally, are the trio of new ships, also currently being built by BVT in Britain, for the Royal Navy of Oman.


The TTCG vessels, which are set for busy operational lives combating the international trade in illegal narcotics, will each be armed with one 30mm cannon, backed up by machine guns. They will be able to operate an Agusta Westland AW-139 medium helicopter from a 20-metre flight deck, and will carry a high-speed RIB for interception and boarding duties.

Long range offshore surveillance will be enabled by the Scanter 4100 radar system, and the advanced Ultra Osiris mission management system will be fitted.

The TTCG ships will be powered by twin MAN 16v 28133D diesels, producing 7.2MW, and linked to controllable pitch propellers to enable a top speed of about 25 knots. The specifications for the RTN ship are likely to be similar to those of the TTCG vessels.

The BVT-Bangkok Dock venture will involve the transfer to Bangkok Dock of BVT technology, design and construction skills, and may include some British-built modules.

Follow-on vessels of the same type may later be built by the Thai company.


This new OPV deal is in accord with BVT's strategy of establishing itself as a major player in Asian warship construction. The main aim is for the company to compete much more effectively, in the potentially highly lucrative regional naval market, by taking advantage of Asian business costs, which are far lower than those in Europe. Local construction will also strengthen BVT's hand in negotiations with prospective customers, which nowadays often include demands for both technology transfer, and offset contracts.

Incidentally, British-designed warships have been built in Thailand before. The three RTN anti-submarine corvettes of the Khamronsin-class, and the similar, but far less heavily armed, Royal Thai Police patrol ship ‘Srinakarin’ were all completed locally, in the 1990s, to a design by Vosper Thornycroft, a company which has since been acquired by BVT.

The Hua Hin-class OPVs were also built to a design based on that of the Khamronsin.

The BVT-Bangkok Dock contract underscores Thailand’s policy of acquiring warships from diverse sources. The RTN has, over the years, commissioned vessels designed and built in China, Europe and the USA, as well as indigenously-constructed craft.


This policy avoids the perils of over-reliance on a small number of suppliers, but can pose maintenance challenges.

BVT's Asian expansion ambitions are not just focused on Thailand, though, and there have been reports that the company is negotiating with both the Indian and Malaysian shipbuilding industries.

The Indians are reportedly particularly interested in importing BVT's expertise in modular shipbuilding techniques, to be used in the construction of a new class of advanced OPVs for the Indian Coast Guard.

Modular building, involving of more than one yard in the build of a ship, so as to take advantage of a geographical spread of skills, and costs, is now not uncommon, and is not confined to the construction of merchant vessels.

For instance, the building of the Royal Australian Navy's new landing ships, and guided missile destroyers, is to be split between yards in Australia and Spain.

For some years, a project for the construction, by BVT, of two upgraded Lekiu guided missile frigates for the Royal Malaysian Navy (RMN) was in gestation. The plan was for construction of the warships to be shared between UK and Malaysian yards, using modular techniques. The enhanced Lekiu project though, seems recently to have been halted, probably for financial reasons. BVT is instead reportedly offering OPVs, to be built mainly in Malaysia, with British assistance.

Another possibility for BVT is the modification and sale to the RMN, of the three Seawolf missile-armed Bendahara Sakam-class corvettes, completed by BAE Systems for the Royal Brunei Navy in 2003-2004, which are currently languishing alongside in UK.

Following a complex contractual dispute, the Bruneians finally took ownership in 2007, but immediately put them up for sale.

These compact but heavily armed warships could represent an economical alternative to new-build vessels to satisfy the RMN's need for an expanded deep sea presence, but they are not ideally suited for sustained offshore patrol work, particularly as they do not have a helicopter capability. Furthermore, other countries, including Algeria and the UAE, are thought to be interested in acquiring them.

Trevor Hollingsbee

//www.bairdmaritime.com/index.php?option=com_content&view=article&id=3086:thailand-to-build-offshore-patrol-vessels&catid=114:workboats&Itemid=209

โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง

ความเป็นมาโครงการ

- ทร. มีความต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (ตกก.) จำนวน ๖ ลำ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถที่ต้องการตามยุทธศาสตร์ของ ทร. ในสภาวะแวดล้อมช่วง ๑๐ ปีข้างหน้าที่ ทร. จะต้องปฏิบัติภารกิจตามบทบาทที่ได้รับ คือ การปฏิบัติการทางทหารในการป้องกันประเทศ และการรักษากฎหมายและช่วยเหลือประชาชน โดยให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนตรวจการณ์ รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

- การปฏิบัติภารกิจตามบทบาทที่ได้รับ โดยเฉพาะในพื้นที่ปฏิบัติการไกลฝั่งประมาณ ๗๕ - ๒๐๐ ไมล์ มีความจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่เหมาะสม และเพียงพอสำหรับการปฏิบัติภารกิจ ซึ่ง ทร. ได้ใช้เรือ ตกก. ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว เนื่องจากเป็นเรือที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับภารกิจ และมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการน้อยกว่าการใช้เรือขนาดใหญ่ เช่น เรือฟริเกต ดังนั้น การจัดหาเรือ ตกก. เพิ่มเติมจะทำให้ ทร. สามารถสนับสนุนการป้องกันประเทศและการให้ความช่วยเหลือประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- แนวทางการสร้างเรือ ทร. ได้กำหนดให้ อร. เป็นหน่วยสร้างเรือ โดยกำหนดให้ใช้พื้นที่ของ อรม.อร. เป็นสถานที่สร้างเรือ ซึ่งจะเป็นในลักษณะเดียวกับการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.๙๙๑ ที่ ทร. ได้จัดเป็นโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างเรือของ อร. ในการสร้างเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยกำหนดเป้าหมายให้สร้างเรือ ทดสอบทดลองแล้วเสร็จ และ ทร. ได้รับมอบเรือ ตกก. จำนวน ๑ ลำ ภายใน มิ.ย.๕๕ ทั้งนี้ จะใช้แบบรูปทรงตัวเรือ (Hull Form) ของเอกชน ที่มีคุณลักษณะทั่วไปใกล้เคียงกับ SR ที่ ทร. กำหนดโดย ทร. จะจัดทำแนวคิดเบื้องต้นของการจัดทำแบบเรียบเรียงทั่วไป (General Arrangement) และแนวคิดในการออกแบบระบบต่าง ๆ (Concept Design)

วัตถุประสงค์

- จัดหาเรือ ตกก. เพื่อเสริมสร้างกำลังกองทัพ ตามโครงสร้างกำลังรบตามยุทธศาสตร์ ทร. ในช่วง ๑๐ ปีข้างหน้า ที่ ทร. จะต้องปฏิบัติภารกิจตามบทบาทที่ได้รับ คือ การปฏิบัติการทางทหารในการป้องกันประเทศ และการรักษากฎหมายและช่วยเหลือประชาชน โดยให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนตรวจการณ์ รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

โครงการนี้มีประโยชน์ต่อสังคม กองทัพ และประเทศชาติ อย่างไร
- ในการสร้างเรือ นอกจากเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคนิค ตลอดจนบุคลากรของ ทร. ในการสร้างเรือขึ้นใช้เอง ซึ่งถือเป็นการพึ่งพาตนเองตามแนวพระราชดำริ และเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ จึงกำหนดให้บริษัท/อู่เรือในประเทศร่วมดำเนินการในด้านการออกแบบ จัดส่งพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในระหว่างการสร้างเรือให้กับ อร. และเมื่อได้รับมอบเรือมาใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถเสริมสร้างกำลังทางเรือ และปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบต่อไป

งบประมาณ

- ในวงเงิน ๒,๘๗๑ ล้านบาท

ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๕ โดยช่วงแรกจะเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานที่สร้างเรือ กำหนดคุณลักษณะเฉพาะตามความต้องการของฝ่ายเสนาธิการ และจัดทำแบบเรียบเรียงทั่วไป (GA) และแนวคิดในการออกแบบระบบต่าง ๆ (Concept Design) รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนตามที่ระเบียบกำหนด

หน่วยงานเจ้าของโครงการ
- สยป.ทร.

แบบเรียบเรียงทั่วไป (GA) เรือ ตกก. ที่ อร. ออกแบบ
คุณลักษณะทั่วไป
ยาว ๗๕.๒๕ เมตร กว้าง ๑๑.๕ เมตร
ระวางขับน้ำเต็มที่ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ตัน แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐ ตัน
ความเร็วสูงสุด ๒๕ นอต ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า ๒๓ นอต ที่ระวางขับน้ำเต็มที่ (Full load)
มีดาดฟ้าท้ายเรือสำหรับรับ ฮ.ขนาด ๗ ตัน
สามารถปฏิบัติการทางเรืออย่างต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน ที่สภาวะทะเลได้ถึง Sea state ๕
ที่อยู่อาศัยเพียงพอสำหรับกำลังพล ไม่น้อยกว่า ๘๙ นาย
ระบบปืน ประกอบด้วย ปืนหลัก ปืน ๗๖ มม. อัตโนมัติ ๑ แท่น
ปืนรอง ปก. ๓๐ มม. แท่นเดี่ยว ๒ แท่น
ปก. .๕๐ นิ้ว ๒ แท่น
ระบบขับเคลื่อน ประกอบด้วย เครื่องจักรใหญ่ดีเซล ๒ เครื่อง

//www.navy.mi.th/namo/index.php?option=com_content&view=article&id=68:2009-08-11-03-26-15&catid=44:front-page





Create Date : 24 กันยายน 2552
Last Update : 26 กันยายน 2552 18:55:55 น. 9 comments
Counter : 8168 Pageviews.

 
มาเจิมก่อนจขบ.ถูกจับ emoemo


โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:0:55:54 น.  

 
ให้การซักทอดคนข้างบนไว้ด้วย emoemoemo


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:0:58:46 น.  

 
อู่ราชนาวีมหิดลที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดสงขลา

เสี่ยๆๆๆ แก้ที่ผิดโดยด่วน

ปล. ภูมิใจกับ ทร.ไทย


โดย: joejo99 (joejo99 ) วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:3:20:11 น.  

 
เคยไปดูเรือรบที่ป้อมพระจุล ดูแล้วข้างในคงร้อนน่าดูเลยอะ


โดย: น้องผิง วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:10:56:03 น.  

 
ธรรมดาเรือก็ลอยอยู่แล้ว ชมกันแบบนี้ต่อไปมันจะกลายเป็นเรือบินน่ะเอ้า


โดย: น้ำเค็ม วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:18:23:54 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่โย

สบายดีนะครับ










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:5:42:47 น.  

 
เจ้ยยยยยยยยยยยยยย


จริงเหรอพี่โย

หมิงหมิงมีไปนอกพื้นที่ด้วยเหรอครับ 5555
ผมไม่เคยส่งรูปไปที่เว็บอื่นเลยนะครับ 5555



emoemoemo


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:11:14:45 น.  

 
ไม่ยักกะมีใครเอารูปพ่อก๋าไปลงบ้างเน๊อะ 55555


emoemoemo


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 กันยายน 2552 เวลา:12:14:27 น.  

 
ตามมาอ่านครับ



โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:23:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.