life of gone...ชีวิตต้องเดินไปข้างหน้าเสมอ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
โนราโรงครู ณ วัดท่าแค กับพลังความศรัทธาที่ยังคงอนุรักษ์ไว้

สวัสดีค่ะ

สาวหายไปอีกแล้ว T_T สาวค่อนข้างยุ่งค่ะสัญญาว่าจะพยายามมาอัพบล็อกบ่อยขึ้น วันนี้ขอเบิกฤกษ์กับกิจกรรมดีดี ที่ท่าแค พัทลุง สาวถือว่าตัวเองโชคดีมาก ที่ได้ไปช่วยงานศพที่ อ.เขาชัยสน พัทลุงในช่วงจัดกิจกรรมนี้พอดี สาวเลยได้มีโอกาสไปร่วมงานนี้ โนราห์โรงครู ณ วัดท่าแค ซึ่งปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓ - ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐








ยามสายวันที่ ๑ พฤษภาคม สาวเปิด FB ที่มีเพื่อนกดสนใจกิจกรรมโนราห์โรงครูที่วัดท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ที่กำลังจะมีขึ้นในอีก ๓ วันข้างหน้า ถือเป็นช่วงจังหวะที่สาวได้ไปช่วยถ่ายภาพงานศพที่บ้านหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงในช่วงนั้นพอดี ซึ่งสาวไปกับน้อง เราไปกลับทุกวันอยู่แล้ว และวัดท่าแคก็เป็นทางผ่านพอดี

เสียงเพลง "เทริด" ของหลวงไก่ ซึ่งเป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง "เทริด" ดังก้องในหัวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายฉากในหนังได้พูดถึงที่นี่ จากหนังใหญ่สู่ประเพณีที่สัมผัสได้จริง สาวจึงไม่ลังเลที่จะชวนน้องไป และน้องก็ไม่ปฎิเสธ เราจึงนัดกันไปในช่วงกิจกรรม วันที่ไปคือ วันที่ ๕ และ ๖ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายของการจัดงาน






“โนรา” หรือ “มโนราห์” เป็นมหรสพศิลปะการร่ายรำทางภาคใต้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบทอดต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลายพื้นที่ในภาคใต้ยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างเหนียวแน่น

ศิลปะการแสดง “โนรา” หรือ “มโนราห์” ยังไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัด จากการสันนิษฐาน น่าจะเกิดพร้อมกับโนราโรงครูของภาคใต้ตามตำนานเล่าว่า พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองพัทลุง มีลูกสาว 1 คน ชื่อ นางนวลทองสำลี นางชื่นชอบการร่ายรำเป็นชีวิตจิตใจ จนในคืนหนึ่ง นางฝัน ว่า มีเทพ เทวดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด 12 ท่า เป็นท่ารำที่สวยงาม


โนรามีการแสดง ๒ รูปแบบ คือ โนราประกอบ พิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง

โดยเฉพาะโนราโรงครู ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะ เป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายัง โรงพิธีเพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา เพื่อรับของแก้บน และ เพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ มี ๒ ชนิด คือ โนราโรงครูใหญ่ หมายถึง การรำโนราโรงครูอย่างเต็ม รูปแบบ ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกัน ๓ วัน ๓ คืน จึงจะจบพิธี โดยจะเริ่มในวันพุธไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องกระทำ เป็นประจำทุกปี หรือทุกสามปี หรือทุกห้าปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การถือปฏิบัติของโนราแต่ละสาย สำหรับโนราโรงครูเล็ก ใช้เวลา ๑ วันกับ ๑ คืน โดยปกตินิยมเริ่มในตอนเย็นวันพุธ แล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี








วันแรกที่สาวก้าวเข้ามาในวัดนี้ สาวสัมผัสได้ถึงพลังความเชื่อ และความศรัทธาที่มีอยู่เต็มเปี่ยม





เคยมีคนตั้งข้อสังเกตุว่า "โนราห์" จะสูญหายไปในวันหนึ่งสาวไม่เคยเชื่อเลย เพราะที่่ตรังเอง "โนราห์" ก็โดดเด่นไม่แพ้ที่อื่นจนมีคำกล่าวว่า "มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์" สาวได้ไปดูโนราห์โรงครูในตรังหลายครั้ง จนมาที่นี่








รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ กระจายอยู่บนใบหน้าของคนที่มารับชมโนราห์ ไม่เพียงเฉพาะที่นี่ที่ไหนที่มีโนราห์ที่นั่นคนที่ไปชมมากมายเสมอ




การจัดงานโนราโรงครูท่าแคถือกำเนิดมาหลายปีแล้ว ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าจัดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่มีหลักฐานชัดเจนถึงการจัดโนราโรงครูใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ด้วยเหตุที่วัดแห่งนี้มีหลักพ่อขุนศรีศรัทธา หรือ เขื่อนขุนทา ปรมาจารย์โนรา ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร จึงทรงสร้างรูปปั้นขุนศรีศรัทธาและพรานบุญ ศาลาบริเวณเขื่อนขุนทา เพื่อประดิษฐานรูปปั้นเป็นอนุสรณ์ของขุนศรีศรัทธา

และจากความเชื่อว่าขุนศรีศรัทธาเป็นครูคนแรก จึงจัดให้มีโนราโรงครูขึ้นที่วัดท่าแค โดยมี โนราแปลก ท่าแค (แปลก ชนะบาล) เป็นผู้นำสำคัญ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้กำหนดให้วันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน 6 มีการจัดพิธีไหว้ครูโนราและรำโนราโรงครูถวาย ชาวบ้านที่เชื่อว่าตนเองมี "ตายายโนรา" ก็จะมาเข้าร่วมชุมนุมกันอย่างคับคั่ง โนราใหม่จากทั่วสารทิศที่ต้องการครอบเทริด หรือผูกผ้าใหญ่ หรือแต่งพอก ก็จะเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนั้นยังมีการแก้เหมย (แก้บน) ในงานนี้อีกด้วย



ศาลาพ่อขุนศรีศรัทธา




ภายใน







มีคนมากราบไว้รูปปั้นพ่อขุนศรีศรัทธาไม่ขาดสาย






ด้านฝั่งขวามือ






ดอกไม้กองโตกับแสงเทียนที่โชติช่วงตลอดเวลาแสดงถึงพลังความศรัทธาได้อย่างดี






ด้านหน้าศาลามีหลักพ่อขุนศรีศรัทธาที่มีการแกะสลักท่าร่ายรำหลัก ๑๒ ท่าของโนราไว้ บนไม้รักเขาหรือต้นยอไม่ตกดิน ซึ่งนอกจากจะเป็นหลักที่เคารพของคนโนราแล้วก็ยังเป็นที่เคาระสักการะของชาวบ้านผู้นับถือเป็นจำนวนมาก วันนี้มีครูหมอทรงด้วย




อีกหนึ่งพิธีกรรมสำคัญคือ พิธีแทงเข้ มีความเชื่อว่าตัวเข้หรือจระเข้(ชาละวัน)นั้นเป็นดังตัวแทนของสิ่งไม่ดี นำสิ่งไม่ดีมาไว้ จึงมีการสร้างตัวเข้จำลองปรากฏตั้งเด่นไว้หน้าลานโรงโนราตั้งแต่วันแรก ให้ผู้คนทำบุญนำเงิน ข้าวของ มาใส่ไว้ในปากจระเข้ ด้วยเชื่อว่าเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ เพราะเมื่อจระเข้ถูกแทงตายจะนำไปลอยน้ำ ทุก โศก โชคร้าย ก็จะให้ลอยไปพร้อมๆกับจระเข้

สำหรับตัวจระเข้นั้น ว่ากันว่าคนที่ทำก็ต้องมีความรู้ทางด้านเวทมนต์คาถาด้วย เพราะเมื่อทำตัวจระเข้จำลองขึ้นมา จะมีการทำพิธีบรรจุธาตุ เรียกวิญญาณไปใส่ ทำพิธีเบิกหูเบิกตา เพื่อให้จระเข้(เหมือน)มีชีวิต ซึ่งคนทำจระเข้จำลอง หากทำไม่ถูกต้องก็อาจเกิดเสนียดจัญไรแก่ตนเองได้







สาวไม่เคยอยู่ทันดูเลย ไม่ว่าที่ไหน เพราะส่วนใหญ่จะทำหลังอาทิตย์ตกดิน วันที่ ๖ ก็เช่นกันเพราะเราต้องรีบไปงานศพ แค่นี้ก็ดีแล้ว






ก่อนถึงไฮไลท์ปิดท้าย เรามาชมรอบวัดกันสักนิด ที่จริงมีของพื้นเมืองขายเยอะมาก แต่สาวลืมถ่ายรูปมา





ศาลาแสดงโนราห์อยู่ตรงหน้า




ระหว่างต้นโพธิ์กับโรงโนราห์มีศาลเล็ก ๆ สาวไม่แน่ใจว่าเป็นศาลอะไร







อีกฝั่งเป็นโรงโนรา โรงครูที่ทำถาวรไว้






มาถึงสิ่งสำคัญของโนราที่ขาดไม่ได้เลย นั่นคือ "เทริด"





เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรง หรือโนราใหญ่ หรือตัวยืนเครื่อง (โบราณไม่นิยมให้นางรำใช้) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ ในพิธีครอบเทริด หรือผูกผ้าใหญ่ หลังจากพิธีตัดจุกแล้ว หากผู้เข้าพิธียังไม่เคยตัดจุก จะต้องทำพิธีตัดจุกก่อน และต้องมีอายุครบ ๒๒ ปีเป็นโสด หากแต่งงานมาแล้วต้องทำใบหย่าร้างโดยสมมุติกับภรรยาเพื่อมิให้ “ปราชิก” ซึ่งผิดกฎสำหรับโนรา ในอดีตเมื่อครอบเทริดแล้วต้องไปรำ “สามวัดสามบ้าน” แล้วจึงมาเข้าพิธีอุปสมบทจึงจะถือว่าเป็นโนราโดยสมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันสามารถอุปสมบทได้เลย

เทริดโนรา หมายถึงเครื่องสวมศีรษะลักษณะคล้ายชฎา แต่มีรูปทรงสั้นกว่า มีโครงสร้างทำด้วยโลหะหรือไม้ไผ่สาน ตกแต่งรายละเอียดด้วยการปั้นรักติดเป็นลวดลาย ลงรักปิดทอง ประดับตกแต่งด้วยกระจกสีหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เทริดที่ผ่านการทำพิธีบูชาครูโนราแล้ว ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในพิธีผูกผ้าใหญ่ หรือแต่งพอก หรือพิธีโนราโรงครู โดยจัดวางเทริดไว้บนปะรำพิธีด้านบนและหย่อนเทริดเพื่อครอบให้กับโนราที่ฝึกรำจนชำนาญแล้ว โดยมีครูโนราหรืออุปัชฌาย์ยืนคอยช่วยสวมเทริดให้ครอบศีรษะโนราใหม่ เทริดโนรา ต้องประณีต สวยงาม มีขนาด รูปทรง และสัดส่วนเป็นไปตามลักษณะที่ดีของเทริดโนรา มีองค์ประกอบครบถ้วนลวดลายต้องประณีต สวยงาม ถูกต้องตามแบบของเทริดโนราการประกอบและตกแต่งด้วยวัสดุอื่นต้องประณีต ติดแน่น คงทน บริเวณรอยต่อต้องเรียบร้อย ไม่มีรอยเปรอะเปื้อนของวัสดุที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วน สีที่ทาต้องสม่ำเสมอ ติดแน่น คงทน ไม่หลุด หรือลอก







เทริดเป็นของสูงในศาตร์และศิลปะโนราห์ สาวอยู่ตรังมาหลายปีที่สิ่งคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ พระนอนทรงเทริดมโนราห์ที่เล่ากันว่าเป็นหนึ่งเดียวในภาคใต้ ตั้งอยู่ที่วัดภูเขาทอง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง




จนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา สาวได้มีโอกาสตามอาจารย์สุนทรี อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุ ฯ ตรังไปพัทลุง เราไปกันสามคนมีพี่ที่สนิทอีกคน เราพูดถึงโนราห์กันตลอดทาง จนไปถึงพัทลุงจุดหมายเราคือ ตลาดนัดใต้ต้นโตนดที่มีกิจกรรมอยู่ แต่แล้วเรากลับหลงทางไปในพื้นที่ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต ที่อาจารย์เคยมีข้อมูลว่ามีพระนั่งทรงเทริดที่นี่ แล้วเราก็ได้ไปเจอจริง ๆ ที่วัดถ้ำ






พระนั่งทรงเทริดองค์นี้ เป็นโลหะเจ้าอาวาสเล่าว่ามีความเชื่อกันว่าเป็นผู้หญิง





พี่สาวคนสนิทอีกคนได้สอบถามเพื่อนเพิ่มเติม เลยได้ทราบว่ามีอีกวัด คือ ว่านาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง






ที่นี่เราไม่เจอใคร เลยไม่สามารถสอบถามได้ แต่เห็นพระนั่งรูปปูนปั้นตั้งอยู่เลยถ่ายภาพมาค่ะ




การที่สาวได้ไปชมพระนั่ง และพระนอนทรงเทริดมโนราห์ รวมทั้งชมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ในระยะเวลาไล่ ๆ กัน สาวคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี และเป็นมงคลชีวิตสูงสุดของสาวมาก สาวจึงตั้งใจเขียนบล็อกนี้เป็นพิเศษ เพื่อระลึกถึงครูหมอโนราและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลใจให้สาวได้ไปพบ และไปเห็น








รวมทั้งกราบขอบพระคุณ "ขุนศรีศรัทธา" ที่วัดท่าแค พัทลุงด้วยจิตศรัทธาค่ะ





ขอบคุณที่มาข้อมูล สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง,เว็บ kapook,เว็บ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม,เว็บ manager และ ครูฑูรย์จาก Gotoknow

และขอบคุณทุกคนที่แวะมาค่ะ




































Create Date : 14 พฤษภาคม 2560
Last Update : 15 พฤษภาคม 2560 21:13:08 น. 17 comments
Counter : 7104 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmoresaw, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณสองแผ่นดิน, คุณSai Eeuu


 
ผู้คนไปดูคึกคักดีจังเลยค่ะคุณสาว


โดย: Close To Heaven วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:0:14:03 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับน้องสาว

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากเลยนะครับ
พี่ก๋ายังไม่เคยดูมโนราห์มาก่อนเลยครับ

ผู้คนคึกคักมากๆ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:6:24:18 น.  

 
สวัสดีครับน้องสาว
ตามมาชมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ด้วย หาชมยากมาก
ขอบคุณที่เอามาฝากด้วยครับ


โดย: moresaw วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:8:15:16 น.  

 
ไม่เคยเห็นงานแบบนี้เหมือนกัน

เลยได้มาดูผ่านบล็อกสาวเลย


ดีแล้วนะ ในที่สุดก็ผ่านมาเนาะ

พี่เองก็ไม่รู้จะเจออะไรอีกมั้ย เหอๆ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
sawkitty Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:9:08:15 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องสาว
โนราเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของภาคใต้เรานะคะ
สาวโชคดีได้ไปร่วมพิธีกรรมและได้กราบพระทรงเทริดหลายองค์เลย


โดย: เนินน้ำ วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:9:13:25 น.  

 
วันนี้พาไป พัทลุง นะคะ ตามมาดูกิจกรรมด้วยค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:9:20:01 น.  

 
ถ้ามีเด็กรุ่นหลังช่วยสืบสานก็ไม่หายไปไหนหรอกครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:12:06:43 น.  

 
สวัสดีค่ะน้องสาว..

ดีจัง ได้เข้าร่วมพิธีกรรมหลายอย่าง

ขอให้มีแต่ความสุขตลอดไปนะคะ



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2560 เวลา:12:54:12 น.  

 
มาชมกิจกรรมด้วยค่ะ
sawkitty Travel Blog ดู Blog


โดย: newyorknurse วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:3:34:57 น.  

 
เป็นพิธีกรรมที่น่าสนใจและอยากเข้าร่วมมาก ๆ ค่ะ คุณสาวโชคดีมาก ๆ เลย และขอบคุณที่เก้บภาพและข้อมูลมาฝากด้วยค่า


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:8:12:17 น.  

 
ยังได้อยู่ อิๆๆ ความเชื่อกะมนุษย์ คงอยู่คู่กันอีกนาน


โดย: ลุงแมว วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:9:47:31 น.  

 
อนุรักษ์ไว้ชั่วลูกชั่วหลานครับ เหมือนหนังใหญ่ หรือ ลิเก


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:15:59:50 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 18 พฤษภาคม 2560 เวลา:4:17:52 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ โนราห์น่าสนใจมากค่ะ


โดย: Raizin Heart วันที่: 18 พฤษภาคม 2560 เวลา:8:55:45 น.  

 
หายไปนานเลย กลับมาพร้อมสาระดีๆ เช่นเดิม ได้ชมประเพณีที่ไม่ค่อยได้เห็นที่ไหนนะครับ
พิธีแทงเข้ ทำตะเข้ซะน่ากลัวเลย ไม่กล้าแทง -A-"


โดย: ชีริว วันที่: 18 พฤษภาคม 2560 เวลา:21:49:55 น.  

 
ชอบมาก สงกรานต์แถวบ้าน แถวบ้านพอจะหาดูได้บ้าง แต่นานๆค่ะ


โดย: Sai Eeuu วันที่: 20 พฤษภาคม 2560 เวลา:23:27:08 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวกลับมาอ่านละเอียดค่ะ


โดย: buraneemeo วันที่: 20 ตุลาคม 2560 เวลา:0:31:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sawkitty
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




เป็นคนรักแมวที่เป็นคนยะลา แต่มาทำงานตรัง ถ้าจะตามตัวให้แวะไปหาที่ห้องแมวพันทิบคะ


Friends' blogs
[Add sawkitty's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.