ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
7 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
ข่ายการป้องกัยภัยทางอากาศของกองทัพไทย

บทความเหล่านี้ ได้มาจากนิตยสาร "อิเล็กส์" ของกองทัพเรือ และคอลัมน์ "ตะลุยกองทัพ" ของหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ครับ (ขอบคุณคุณ nunimitr แห่งหว้ากอ) และแถมด้วยข่าวการจัดหาระบบเรด้าร์ใหม่ของกองทัพอากาศครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับทุกท่านครับ






ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑

โครงการต่อเชื่อมแลกเปลี่ยนข้อมูลการป้องกันทางอากาศอัตโนมัติ
(JOINT AIR DEFENSE DIGITAL INFORMATION NETWORK,JADDIN)


น.อ.วิสิทธิ์ ไชยอุดม




ภัยทางอากาศเป็นภัยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุด เกิดได้ทุกเวลาและทุกพื้นที่ การถูกโจมตี
ทางอากาศ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากที่สุดต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ
สังคมจิตวิทยา เทคโนโลยีและการทหาร ประเทศที่เป็นคู่สงครามกันมักจะเริ่มการรบด้วยการโจมตีทางอากาศ ก่อนจึงจะใช้หน่วยดำเนินกลยุทธทางภาคพื้นดินเข้าโจมตีเพื่อยึดพื้นที่ ประเทศที่เหนือกว่าทางอากาศ ใน
พื้นที่การรบ มักจะได้รับชัยชนะเสมอ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามของประเทศไทย มีความเหนือทางอากาศ ประเทศไทยจึงควรมีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ ในระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มี
ประสิทธิภาพนั้น งานการเฝ้าตรวจทางอากาศ (Air Surveillance) เป็นงานที่จะต้องกระทำอยู่เสมอ
ทั้งยามสงครามและยามปกติ เพราะงานการเฝ้าตรวจทางอากาศนั้นเปรียบเสมือนตาของระบบป้องกัน
ภัยทางอากาศ
กำลังทางอากาศในปัจจุบัน ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เครื่องบินโจมตี และอาวุธนำวิถีระยะไกล
ได้รับการพัฒนาให้มีอำนาจการทำลายมากขึ้น และมีความเร็วสูง สามารถบินฝ่าแนวต้านของเครื่องบิน
ขับไล่เข้าถึงแนวปล่อยอาวุธโจมตีเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทำให้เวลาในการปฏิบัติการป้องกันทางอากาศมีจำกัด
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องชดเชยข้อบกพร่องนี้ ด้วยการรวมอำนาจการยิงของระบบอาวุธจากเครื่องบินขับไล่
สกัดกั้นและอาวุธต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การที่จะรวมอำนาจการยิงให้ประสานกันอย่างต่อเนื่องในทุก
จุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำการป้องกันนี้ จะกระทำได้อย่างสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบควบคุมและ
แจ้งเตือนภัยทางอากาศยานที่สมบูรณ์ทันสมัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้กำลังในการป้องกันทางอากาศได้อย่างทันต่อสถานการณ์

จากโครงการพัฒนาระบบควบคุมและแจ้งเตือนการป้องกันทางอากาศของ ทอ. กองทัพอากาศ
จึงได้จัดตั้ง ระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตโนมัติของ ทอ. (ROYAL THAI AIR DEFENSE SYSTEM
,RTADS) เพื่อให้สามารถแสดงสถานภาพการเคลื่อนไหวทางอากาศ และการปฏิบัติการทางอากาศทั้งมวล
โดยอัตโนนัติตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง ทำให้กองทัพอากาศสามารถสั่งการและควบคุม การใช้กำลังทางอากาศ
ที่เหมาะสม ณ ตำบลที่ต้องการได้ทันที ดังนั้นเพื่อให้อาวุธต่อสู่อากาศยานภาคพื้นของแต่ละเหล่าทัพ ได้มีเวลาเพียงพอในการเตรียมการป้องกันทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสานการปฏิบัติกับ
เครื่องบินขับไล่สกัดกั้น ที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้จัดตั้ง
โครงการ ต่อเชื่อมแลกเปลี่ยนข้อมูลการป้องกันทางอากาศอัตโนมัติ (JOINT AIR DEFENSE DIGITAL
INFORMATION NETWORK, JADDIN)
โดยมีความมุ่งหมายหลักคือ
@ เพื่อพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยทางอากาศ การมอบหมายความรับผิดชอบต่อเป้าหมายข้าศึก
และการปฏิบัติการตอบโต้กระทำได้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์
@ เพื่อพัฒนาการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยในระบบป้องกันทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
@ เพื่อให้สามารถรายงานสถานภาพของอาวุธต่อสู้อากาศยาน และผลการปฏิบัติได้ถูกต้องแน่นอนและทันเวลา
โครงการ JADDIN ประกอบด้วยส่วนของ ฮาร์ดแวร์ (HARDWARE) ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE)
และระบบสื่อสารข้อมูล (COMMUNICATION SYSYTEM) ฮารด์แวร์ คือ ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อทำงานตามซอฟต์แวร์ อุปกรณ์นี้จำแนกตามหน้าที่ลักษณะการทำงานได้คือ


- คอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการ (CLIENT) คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานประมวลผลข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์นี้ ก็ยังสามารถขอใช้บริการ
โปรแกรมหรือฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันจากคอมพิวเตอร์ที่ทำให้บริการ (SERVER) ได้อีกด้วย


- คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SERVER) คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานการประมวลผล
ข้อมูลการจัดฐานข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์นี้ก็สามารถเก็บโปรแกรมหรือ
ฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ร่วมกันและบริการโปรแกรมหรือฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันเหล่านั้นให้กับ
คอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการ (CLIENT) หลายเครื่องได้อีกด้วย

ซอฟต์แวร์ คือ ชุดของคำสั่งต่างๆ ที่นำมาเขียนอย่างมีลำดับ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ตามที่ต้องการ ชุดของคำสั่งต่างๆ จำแนกตามหน้าที่ของลักษณะการใช้งานได้คือ


- โปรแกรมสำเร็จรูปประยุกต์ (APPLICATION PROGRAM) คือ ชุดของคำสั่งที่ผู้เขียนขึ้นมาเพื่อให้
คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาตามลักษณะงานที่ต้องการ ในโครงการ JADDIN ใช้โปรแกรมประยุกต์เขียนด้วย
ภาษา ADA และภาษา C
- โปรแกรมของระบบ (SYSTEM PROGRAM) ประกอบด้วยโปรแกรมหลายแกรม ใช้ในการควบคุม
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ในโครงการ JADDIN ใช้โปรแกรมของ
ระบบดังนี้
@ โปรแกรมบรรณาธิการ (EDITOR) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแฟ้มและแก้ไขข้อมูลในแฟ้ม
ในโครงการ JADDIN ใช้โปรแกรมบรรณาธิการของ VI (VISUAL EDITOR) และ TEXT EDITOR
@ ตัวแปลโปรแกรม (COMPILER) คือ ชุดของคำสั่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนโปรแกรมต้นกำเนิด
(SOURCE PROGRAM) ให้เป็นโปรแกรมประสงค์ (OBJECT PROGRAM) ในโครงการ
JADDIN ใช้ตัวแปลโปรแกรมภาษา ADA และภาษา C
- ระบบปฏิบัติการ (OPERATING SYSTEM) มีหน้าที่หลักคือ เป็นตัวที่เชื่อมโยงการติดต่อระหว่าง
ผู้ใช้กับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์และยังเป็นตัวควบคุมและ
ดูแลการจัดสรรทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ แฟ้ม และอุปกรณ์รับ
ข้อมูลเข้า - ส่งข้อมูลออก ในโครงการ JADDIN ใช้ระบบปฏิบัติการของ SUN OPERATING SYSTEM
ซึ่งประกอบด้วย ระปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX) รวมกับระบบติดต่อกับผู้ใช้ที่เป็นรูปภาพ
(GRAPHIC USER INTERFACE)

ระบบสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 ชุด จำเป็นต้องเรียบเรียง
ข้อความ (MESSAGE) ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องทั้งสองสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ รูปแบบของข้อความที่ถ่ายทอดระหว่างกันนั้นนอกจากประกอบด้วยตัวข้อมูลแล้ว ยังมีสัญญาณบอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของส่วนข้อมูลภายในข้อความข้อมูลเสริมที่ใช้ตรวจทาน
ความถูกต้องของการรับ - ส่งข้อมูลและอื่นๆ รูปแบบของข้อความ (MESSAGE FORMAT) และ
การสื่อบอกความหมายอื่นๆ ที่ปะกอบขึ้นเป็นข้อความเรียกว่าพิธีการ (PROTOCOL) เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่างแบบต่างยี่ห้อกันอาจมีพิธีการที่แตกต่างกัน เมื่อต้องการให้เครื่องสอง
เครื่องติดต่อกันโดยระบบสื่อสารข้อมูล จำเป็นต้องใช้เครื่องแปลพิธีการ (PORTOCOL CONVERTER) เพื่อช่วยจัดแบบของข้อความให้เหมือนกันก่อนที่จะเริ่มถ่ายทอดข้อความให้แก่กันละกัน ในโครงการ
JADDIN ใช้คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการระบบสื่อสารข้อมูล (ROUTER) เป็นเครื่องแปลพิธีการ
พิธีการของข่ายสื่อสาร (NETWORK PROTOCOL) คือ กลุ่มของกฎระเบียบที่จะใช้ควบคุมและถือเป็นข้อตกลงที่จะใช้เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้อมูลในข่ายสื่อสาร
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การส่งผ่านข้อมูลจะกระทำได้ด้วยความเร็วและมีความถูกต้อง
ระบบสื่อสารข้อมูล จำแนกได้ คือ
- ระบบสื่อสารข้อมูลของเครือข่ายท้องถิ่น (LOCAL AREA NETWORK) คือการเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ทำงานได้ย่างอิสระด้วยตนเองผ่าน
สายนำสัญญาณความเร็วสูงเข้าเป็นเครือข่ายในบริเวณที่มีรัศมีน้อยกว่า 10 กิโลเมตร
โดยมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลล้านบิทต่อวินาที
- ระบบสื่อสารข้อมูลของเครือข่ายทางไกล (WIDE AREA NETWORK) คือ
การเชื่อมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ทำงานได้อย่างอิสระด้วยตนเอง
ผ่านระบบโทรคมนาคมความเร็วต่ำเข้าเป็นเครือข่ายในบริเวณซึ่งรัศมีมากกว่า 10
กิโลเมตร โดยมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล ......บิทต่อวินาที
คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการระบบสื่อสารข้อมูล (ROUTER) คือ คอมพิวเตอร์ที่สามารถ
ให้บริการระบบสื่อสารระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์หลายเครื่องและคอมพิวเตอร์นี้ ก็ยังสามารถแปลพิธีการ (PROTOCOL) ที่แตกต่าง
กันได้อีกด้วย
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ JADDIN
- เป็นส่วนหนึ่งของระบบ C3 I
- สามารถสนับสนุนในการฝึกตามสถานการณ์สมมติ ทั้งภายในหน่วยและกับหน่วยที่เกี่ยวข้องในระบบ
- ลดปัญหาข้อผิดพลาดอันเนื่องจากบุคลากรในการส่งข้อมูลเป้าหมายเรดาร์และการติดตามเป้าหมาย
- เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองต่อภารกิจการป้องกันภัย
ทางอากาศในพื้นที่ส่วนหลัง
- ได้ระบบที่ให้ข่าวสารที่รวดเร็วและถูกต้องในเรื่อง
o การติดตามการเคลื่อนไหวของอากาศยาน
o การแจ้งเตือนภัย
o การแบ่งมอบเป้าหมายให้หน่วย ปตอ. ภาคพื้น

//www.navy.mi.th/elecwww/document/magazine/1012.html




ตะลุยกองทัพ : ภารกิจพิทักษ์น่านฟ้าไทย! ศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศ


ผ่าภารกิจพิทักษ์น่านฟ้าไทยของ "ศูนย์ควบคุมป้องกันภัยทางอากาศ" ซึ่งมีหน้าที่เสมือน "ตาทิพย์" คอยแจ้งเตือนภัยทางอากาศ หากพบเครื่องบินของข้าศึกบินรุกล้ำอธิปไตย



ระบบป้องกันภัยเฟสที่ 2 ยังล้าหลังอยู่มาก เพราะระบบแจ้งเตือนยังเป็นแบบอะนาล็อกอยู่ ขณะที่อีก 2 แห่งได้เปลี่ยนระบบการแจ้งเตือนผ่านทางไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นไมโครเวฟแล้ว

**************************


นอกจาก "นักบิน" และ "เครื่องบินรบ" แล้ว ปัจจัยสำคัญที่จะปกป้องอธิปไตยของน่านฟ้าไทยได้อีกประการ คือ "ศูนย์ควบคุมป้องกันภัยทางอากาศ" ซึ่งเปรียบเสมือน "ตาทิพย์" ของกองทัพไทย โดยมีหน้าที่หลักในการสอดส่องดูแลว่ามีอากาศยานของข้าศึกรุกล้ำน่านฟ้าของเราหรือไม่

น.ท.วิทยา เหลืองเดชานุรักษ์ ผู้บังคับการศูนย์ควบคุมป้องกันภัยทางอากาศ (อาร์ทีเอดีเอส) เฟส 2 ซึ่งตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงภารกิจของศูนย์ควบคุมว่า การป้องกันภัยทางอากาศเป็นอีกภารกิจหลักของกองทัพอากาศเพื่อป้องกันการโจมตีจากข้าศึก

น.ท.วิทยา ระบุว่า ในระบบทางป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากจะมีสถานีเรดาร์ที่ควบคุมอากาศยาน และแจ้งเตือนภัยแล้ว ยังมีหน่วยบินขับไล่สกัดกั้น และหน่วยอาวุธต่อสู้อากาศ พร้อมที่จะปฏิบัติการตลอดเวลา โดยทั้ง 3 หน่วยจะปฏิบัติงานภายใต้การประสานงานของ ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (เอโอซี) หรือ ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (เอสโอซี) เพื่อปฏิบัติภารกิจทางอากาศ

สำหรับภารกิจการป้องกันทางอากาศจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเรดาร์ตรวจพบอากาศยานจากภายนอกประเทศบินเข้ามาสู่ในประเทศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศจะแก้ไขด้วยการบินสกัดกั้นได้ทันภายใน 5 นาที

น.ท.วิทยา ให้ความรู้ว่า กองต่อต้านข้าศึกจะมี 2 ระยะ

ระยะแรก (ทไวไลท์โซน) หากเครื่องบินข้าศึกษาบินเข้ามาในเขตดังกล่าวจะต้องเพ่งเล็งเป็นพิเศษ และจะต้องแจ้งเตือนนักบินให้เตรียมพร้อมว่าขณะนี้มีข้าศึกษาอยู่ในระยะดังกล่าว

ระยะที่สอง (มิดไนท์โซน) หากข้าศึกมีทิศทางพุ่งเข้ามาในระยะนี้ถือว่าเข้าขั้นเป็นอันตราย ซึ่งจะมีการสั่งการให้นักบินนำเครื่องบินขับไล่เอฟ 16 และเอฟ 5 ที่มีอยู่ตามกองบินต่างๆ ขึ้นสกัดกั้นทันที

เมื่อถามว่าในอดีตเคยมีเครื่องบินรุกล้ำบ้างหรือไม่ น.ท.วิทยา ตอบว่า "เคยมีแนวโน้มว่าจะมีเครื่องบินต่างชาติหลงเข้ามาบ้าง แต่เราก็เอาเครื่องขึ้นเพื่อให้เขารู้ โดยแต่ละฝ่ายจะอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง เพราะเครื่องบินจะไม่มีการบินล้ำแดน ยกเว้นนักบินบินหลง โดยศูนย์ควบคุมจะมีการแจ้งเตือนนักบินตลอดถึงระยะห่างจากขอบชายแดนเพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย"

สำหรับอุปสรรคปัญหาของศูนย์ควบคุม น.ท.วิทยา บอกว่า มีบ้าง เพราะเรดาร์ภาคพื้นดินจะเหมือนกันทุกที่ คือ จะมี "จุดบอด" เนื่องจากจะมีภูเขาบางลูกที่อยู่สูงกว่าคอยบังสัญญาณ

อย่างไรก็ตาม น.ท.วิทยา ก็ให้ความอุ่นใจว่า "หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นศูนย์ควบคุมทั้ง 3 เฟสจะติดต่อเชื่อมโยงกันได้ทันที แม้เฟส 2 จะใช้เครื่องมือในระบบอะนาล็อกอยู่ แต่ก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา โดยทุกวันนี้ศูนย์ควบคุมก็ได้ตรวจหาเป้าหมายอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง"

ด้าน พล.อ.ต.ธงชัย แฉล้มเขตร เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) กล่าวเช่นกันว่า ระบบเตือนภัยทางอากาศมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีที่มีเครื่องบินของข้าศึกบินรุกล้ำอธิปไตย

ปัจจุบันระบบป้องกันภัยทางอากาศของไทยได้พัฒนาสมบูรณ์ในระดับหนึ่งแล้วใน 2 เฟส คือ เฟสที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในท่าอากาศยานดอนเมือง และเฟสที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่กองบิน 7 จ.สุราษฎ์ธานี โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศทั้ง 2 แห่งสามารถทำงานทดแทนกันได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ระบบป้องกันภัยเฟสที่ 2 ยังล้าหลังอยู่มาก เพราะระบบแจ้งเตือนยังเป็นแบบอะนาล็อกอยู่ ขณะที่อีก 2 แห่งได้เปลี่ยนระบบการแจ้งเตือนผ่านทางไฟเบอร์ออปติก หรือคลื่นไมโครเวฟแล้ว !!!

พล.อ.ต.ธงชัย กล่าวด้วยความห่วงใยว่า ในส่วนเฟสที่ 2 ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงเท่าที่ควรก็อยากขอให้รัฐบาลช่วยพิจารณาด้วย เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะมีพรมแดนติดต่อหลายประเทศ ทั้ง พม่า ลาว จีน หรือแม้กระทั่งเวียดนาม จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบป้องกันภัยในจุดนี้ด้วย เพื่อให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของไทยมีความสมบูรณ์ครบถ้วนกว่าเดิม


************************

(ประวัติความเป็นมา)


การป้องกันภัยทางอากาศได้เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2484 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย "อังกฤษ" เป็นประเทศที่คิดค้นขึ้นเป็นประเทศแรกเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศของฝ่ายเยอรมนี

ส่วนประเทศไทยรู้จักการป้องกันทางอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2504 จากการฝึกใช้กำลังทางอากาศ ร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐได้นำเรดาร์เข้ามาร่วมการฝึก

จากนั้นจึงมีการริเริ่มจัดตั้งสถานีเรดาร์ตามภูมิประเทศแห่งแรกขึ้นที่ จ.นครราชสีมา

วิวัฒนาการของระบบป้องกันทางอากาศได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งสถานีเรดาร์เพิ่มขึ้นตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั่วทุกภาค มีข่ายการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ สามารถใช้ในการบังคับบัญชาสั่งการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และทันเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการปฏิบัติงานของระบบ

สำหรับพันธกิจหลักของระบบป้องกันภัยทางอากาศ คือ การค้นหา การพิสูจน์ฝ่าย การสกัดกั้น และการทำลายระบบป้องกันทางอากาศ ประกอบด้วยหน่วยหลัก 3 หน่วย คือ 1.หน่วยควบคุมอากาศยาน และแจ้งเตือน 2.หน่วยบินขับไล่สกัดกั้น และ 3.หน่วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน

หน่วยควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือน มีหน้าที่ค้นหา และพิสูจน์ฝ่ายอากาศยานที่บินอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ศูนย์ควบคุมและรายงาน สถานีรายงาน

หน่วยบินขับไล่สกัดกั้น มีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจการบินสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่ายที่รุกล้ำอธิปไตย โดยเตรียมขึ้นสู่อากาศได้ทันทีเมื่อได้รับคำสั่ง ประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ แบบ F-16 และ F-5E

หน่วยต่อสู้อากาศยาน มีหน้าที่ปล่อยอาวุธสู่เป้าหมายที่เป็นข้าศึก ซึ่งรุกล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

กองทัพอากาศได้พัฒนาระบบป้องกันภัยทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดตั้งสถานีเรดาร์ จำนวน 11 สถานี มีรัศมีเรดาร์คลอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน

ปัจจุบันพัฒนาเป็นระบบป้องกันทางอากาศอัตโนมัติ (อาร์ทีเอดีเอส) จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศดอนเมือง (ภาคกลาง) ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศสุราษฎร์ธานี (ภาคใต้)

หรับการจัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศภาคเหนืออยู่ระหว่างการดำเนินการให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ จะจัดตั้งสถานีเรดาร์เพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง เพื่อให้เกิดความสมดุลในระบบป้องกันทางอากาศต่อไป

//www.komchadluek.com/news/2005/08-22/cri-18388305.html




LOCKHEED MARTIN TO PROVIDE LONG-RANGE, AIR SURVEILLANCE RADAR FOR THE ROYAL THAI AIR FORCE


SYRACUSE, NY, August 9, 2007 -- Lockheed Martin [NYSE: LMT] has been contracted by the Royal Thai Air Force (RTAF) to provide a TPS-77 long-range, air surveillance radar, which will complete a multi-phase national air defense system for Thailand.


The radar, which will be made at Lockheed Martin’s Syracuse, NY facility, will be installed and operational in 2009. This is Lockheed Martin’s first direct commercial sale to the government of Thailand.

The TPS-77 is the latest configuration of the world’s most successful 3-D solid-state radar design. This transportable radar provides continuous high-quality 3-D surveillance on aircraft targets at ranges out to 250 nautical miles. The TPS-77 shares commonality with Lockheed Martin’s FPS-117 radar with regard to maintenance activity and Line Replaceable Units (LRUs). There are 26 TPS-77s and 127 FPS-117 systems operational in more than 20 countries. Many have performed for years completely unmanned in remote areas, and in a wide range of operational environments.

“Our customer told us that this radar was chosen because of its successful track record world wide,” said Greg Larioni, Lockheed Martin’s vice president, ground-based surveillance and airborne radar. “In addition to past performance, they also appreciated the effort our team made to listen to their requirements and work to meet them.”

Headquartered in Bethesda, MD., Lockheed Martin employs about 140,000 people worldwide and is principally engaged in the research, design, development, manufacture, integration and sustainment of advanced technology systems, products and services.


//www.globalsecurity.org/military/library/news/2007/08/mil-070809-lockheed-martin01.htm


Create Date : 07 ตุลาคม 2550
Last Update : 7 ตุลาคม 2550 21:59:35 น. 0 comments
Counter : 3499 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.